รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ  : หมวดอักษร   -   ซ     ด   

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ซ      ด    )

/   แซะ       /    ดองดึง         ดีปลี    /    โด่ไม่รู้ล้ม    




แซะ


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Millettia atropurpurea Benth.    ชื่อวงศ์    LEGUMINOSAE 
ชื่ออื่น - กาแซะ (ชุมพร)    ยีนิเก๊ะ ยือนือแระ  (มลายู)

แซะ  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตร ส่วนต่างๆ ของลำต้น  กิ่งและใบเกลี้ยง
ยกเว้นกิ่งอ่อน ยอดและช่อดอกมีขนปกคลุม เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดและร่อนออก
เป็นแผ่นเล็กๆเปลือกในสีน้ำตาลอ่อน เมื่อเป็นแผลจะมียางสีแดงไหลซึมออกมา  เนื้อไม้สีน้ำตาล
ช่อดอกแตกแขนงตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ยอด   ดอกสีแดงแกมม่วงทึบมีกลิ่นหอมดอก
ยาวประมาณ
2 ซม.   ถ้วยรองกลีบดอกมีฟันตื้นๆ ไม่เด่นชัด มีขนสั้นๆ ปกคลุม    มีใบย่อยที่ยอด
เดี่ยวๆ ยาว
20-35 ซม. นอกนั้นจับกันอยู่เป็นคู่ๆ เกือบตรงกันข้าม 3-5 คู่ ใบรูปขอบขนานแกมรูป
หอก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน
มีรสมัน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก  หรือกินกับขนมจีน
เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้าฝ้าย  (ให้สีแดง )

(หมายเหตุ : แซะเป็นต้นไม้สูงใหญ่มีใบเขียวเข้มทรงทึบเวลากลางคืนดูน่ากลัว คนปักษ์ใต้สมัย
ก่อนมีความ
เชื่อว่า ต้นแะมีผีแรง จึงไม่นิยมปลูกแซะไว้ในบริเวณบ้าน    อีกประการหนึ่ง
แซะมี
2 ชนิด คือ แซะ(ทั่วไป) กับ แซะคลาน เฉพาะ  "แซะคลาน"  ซึ่งขึ้นอยู่ตามป่าเสม็ด ลำต้นของ
แซะชนิดนี้จะเอนราบขนานไปกับพื้นและแตกกิ่งเป็นช่วงๆยอดอ่อนของ  "แซะคลาน"จะเหมือน
ยอดแซะทั่วไป ทุกประการ แต่กินไม่ได้ จะทำให้คลื่นเหียนอาเจียร  ดังนั้น การซื้อยอดแซะจาก
ตลาด
เพื่อใช้เป็นผักเหนาะ  จึงควรระวัง    ข้อมูล  - นจ.  )


ดองดึง

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Gloriosa superba  Linn.    ชื่อวงศ์    LILIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Gllory Lily,   Climbing Lily Creeping lily   
ชื่ออื่น     คมขวาน,  บ้องขวาน,   หัวขวาน (ชลบุรี),    ดาวดึงส์,    ว่านก้ามปู (ภาคกลาง)
           
  พันมหา (นครราชสีมา),     มะขาโก้ง (ภาคเหนือ), 
   
ฎงฎึง (เขมร)
 

ดองดึง เป็นไม้เถาเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีเหง้าอวบน้ำใต้ดิน   ลำต้นเลื้อยพันไปตามพงหญ้าและไม้
พุ่ม
 ใบเดี่ยวออกสลับ รูปใบหอกค่อนข้างยาว กว้าง 1.3 - 4 ซม. ยาว 8 - 25 ซม.    ปลายใบยืด
ยาวและม้วนเป็นมือเกาะ โคนมน  ดอกสีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นเหลืองและแดง ออกเดี่ยวตามซอก
ใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบรวม มี 6 กลีบ รูแถบยาว 5 - 7.5 ซม.   โค้งกลับไปทางก้านดอก  ขอบหยัก
เป็นคลื่น เมื่อบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. เกสรตัวผู้ 6 อัน  ก้านเกสรกางแผ่จากกัน เป็น
รัศมี ผลเป็นผัก ยาวประมาณ 4 ซม. เมื่อแก่แตกได้     
ปกติ ดองดึงจะงอกส่งลำต้น ที่เป็นเถาขึ้น
มาเฉพาะฤดูกาลเท่านั้น โดยจะมีดอกในฤดูฝนเมื่อออกดอก   มีผลแล้ว  เถาก็จะแห้งตายไปเหลือ
เหง้าอยู่ใต้ดิน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
หัว 
หุงน้ำมันทาแก้โรคเรื้อน คุดทะราด รักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้ลมจับโป่งลมเข้าข้อ ฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย, พิษตะขาบ

ข้อควรระวัง : ทุกส่วนของดองดึง (ใบ,หัวใต้ดิน,เมล็ด) มีสารอัลคาลอยด์จำพวก colchicines
สูง
 หากรับประทาน จะคลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ และตายได้

 


ดีปลี




   

าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Piper retrofractum Vahl      ชื่อวงศ์    PIPERRACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     
Long Pepper
ชื่ออื่น   -  ดีปลีเชือก,   ดีปลีเชียก ( ใต้ ),    ประดงข้อ   พิษพญาไฟ

ดีปลี เป็นพืชประเภทเกาะไต่ตามผาหินหรือต้นไม้อื่น มีใบสีเขียวเข้มรูปหอกยาวรีกว้างประมาณ
 2 -5 ซม.
ยาวประมาณ 4-14 ซม.ลำต้นเป็นข้อๆระหว่างข้อยาวประมาณ 5 ซม. ตรงข้อจะมีราก
ยึดเกาะ  มีใบและมีผลออกตรงซอกใบ ผลของดีปลีเป็นประเภทผลรวม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 1 ซม.ยาวประมาณ 5 ซม. มีสีเขียว เ มื่อสุก ผลจะมีสีส้ม มีรสเผ็ด และกลิ่นเฉพาะตัว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ดีปลีใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร   ท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุไม่ปกติ

ตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า  ดีปลีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปถวีธาตุพิการ   แก้ท้องร่วง ขับลม ในลำไส้
แก้หืดไอแก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคนอนไม่หลับ โรคลมบ้า
หมู ขับน้ำดีในกรณีที่มีการอุดตันของท่อน้ำ ดี ขับระดู ทำให้แท้ง ขับพยาธิ

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลที่โตเต็มที่แต่ยังแก่และยังมีสีเขียวอยู่ เป็นระยะที่มีกลิ่นฉุนมากที่สุด (ตากทิ้ง
ไว้ กลิ่นจะสูญเสีย) นำมาตากแดดจนกระทั่งผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา

อนึ่ง ดีปลี ถือเป็นสมุนไพรสำคัญตามตำรา
แพทย์แผนไทย ปรากฎตามพิกัดยาดังต่อไปนี้
ตรีกฏุก
-
ของเผ็ดร้อน ๓ ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง
ตรีสันนิบาตผล - ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา รากพริกไทย
ตรีเสมหผล - ผลแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณทางยา ของ ดีปลี  - นจ.  )
 


โด่ไม่รู้ล้ม
 



   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Elephantopus scaber  L.  ชื่อวงศ์   ASTERACEAE  [COMPOSITAE]
ชื่ออื่น -  ปราบดิน(ใต้),      หญ้าไก่นกคุ่ม,      หญ้าปราบ,     หนาดผา
             หญ้าสามสิบสองหาบ,       ว่านตะสิโกระ

โด่ไม้รู้ล้ม  เป็นไม้ล้มลุก ประเภทว่าน  สูงประมาณ  1 ฟุต  หัวเป็นเหง้าขนาดเล็ก     ใบ ใบเดียว
สีเขียวแหลมยาวขึ้นรอบของต้น
    กลางใบ มีก้านสีเขียวออกขาวยาวถึงปลายใบ  ปลายใบแหลม
รอบใบเป็นหยัก
 กระดูกและก้านสันหลังจะมีสีม่วงอ่อน  ดอก  ดอกเป็นก้านเล็กยาว ขึ้นจากต้นสูง
พ้นระดับความสูงของใบแต่ละต้นจะออกดอกไม่เกิน
4ก้าน ดอกสีม่วงเป็นรูปสามเหลี่ยมมีใบเลี้ยง
เล็กที่ปลายก้านหรือขั้วดอก   ดอกของต้นโด่ไม่รู้ล้ม จะมีความทนมากไม่ล้ม
 ไม่เฉา หรือเหี่ยวจน
กว่าต้นจะตาย

ส่วนที่ใช้ประโยชน์   
โด่ไม่รู้ล้ม มีสรรพคุณทางยา ทั้งต้น ใช้ต้มดื่มต่างน้ำ  แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ    หรือนำมาดองด้วย
เหล้าขาว เป็นยาขับปัสสาวะ
  บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัดรักษาอาการอวัยวะเพศชายเสื่อม  เป็นยา
บำรุงสำหรับสตรีคลอดบุตรใหม่ๆ

 


  หน้าแรก                                     หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้            หน้าถัดไป    

 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 
 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting