รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   :   หมวดอักษร   -  ก   หน้าที่ 2   
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ก   หน้าที่ 2  )

/     ระพังโหม  /    กระวาน   /    กาหลง    /     กาหลา   /


ระพังโหม

    



าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Paederia foetida  Linn.    ชื่อวงศ์   RUBIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Skunk-vine
ชื่ออื่น     ย่านพาโหม, พาโหมย่าน(ใต้),   ตดหมูตดหมา,   พังโหม, 
             
Kantutan (ฟิลิปปินส์)

กระพังโหม  เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก  เลื้อยไปตามพื้นดินหรือเกี่ยวพันต้นไม้อื่น
ใบ ใบเดี่ยวรูปหอกยาวประมาณ
6 -10 ซม. กว้างประมาณ 3.5 -5 ซม. ปลายแหลม
โคนใบเป็นรูปหัวใจเล็กน้อย เถาและใบมีขนละเอียดปกคลุม 
ดอก ดอกมีขนาดเล็ก
สีชมพู ออกเป็นช่อ มีกลิ่นเฉพาะตัว       ผล
ทรงกลมขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ
5 มม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน
และใบอ่อน
รับประทานเป็นผัก (ใบกระพังโหมหั่นฝอยถือเป็นส่วนผสมที่
สำคัญของข้าวยำปักษ์ใต้)
 

สรรพคุณทางยา
กระพังโหม แพทย์แผนไทยใช้ถอนพิษสุรายาสูบ พิษจากอาหาร ใช้เป็นยาช่วยขับ
ปัสสาวะ  แก้ท้องเสีย  ช่วยให้เจริญอาหาร
เป็นยาอายุวัฒนะ และแก้ธาตุพิการ
    อนึ่ง  ในประเทศฟิลิปปินส์ หมอยาพื้นบ้านได้ใช้ กระพังโหม เป็นยาดังนี้
เถา ใช้รักษาโรคไขข้อ  ใบ ต้มแล้วตำให้แหลกนำไปโปะลงบนท้องช่วยให้สามารถ
ขับปัสสาวะออกมาได้,  ใบ นำมาต้มดื่ม สามารถขับนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะได้
ด้วย   น้ำต้มจากใบ นำมาเช็ดตัวจะทำให้ไข้ลด   หรือนำผ้าสะอาดมาชุบน้ำต้มจาก
ใบวางไว้บนศีรษะ ช่วยในการลดไข้ได้อย่างดี   นอกจากนี้น้ำต้มจากใบยังใช้เป็นน้ำ
อาบ  สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบได้อีกด้วย       เปลือก นำมาต้มดื่มทำให้
อาเจียนได้ น้ำต้มจากรากใช้ในการขับลม   ผล ใช้เป็นยาแก้ปวดฟันและทาฟันให้
เป็นสีดำ

หมายเหตุ
 - ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ กระพังโหม  - นจ. 
 - ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระพังโหม  ได้จากเวบไซท์
/ Philippine-Alternative-Medicine คลินิกการแพทย์แผนไทยพฤกษเวช /

 


กระวาน (กระวานไทย)


ช่อดอกกระวาน  (ภาพจาก  Internet)

    

ดอกกระวาน  และ  กอกระวาน 
าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Amomum krevanh Pierre. ex Gagnep.  
                          
( ชื่อพ้อง
      Amomum cardamomum L. )
ชื่อวงศ์
   ZINGIBERACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Cardamom (or  Cardamon),   Camphor Seeds,  
                Round Siam Cardamon,    Clustered Cardamom

ชื่ออื่นๆ
 
    กระวานดำ, กระวานขาว (ภาคกลาง),   กระหวาน, กระว้าน (ภาคใต้),                  กระวานจันทน์ กระวานโพธิสัตว์

กระวาน  เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์เดียวกับขิง ข่า   เป็นพืชที่ต้องการ
ความชื้นสูง ตามธรรมชาติจะขึ้นอยู่ในป่าที่
ฝนตกชุกและมีไม้ใหญ่ปกคลุม มักพบขึ้น
อยู่ตามไหล่เขา บริเวณป่าดงดิบ  ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลอย่างน้อย
800 ฟุต
กระวาน มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน  ใบกระวานเป็นใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน
ยาว
15 - 25 ซม. ปลายแหลม สีเขียวเป็นมัน โคนใบมนออกสลับกันที่โคนต้น ก้าน
ใบโค้ง กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น สูงประมาณ
2 เมตร     ดอก กระวาน
ออกเป็นช่อ โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเล็กน้อย อยู่ใกล้โคนต้น  ช่อดอกรูปทรงกระบอก
ยาว
6 -15 ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม.  ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียง
ซ้อนสลับกันตลอดช่อ กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปร
สภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง  ผล  ผลกระวานออกเป็น
ช่อๆหนึ่งจะมีผลประมาณ
10 - 20 ผล ผลค่อนข้างกลม
สีนวล ผิวข้างนูนเป็น 3 พู  มี
เส้นไปตามยาวของผล ผลอ่อนมีขนและจะร่วงไปเมื่อแก่
ภายในผลมีเมล็ดประมาณ
9 - 18 เมล็ด
 เมล็ดจะเป็นรูปไต เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ
ขนาด
3-6 มม. ทั้งผลและเมล็ด มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร มีรสเผ็ด

การกระจายพันธุ์       กระวาน มี 2 ชนิด คือ กระวานแท้ หรือ กระวานเทศ  มีถิ่น
กำเนิดในประเทศอินเดียและกระวานไทย  ซึ่งจะพบในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในประเทศไทยจะพบขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื้นเช่น เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
, เทือกเขา
ตะนาวศรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
, เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และแถบ
เทือกเขาสันกาลาคีรี ( ในเขตอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี,  อำเภอสะบ้าย้อย
จังหวัดสงขลา  และแนวชายแดนมาเลเซีย ในเขตจังหวัดยะลา )

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใช้เป็นสมุนไพร 
กระวาน
เป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย กล่าวคือ  ราก ใช้
เป็นสมุนไพรแก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต  แก้ลม  เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะ
นาด    หัวและหน่อ ใช้ขับพยาธิในเนื้อ ให้ออกทางผิวหนัง    เปลือก เป็นยาแก้ไข้
ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ  ใบ เป็นยาแก้
ลมสันนิบาด ขับลม ขับเสมหะ รักษาโรครำมะนาด แก้ไข้เซื่องซึม   แก้ลม จุกเสียด
 บำรุงกำลัง    ผลแก่ มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยในผลกระวาน มีฤทธิ์
ขับลมและบำรุงธาตุ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย  แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ
นอกจากนี้  ผลกระวานยังใช้ผสมกับยาถ่าย เช่น มะขามแขก เพื่อบรรเทาอาการไซ้
ท้อง   เมล็ด ใช้เป็นสมุนไพรแก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ

ใช้เป็นอาหาร  
ลูกกระวาน  นำมาแต่งกลิ่นขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้และแต่งกลิ่นเพื่อดับกลิ่นคาวใน
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม ตับบด และอาหารหมักดอง หรือใช้เป็น
เครื่องเทศใส่ในแกงกะหรี่ แกงมัสมั่น และเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่างๆ
    เหง้า
อ่อน
ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย

หมายเหตุ  ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระวาน ได้จากเวบไซท์
 
/    the-than.com        /   rspg.or.th     /     tistr.or.th      /
  /    thaiscience.info   
/


กาหลง


าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia  acuminata Linn.  
ื่อวงศ์     
 LEGUMINOSAE   ( CAESALPINIACEAE )
ชื่อภาษาอังกฤษ     Galaong,   Snowy orchid tree
ชื่ออื่น    เสี้ยวน้อย(เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาว,  ส้มเสี้ยว,  

กาหลง เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 2-4 เมตร ใบลักษณะเป็นใบไม้แฝดออกสลับกันไป
ตามข้อต้นคล้ายใบชงโค
 ใบกาหลงมีสีเขียวและระคายมือ  ปกติใบมักจะพับเข้าหา
กัน ขนาดของใบกว้างและยาวประมาณ
2.5 ซม.   ดอก  ดอกสีขาวออกเป็นช่อขึ้น
ตามข้อต้น
  ใบส่วนกลางโคนก้าน กลีบดอกมีอยู่
6 กลีบ  ซ้อนเหลี่ยมกัน   ช่อหนึ่ง
มีดอกประมาณ
5-8 ดอก   และแต่ละช่อบานคราวละ 2-3 ดอก    เกสรตัวผู้ยื่นยาว
ออกมาจากกลางดอกมี
5 เส้น ปลายของเกสรมีสีเหลือง    ส่วนเกสรตัวเมียสีเขียว
อยู่ระหว่างกลาง
   มีเส้นเดียวโตและยาวกว่าเกสรตัวผู้    ดอกกาหลงบานเต็มที่จะมี
ขนาดประมาณ
5 ซม. ออกดอกตลอดปี     กาหลง  เป็นพืชที่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
ชอบกลางแจ้ง และดินร่วนซุย

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ดอก
กาหลง   รับประทานได้ ชาวเขาภาคเหนือนิยมกินยอดอ่อนมีสรรพคุณทางยา
แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต
 แก้เสมหะพิการ และแก้เลือดออกตามไรฟัน

หมายเหตุ  ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กาหลง ได้จากเวบไซท์
 
     
the-than.com   /  หมอชาวบ้าน  /
 


กาหลา

     


าพโดย  :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่    :  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm.   
                       (
ชื่อพ้อง  Nicolaia  elatior (Jack)  Horan. )
ชื่อวงศ์
  
ZINGIBERACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Torch  Ginger
ชื่ออื่น     กะหลา,   ดาหลา,  บุหงากันตัน(มาเลย์)

กาหลา เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิงข่าแต่สูงใหญ่กว่า กล่าวคือกาหลาที่สมบูรณ์เต็มที่
กาบใบ
ที่แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดินซึ่งมีลักษณะกลมอวบน้ำ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3-6 ซม.และมีความสูงได้ถึง 4 -4.5 เมตร   ใบ
มีลักษณะคล้ายใบข่า เป็นใบเดี่ยวสี
เขียวเข้ม
รูปหอกปลายแหลม กว้างประมาณ 20 ซม.ยาวประมาณ 50 ซม.ก้านดอก
เป็นปล้อง คล้ายไผ่ สีเขียวแทงขึ้นจากหน่อใต้ดินสูงประมาณ 0.8 -1.2 เมตร
 ดอก
สีชมพูถึงแดงเข้มออกเป็นดอกเดี่ยว
มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น กลีบลดขนาดเล็กลงใน
วงชั้นในปลายกลีบที่แบะออกมีจะงอยแหลมส่วนใต้ขอบกลีบมีสีขาว กลีบดอกเรียบ
เป็นมัน ไม่มีกลิ่น     กาหลา จะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม
- สิงหาคม

ลักษณะทางนิเวศน์  
กาหลา
เป็นพืชท้องถิ่นแถบเทือกเขาหลวง นครศรีธรรมราช
 และเทือกเขาสันกาลา
คีรี ชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่มีความชุ่มชื้นสูง
  เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ
กาหลาจะขึ้นงอกงามได้ดี ใต้ร่มไม้อื่น ที่มีความชื้นและไม่มีลมแรง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ดอกตูม, หน่ออ่อน ของกาหลา มีรสเปรี้ยว-เผ็ด  คนไทยถิ่นใต้ใช้เป็นผักเหนาะจิ้ม
น้ำพริกหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมในข้าวยำ
หรือ ทานกับขนมจีน

ความเชื่อของคนไทยถิ่นใต้ที่เกี่ยวข้องกับ กาหลา
ชื่อของ กาหลา นี้  พ้องเสียงกับคำว่า  พระกาหลา - พระกาฬ  ( พระอิศวรเทพแห่ง
ความตาย ) ในอดีตคนไทยถิ่นใต้ไม่นิยมนำกาหลามาปลูกในบริเวณบ้าน  และไม่
นิยมนำดอกกาหลามาบูชาพระ
  ปัจจุบันคนปักษ์ใต้น้อยคนที่จะรู้ความหมายของคำ
กาหลา ประกอบกับ
 กาหลา ได้ชื่อใหม่เป็น  ดาหลา   จึงนิยมนำมาปลูกกันทั่วไป
โดยเริ่มจากปลูกเป็น ผักเหนาะ
ช้ทานคู่กับขนมจีนหรือข้าวยำ    ต่อมา ก็ปลูกเป็น
ไม้ตัดดอกขาย
ถือเป็นไม้ตัดดอกที่ทนทาน อยู่ได้หลายวัน  มีราคาดี


หมายเหตุ

ข้อมูลความเชื่อของคนไทยถิ่นใต้ที่เกี่ยวข้องกับ กาหลา  - นจ. 
ชมภาพ กาหลา ใน Picasa Web Albums
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กาหลา ได้จากเวบไซท์
 
-
หมอชาวบ้าน
 - Hawaiian Plants and Tropical Flowers

 



   หน้าแรก                          หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้    หน้าถัดไป    
 
 
ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/05/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 
 

 

 

 

  

Free Web Hosting