รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ  :  หมวดอักษร   -     พ   

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -        พ      )

/   พญาปล้องทอง  /    พร้าวนกคุ่ม   /   พลา    /   พะยอม     เพกา    / เพชรสังฆาต   /
/  
พุดทุ่ง (สับครุน)    /
 



พญาปล้องทอง


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Clinacanthus nuthans (Burm.f.) Lindau  ชื่อวงศ์  ACANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ     เสลดพังพอนตัวเมีย,   พญายอ,  พญาปล้องดำ, ผักลิ้นเขียด,  ผักมันไก่,  ลิ้นมังกร

ไม้รอเลื้อย  ใบเดี่ยว  ออกตรงข้าม รูปใบหอกกว้าง 1-3 ซ.ม    ยาว 4-12 ซ.ม   ปลายเรียวแหลม
 โคนมนเบี้ยว ดอก สีส้มแดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบที่ปลายกิ่ง  กลีบดอกโคนเชื่อมกัน
เป็นหลอดสีแดง ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 2 แฉก ส่วนล่างงอขึ้น   ปลายแยกเป็น 3
 แฉก มีแถบสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว กลีบดอกยาว 3.5-4 ซ.ม   เกสรตัวผู้ 2 อัน ติดกับหลอด
ดอกส่วนบน ยาวเสมอกลีบดอก ผล รูปไข่ มี 4 เมล็ด เมื่อแก่แตกได้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบ
เป็นสมุนไพรมีรสจืด  ใช้ใบสด ตำหรือขยี้
 ทาแก้อาการอักเสบเฉพาะที่ เนื่องจากถูกษแมลงกัดต่อย   และใช้รักษาโรคเริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง  โดยนำ ใบสด 10-15ใบ ตำให้ละเอียด ใส่ภาชนะสะอาด และเติมเหล้าขาวพอท่วม ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวัน กรองน้ำยา นำมาทาบริเวณที่ปวดบวม หรือจะใช้กาก พอกบริเวณที่เป็นก็ได้


 


พร้าวนกคุ่ม



ชื่อวิทยาศาสตร์   Molineria capitulata (Lour.) Herb.   ชื่อวงศ์  HYPOXIDACEAE

พร้าวนกคุ่ม พันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นในที่ชื้นใต้ร่มไม้อื่น  ลำต้นติดกับพื้นดิน    ใบ  ใบโตแตกออกรอบ
โคนต้น ปลายและโคนใบแหลม
ขนาดกว้าง 5.4-14 ซม.  ยาว 25-60 ซม. ก้านใบยาว 40 ซม . มี
เส้นใบแตกออกจากโคนใบขนานไปสุดปลายใบ
    ดอก  ดอกเล็กสีเหลือง   ออกเป็นช่อมี 5 กลีบ
ออกดอก ประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมแต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงติดกับก้านดอก
   ผล ผลกลม
มี
2-4 เมล็ด ขนาดเล็กมาก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผล  
กินได้    กินแล้ว ดื่มน้ำตาม น้ำจะมีรสหวาน

 


พลา




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  
 Microcos tomentosa  Smith.      ชื่อวงศ์     TILIACEAE
ชื่ออื่นๆ    พลับพลา ขี้เถ้า (ภาคกลาง),    กะปกกะปู  สากกะเบือดง   พลา  คอม  กอม (ภาค
เหนือ)
, คอมส้ม   ก้อมส้ม(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)พลองส้ม  คอมเกลี้ยง (ภาคตะวันออก),
มลาย (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)   พลา (ภาคใต้)

พลา   เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (สูงถึง 15 เมตร) ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 4 -
 8 ซม. ยาว 8- 17 ซม.   ใบเรียบ ปลายใบแหลม
หยักคอดเป็นติ่งสั้นหรือเว้าแหว่งเป็นริ้ว   ขอบใบ
เรียบหรือเป็นคลื่น ใบมี
3 เส้น จากฐานเดิม
 มีขนสากทั่วไป ช่อดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง
 กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ
5 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมากและล้อมรอบรังไข่   ผล รูปไข่
กลับ
มีก้านยาวโค้ง  ผิวของผลมีขนทั่วไป    เมื่อแก่สีเหลือง  สุกสีเขียวคล้ำถึงดำ   พลาออกดอก
ตั้งแต่เดือนเมษายน พฤษภาคม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์   :   ผลพลา สุกกินได้    เนื้อไม้, แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้หืด

หมายเหตุ :  ไม้พลาเป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้แม้เป็นไม้สด ปักษ์ใต้ในสมัยก่อนจึงใช้ไม้พลาเป็น
เชื้อเพลิงในการเผาศพ
 และในการอยู่ไฟของหญิงคลอดบุตรใหม่  นอกจากนั้น ผลแก่ของพลา
เด็กในชนบทปักษ์ใต้ยังใช้เป็นลูกกระสุนของ "ฉับโผง"
 (ปืนเด็กเล่นซึ่งทำจากกระบอกไม้ไผ่ป่า)


พะยอม

    
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Shorea roxburghii G. Don        ชื่อวงศ์   DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น      ยอม,   กะยอม,  ขะยอมดง,  แคน

พะยอมเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 -30 เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่องใบเดี่ยวออกสลับ รูป
ขอบขนานกว้าง
3.5 - 6.5 ซม. ยาว 8 -15  ซม.   ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้นๆ โคนมนขอบเป็นคลื่น
ผิวเกลี้ยงเป็นมัน
ดอกสีขาว  กลิ่นหอมจัดออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งและปลายกิ่ง  กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก
5 กลีบ  เรียงเวียนกันแบบกังหัน  เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 2 ซม.
เกสร ตัวผู้
15 อัน 
  ผลรูปรีกว้างประมาณ 1 ซม.  ยาวประมาณ 2 ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
เนื้อไม้/เปลือก ใส่ในกระบอกรองรับน้ำตาลตะโหนดและมะพร้าว เพื่อกันเสีย, ใช้ในการฟอกหนัง
ดอกอ่อน นำมารับประทานสดหรือนำมาลวกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก  ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ยาเรือ
เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าฝ้าย  ( ให้สีน้ำตาลส้ม )
หมายเหตุ  : ในชุมชนปักษ์ใต้สมัยก่อน  จะใช้ชันพะยอม อุ่นด้วยไฟอ่อนๆพอชันเหลวนำไปคลุกกับเปลือกต้นเสม็ด ห่อด้วยกาบหมาก ทำเป็นไต้ จุดให้แสงสว่างเวลาค่ำคืน

สรรพุณทางยา
เปลือก  ต้มน้ำใช้ดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและลำไส้อักเสบ  ดอกอ่อน ใช้ปรุงเป็นยาหอม
แก้ลมบำรุงหัวใจและลดไข้
( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณทางยา จาก เวบไซท์ องค์การเภสัชกรรม )

 


เพกา

    

    

    
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Oroxylum indicum (Linn.) Kurz       ชื่อวงศ์    BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น
     ลิ้นฟ้า,  หมากลิ้นช้าง (ฉาน - เหนือ),  Midnight Horror

ไม้ต้นสูง 5 - 13 เมตร เปลือกเรียบ สีเทา   ใบประกอบแบบขนนก 2 - 3 ชั้น  ออกตรงข้ามถี่ๆ ที่
ปลายกิ่ง แต่ละช่อย่อย มีใบ 3 - 7 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 3 - 9 ซม.
 
ยาว 4 - 14 ซม. ปลาย
แหลมโคนสอบ    ดอก ด้านนอกสีม่วงแดง หรือน้ำตาลคล้ำ   ด้านในสีเหลืองปนน้ำตาล
 ถึงชมพู 
 ออกดอกเป็นช่อขานดใหญ่ที่ยอด และปลายกิ่ง ยาว 40 - 150 ซม.
  กลีบดอกหนา เชื่อมกันเป็น
หลอดรูปกรวย ยาว 7 - 10 ซม. ปลายแยก 5 กลีบ ขอบกลีบย่น
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 7
ซม. เกสรตัวผู้ 5 อัน หลอดเกสรตัวเมียสีม่วง ยาว 4-6 ซม. ผลเป็นผักแบนยาวคล้ายดาบห้อยอยู่
เหนือเรือนยอด กว้าง 6 - 10 ซม. ยาว 45 - 120 ซม.
  มีกลีบเลี้ยงแข็งมากติดที่ขั้วฝัก เมล็ดแบน
จำนวนมาก มีปีกบางใส

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก 
เป็นสมุนไพรบำรุงธาตุ แก้บิด เจริญอาหาร
เปลือก
เป็นยาสมานแผลขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้จุกเสียด
ฝักอ่อน 
มีคุณสมบัติร้อนและมีรสขม กินขับลม และแก้หวัด ไอ หอบ หืด
เมล็ดในฝักแก่ มีคุณสมบัติเย็น ชาวจีนนำไปในเครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยง แก้ร้อนในแก้ไอ ขับเสมหะ
เป็นยาระบาย  และมีรายงานการศึกษาพบว่า ฝักเพกามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง


เพชรสังฆาต




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Cissus  guardrangularis Linn.       ชื่อวงศ์    VITACEAE
ชื่ออื่น      ขั่นข้อ (ราชบุรี),  สันชะควด (กรุงเทพฯ),   สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เกาะเกี่ยวพันต้นไม้อื่น  เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน มีมือ
สำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้นรูปสามเหลี่ยม
ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบยาว
2-3 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี
4 กลีบโคนด้านด้านนอก
มีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี
4 อัน ผล รูปทรง
กลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี
1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ -
เพชรสังฆาต เป็นพืชสมุนไพรมีรสร้อนขมคัน คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือน
ไม่ปกติ
 แก้กระดูกแตกหัก  ขับลมในลำไส้  และ
แก้ริดสีดวงทวารหนักทั้งชนิดกลีบมะเฟืองและ
เดือยไก่ 

การใช้เพชรสังฆาต รักษาโรคริดสีดวง ทำได้โดยใ
ช้เถาสดยาว 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้อสอดไส้ใน
กล้วยสุก หรือในมะขามเปียก  แล้วกลืน ห้ามเคี้ยว   และจะต้องรับประทานติดต่อกัน
10-15 วัน
จึงจะเห็นผล

ควรระวัง
1.  ในต้นมีสารแคลเซี่ยมออกซาเลท   เป็นผลึกรูปเข็ม อยู่มาก   ทำให้ระคายเคืองลำคอ ได้เช่น
เดียวกับบอน

2.  
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

 


พุดทุ่ง

   
ภาพ #1.  และ ภาพ #2.
จาก
http://greengarden.pantown.com/

  
 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Holarrhena densiflora Ridl.     ( ชื่อพ้อง   Holarrhena curtisii
 King
& Gamble )   ชื่อวงศ์    APOCYNACEAE
ชื่ออื่น  :   พุดนา(ราชบุรี),   นมเสือ(พิษณุโลก)  น้ำนมเสือ(จันทบุรี )    
                
สรรพคุณ, สับครุน
* (สงขลา),      พุดทุ่ง (ตรัง, สุราษฎร์ธานี)

พุดทุ่ง เป็นไม้พุ่มดอกหอมที่ออกดอกตลอดทั้งปี ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ
กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม  มียางสีขาว ใบ เดี่ยวออกเป็นคู่สลับตั้งฉากรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 3-5 ซม.
ยาว
6-12 ซม. ปลายกลมเป็นติ่งแหลมหรือเว้าบุ๋ม โคนรูปลิ่ม หรือมน  ขอบเรียบ  แผ่นใบหนามี
ขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ
12-16 เส้น ก้านใบยาว 2-4 มม.
ดอก มีกลิ่นหอมเป็น
ช่อดอกแบบช่อกระจุกกลีบสีขาวออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่งยาวได้ถึง
12 ซม.มีขน
สั้นนุ่มใบประดับเล็กแคบยาว
2-5 มม.   ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ซม.  ก้านดอกย่อยยาว
1-1.5 ซม.กลีบเลี้ยง5 กลีบ  รูปแถบกว้าง 0.8-1.2 มม. ยาว 2.5-8 มม.  มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน
กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 
8-15 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปไข่กลับถึงรูปรี  กว้าง
 
4-8 มม.ยาว 1.2-2 ซม.ปลายกลม  มีขนทั้งสองด้าน ปากหลอดกลีบดอกสีขาวหรือเหลืองเกสร
เพศผู้
5 อันโคนก้านชูอับเรณูมีขนสั้นนุ่ม  ผล 
เป็นฝักกลมยาว แตกแนวเดียว 1 คู่ กว้าง 5-6 มม.
ยาว
22-28ซม.ปลายผลชี้ขึ้น      เมล็ด มีขนสั้นนุ่ม เป็นกระจุกขนอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของเมล็ด
เมื่อผลแห้งแตกออก เมล็ดจะปลิวกระจายไปตามลม

ลักษณะทางนิเวศวิทยา  
พุดทุ่ง    ขึ้นได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ในพื้นที่ระดับความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ
400 ม.ในป่าเบญพรรณ ป่าชายเลน ที่โล่งที่ค่อนข้างชื้น และพื้นที่ดินทรายทั่วไป ทั่วประเทศและ
ทั้งภูมิภาคอินโดจีน
/คาบสมุทรมาลายู 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ต้น
,ราก   มีรสร้อน  เป็นยาขับเลือดและหนองให้ตก ขับลม กระจายเลือดลม ขับพยาธิ

หมายเหตุ :      คนสงขลา ( คลองหอยโข่ง  และบริเวณใกล้เคียงสนามบินหาดใหญ่ )  เรียก
พันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า  สับครุน   หมอแผนไทยในแถบนี้ จะใช้ยางของสับครุนผสมกับน้ำมะนาว ป้าย
หัวฝีที่บวมเต็มที่ เพื่อเปิดหัวฝี ขับหนองและเลือดที่เน่าเสียออก
...
( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยางพุดทุ่ง(สับครุน)ป้ายฝี    - นจ.  )

 


  หน้าแรก                                       หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้          หน้าถัดไป    

 
  ปรับแต่งเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 

 

  

Free Web Hosting