รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    :   หมวดอักษร   -  จ 
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  จ  )

/  จันทน์เทศ    /    จันทน์หอม     /     จิกนา    /    จิงจ้อ   / 


จันทน์เทศ


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Myristica fragrans Houtt.
ชื่อวงศ์    MYRISTICACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Nutmeg Tree,   Myristica
ชื่ออื่น   จันทน์บ้าน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)     
 

จันทน์เทศ เป็นไม้ต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นให้น้ำยางสีแดง ทุกส่วนมีกลิ่นหอม  เปลือก
ต้นสีน้ำตาลอมเหลือง    ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว
10-15 ซม.   โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ดอกสีเหลืองอ่อน  แยกเพศและอยู่ต่าง
ต้นกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมกัน เป็นรูปคนโทคว่ำปลายแยกเป็นแฉกเล็ก 3 แฉกไม่มีกลีบดอก
เกสรตัวผู้เชื่อมกัน ผล ค่อนข้างกลม  เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซ.ม  สีออกเหลืองหรือแดง
เมื่อแก่แตก 2 ซีก เมล็ด  มีรกสีแดงหุ้มเรียกว่า ดอกจันทน์   มีเมล็ดเดียวเปลือกแข็งสี
น้ำตาลเรียกว่า ลูกจันทน์

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ไม้
แก้ไข้ บำรุงตับและปอด    ดอกจันทน์  เป็นยาบำรุงธาต ขับลม บำรุงโลหิต ใช้เป็น
เครื่องเทศ    
   ลูกจันทน์  เป็นยาบำรุงกำลัง ขับลม แก้ปวดมดลูก ท้องร่วง ธาตุพิการ
เป็นเครื่องเทศ

หมายเหตุ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จันทน์เทศ จากเวบไซท์
    /  
Wikipedia    /  จันทน์เทศ Nutmeg เครื่องเทศหอมอันแพร่หลาย...  /
 


จันทน์หอม(ผัก)

 
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Polygonum odoratum Lour
ชื่อวงศ์    POLYGONACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ     Vietnamese coriander
ชื่ออื่น   ผักแพว(กลาง),  ผักแพ้ว( อีสาน),   ผักไผ่( เหนือ),
         
  ผักพริกม้า(โคราช),     ผักจันทน์หอม,  ผักหอมจันทน์(ใต้), 
            ผักเสม (ปัตตานี),  
Rau
răm (เวียตนาม )

ผักจันทน์หอม  เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกปีเดียว  สูง 30-35 ซม. เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ
 ลำต้น มีสีเขียวแกมสีแดงเรื่อ ๆ ส่วนปลายตั้งขึ้น  ลำต้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน บน
ลำต้นมีข้อเป็นระยะๆ บริเวณข้อจะมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับดิน
   ใบ เป็นใบ
เดี่ยวออกแบบสลับ รูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่
ขอบใบเรียวปลายใบแหลม ฐานใบรูป
ลิ่ม ใบกว้าง
2.5 -3 ซม.ยาว 5.5 -8 ซม.ขอบใบเรียบ สีเขียว มีแต้มสีแดงที่ขอบใบและ
เส้นใบย่อย โดยเฉพาะที่เส้นกลางใบแบนเรียบไม่นูนหรือเป็นสัน
 มีขนยาวละเอียดอ่อน
เส้นใบเรียงขนานแบบขนนก ยาวถึงส่วนปลายใบ เส้นกลางใบด้านล่างเป็นสันนูนไม่มีขน
มีต่อมน้ำมันใส ก้านใบยาว
0.5-0.7 ซม.  มีหูใบลักษณะเป็นปลอก หุ้มรอบลำต้นบริเวณ
เหนือข้อ 
ดอกเป็นช่อมีดอกย่อย ขนาดเล็กสีขาวนวลหรือสีชมพูม่วง ผลมีขนาดเล็กมาก

การขยายพันธุ์   
ขยายพันธ์ด้วยการปลูกจากเมล็ด หรือปักชำในที่ชื้นแฉะ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน ใบอ่อน  มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว ใช้ในการแต่งรสอาหารดับกลิ่นคาวของเนื้อ
สัตว์
   ชาวเหนือและอีสาน ใช้รับประทานร่วม  กับอาหารรสจัด เช่น   น้ำพริก  ลาบ ก้อย
ชาวปักษ์ใต้ ใช้ผักจันทน์หอมในการปรุงรส
บูดู,  ทำเป็น"หมวดข้าวยำ", เป็น"ผักเหนาะ"
ทานคู่กับแกงเผ็ด แกงไตปลา, และใช้เป็นผักใส่ในแกงส้ม(โดยเฉพาะแกงส้มปลาหมอ)
 จะช่วยให้แกงส้มมีรสชาติดี หอมอร่อยยิ่งขึ้น

สรรพคุณทางยา      ราก  ใช้แก้ริดสีดวง   แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อกระดูก
รักษาหืดไอ แก้เจ็บท้อง  ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ  ดอก
 ใช้ขับเหงื่อ รักษาโรคปอด

 

หมายเหตุ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผักจันทน์หอม (ผักแพว,ผักไผ่, ผัก....)  จากเวบไซท์
    /   Gernot Katzer's Spice Pages  /   บ้านสวนพอเพียง   /
 


จิกนา

 
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Barringtonia Acutangula (L.) Gaertn. 
ชื่อวงศ์
      BARRINGTONIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  Indian oak
ชื่ออื่น    กระโดนทุ่ง,   กระโดนน้ำ(หนองคาย),  ตอง(ภาคเหนือ)

จิกนา เป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8 -17 เมตร ลำต้นมักเป็นปุ่มปมและมีพูพอน
ทั่วไป แผ่กิ่งก้านออกและส่วนของปลายกิ่งจะลู่ลง  จิกนาเป็นไม้ผลัดใบ ที่ผลิใบใหม่ได้
รวดเร็วใบอ่อนจะมีสีแดงเรื่ออมสีน้ำตาล เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้มมีลักษณะหยาบและ
หนาเป็นใบเดียวติดกันเป็นกลุ่มตอนปลายๆ กิ่ง ทรงรูปไข่กลับหรือรูปหอกยาวดอกสีแดง
เล็ก มีกลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นช่อห้อยย้อยลงที่ปลายกิ่ง


ส่วนที่ใช้ประโยชน์   
ยอดอ่อน และดอกอ่อน  รับประทานเป็นผักสด มีรสมัน ปนฝาดเล็กน้อย  เมล็ดใช้เป็น
ยาลมแก้จุกเสียดแน่นและใช้เป็นยาร้อนในการคลอดบุตรใช้รักษาเยื่อนัยน์ตาอักเสบทำ
ให้อาเจียนและแก้โรคไอของเด็ก ใบ แก้ท้องร่วง บิด มูกเลือด   ราก ใช้เป็นยาระบาย 
เปลือกต้น เป็นยาสมานแผลแก้เลือดออกตามไรฟัน เนื้อไม้ ขับระดู

หมายเหตุ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จิกนา  จากเวบไซท์
 
    /    
Flowers of India   /  ข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์  /
     /    กรรมฐานดอทคอม - ต้นไม้ในพุทธประวัติ : ต้นจิก  /
 


 
จิงจ้อ 


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Merremia umbellata (L.) Hallier f.
ชื่อ
วงศ์    CONVOLVULACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ   Hogvine,  Yellow Merremia
ชื่ออื่น   จิงจ้อ(ใต้ - สงขลา),    จิงจ้อดอกขาว(เหนือ ),   เถาดอกบานตูม(ตราด)

ไม้เถาล้มลุกพันเลื้อย ยาว 5-10 เมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล    ใบ เดี่ยวเรียงสลับขอบ
ขนาน ขอบใบเรียบกว้าง
1.5-3.5 ซม.ยาว 6-9 ซม.  ดอก  ออกเป็นช่อตามซอกใบดอก
ย่อย
1-3 ดอก กลีบดอกขาวหรือเหลืองอ่อน เชื่อมติดเป็นรูปกรวย ปลายกลีบบาน ด้าน
นอกกลีบมีขน
    ผล เมื่อแห้งจะแตก มีเมล็ด 1-3 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล มีขนหุ้ม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ยอดอ่อนและผลอ่อน 
เป็นผักใช้แกงส้ม หรือต้มจิ้มน้ำพริกได้
ราก มีรสร้อนขื่นเล็กน้อย มีสรรพคุณทางยา แก้เสมหะและลม ช่วยการย่อยอาหาร

หมายเหตุ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จิงจ้อ (จากเอกสาร และเวบไซท์)
 
- สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2542  ผักพื้นบ้าน
   ภาคเหนือ 280 หน้า
 - เวบไซท์ 
Philippine  Medicinal Plants
 - เวบไซท์  สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
 



  หน้าแรก                               หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้           หน้าถัดไป 

 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
   

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting