รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   :   หมวดอักษร   -  ช
 
 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -   ช )

/  ชะมวง  /  ชะมวงกวาง  /  ชะลูด  / ชายผ้าสีดา  ชิ้ง  / ชุมเห็ดเล็ก  เชียด  / 


ชะมวง

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Garcinia cowa  Roxb.  วงศ์   CLUSIACEAE  ( GUTTIFERAE )
ชื่ออื่น  -  ส้มมวง (ใต้),  ส้มโมงใบเล็ก ( อีสาน)  กะมวง,  หมากโมก

ชะมวง   ไม้ยืนต้น ขึ้นเป็นกลุ่ม  สูง 4-10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม มียางเหลือง   ใบ ใบ
เดียว
เรียงตรงข้ามรูปรี หรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 7-12 ซม.ใบแก่สีเขียวเข้ม
เนื้อใบหนา ยอดอ่อนสีเขียวอ่อนแกมส้ม  ดอก ดอก
สีเหลืองนวลกลิ่นหอมอ่อนๆ แยกเพศอยู่
ร่วมต้น ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อ เกสรเพศผู้จำนวนมาก  ดอกเพศเมียอยู่เดียวหรืออกเป็น
ช่อ 2-3 ดอก รังไข่กลม    
ผล ขนาดผลมะนาวลักษณะเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 4.5
ซม.เป็นร่องตามยาว โดยรอบ 5-8 ร่อง
  เมื่อสุกมีสีเหลืองและมีกลิ่นเฉพาะตัว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน,ใบอ่อน
มีรสเปรี้ยวช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ
 ใช้เป็นผัก
ประกอบอาหาร ได้หลากหลายประเภท เช่น ต้มกับเนื้อวัว,เนื้อหมู หรือใช้ทำ"น้ำพริกผัด"

 


ชะมวงกวาง

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)


าพจาก   :  Internet

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ploiarium alternifolium (Vahl) Melchior  วงศ์ BONNETIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Cicada tree
ชื่ออื่น  -  มวงกวาง (ใต้) Riang riang ( มาเลเซีย)

ชะมวงกวาง เป็นไม้ยืนต้นสูงถึง 15  เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง  ลำต้นมีรากค้ำยัน เปลือก
สีส้มแกมเทา
 แตกเป็นร่องลึกเปลือกชั้นในสีแดงถึงน้ำตาลแดง  ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกม
รูปไข่กลับ ถึงรูปหอกกว้าง
1.5-2.5 ซม. ยาว  7-12 ซม.  ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบแหลมโคนใบ
ตัด ถึงหยักเว้าเล็กน้อย
เส้นแขนงใบไม่เด่นชัด  ก้านใบสั้น    ดอก สีขาวถึงสีชมพูอ่อนเส้นผ่า
ศูนย์กลาง
2.5-3  ซม. ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้นๆ 2-3  ดอก ตามง่ามใบ  ผล รูปกระสวยกว้าง
ประมาณ
ซม. ยาวประมาณ 2  ซม. เมื่อแก่ จะแตกจากโคนมาหาปลาย

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
 โดยทั่วไปจะพบชะมวงกวาง ขึ้นตามป่าเสม็ดในที่ลุ่มน้ำขังและในป่า
พรุ
น้ำจืดที่มีดินปนทราย ดินปนกรวด แต่บางครั้งจะพบได้ในป่าดิบชื้นที่มีระดับความสูงไม่เกิน
100 เมตร
    การกระจายพันธุ์  ชะมวงกวางกระจายพันธุ์ตั้งแต่  ประเทศเวียตนาม กัมพูชา
ภาคใต้ของไทย  มาเลเซีย   เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว  ประเทศอินโดนีเซีย

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
เนื้อไม้ แข็งแรงทนทานใช้ในงานก่อสร้างได้ดี (ใช้เป็นไม้ระแนงกั้นห้อง, เป็นลูกกลอน
สําหรับ
วางเครื่องมุงหลังคา
ของกระท่อม/ขนำ หรือใช้เป็นไม้ค้างสําหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น ทำเป็น
ค้างพลู ค้างถั่ว )
   ยอดอ่อน มีรสเปรี้ยวนิดๆมีเมือก ใช้เป็นผักเหนาะจิ้มน้ำพริกได้

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ ชะมวงกวาง  - นจ.  )

 


ชะลูด

ชื่อวิทยาศาสตร์   Alyxia reinwardtii  BL. var.lucida Markgr.
ชือวงศ์ 
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น  -   นูด  (ใต้),   ลูด,    ชะนูด  

ไม้เถา เปลือกค่อนข้างดำมียางสีขาวขุ่น ใบ ใบเดี่ยวออกรอบข้อๆ ละ 3 ใบ รูปขอบขนานหรือ
รูปรี กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 3.5-9 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนสอบเป็นครีบ ใบหนา  ดอก
สี
ขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง 4-10 ดอกกลีบดอก 5 กลีบ โคนเป็น
หลอดยาวประมาณ 0.7 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกสั้น เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล รูปรี   ยาวประมาณ 1
ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก
แก้ลม ขับเสมหะและไข้พิษ
เปลือก
ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง
 บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษา แก้ปวดมวนท้อง ปลือก
ชะลูด มีสารหอมชื่อ คูมาริน (
coumarin)   คนไทยในสมัยก่อนจึงนิยมใช้เปลือกชะลูด อบผ้า
ใช้ผสมทำธูป และใช้ในการทำดอกไม้จันทน์

ใบและผล แก้ไข้ แก้มวนท้อง ขับลม ดอกแก้ไข้ แก้สะอึก
 


ชายผ้าสีดา


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Platycerium coronarium (J.G. Koen.ex. Muell) Desv.
วงศ์   POLYPODIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Disk Staghorn,  Crown Staghorn
ชื่ออื่น    กระจาด  กระปรอกกระจาด(ชลบุรี), กระปรอก,ชายผ้าสีดา(ใต้),หัวสีดา ห่อข้าวสีดา
หัวอีโบ(อีสานใต้และตะวันออก)
) Paku langsuyar , Semun bidari (มาเลเซีย)

ชายผ้าสีดา   เป็นพืชในตระกูลเฟิร์น ที่เกาะอาศัยอยู่ตามลำต้นไม้ใหญ่ในป่าโปร่ง   ที่ระดับ
ความสูงปานกลาง จากระดับน้ำทะเล
   พบมากในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามสวนยาง
และป่าดิบชื้น 
ลักษณะทั่วไป : ทั่วทั้งต้นสีเขียวอมเหลือง ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมด้วย
เกล็ดเป็นแผ่นบางสีน้ำตาล
 ชายผ้าสีดาจะเจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดทั้งปี  หากได้รับแสง
และความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ 
 ใบกาบ ตอนบนชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้า ใบเป็นแผ่นกว้าง หนา ผิวเป็น
เงามัน ขนที่ผิวใบมองเห็นไม่ชัด แผ่นใบสีเขียวอ่อน  ตอนล่างห่อหุ้มเหง้า และระบบรากแน่น
แผ่โอ้มอ้อม ไปทางด้านหลัง  แผ่นใบหนาได้ถึง
 1.5  ซ.ม. ส่วนใบด้านบนหยักลึกเป็นแฉกคู่
ไม่เป็นระเบียบ ปลายยอดแฉกมนกลม  เส้นใบหลักแตกแขนงเป็นคู่ๆ และนูนทั้งสองด้านของ
ผิวใบ เส้นใบย่อย จรดโค้งเข้าหากัน 
ใบกาบชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้าเพื่อดักเศษใบไม้ ลูกไม้และ
เศษอินทรีย์วัตถุ สำหรับเก็บสะสมไว้ใช้เป็นอาหารเลี้ยงต้น
ใบชายผ้า
โคนใบออกมาเป็นก้าน
ผอม แล้วแตกเป็นกิ่งสาขาเป็นคู่ๆ ปล่อยทิ้งตัวห้อยย้อยลงมาเป็นริ้วที่อาจยาวได้ถึง
3
ม. มอง
ดูเหมือนสายม่านหรือตาข่าย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่สังเกตุได้ชัด การแตกกิ่งช่วงบนแตกเป็นคู่
สาขา มักยาวพอๆ กัน  แต่ช่วงปลายอาจยาวไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบเส้นใบแตกกิ่งสาขาเป็นคู่
ปูดนูน แต่เส้นใบย่อยสังเกตุเห็นได้ไม่ชัด    
อับสปอร์  เกิดเป็นพืดในอวัยวะคล้ายถ้วย  งอก
จากโคนของใบชายผ้า
   เมื่อสปอร์แก่เต็มที่ จะปล่อยสปอร์ร่วงไปพร้อมๆกันในคราวเดียวทั้ง
หมด
 ......
(ข้อมูลจาก fernsiam.com)

ส่วนที่ใช้ประโยชน์   เนื่องจาก ชายผ้าสีดาเป็นเฟิร์นที่มีรูปทรงแปลก สวยงาม  ปัจจุบันจึงได้
นำมาเป็นพืชตกแต่งสวน และ มีการเพาะขายในเชิงพาณิชย์

หมายเหตุ :
 
1.
คนปักษ์ใต้สมัยก่อนเชื่อกันว่า ชายผ้าสีดา เป็นพืชชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับนางสีดา พระชายา
ของพระราม   หากนำมาปลูก จะต้องดูแลไม่ให้
ริ้วใบชายผ้ายาวยืดลงแตะถึงพื้นดิน ซึ่งถือเป็น
การไม่เคารพ  บ้านที่ปลูกชายผ้าสีดา แต่ไม่ดูแลดังกล่าว จะประสบแต่เรื่องร้อนใจ มีแต่ความ
ทุกข์

 2.  ชายผ้าสีดา 
พืชในตระกูลเฟิร์น นี้  มีกลุ่มนักเพาะพันธุ์ไม้ประดับรุ่นใหม่  เรียกชื่อผิดเป็น
กระเช้าสีดา   เพื่อความถูกต้อง กรุณาเปรียบเทียบความแตกต่าง ในหัวข้อ  กระเช้าสีดา


ชิ้ง 


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Ficus fistulosa Reinw.ex.RI.      วงศ์   MORACEAE
ชื่ออื่น  -   มะเดื่อฉิ่ง ชิ้ง (ใต้)

ชิ้ง  เป็นไม้ยืนต้นตระกูลมะเดื่อสูงประมาณ 3 - 5 เมตร  แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเรียบสีน้ำ
ตาลอมเขียว ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
กว้างประมาณ 5-6 นิ้ว ยาวประมาณ 8 นิ้ว ก้าน
ใบสีแดงหน้าใบเรียบเป็นมัน ขอบใบเรียบหลังใบมีก้านใบนูน
ผล  ผลกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์
กลางประมาณ
1-1.2ซม. ผลออกตามต้นและกิ่งก้าน มีลักษณะเป็น
ช่อ ๆละประมาณ 5-30 ผล
ผลกลมสีเขียว
ข้างในมีเมล็ดเล็กๆ สีชมพูอ่อน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผลอ่อน
รสชาติฝาดมันรับประทานเป็นผักสดจิ้
มน้ำพริก(
ผักเหนาะ)   หรือใช้ผลใส่  แกงกะทิ
แกงพุงปลา แกงส้ม

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ ชิ้ง  - นจ.  )


 

ชุมเห็ดเล็ก


    

าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cassia tora Linn.     วงศ์   CAESALPINIACEAE  (LEGUMINOSAE)
ชื่อภาษาอังกฤษ - Foetid cassia , Stickle senna
ชื่ออื่น   -   ชุมเห็ดไทย   ชุมเห็ดเล็ก (ใต้)  ชุมเห็ดควาย  ชุมเห็ดนา   พรมดาน  ลับมือน้อย
หญ้าลึคลีน  หน่อปะ  ก๊วกเม้ง  เอียฮายแช (จีน)

ชุมเห็ดเล็ก/ชุมเห็ดไทย เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กมีอายุปีเดียว  ลำต้นสูง 0.3-1.2 . มีกิ่งก้าน
สาขามาก ตามลำต้นจะมีขนอ่อนปกคลุมอยู่เต็ม  
  ใบ เป็นใบประกอบ   มีขนาดเท่าใบมะยม
ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายใบกลม  ส่วนปลายสุดจะแหลมสั้น ฐานใบจะมนและจะเอียงไปข้างใด
ข้างหนึ่ง ขอบใบเรียบ ท้องใบจะมีขนอ่อนนุม  
ดอก เป็นดอกเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ดอกจะออก
เป็นคู่จากง่ามใบ กลีบเลี้ยงจะมีอยู่ 5 กลีบ เป็นสีเหลือง เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 10 อัน และรังไข่จะ
เป็นเส้นยาวงอโค้งเล็กน้อย จะมีขนปกคลุมส่วนปลายก้านเกสร ตัวเมียจะเป็นตุ่มสั้นๆ 
ผล ออก
เป็นฝักและเป็นเส้นโค้งเล็กน้อย และจะแบนทั้งสองด้าน มีความยาวประมาณ 15-24 ซม. และ
กว้างประมาณ 4-6 ซม. จะปกคลุมไปด้วยขนอ่อนนุ่มสั้นๆ ภายในฝักนั้นจะมีเมล็ดประมาณ 20-
30 เมล็ด เมล็ดจะเป็นรูปทรงกระบอกแบนเล็กน้อย ผิวนอกจะเรียบเป็นมันสีเขียวออกน้ำตาล

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบอ่อน
    
ต้มใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก   หรือเป็นผักใส่ในแกง จะช่วยให้ระบายแก้อาการท้องผูก
เมล็ดแห้ง
 
2  ช้อนคาว ถึง 2 1/2 ช้อนคาว
คั่วจนเกรียม แล้วเติมน้ำ 1 ลิตร ต้มเคี่ยวจนเหลือ
600 มล. แบ่งดื่มครั้งละ 200 มล. วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ใบแห้งชง
น้ำดื่มเป็นยาระบาย
ทั้งต้น  ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย แก้ไข้

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ ชุมเห็ดเล็ก  - นจ.  )


 

เชียด

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด (สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Cinnamomum iners  Reinw. ex Blume    
ชื่อ
วงศ์    LAURACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ  
Wild Cinnamon
ชื่ออื่น   อบเชยป่า

เชียด  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น เฉียด) เป็นอบเชยชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในภาคใต้
ทั้งที่ราบและป่าเขา
 เชียด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง  สูงประมาณ 15 - 20 เมตร   ไม่ผลัดใบ
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รูปเจดีย์ต่ำทึบ
   ใบ - ใบเดี่ยว ยาวรี เรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน เนื้อใบ
หนาแข็งและกรอบมีเส้นแขนงจากโคน ใบ
3 เส้น  รูปใบของเชียดจะมีขนาดเล็กและยาวรีกว่า
ใบอบเชยทั่วไป  
ดอก - ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองอ่อน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
เปลือก  ต้น ราก ใบ ต้มน้ำให้หญิงที่คลอดบุตรใหม่ดื่มหลังคลอดหรือผ่าตัด (ลดกาอักเสบ)
แก้ปวดเมื่อย   ราก  ปรุงเป็นยาแก้ปวดฟัน
ในอดีต ช่างทำครกสีข้าว(ครกสีข้าวที่ใช้มือโยก)จะใช้เปลือกเชียด ซึ่งมีเมือกมาก หมักกับดิน
เหนียวตำในครก  ให้ดินกับเปลือกเชียดผสมกันเป็นเนื้อเดียว แล้วใช้อัดลงระหว่างร่องฟันของ
ครกสีฯ   เมื่อแห้ง ดินที่อ้ดไว้จะแข็งมาก ช่วยยึดให้ฟันของครกสีทนทาน ไม่โยกคลอน

                                                     อ่านรายเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ   อบเชย
 




  หน้าแรก                                       หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้      หน้าถัดไป    

 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 

 

  

Free Web Hosting