รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   :   หมวดอักษร   -     ข     
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -   ข  )

  /    ขรี      ขลู่     /    ขี้กาดิน   /   ขี้พร้าไฟ  /  ขันทองพยาบาท   /
 
/   ไข่เน่า    /   
เขาคัน (เถาคัน)  /


รี



   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ริมพรุเตียว ทิศตะวันออกของทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Dalbergia  Candenatensis ( Dennst. ) Prain
ชื่อวงศ์    LEGUMINOSAE - PAPILIONACEAE
ชื่ออื่น    
กรักขรี,   
สักขี

ขรี  ไม้เถาเนื้อแข็งที่พาดพิงไม้อื่น ได้ถึง 8 มตร   ักขึ้นตามทุ่งนา ป่าราบ
โล่ง ชายคลอง ลำต้น เป็นสามเหลี่ยมมีร่อง พอมองเห็น โคนต้นมีหนามยาว
แก่น 
มีสีน้ำตาลเข้ม
มีเสี้ยนดํา   ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียง
เวียน ก้านใบยาว 3-5 ซม. ใบย่อย 3-5 ใบ  ใบย่อย รูปไข่กลับแกมรูปขอบ
ขนาน ขนาด 2x3 ซม. ลักษณะใบงุ้มงอน คล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวที่โคนใบ
ดอก 
ดอกสีขาวออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ผล เป็นฝักคล้ายฝักส้มป่อยแต่ละ
ฝักจะมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ด เมล็ดข้างในมีสีม่วง

 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ยอดอ่อนของขรี  มีรสฝาดมัน   ใช้เป็นผักเหนาะกินกับขนมจีน  หรือใช้เป็น
ผักใส่ใน
แกงเผ็ด,แกงเลียง หรือแกงส้ม ก็ได้

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ ขรี  - นจ.  )


ขลู่


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : บริเวณคลองวง ถนนลพบุรีราเมศวร์ ต.ะวง อ.มือง  สงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pluchea indica  (Linn.) Less. 
ชื่อวงศ์
COMPOSITAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Indian Marsh Fleabane
ชื่ออื่น
    
คลู้ (ถิ่นใต้),  หนวดวัว,  หนวดงิ้ว,  

ขลู่  เป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ทั่วไป   ตามที่รกร้างว่างเปล่า ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล
ชอบดินเค็มหรือกร่อย
กึ่งพุ่มสูง 0.5-2 เมตร แตกกิ่งก้านมาก  ใบ มีกลิ่นฉุน
รูปไข่กลับ
กว้าง 1 - 5.5 ซม.ยาว 2.5 – 9 ซม. ปลายใบแหลม หรือแหลมมี
ติ่งสั้น
   โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นซี่ฟันแหลม   เนื้อใบคล้ายกระดาษ
ค่อนข้างเกลี้ยง ไม่มีก้านใบ
   ดอก ดอกสีขาวม่วง เป็นกระจุกเล็ก ออกเป็น
ช่อที่ปลายยอด และตามง่ามใบ  ก้านช่อดอกยาว
5 - 6 มม.ไม่มีก้านดอกริ้ว
ประดับแข็งสีเขียว เรียงเป็น
6 – 7 วง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใช้ทั้งต้น  ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ   แก้เบาหวาน    ใช้ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน
ใบ นำมาผึ่งให้แห้ง  จะมีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง  ใช้ชงดื่มแทนชา ป็นยาอายุ
วัฒนะ แก้กระษัย แก้ปวดเอว,ปวดหลัง ่วยขับนิ่ว ขับปัสสาวะ 
น้ำคั้นจากใบสด ใช้เป็นยาสมานแผล รักษาริดสีดวงทวาร
เปลือกต้น ขูดเอาขนออกให้สะอาดลอกเอาแต่เปลือกหั่นเป็นเส้น ตากแห้ง
มวนเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก หรือต้มรม ริดสีดวงทวารนัก
ราก ต้มกินเป็นยาลดไข้,ช่วยขับเหงื่อ

วิธีทำ ชาสมุนไพร "ขลู่"
 1. เก็บใบอ่อนขลู่ ตอนเช้า ล้างให้สะอาด อย่าให้ช้ำ
 2. หั่นด้วยมีดคม ๆ เป็นเส้นหนา 1/2 เซนติเมตร
 3. นำใบขลู่ที่หั่นแล้วใส่หม้ออลูมิเนียม ลวกน้ำร้อน 3-5 นาที พอสุก(จะทำ
    ให้รักษาสีเขียวไว้ได้สวยงาม)  
 4. ผึ่งลม หรือแดด ประมาณ 10 - 15 นาที ให้น้ำตกหมด
 5. คั่วในกระทะอลูมิเนียม ใช้ไฟเบาถึงไฟกลาง คั่วให้แห้ง นาน 30 นาที
 6. ใส่ตะแกรง, ฉีกใบชาที่กอดกันเป็นก้อน ให้กระจายออก แล้วนำเข้าตู้อบ
 
    ให้แห้ง
 7. บรรจุใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท  เก็บไว้ชงดื่ม

หมายเหตุ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขลู่ ได้จากเวบไซท์
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพฯ
- Philippine Medicinal Plants


ขี้กาดิน


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ริมคลองสายวา  หลังหมู่บ้าน Airport   (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Trichosanthes cordata Roxb.
ชื่อวงศ์    CUCURBITACEAE
ชื่ออื่น     ขี้กาขาว เถาขี้กา,  ขี้กาดิน(ใต้)

ขี้กาดิน เป็นพันธุ์ไม้เถา เลื้อยตามพื้นดิน ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ บนที่รกร้าง
ทั่วไป เถามีลักษณะกลมและโตเท่าก้านไม้ขีด  หรือโตกว่าเล็กน้อย  ตามข้อ
ของเถาจะมีมือเกาะ   ดอก มีสีขาวล้วน   ผล กลมและโตเท่าผลมะนาว เมื่อ
สุกจะมีสีแดง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  : เถา ใบสด

เถา
เถาขี้กาดิน ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงน้ำดี ล้าง
เสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต  รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือด
ใช้เป็นยาฆ่าเลือดไร และเหาได้     ใบสด ใบสดของขี้กาขาวใช้ตำสุมขม่อม
เด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี

( ข้อมูลจาก :เวบไซท์ พืชและสัตว์ถิ่นภูพาน)
 


ขี้พร้าไฟ

ชื่อวิทยาศาสตร์    Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.
วงศ์     CUCURBITACEAE
ชื่
อภาษาอังกฤษ    Spiny Bitter Gourd,   Gac fruit
ชื่ออื่น   ขี้พร้าไฟ(ใต้),      ฟักข้าว(กลาง)     บ่าข้าว(เหนือ),
           
หมากอูบข้าว(อีสาน),    ขี้กาเครือ (ปัตตานี)


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ขี้พร้าไฟ   ใบเดี่ยว ใบมีแฉก 3 แฉก  (พันธุ์นี้จะพบเห็นได้ทั่วไป ในเขตภาค
กลาง,และอีสาน)


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ขี้พร้าไฟ  ใบมีรอยแฉก ลึกจนถึงก้านใบ จนกลายเป็นใบประกอบย่อย
3 ใบ
(พันธุ์นี้จะพบเห็นได้ใน เขตภาคใต้ของไทย)

ขี้พร้าไฟ เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีมือเกาะ   พันธุ์ที่พบทั่วไปในประเทศไทยจะ
มีใบเป็นใบเดี่ยว มีแฉก
3 แฉก เรียงแบบสลับ   พันธุ์ที่พบในภาคเหนือ ใบจะ
เป็นใบเดียวรูปหัวใจ หรือรูปไข่ (ไม่มีร่องแฉกของใบ)  กว้างยาวเท่ากัน  ประ
มาณ
6-15 ซม. ในภาคใต้จะพบ 2 พันธุ์ คือ  พันธุ์ทั่วไป และพันธุ์ที่ใบมีรอย
แฉก ลึกถึงก้านใบจนกลายเป็นใบย่อย 3 ใบ อีกพันธุ์หนึ่งด้วย ดอก เป็นดอก
เดี่ยวออกที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรง
กลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน    ผล  มี
2 ชนิด คือ ผลยาวมีขนาด
ยาว
6 -10  ซม.และผลกลมยาว 4 - 6 ซม.  เปลือกผลอ่อน สีเขียวมีหนามถี่
เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดง เมื่อผลสุกแต่ละผลหนักตั้งแต่
0.5-2 กก   ผลขี้
พร้าไฟ มีสารไลโคพีน (
Lycopene ) สารที่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
และมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก)สูงกว่าในมะเขือเทศ
70 -100 เท่า
และมีแคโรทีน (
carotene)  มากกว่าในแครอท 10 เท่า

การขยายพันธุ์     ขี้พร้าไฟ ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด หรือแยกรากปลูก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อนและผลอ่อน ของขี้พร้าไฟ  นำมาลวก, ต้ม หรือต้มกะทิ จิ้มน้ำพริก
หรือใช้เป็นผักแกง 
ผลสุก กินได้ มีรสหวานปะแล่มๆ เยื่อหุ้มเมล็ดนิยมนำมา
กินเล่น มีรสจืดๆ มันๆ  ในประเทศเวียดนาม นิยมนำเยื่อหุ้มเมล็ดในผลแก่ มา
ผสมกับข้าวสารเหนียวแล้วนำไปหุงจะทำให้ข้าวเหนียวที่หุงได้มีสีส้มแดงสวย
งามและเชื่อกันว่า ทานแล้วจะช่วยบำรุงสายตา  แก้ปัญหาการมองไม่เห็นใน
ช่วงกลางคืนได้

สรรพคุณทางยา
เถา ราก และใบ  เป็นยาถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
แก้พิษอักเสบ  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  แก้พิษฝี  แก้ปวดบวม ดูดหัวฝี  ฆ่า
เหา    รากขี้พร้าไฟ นำมาบดใช้หมักผมเพื่อกำจัดเหา  และกระตุ้นให้ผมดก
เมล็ด  ตำผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาภายนอก รักษาหูด
ลดอาการอักเสบบวม อาการฟกช้ำ อาการผื่นคันและโรคผิวหนัง
กลากเกลื้อน
เยื่อหุ้มเมล็ดตากแห้ง เก็บไว้ชงน้ำร้อน เป็นเครื่องดื่ม ช่วยบำรุงสายตา

(เนื่องจาก เยื่อหุ้มเมล็ดของขี้พร้าไฟ มีรสจืดๆมันๆ จึงควรผสมน้ำผลไม้ที่มีรส
เปรี้ยว
และ
เติมน้ำตาล ให้มีรสหวานตามใจชอบ  ก่อนดื่มให้นำไปแช่เย็น จะช่วยให้น้ำขี้พร้าไฟ มีรสชาติดี  ดื่มได้ง่ายขึ้น)
 

       

     


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ดอกและผลของ ขี้พร้าไฟ (พันธุ์ที่มีใบประกอบย่อย 3 ใบ)
 

    
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)
เมล็ดของ ขี้พร้าไฟ (พันธุ์ที่มีใบประกอบย่อย 3 ใบ)

 


ขันทองพยาบาท




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : บนโคก ใกล้กำแพงสนามบินหาดใหญ่  ทิศตะวันตกของทุ่งปลักเหม็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Suregada multiflorum (A. Juss.) Baill.
ชื่อวงศ์   EUPHORBIACEAE 

ชื่ออื่น  -  ชายปลวก (ยายปลวก) (ภาคใต้),   มะดูก, กระดูก (ภาคกลาง)

ไม้ต้นสูง 3-7 เมตร  ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ รูปขอบขนาน หรือขอบขนานแกม
รูปใบหอก
  กว้าง 3-6 ซ.ม  ยาว 9-14 ซ.ม   ปลายแหลมหรือมน  โคนแหลม
เป็นครีบ มีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป   ดอก สีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อสั้นๆ
ตรงข้ามกับใบ
  ดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย  อยู่ต่างต้นกัน   กลืบเลี้ยง 5 กลีบ
ไม่มีกลีบดอก ดอกตัวผู้มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ติดอยู่บนฐานดอกซึ่งนูน ดอก
ตัวเมีย รังไข่มี 3 ช่อง ปลายแยกเป็น 2 แฉก  ผล ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 2 ซ.ม ผลอ่อนสีเขียว สุกสีเหลือง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
เปลือก
ต้มรักษาโรคผิวหนัง  เป็นยาบำรุงเหงือกและฟัน  ยาถ่าย  และรักษา
โรคตับ
(เนื้อไม้ มีพิษทำให้เมา)    ราก แก้ประดง แก้ฝีมะเร็ง น้ำเหลืองเสีย

หมายเหตุ (ของขนำริมทุ่งปลักเหม็ด) :
ชาวหาดใหญ่-คลองหอยโข่ง สงขลา เรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า   "ไม้ชายปลวก"
เนื่องจากจะพบเห็นต้นไม้ชนิดนี้ได้เฉพาะบริเวณข้างๆจอมปลวก ที่น้ำไม่ท่วม
ขัง (แต่ในเอกสารบางแห่ง ระบุว่า คนใต้เรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า  "ยายปลวก")

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ ขันทองพยาบาท  - นจ.  )


ไข่เน่า


ภาพจาก เวบพรรณไม้งามที่วังตะไคร้

    
ภาพ ต้นไข่เน่า อายุประมาณ
1 ปี 
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )    
สถานที่
: ซอยทวดพรหม ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)


ภาพ ผลไข่เน่า ที่เคล้าเกลือและผึ่งแดดแล้ว
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )
สถานที่ 
:   ตลาดอัมพวา  สมุทรสงคราม

ชื่อวิทยาศาสตร์  Vitex glabrata  R. Br.  ชื่อวงศ์   VERBENACEAE
ชื่ออื่น
  -
ไข่เน่า (กลาง และภาคใต้)  ขี้เห็น (อุบลราชธานี-เลย), 
              ปลู(เขมร - สุรินทร์),
 
คมขวาน,    ฝรั่งโคก

ไข่เน่า เป็นพันธุ์ไม้ต้น  พบในป่าเบญจพรรณทั่วไป สูงประมาณ 8 - 12 เมตร
ลำต้น เกลี้ยงมีสีหม่นและมีด่างเป็นดวงขาว ๆ  ใบ เป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ
เรียงตรงข้าม ชนิด
5 ใบย่อย รูปไข่กลับแกมวงรี    หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง
4-6 ซม. ยาว 10-13 ซม.
สีเขียวเข้ม   ดอก  เล็กๆสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตรง
ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง   ผล 
ผลอ่อนที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียวและแข็ง  รูปไข่หรือ
รูปไข่กลับ  ยาว
1 - 2  ซม. เมื่อสุกมีสีม่วงดำเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวเป็นมัน
การขยายพันธุ์  ไข่เน่า ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
เนื้อไม้ ของไข่เน่าแข็ง  ใช้ทำเครื่องเรือนและของใช้ต่างๆได้    เปลือกต้น
มีรสฝาด เป็นยาใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ไข้ ขับพยาธิในเด็ก   ราก  ใช้แก้
ท้องเสีย และเป็นยาเจริญอาหาร
   ผลสุก มีรสหวานเล็กน้อย อมเปรี้ยวเอียน
และมี
กลิ่นเหม็นคาว รับประทานได้  แต่ถ้าจิ้มเกลือ จะช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น
หรือจะ
เคล้ากับเกลือแล้วผึ่งแดดเก็บไว้ทานก็ได้ ถือเป็นผลไม้ที่เป็นทั้งอาหาร
และยา
ช้รักษาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสมอง และบำรุงไต ได้ดี  นอกจากนี้
ยัง
มีแคลเซี่ยมสูง จึงป็นผลไม้ ี่ช่วยบำรุงกระดูก สำหรับผู้สูงอายุ

หมายเหตุ (ของขนำริมทุ่งปลักเหม็ด) :
ต้นไข่เน่า 
เป็นพันธ์ไม้ที่มีประโยชน์มาก
แต่ไม่มีผู้ใดนิยมปลูกในบ้าน  เนื่อง
จาก มีชื่อที่ไม่ค่อยเป็นมงคล
 ในเขตคลองหอยโข่ง สงขลา เดิมจะมีหมู่บ้าน
ติดกับสนามบินหาดใหญ่
ชื่อว่า บ้านไข่เน่า   เนื่องจากมี ต้นไข่เน่า ต้นใหญ่
อยู่หน้าหมู่บ้านแต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น
บ้านใหม่ (และเด็กๆในบ้านใหม่
จะไม่มีใคร รู้จักต้นไข่เน่า)    ใน
เขตกองบิน 56  สนามบินหาดใหญ่  ก็เคยมี
ต้นไข่เน่า ที่เด็กเลี้ยงวัวและหมอยาพื้นบ้านในอดีต ใช้เป็นอาหารและยา แต่
ปัจจุบัน หาคนที่รู้จักต้นไข่เน่าได้น้อยมาก
 


เขาคัน



   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ :  ซอยทวดพรหม  ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cayratia trifolia (Linn.) Domin,  
ชื่อวงศ์   
VITACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ 
  Threeleaf Cayratia
ชื่ออื่น     เถาคันขาว (กลาง),   เขาคันขาว (ใต้)

าคันขาวเป็นพรรณไม้เลื้อยที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่นเปลือกเถาอ่อนจะมีสีเขียว
อ่อนเหลือบขาว เถาแก่ สีจะออกเทาๆ   เถามีลักษณะเป็นข้อๆ   
ใบ  เป็นใบ
ประกอบมีใบย่อย
3 ใบ
รูปกลมหัวท้ายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้ม เป็นมันเรียบ
ขอบใบจักขนาดของใบ
10x12.5 ซม. ระหว่างก้านใบ   มีหนวดที่ใช้เกี่ยวพัน
ต้นไม้อื่น      ดอก
ออกจากข้อ มีลักษณะเป็นช่อสีขาว
คล้ายดอกกะตังบาย
ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 2 ซม. สีเขียว ผิวมันเรียบ เป็นพวงสี
เขียวใส   ผลสุก
สีดำ น้ำในผลที่แตกหากถูกผิวหนังจะทำให้คันระคายเคือง

ลักษณะทางนิเวศน์
เขาคันขาว จะพบได้ทั่วไป
ตามที่รกร้างและ ตามริมคลอง ในป่าที่ราบ ป่าริม
ทะเล

ส่วนที่ใช้ประโยชน์   
ผลอ่อนและแก่ 
 มีรสเปรี้ยว
ใช้ตำน้ำพริก  และใช้เป็นผักใส่ในแกงส้ม การ
ปรุงจะต้องใส่ผลเขาคัน ในขณะที่น้ำแกงกำลังเดือด    และต้องไม่เดิมน้ำอีก
("แกงส้มปลาหมอใส่ลูกเขาคัน
ถือเป็นอาหารจานเด็ด ตำรับหนึ่งของคนใต้)
ผลสุก  มีสีดำ ใช้เป็นสีย้อมผ้า


หมายเหตุ
เขาคัน (เถาคัน) พืชในวงศ์ 
VITACEAE  ในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ
ชนิดใบประกอบ 3 ใบ 
 
1.  เขาคันขาว (Cayratia trifolia (Linn.) Domin ) เป็นเขาคัน ชนิดที่ผลใช้
เป็นผักแกงส้ม

 2.  เขาคันแดง ( Parthenocissus Quinquefolia ( L.) Planch) เป็นเขาคัน
ชนิดที่พบตามป่าเต็งรัง
เปลือกเถาอ่อนสีแดง เถาแก่สีน้ำตาลอมแดง ใบและ
ก้านใบสีแดงถึงแดงอมม่วง
       แพทย์แผนไทยจะใช้  เขาคันแดง เป็นยา
สมุนไพร คือ
เถาสด หรือเถาแห้งใช้ต้มกินน้ำช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว  เป็นยา
ฟอกโลหิตแก้ฟกซ้ำภายในขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลา

และชนิดใบเดี่ยว คือ
 
-   เขาคัน ชนิดใบเดี่ยว (Cissus repens Lam.)
 


ตัวอย่าง
ภาพ  เขาคัน (เถาคัน)  อีก 2 ชนิด


เขาคันแดง  Parthenocissus Quinquefolia ( L.) Planch
(ภาพจาก ฐานข้อมูลองค์ความรู้สมุนไพรไทย )


เขาคัน (ชนิดใบเดี่ยว) Cissus repens Lam.
( ภาพจาก
The Total Vascular Flora of Singapore Online )
 



  หน้าแรก                   หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้   หน้าถัดไป    
 
 
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับแต่งครั้งสุดท้ายเมื่อ 04/01/2555

Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
   

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting