รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ  : หมวดอักษร   -   ต

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ต    )

   ตะลิงปิง    /    ตาเป็ดตาไก่     /     ตำลึง       /   ตีเมีย เบือ ย่าง  (ตีเมีย เมื่อ ย่าง) /
 /   ตีนเป็ด       /   ตีนเป็ดน้ำ    ต้นตายปลายเป็น   /



ตะลิงปิง


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Averrhoa bilim          ชื่อวงศ์   OXLIDACEAE
ชื่ออื่น   ตะลิงปลิง, ส้มหลิ้งปิ้ง (นครศรีธรรมราช),  มูงมัง (เกาะสมุย),  
            เฟืองทราย,  มะเฟืองทราย (คลองหอยโข่ง -สงขลา)

ตะลิงปิง ถือเป็นผัก-ผลไม้ที่มีลักษณะอยู่กลางระหว่างมะเฟืองกับมะดัน กินดิบได้แต่มักนิยมใช้
เป็นผัก
ประกอบอาหารคาวและน้ำพริก  ตะลิงปิง เป็น
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  สูงประมาณ   5   เมตร
ใบคล้ายใบมะยม
เป็นใบประกอบแบบขนนก มีสีเขียวอ่อนและมีขนนุ่มปกคลุมอยู่    ผลรูปยาวรี
ปลายมน เป็นพูยาว
 2-3.5 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว ออกเป็นช่อห้อย ผิวผลเรียบมีสีเขียว เมื่อแก่จะกลาย
เป็นสีเหลือง เนื้อเหลวมีรสเปรี้ยว  มีเมล็ดแบน
 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ผลอ่อน
    มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นเครื่องปรุงรสในแกงส้ม แกงคั่ว  ต้มยำหรือหั่นฝอยเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่
เป็นผักแกล้มกับอาหารได้

ใบ - ตำโปะแผลดับพิษ 
ผล
-
ขับเสมหะ

( ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ ตะลิงปิง  - นจ.  )

 


ตาเป็ดตาไก่




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Ardisia lenticellata Fletch. ( Ardisia fulva King & Gamble)
ชื่อวงศ์   MYRSINACEAE
ชื่ออื่น  - พิลังกาสาเล็ก,  มะจ้ำเล็ก,  หัวขวาน

ตาเป็ดตาไก่  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2-4 เมตร ลำต้นตรง    ใบ ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายใบแหลม
ผิวใบเรียบและขอบเป็นหยักเป็นลอนตื้น   
ดอก ดอกเล็กสีขาวแกมชมพู เป็นช่อกระจุกออกตาม
ยอดและข้างกิ่ง ก้านช่อดอกยาว  ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 10-20 ดอก   เมื่อดอกบานเต็มที่จะเห็น
กลีบดอก 5 กลีบ แฉกคล้ายดาวมีเกสรยื่นเป็นปุ่มอยู่ตรงกลาง   
ผล ออกเป็นกระจุกก้านช่อยาว
ลักษณะผลเหมือนรูปครึ่งวงกลมมน ผลสุกสีแดงผิวมัน เมล็ดสีดำมีร่องตามแนวยาว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด  ผลสุก เป็นผลไม้กินเล่นของเด็กๆ
 


ตำลึง  


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Coccinia  grandis (L.) voigt.      ชื่อวงศ์    CUCURBITACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    lvy Gourd
ชื่ออื่น     ผักแคบ (เหนือ)   ผักตำนิน (อีสาน)    ผักหมึง (ใต้)

ตำลึง เป็นเถาไม้เลื้อย มีมือจับเกาะยึดต้นไม้อื่นๆใบเป็นใบเดี่ยวรูปทรงคล้ายหัวใจ ออกสลับกันมี
 
