รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   : หมวดอักษร   -   ป

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -    ป  )

/    ปรงทะเล     /      ปีบ     /     ปุด     /     ปุดนา    / 


ปรงทะเล

    
ภาพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : บริเวณคลองวง ถนนลพบุรีราเมศวร์ ต.ะวง อ.มือง  สงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์  Acrostichum aureum L.   
ชื่อ
วงศ์   ACROSTICHACEAE  /  PTERIDACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Swamp fern,  Golden Leather Fern
ชื่ออื่น     ปรงไข่

ปรงทะเล จัดเป็นเฟิร์นที่มีขนาดใหญ่ชอบขึ้นในที่น้ำเค็มขึ้นถึง  แต่ก็สามารถเจริญเติบโตในเขตน้ำ
จืดได้ดีโดยเฉพาะในป่าพรุ
  ปรงทะเลมีลำต้นใต้ดินเป็นแท่ง ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบประกอบคล้าย
ขนนกยาวประมาณ
1 เมตร ใบย่อยยาวประมาณ 30 ซม  รูปร่างคล้ายหอกแคบยาว   ปลายใบมน
ชอบใบเรียบเป็นคลื่น ด้านล่างของใบย่อยสร้างสปอร์
  มีอับสปอร์กระจายคลุมผิวใบท้องใบ มักมี
จุดสีน้ำตาลแดง ยอดอ่อนมีสีออกแดง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ยอดอ่อน ใบอ่อน
ใช้แกง
เลียง หรือแกงส้มได้   ชาวมาเลเซีย อินเดีย และศรีลังกา ใช้ยอดอ่อน
ใบอ่อน
เป็นผักสลัด      ในประเทศเวียตนาม และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จะใช้ใบปรงทะเล
ที่แก่จัดและตากแห้งแล้ว ผูกเป็นแผงกั้นฝาห้อง กั้นเพดานของกระท่อมหรือที่พักชั่วคราว
สรรพคุณทางยา
ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้ปิดแผล ห้ามเลือด,  เหง้า ตำให้แหลก ใช้ปิดแผลสด และ แผลไฟไหม้

( ดูข้อมูลเพิ่มเติม เวบไซท์ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า ที่เขตอนุรักษ์สุไหงบูโละห์
  สิงคโปร์ )


 
ปีบ

    
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ แนวถนนลพบุรีราเมศวร์  (คลองพะวง ) สงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์  Millingtonia hortensis Linn. f.     ชื่อวงศ์    BIGNONIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Tree jasmine,  Indian cork tree
ชื่ออื่น     กาสะลอง (เหนือ), 
ก้องกลางดง

ไม้ต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ผลัดใบ  สูง 5 -25 เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งมักห้อยลงมา เปลือกสี
เทา แตกเป็นร่องลึก เนื้อหยุ่น คล้ายไม้ก๊อก  ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบขนนก  2 - 3 ชั้น  ออก
ตรงข้ามใบย่อยรูปไข่ หรือ รูปไข่แกมใบหอก  กว้าง 1.5 - 3 ซม. ยาว 2.5 - 8 ซม. 
   ปลายเรียว
แหลมโคนกลม ขอบหยัก  ดอกสีขาว
บานตอนกลางคืน มีกลิ่นหอม  ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง 
ยาว 10 - 40 ซม.  ทะยอยบาน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
    โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง กลีบดอกเชื่อมกัน
เป็นหลอดยาว ปลายบานออกเป็นรูปแตร กว้างประมาณ 2 ซม. มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 4 อัน ผลเป็น
ผักแบน  กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 28 -36 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก มีปีก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก
เป็นยาบำรุงปอด รักษาวัณโรค 
แก้ปอดพิการ แก้ไอ แก้เหนื่อยหอบ
เปลือก
ทำจุกก๊อกขนาดเล็ก
เนื้อไม้ อ่อน สีเหลือง ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องประดับบ้าน
ดอก ใช้สูบแก้โรคหอบหืด 
แก้ริดสีดวงจมูก

( ดูข้อมูลเพิ่มเติม   1. เวบไซท์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  
                   
2. เวบไซท์  Myanmar Medicinal Plant DB  )


 

ปุด

     


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Etlingera littoralis Gieseke   ( Achasma macrocheilos Griff )
ชื่อวงศ์     ZINGIBERACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Earth Ginger
ชื่ออื่น      ปุด,   
ปุดใหญ่

ปุดป็นพืชตระกูลขิงข่า( ZINGIBERACEAE มีเหง้าอยู่ใต้ดิน      ใบ  ใบปุดมีปลายใบแคบเป็นติ่ง
แหลม โคนใบมน ขนาด
ใบกว้าง 9-15 ซม.ยาว 50-70 ซม.  ก้านใบและโคนก้านใบ  จะแผ่ออกเป็น
กาบหุ้มลำต้น( Pseudo stems) สูง 1.5-3 เมตร      ใบปุดจะคล้ายใบกาหลา  ต่างตรงใบกาหลาจะ
มีสีเขียวเข้มกว่า  เหง้าปุดแทงรากออกไปไกล  จึงขึ้นกระจายห่างๆกัน   ไม่รวมกลุ่มเป็นกลุ่มเป็นกอ
ดอกปุด มีลักษณะเป็นช่อสั้นๆโผล่ขึ้นจากเหง้าใต้ดิน อยู่ห่างจากลำต้นเป็นรูปกรวยหงาย สีแดงสด
ขอบกลีบ สีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีหลายกลีบแล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละต้น ลปุดจะอยู่ใต้ดิน
หรือโผล่มาเล็กน้อย  เปลือกผลฉ่ำน้ำ มีเมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน แยกเป็น 2-3 พู

ลักษณะทางนิเวศน์
ปุด  พบได้ทั่วไปใน ป่าดิบชื้น ของภาคใต้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ต้นปุดอ่อน   ปอกกาบนอกออก เอาแต่ไส้ใน ( ชาวสงขลาเรียกว่า สากปุด )  สามารถนำมาเป็น
ผักสด หรือผักต้มจิ้มน้ำพริก
เหง้า หน่ออ่อน และไส้ของปุด( สากปุด )   มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ใช้ในการปรุงรสอาหารเพื่อ
ดับกลิ่นคาวเป็นเครื่องเทศใส่ในแกงชนิดต่าง ๆ
 


ปุดนา

   

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Alpinia zerumbet    ชื่อวงศ์   ZINGIBERACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ
   Shell Ginger
ชื่ออื่น    ปุดขน

ปุดนาป็นพืชตระกูลขิงข่า( ZINGIBERACEAE)  มีเหง้าอยู่ใต้ดิน    ใบ สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม

โคนใบแหลม  ขนาดใบกว้าง 5
-6 ซม. ยาว 50-60 ซม.   ก้านใบยาวประมาณ 4 ซม. ออกสลับข้าง
กัน   มีระยะห่างระหว่างใบประมาณ
15-25 ซม.  โคนก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ( Pseudo
stems
) รูปกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.20 ซม.สูงประมาณ 1.5 - 2.5 เมตร 
ดอก ออก
เป็นช่อที่ยอด ดอกย่อยมีขนาดโตกว่าดอกข่าด้านนอกสีขาวนวล เมื่อดอกบานะเห็นกลีบดอกด้าน
ในมีพื้นเป็น
สีเหลือง กลางกลีบดอกจะมีเส้นสีแดงส้ม แผ่กระจายออกจรดแถบสีเหลืองตรงขอบ
เกสรตรงกลางดอกสีเหลือง      
ผล   ผลของปุดนา 
มีเปลือกแข็ง รูปกลมรี สีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะ
เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มยาวประมาณ
1.5 -2 ซม. เปลือกผลสุกจะแตกออกเป็น 3 พู มีเมล็ดเล็กๆภาย
ในจำนวนมาก

ลักษณะทางนิเวศน์
ปุดนา  พบได้ทั่วไป ตามริมห้วยหนอง คลองบึง ในพื้นที่ราบ ของภาคใต้  (ในเขตอำเภอหาดใหญ่,
อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จะพบเห็น ปุดนา ขึ้นอยู่ทั่วไปตลอดแนวคลองอู่ตะเภา และคลองสาขาย่อยต่างๆ)

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
คนไทยถิ่นใต้ในสมัยก่อน ใช้เหง้าของปุดนา เป็นส่วนผสมของยาอายุวัฒนะ /ยาเสริมสมรรถนะทาง
เพศของผู้ชาย 


หมายเหตุ
:
   1.
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ปุดนาเป็นสมุนไพร    - นจ.  )
   2. ดูข้อมูล / รูปภาพเพิ่มเติมจาก  เวบไซท์ Natureloveyou  ,  
เวบไซท์ Dave's Garden




  หน้าแรก                                     หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้               หน้าถัดไป    
 
 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 
 


 

  

Free Web Hosting