รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    :  หมวดอักษร   -   ม    หน้าที่ 1

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -    ม  หน้าที่ 1 )

/  มะกอกป่า  /  มะขามป้อม  /  มะเขื่อขื่น  /  มะเขือพวง  /   มะตูม  /  มะนาวควาย / 
/  มะนาวไม่รู้โห่  /
 มะ
มุด   /  
มะเม่า  /




มะกอกป่า

  
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Spondias pinnata (J.G. Konig ex L.f.) Kurz. 
ชื่อภาษาอังกฤษ    Hog plum
ชื่อวงศ์    ANACARDIACEAE

มะกอกป่า  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 10-40 เมตร  ลำต้นตรง เรือนยอดเป็น
พุ่มกลมโปร่งๆ เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
 เป็นช่อชั้นเดียว   ดอก  ออกเป็น
ดอกช่อสีขาวออกตามซอกใบหรือเหนือรอยแผลในตอนปลายๆกิ่ง
ผล รูปไข่ขนาดกว้าง 2.5-3.5
 ซม.ยาว 3.5-4.5 ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์   
ยอดอ่อน ใบอ่อน
มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อยประทานเป็นผักเหนาะกับน้ำพริก
  เปลือกและเนื้อ
ไม้เป็นส่วนผสมยา แก้โรคธาตุพิการ แก้บิด


 

มะขามป้อม



   
าพจาก  Internet

ชื่อวิทยาศาสตร์      Phyllanthus emblica Linn.   ชื่อวงศ์   EUPHORBIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Amla Fruits Tree,    Malacca Tree
ชื่ออื่น  -  กำทวด
 

มะขามป้อม    เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8-12 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทา  มีใบเดี่ยวออกสลับ
 เรียงเป็น 2 แถวในระนาบเดียวกันรูปขอบขนาน  กว้างประมาณ
0.4 - 0.7  ซม.   ยาวประมาณ 1-
1.2
ซม.  ปลายแหลมโคน มน   ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ  ดอกย่อยมีสีเหลืองนวล ผลมี
รูปกลม ผิวเรียบ มีเส้นพาดตามยาว
6 เส้น เมล็ดใน กลมสีเขียวเข้ม

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
นื้อผล แห้งหรือสด ใช้รับประทานขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
  มะขามป้อมมีวิตามินซีสูง    ใช้แก้โรค
เลือดออกตามไรฟัน

เปลือก ต้มดื่มแก้ไอ ขับเสมหะและใช้ย้อมผ้า
ใบ ใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลเกมเหลือง


 

มะเขือขื่น


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Solanum aculeatissimum Jacq.   ชื่อวงศ์  SOLANACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ Cockroach berry, Indian Love Apple, Soda Apple, Devils Apple
ชื่ออื่น     
เขือหืน (ใต้),  มะเขือหืน (อีสาน), มะเขือแจ้ มะเขือจาน (เหนือ)

มะเขือขื่น  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ทนแล้งได้ดี  มีอายุหลายปี  กิ่งเปราะหักง่าย  ชอบขึ้นดินร่วนซุย
ตามลำต้นมีหนามสีแดงเกือบดำ    ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ สีเขียว ขอบใบหยักเป็นคลื่น มีหนาม
สีแดงเกือบดำห่างๆ ทั่วก้านใบ บนใบและหลังใบ   ใบอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม     ดอก  ดอกเดี่ยวสี
ม่วง ออกที่ปลายยอด เกสรสีเหลือง  กลีบเลี้ยงสีขาว   
ผล
  เปลือกผล หนา เหนียว ผลดิบสีเขียว
เมื่อแก่มีสีเหลือง ขั่วผลมีหนาม เนื้อในผลสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ผล    ต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด      เป็นยาแก้เสมหะ  แก้น้ำลายเหนียว  แก้ไข้สันนิบาต
มือกในผล  ขูดตากแดด  นำมาดองเหล้าเป็นยาแก้ปวดเมื่อย   (มะเขือขื่น
32 ผล /เหล้า 1 ขวด)
ราก
เป็นยาขับเสมหะทำให้น้ำลายแห้ง แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ ทุ้งพิษไข้ แก้ไข้
ที่มีพิษร้อน และลดไขมันในเส้นเลือด  หรือปรุงร่วมกับยาอื่น แก้กามตายด้าน บำรุงกำหนัด

คนไข้ที่มีอาการไอ ห้ามรับประทานผลมะเขื่อขื่น เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง


มะเขือพวง


   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Solanum torvum  sw.   ชื่อวงศ์     SOLANACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Turkey berry,   Devil's Fig
ชื่ออื่น   
เขือช่อ(คลองหอยโข่ง-สงขลา),  เขือตูน( หาดใหญ่-สงขลา), เขือแว้ง(พิปูน-นครศรีฯ),
             มะเขือละคร,หมากแค้ง (นครราชสีมา),   มะแคว้งกุลัว, มะแคว้งกุลา (เชียงใหม่),
            
รับจงกลม (เขมร)

มะเขือพวงเป็นไม้พุ่มมีหนามที่ยืนต้นข้ามปี  สูง 1-3 เมตร ทั้งต้นมีขน ลักษณะคล้ายดาวปกคลุม
ลำต้น
ตั้งแข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งก้านและใบมีหนามสั้น
ใบรีใหญ่ออกสลับกันปลายใบ
แหลม  ตัวใบสองข้างไม่เท่ากัน ใบยาว
10-20 ซม. ขอบใบหยักเล็กน้อย   ดอก ออกเป็นช่อจาก
ง่ามใบหรือปลายกิ่ง  ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง
5 กลีบ กลีบดอก 5
กลีบ สีขาวมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ออก
ติดกับกลีบดอกบริเวณปากหลอดอับเรณูสีเหลืองยาวประมาณ
6 มม. รังไข่มี 2 ห้อง ผลกลมไม่มี
ขน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
1 ซม.ผลแก่สีเหลืองเข้มถึงส้ม ภายในมีเมล็ดมาก ขนาด1.5-2 มม.
มะเขือพวงเป็นพืชทนแล้ง ที่ขึ้นเองตามที่รกร้าง ในป่า ตามไหล่เขา  ( ปัจจุบัน มีการปลูกเพื่อเก็บ
ผลขาย )

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผล
ใช้เป็นผักใส่แกง เช่น  แกงเขียวหวาน  แกงเนื้อ  แกงป่า ใส่ในน้ำพริกหรือ ใช้เป็นผักลวกจิ้ม
น้ำพริก
    

สรรพคุณทางยา 
เมล็ด
เผาสูบเอาควันรมแก้ปวดฟัน
     ใบสด ใช้เป็นยาพอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น
ทั้งต้น ใบ และผล
สดหรือแห้ง
น้ำหนักประมาณ10-15 กรัมต้มกินเป็นยาช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี
แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวม
มีหนองและ อาการบวมอักเสบ
    รากสด ตำให้ละเอียด ใช้พอกเท้าที่แตกเป็นร่องเจ็บ
                                                                             ( ข้อมูลจากเวบไซท์
  หมอชาวบ้าน )

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  
   
มะเขือพวงมีสารจำพวก "
ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient)" ที่จะช่วยร่างกายในสภาวะขาด
สารอาหาร
 
ให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ,     
    -  มีกลุ่มสาร "
ทอร์โวไซด์  (Torvoside)"  ซึ่งช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้
และกระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือด
ไปใช้ได้มากขึ้น  รวมทั้ง ยับยั้งการดูดซึมกลับของ
โคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย
 จึงอาจช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้อีกทางหนึ่ง
     - ในมะเขือพวงมีสาร  "ซาโปนิน
(Saponin)"  ทำให้มะเขือพวงมีฤทธิ์ขับเสมหะ
     -  มะเขือพวงเป็นพืชที่มีเส้นใยมากที่สุด คือ มีเส้นใยมากกว่ามะเขือยาว 3  เท่า  และมากกว่า
มะเขือเปราะถึง
  65  เท่า เส้นใยในมะเขือพวงนี้ เรียกว่า  "เพกติน(Pectin )เป็นสารที่ละลายน้ำ
ได้ สารนี้จะเปลี่ยนเป็นวุ้นไปเคลือบที่ผิวของลำไส้
   ทำให้ลำไส้ดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้ว
ได้ช้าลง
  จึงเป็นการช่วยไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วเกินไป  ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลใน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
 อย่างไรก็ตาม  แม้ มะเขือพวงจะเป็นพืชผักที่มีประโยชน์มาก  แต่ไม่
ควรกินมากเกินไป
เพราะมีสาร  "อัลคาลอยด์
(Alkaloids)"  ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท   และมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ 
                                              
( ข้อมูลจากเวบไซท์  นานาสาระ ; รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม )


มะตูม

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์      Aegle marmelos (Linn.) Correa    ชื่อวงศ์   RUTACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ     Bael Fruit Tree
ชื่ออื่น  -  ตูม (ใต้),   กะทันตาเถร,   ตุ่มตัง,   มะปิน (เหนือ)

มะตูม เป็นม้ยืนต้นขนาดกลางสูงถึง 15 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งแหลมคม เรือนยอดกลม
เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบชนิด มีใบย่อยสามใบ ออกเวียนกันรอบกิ่ง ใบย่อย
รูปไข่หรือรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายเรียวแหลม กว้าง
1.75 - 7.5 ซม.  ยาว 4 - 13.5 ซม.  ขอบใบ
หยักเป็นใบเลื่อยฐานใบมน ก้านใบยาว ใบมีกลิ่นหอม  
ยอดอ่อนออกตลอดปี        
มะตูมมี 3 ชนิดคือ
มะตูมไข่ ผลกลมคล้ายลูกมะขวิดเปลือกบาง, มะตูมบ้าน ผลกลมยาวเปลือก
หนา
   และ  มะตูมนิ่ม   ผลกลมยาวเปลือกหนา เอานิ้วกดบุ๋มได้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน/ผลดิบ  
ใช้รับประทานเป็นผัก
ราก
รสปร่า ชา ขื่นเล็กน้อย แก้พิษฝี   แก้ไข้   แก้ลมหืดหอม ไอ    ช่วยบำบัดเสมหะ รักษาน้ำดี
มีรสฝาด เป็นยาบำรุงธาตุทำให้เจริญอาหารแก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดินน้ำที่คั่นจากใบใช้แก้หวัด
แก้หลอดลมอักเสบ    ผลมะตูมอ่อน  เป็นยาบำรุงธาตุเจริญอาหาร  และช่วยขับลมผาย
ผลมะตูมสุก รสหวาน สรรพคุณแก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลม

นอกจากนี้ ผลมะตูมยังมีสรรพคุณพิเศษคือมีฤทธิ์ลดความกำหนัด คลายกังวล และช่วยให้สมาธิดี
ขึ้น ชาวพุทธจึงนิยมใช้ทำเป็น น้ำปานะ ถวายพระสงฆ์


มะนาวควาย

    


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Citrus medica L.      ชื่อวงศ์    RUTACEAE
ชื่อพ้อง
  Citrus aurantium L.var. medica ,    Citrus crassa  Hasskarl.
ชื่อภาษาอังกฤษ   Citron
ชื่ออื่น    ส้มมะงั่ว, ส้มซ่า(กลาง),  มะนาวควาย(ใต้),   ลีมากูบา ( 3 จังหวัดชายแดนใต้),

มะนาวควาย  เป็นไม้ต้นทรงพุ่มขนาดกลาง      ลำต้น  สีน้ำตาล มีหนามแหลมตลอดลำต้น มีกิ่ง
ก้านมาก  ใบ ใบเดี่ยวออกสลับ ใบกลมมน ผิวใบเรียบ ขอบใบหยักตื้น มีหูใบเล็กตรงโคนใบคล้าย
ใบส้มจุก  แผ่นใบ งอขึ้นเล็กน้อย
สีเขียวเข้มเป็นมันวาว ใบใหญ่กว่าใบมะนาวมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ดอก  ดอกเป็นช่อกระจุก
 มีกลีบดอกแยก 4-5 กลีบ สีขาว กลิ่นหอม    ผล ผลรูปวงรีปลายแหลม
โตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
10 ซม. ผิวสีเหลือง หยาบขรุขระเปลือกของผลค่อนข้างหนา
น้ำมีรสเปรี้ยว
 

การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์    ผลแก่ คั้นน้ำใช้ปรุงอาหารเหมือนมะนาวทั่วไป  ใบอ่อน หั่นเป็นฝอยใส่ใน
แกงเผ็ด แกงคั่ว เพื่อปรุงแต่งรส ดับกลิ่นคาว


มะนาวไม่รู้โห่

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Carissa carandas  Linn.     ชื่อวงศ์   APOCYNACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ   Karanda,   Carunda,  Christ's Thorn
ชื่ออื่น     นาวโห่ (ใต้),   มะนาวไม่รู้โห่,หนามแดง (กลาง),   หนามขี้แฮด (เชียงใหม่)

มะนาวไม่รู้โห่ ป็นพืชไม้พุ่ม สูงประมาณ 2.5 - 3 เมตร  มียางสีขาวมีหนามแหลม ตามลำต้นและ
กิ่ง ยาวประมาณ 2 - 5 ซม. ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ กว้างประมาณ 3-4 ซม.  ยาวประมาณ 4 -
7 ซม.ผิวใบด้านบนเป็นมัน ดอกสีขาว หรือสีชมพู กลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นช่อสั้นๆ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ
ผลรูปมนรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1-2.5 ซม.   ผิวผลจะมีสีขาวอมชมพู   เมื่อสุกจะมีสีม่วงดำ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก เป็นยาขมเจริญอาหาร    ใบสด ใช้แก้เจ็บคอ แก้ท้องเดิน   ผลแก่ จะมีวิตามินซี รับประทาน
ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด   เป็นอาหาร ใช้ดองเกลือ หรือทำแยม รับประทาน


มะมุด
 

  
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Mangifera foetida   Lour.      ชื่อวงศ์   ANACARDIACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ     Horse mango
ชื่ออื่น    มุด (ใต้), มะแจ  มาแจฮูแต (มลายู-นราธิวาส),   มาจังูตัน (มาเลเซีย)

มะมุด เป็นพืชสกุลเดียวกับมะม่วง สูงประมาณ  30 - 40  เมตร   เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อน
ข้างกลม
  ลำต้นตรง  เปลือกสีน้ำตาลอมเขียวคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดหยาบ ๆ  เปลือกชั้นในสีน้ำตาล
แดง
   ใบ   รูปขอบขนานแกมรูปรี ถึงรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน  กว้าง  5-15  เซนติเมตร ยาว
 15-35  เซนติเมตร  ปลายใบมน หรือทู่บางครั้งแหลม  โดยเฉพาะในต้นขนาดเล็ก   โคนใบสอบ
  หรือเรียวเข้าหาก้านใบ  เส้นแขนงใบ  11-30  คู่  ก้านใบยาว  2-8  เซนติเมตร    ดอก   เล็ก สี
ชมพู
  ถึงสีแดง  ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง   ผล  รูปไข่   เบี้ยว  เนื้อหนา  กว้าง  6-7  เซนติเมตร
  ยาว  8-10  เซนติเมตร   เมื่อแก่สุกเหลืองแกมเขียว       โดยปกติ  มะมุดจะออกดอกประมาณ
เดือนมกราคม
-มีนาคม  ผลแก่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน-สิงหาคม  

ลักษณะทางนิเวศ
 จะพบมะมุดขึ้นตามที่ลุ่มต่ำ,ในป่าพรุ, และป่าดิบชื้น  ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปาน
 กลางขึ้นไป จนถึง
  600  เมตร     ในประเทศไทยพบทั่วในภาคใต้    ต่างประเทศพบที่มาเลเซีย
 อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม(ตอนใต้)  และพม่า (ตอนใต้)

ส่วนที่ใช้ประโยชน์   
ผล ใช้รับประทาน ทั้งผลสุกและดิบเช่นเดียวกับมะม่วง   แต่กลิ่นจะหอมฉุน  และเนื้อเป็นเสี้ยนกว่า
เนื้อไม้  ไม้มะมุดใช้ในงานก่อสร้างได้ดี

 
มะเม่า

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Antidesma ghaesembilla Gaertn.    ชื่อวงศ์   EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น -  มังเม่า(จันทบุรี),  เม่าไข่ปลา(ชลบุรี),   เม่า, เม่าทุ่ง (สงขลา),   เม่าข้าวเบา(ชุมพร)
             มะเมา(อีสาน)

มะเม่า เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม  ลำต้นตั้งตรงสูง 2 - 6 เมตร เนื้อไม้แข็ง กิ่งแขนงแตก
เป็นพุ่มทรงกลม   ใบ
 เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปวงรี  กว้าง 3.5 - 4.5 ซม. ยาว 5 - 7 ซม
ผิวด้านบนเ
กลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสั้นๆ   ใบอ่อนและยอดอ่อน สีแดงมีขน     ดอก
ดอกสีขาวอมเหลืองนวล   ช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อ ประกอบด้วยดอก
ย่อยจำนวนมาก       ผล   มีจำนวนมาก ขนาดเล็ก รูปทรงกลม เบี้ยว   เกาะติดตามแกนช่อดอก
ผลอ่อนสีเขียวอมขาว เมื่อสุกผลสีแดงคล้ำ ถึงดำ มีเมล็ดเดียว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ผล
มะเม่า  มีรสเปรี้ยวปนผาด  กินได้     
ต้นและราก  มีรสจืด  เป็นยาสมุนไพร รักษาโรค ได้หลายอย่าง เช่น  แก้กษัย ขับปัสสาวะ บำรุง
ไต  แก้มดลูกพิการ แก้ตกขาว แก้มดลูกอักเสบช้ำบวม  ขับโลหิตและขับน้ำคาวปลา

 

  หน้าแรก                                    หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้             หน้าถัดไป    
 
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 
 


 

  

Free Web Hosting