3 -5  พู ผิวเรียบมัน  ก้านใบสั้น  ดอกสีขาว  แยกเป็นดอกเพศผู้ และเพศเมีย  กลีบรองกลีบดอก
โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังสั้น
   ปลายแบ่งออกเป็น  5  แฉก    กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูป
ระฆังปลายแฉกจักลึกลงไปครึ่งกลีบด้านในมีขน
 ผลยาวรูปไข่หรือขอบขนานมีจงอยแหลมเมื่อสุก 
มีสีแดง เมล็ดมีจำนวนมาก
 
ผลเป็นรูปยาวรีคล้ายแตงกวา

ประโยชน์ทางยาของตำลึง ตำลึงมีสารเบต้าแคโรทีน  ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลดน้ำตาล
ในเลือดและหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟันมีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอาซิน
 และวิตามินซี

ตำราแพทย์แผนไทย ถือว่าตำลึงเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษ  และถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ
แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน โดยใช้ใบตำลึงสดๆ ประมาณ
1 กำมือ มาล้างให้สะอาด   แล้วตำ
ให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย นำมาทาบริเวณที่มีอาการคันก็จะหายได้

ข้อควรระวัง     รับประทานตำลึงมากเกินไปจะแสลงโรคเก๊าท์และโรคปวดข้อเพราะใบตำลึงจะมี
กรดยูริค
สูงมาก  

 


ตีเมีย เบือ ย่าง  
 

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)


ภาพ#3  มาจาก internet  ( BLOGของวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Dendrotrophe umbellata var. umbellata
                     
ชื่อพ้อง - Henslowia umbellata (Blume) Blume
ชื่อ
วงศ์    
SANTALACEAE
ชื่ออื่น  -  ตีเมีย เมื่อ ย่าง

"ตีเมีย เบือ ย่าง"เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นตามขอบป่าชายทุ่ง มีลักษณะเป็นเถาวัลย์เกี่ยวพันและดูด
น้ำเลี้ยงจากต้นไม้อื่น ใบ รูปหอก กว้างประมาณ 3 ซม. ยาวประมาณ 7.5 - 8 ซม.สีเขียวตองอ่อน
มีเส้นใบ 3 เส้นจากโคนจรดปลายใบ ก้านใบสีแดงยาวประมาณ 0.5 ซม. ใบอ่อน ยอดอ่อน สีแดง
แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง   เมื่อแก่สีจะเปลี่ยนเป็นเขียวตองอ่อน  ใบแก่จะกรอบเกรียม
 ดอก
สีเหลืองอ่อนขนาดประมาณ 1 ซม. ออกเป็นกระจุกระหว่างขั้วใบ  ผล คล้ายเมล็ดพริกไทย แต่โต
กว่า ออกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน ตลอดแนวเถา

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบอ่อน
 มีรสชาติฝาดมัน อมเปรี้ยวนิดๆ  คนปักษ์ใต้ดั่งเดิมใช้เป็น "ผักเหนาะ"   ผล  ใช้ผลตำให้
ละเอียด พอกบนฝีช่วยให้ฝีแตกเร็ว และช่วยบรรเทาปวด     ผล  ใบ และ เถา ต้มกินเป็นยาบำรุง
กำลัง บำรุงทางเพศ

หมายเหตุ ของคนโบราณ
       1. หนังสือ  "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย"  ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์  โดยสถานีผลิตเมล็ด
พันธุ์ไม้ป่าแม่ทะ ศูนย์วนวัฒนวิจัยที่ 1 ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้กรมป่าไม้  พ.ศ.2543
ระบุชื่อเป็น   ตีเมีย เมื่อ ย่าง แต่ในภาษาไทยถิ่นใต้เรียก ตีเมีย เบือ ย่าง 
คำว่า เบือ  ในภาษา
ไทยถิ่นใต้  มีความหมายว่า ถึงกับต้องทำ (ทำอย่างดี ทำอย่างพิเศษ มิฉะนั้นจะไม่สำเร็จ ) ความ
หมายและที่มาของ
ตีเมีย เบือ ย่าง มีดังนี้

       เล่ากันว่า  านมาแล้ว มีกระทาชายนายหนึ่งกลับจากทำนาตอนเย็น ระหว่างทางได้เก็บยอด
เถาวัลย์ชนิดหนึ่งมาด้วย( ยอด
"ตีเมีย เบือ ย่าง"ตั้งใจว่าจะกินเป็นผักเหนาะกับข้าวมื้อค่ำ ขณะ
ไปอาบน้ำที่บ่อน้ำ  ซึ่งโดยทั่วไป มักจะอยู่ห่างเรือนออกไป อาบน้ำเสร็จ ก็กลับเรือนจะกินข้าวแต่
ปรากฏว่าภรรยาได้ลองชิมผักเหนาะและกินเล่นจนหมด   ด้วยความโมโหหิว  ผู้เป็นสามีจึงบันดาล
โทสะทุบตีภรรยาบาดเจ็บอาการหนัก  จนต้องเยียวยารักษาด้วยการย่างไฟแก้อาการช้ำใน
      
บางกระแสบอกว่า  เพราะสามีกินยอดไม้ชนิดนี้ จึงมีผลให้เกิดอารมณ์กำหนัด ปฏิบัติภารกิจ
อย่างไม่บันยะบันยัง 
ผลสุดท้าย ภรรยาต้องอยู่ไฟ(ย่าง)   จึงจะหายบอบช้ำ
 (คำว่า เบือย่าง ก็คือ
ถึงกับต้องย่างด้วยไฟ  นั้นเอง)
                                         
( แหล่งข้อมูล ความเป็นมาของคำว่า ตีเมีย เบือ ย่าง   - นจ. )
 
        2. 
ต้นตีเมีย เบือ ย่าง  ที่นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นพืชคนละชนิดกับ ผักพ่อค้าตีเมีย หรือผัก
ป่อก้า
ของทางล้านนา เพราะ ผักพ่อค้าตีเมีย หรือ ผักป่อก้าของล้านนา
( Selaginella argentea
(Wall.ex Hook. & Grev.) Spring
) เป็นพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มญาติของเฟิร์น ที่เรียกว่า  Lycopods
ต่างกับ ต้น
ตีเมีย เบือ ย่าง ที่เป็นไม้เถาที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่น  (ปัจจุบันมีการต่อท้ายชื่อเฟิร์น ผัก
พ่อค้า
ตีเมีย เป็น "ผักพ่อค้าตีเมีย เบือ ย่าง"   จึงอาจจะเกิดความสับสนขึ้นได้ )

 


ตีนเป็ด
 




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)



 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Alstonia scholaris (Linn.) R. Br.     ชื่อวงศ์    APOCYNACEAE
ชื่ออื่น
   :   พญาสัตบรรณ,   สัตบรรณ,   หัสบรรณ

ไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทา มีน้ำยางมาก แตกกิ่งออกรอบข้อ ใบ
ใบเดี่ยว ออกรอบข้อ 4-7 ใบ รูบใบหอกกลับแกมขนาน หรือรูบไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18
ซม. ปลายกลมหรือเว้าเล็กน้อย    โคนสอบ แหลมหรือเป็นครีบ เส้นใบถี่   ดอกสีขาวหรือขาวอม
เหลือง มีกลิ่น ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งคล้ายฉัตร มีดอกติดเป็นกระจุกกลมที่ปลายแขนง กลีบดอก
โคนเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก มีขน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.เกสรตัว
ผู้ 5 อัน ผลเป็นฝัก รูปกลมยาว กว้าง 0.2-0.4 ซม. ยาว 25-50 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ด
จำนวนมาก มีปุย ปลิวตามลม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก
ขับลมในลำไส้
เปลือกต้น  แก้บิด ขับพยาธิไส้เดือน ขับระดู  ขับน้ำเหลืองเสีย  แก้หลอดลมอักเสบ โรคตับ ไข้
มาลาเรีย เบาหวาน     ใบ
  ตำพอกดับพิษต่างๆ ใบอ่อนชงน้ำดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด เมล็ดมีสาร
cardiac glycoside ซึ่งมีพิษ

 


ตีนเป็ดน้ำ

   

ชื่อวิทยาศาสตร์      Cerbera odollam Gaertn.  
ชื่อวงศ์
    APOCYNACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Pong Pong Tree,    Indian Suicide Tree
ชื่อพื้นเมือง    ตีนเป็ดทะเล,   ตุม (กาญจนบุรี),   มะตะกอ(มลายู - 3 จังหวัดชายแดนใต้),
                    สั่งลา (กระบี่)

ตีนเป็ดน้ำ   เป็นไม้ยืนต้นโตเร็วไม่ผลัดใบ ขึ้นได้ในดินทั่วไปโดยเฉพาะบริเวณริมน้ำที่มีความชื้น
สูง และมีแสงแดดตลอดวัน  ต้นตีนเป็ดน้ำสูงประมาณ  
5-12 เมตร  เรือนยอดทรงกลมทึบ ลำต้น
มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว  เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน มีน้ำ
ยางสีขาว   ดอก  ดอกสีขาว กลางดอกมีสีเหลือง  ออกดอกบานตลอดทั้งปี ออกเป็นช่อ แบบช่อ
กระจุกที่ปลายกิ่ง  กลีบเลี้ยง 5 กลีบ  กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปากแตร  ปลายแยกเป็น 5
แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-7 ซม
.  ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง
2.4-8 ซม. ยาว 8.9-30 ซม. ก้านใบยาว 2-3 ซม.   ปลายใบติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม ใบเกลี้ยง สี
เขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย  ผล    ผลมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมหรือค่อน
ข้างกลมเป็นสองพูตื้นๆ สีเขียวอมม่วงถึงม่วงเข้ม กว้างประมาณ
6 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. เมล็ด
แข็งและเบา ลอยน้ำได้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ต้นตีนเป็ดน้ำ    มีทรงพุ่มที่สวย ให้ร่มเงา มีดอกสวย ผลสวย จึงนิยมนำมาปลูกปรับแต่งภูมิทัศน์
ตกแต่งสวน,   เมล็ดแห้งใช้ทำเป็นของประดับตกแต่ง

ประโยชน์ทางยา     ผลแห้งเผาไฟตำผสมน้ำมันพืช   ใช้ทารักษาโรคตาปลา  โรคผิวหนังเรื้อรัง
ผลสดขยี้ทาแก้ปวด ตามข้อ แก้ปวดกล้ามเนื้อ     ใบ ใช้เป็นยาถูทา รักษากลาก เกลื้อน เมล็ดใช้
เบื่อปลา เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ ทุกส่วนของต้นมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย

ข้อควรระวัง    เนื่องจาก ยางของตีนเป็ดน้ำ มีพิษ ทำให้เกิดอาการระคายเคือง หากเข้าตาทำให้
ตาบอดได้  เนื้อในผลในเมล็ด, ใบและเปลือก ทำให้อาเจียน ท้องเดิน   การใช้เป็นยารับประทาน
ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษมีอันตรายถึงชีวิตได้  (ต้นไม้ชนิดนี้ จึงถูกเรียกขานว่า “สั่งลา” หรือ
“
Indian Suicide Tree” )    จึงควรระวังในการใช้      และในกรณี ปลูกต้นตีนเป็ดน้ำเพื่อปรับแต่ง
ภูมิทัศน์ ตกแต่งสวน จึงไม่ควรปลูกในบริเวณที่ใกล้สนามเด็กเล่น

ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก
1.
http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/toxic_plant.asp?gr=G31&pl=0261&id=1
   สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2.
http://www.ethnoleaflets.com/leaflets/cerbera.htm
3. http://www.ntbg.org/plants/plant_details.php?plantid=2603


ต้นตายปลายเป็น
 




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่  ทุ่งปลักเหม็ด  ( ข้างกำแพงสนามบินหาดใหญ่ )

ชื่อวิทยาศาสตร์    Cassytha filiformis  L.  
ชื่อวงศ์
 
LAURACEAE

ชื่อภาษาอังกฤษ   
Love Vine,   Devil's Gut,   Dodder
ชื่ออื่น   
สังวาลพระอินทร์

ต้นตายปลายเป็น เป็นพืชล้มลุกเลื้อยพัน ประเภท semi-parasitic plant   ที่เจริญเติบโตอยู่
บนต้นไม้อื่น โดยดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัยอยู่  ขณะเดียวกัน ก็สามารถ
สังเคราะห์แสงได้
ต้นตายปลายเป็น มีลำต้น กลมขนาดเล็กเป็นเถาอ่อนนุ่มเลื้อยยาว เถาสีเขียวอ่อนจนถึงสีเหลือง
แตกกิ่งก้านมาก ยาวประมาณ
3 - 8 เมตร 
ใบ มีขนาดเล็กมาก จนแทบจะมองไม่เห็น ดอกสีขาว
รูปกลมเหมือนลูกบอลลูนเล็กๆ 
ขนาดประมาณ 1.5 - 2 มม.  ผล กลมเล็ก สีเขียวอ่อน เมื่อสุกสี
เหลือง   ผลแห้ง
สีดำ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
เถา
มีรสชุ่ม ขม เย็น แพทย์แผนไทยใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษไข้หวัด  แก้แผลเรื้อรัง แก้นิ่ว บำรุงตับ
และไต  ไอเป็นเลือด  แผลบวมอักเสบ  แผลถูกความร้อน   ขับปัสสาวะ   โรคติดเชื้อในทางเดิน
ปัสสาวะ ดีซ่าน บิดมูก เลือดกำเดาออก    นอกจากนั้น หมอยาพื้นบ้านในถิ่นใต้ดั้งเดิม ยังใช้เถา
ต้นตายปลายเป็น นี้  เป็นส่วนผสมของยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย อีกอย่างหนึ่งด้วย

หมายเหตุ ของคนโบราณ
1. ไม่ควรนำ ต้นตายปลายเป็น ที่พาดพันต้นไม้ที่เป็นพิษ เช่น ต้นยี่โถ หรือต้นไม้พิษอื่นๆ มาปรุง
เป็นยา เพราะอาจจะทำให้เป็นอันตรายได้ และสตรีที่มีครรภ์ ห้ามรับประทาน

2. ต้นตายปลายเป็น นี้   เป็นพืชคนละชนิดกับ ฝอยทอง (Cuscuta  chinensis) พืชในประเถท
parasitic plant ที่ไม่มีคลอโรฟีน  ซึ่งไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้  
ฝอยทอง จึงจำเป็นจะต้อง
ดูดอาหารจากพืชอื่นอย่างเดียว ลักษณะแตกต่างที่เห็นชัด
อีกประการคือ ฝอยทองไม่มีคลอโรฟิน
จึงมีแต่สีเหลืองจนถึงเหลืองทอง  แต่
ต้นตายปลายเป็น มีคลอโรฟีน
สามารถสังเคราะห์แสงได้จึง
มีเถาสีเขียวอ่อน จนถึงเหลือง 


ฝอยทอง ( Cuscuta  chinensis)

( ข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของ ต้นตายปลายเป็น   -   เวบไซท์ สมาคมแพทย์แผนไทยฯ
  ข้อมูลการใช้
ต้นตายปลายเป็น ของหมอยาพื้นบ้านในถิ่นใต้ดั้งเดิม  -  นจ.  )


  หน้าแรก                                      หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้           หน้าถัดไป    

 
ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 
 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting