รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   หมวดอักษร       ย   ร   
 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร      ย     ร    )

/  ย่านนาง    /  ย่านปด   /  ยาหนูต้น (หญ้าหนูต้น)  /  ยับหยิ่ว  /  ยายกลั้ง   /
/  ราม    /  รางจืด    /  หร็ด-หนู,  เร็ดหนู  
/



ย่านนาง (เถาย่านาง)



ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra  Diels  ชื่อวงศ์  MENISPERMACEAE
ชื่ออื่น   ย่านนาง(ใต้),  เถาย่านาง,   เถาเขียว,   เถาวัลย์เขียว,   หญ้าภคินี
           
จ้อยนาง ผักจอยนาง(เชียงใหม่)

ย่านนาง เป็นพืชไม้เลื้อยมีลักษณะเป็นเถา ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับยาวรีรูปไข่ผิวใบ
เรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม กว้าง
2.8- 3.5 ซม. ยาว 9- 10 ซม. ย่านนางอ่อนจะมีขนสีเทา
ขึ้นตามเถา เถาแก่จะมีผิวเกลี้ยงเหนียว   ดอก ขนาดเล็กเป็นช่อสั้นๆออกตามง่ามใบ
แยกเพศคนละต้น  ไม่มีกลีบดอก  ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาลอับเรณู สีเหลืองอ่อน
ดอกย่อยของต้นเพศผู้ จะมีขนาดเล็ก  ก้านช่อดอกมีขนสั้นๆละเอียดปกคลุมหนาแน่น
 
ผล เป็นผลกลุ่มสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้มเมล็ดในมีสีดำ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบ
 ใบย่านนาง ช่วยลดความขื่นของหน่อไม้  ช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันของแกงเลียง
คนปักษ์ใต้จะใช้เฉพาะยอดอ่อนแกงเลียง (อีสานจะนำใบย่านนางมาตำให้ละเอียดคั้น
เอาแต่น้ำแล้วนำมาต้มกับหน่อไม้ ในแกงเปรอะ แกงอ่อม แกงบวน และซุปหน่อไม้ )


รากของย่านนาง เป็นส่วนหนึ่งในตำหรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือแก้ว
5 ดวง ซึ่งเป็น
ยาแก้ไข้ ประกอบด้วย รากย่านนาง
 รากคนเทา รากมะเดื่อชุมพร  รากชิงซี และราก
เท้ายายม่อม
   
ตำรายาแผนโบราณใช้รากย่านนางมาต้มดื่ม เพื่อใช้เป็นยาแก้พิษและ
แก้ไข้เกือบทุกชนิด  เช่น  ไข้หวัด ไข้อีสุกอีใส ไข้เซื่องซึม เป็นต้น 
  ใบ มีสรรพคุณ
เหมือนกับราก แต่ส่วนใหญ่จะนำมาประกอบอาหารซึ่งช่วยถอนพิษสุร และแก้เมาเห็ด
ได้ดี


ย่านปด


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetracera loureiri(Fin.&Gagnep.) Pierre ex Craib
ชื่อวงศ์    DILLENIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Sandpaper Vine
ชื่ออื่น     รสสุคนธ์,  เถากะปด (ประจวบคีรีขันธ์),  ย่านปด,  ปดคาย (ใต้)

ย่านปด  เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง เลื้อยพันไม้อื่นได้สูง 5-10 เมตร   ใบ เป็นใบเดี่ยวออก
สลับ รูปรี กว้างประมาณ 4-7
ซม.ยาวประมาณ 7-16 ซม. ปลายแหลมโคนเรียวแหลม
ขอบจัก เนื้อใบสาก
   ดอก สีขาวกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและกิ่ง กลีบ
เลี้ยง 5 กลีบ  รูปรีโค้งติดทนจนเป็นผล กลีบดอก 5 กลีบ บางรูปเหมือนกลีบเลี้ยง ร่วง
ง่าย  เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม.
 เกสรตัวผู้จำนวนมาก เป็นเส้นคล้าย
เส้นด้าย ผล
ค่อนข้างกลม เมล็ดรูปไข่ 1 -2 เมล็ด มีเนื้อหุ้มสีแดง 
  เมล็ด อ่อนสีขาว
เมล็ดแก่สีดำ
ย่านปด พบได้ทั่วไปตามป่าดิบหรือป่าผลัดใบที่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง
ระดับ 400 เมตร


ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ดอก - เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้เป็นลม อ่อนเพลีย

( แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณทางยา จาก เวบไซท์ องค์การเภสัชกรรม )


ยาหนูต้น 


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  สนามบินหาดใหญ่

 



ชื่อวิทยาศาสตร์  Dianella  ensifolia  (L.) DC.
ชื่อวงศ์    PHORMIACEAE (LILIACEAE)
ชื่อภาษาอังกฤษ   Sword leaf dianella
ชื่ออื่น     หญ้าหนูต้น,  ศรีคันไชย(เชียงใหม่),   โก่กำหลั่น(ชัยภูมิ),
              ลำพัน(จันทบุรี),    หญ้าหนู(ปัตตานี),   
              ยาหนูต้น (หาดใหญ่,คลองหอยโข่ง - สงขลา)

าหนูต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดิน สูง 30-60 ซม. ใบเดี่ยวเรียงสลับอยู่ในระนาบ
เดียวกัน รูปดาบ
  กว้าง 1-4
ซม. ยาว 20-60 ซม. ก้านใบแผ่เป็นแผ่นหุ้มซ้อนกัน ดอก
ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง เป็นหลอดเล็กๆปลายแยกเป็น
6 กลีบ กลีบรวมสีขาวนวล ผล  ผล
สด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีม่วงเงิน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็ง(อาการแผลเรื้อรัง เน่าลุกลามรักษา
ยาก)
  ราก ปรุงเป็นยารักษาความดันสูง ต้มน้ำดื่มรักษาโรคริดสีดวงลำไส้

ข้อมูลจาก   หนังสือสยามไภษัชยพฤกษ์ภูมิปัญญาของชาติ   โดยคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเหตุ :  หมอแผนไทย ในเขตหาดใหญ่-คลองหอยโข่ง (สงขลา) จะใช้หญ้าหนู
ต้น เป็นส่วนผสมอย่างหนึ่งของยาหม้อรักษาเหน็บชา อัมพาต ด้วย


ยับหยิ่ว(เล็บเหยี่ยว)


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Zizyphus oenoplia  Mill.  ชื่อวงศ์   RHAMNACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ   Jackal Jujube
ชื่ออื่น    เล็บหยิ่ว, ยับหยิ่ว (คลองหอยโข่ง สงขลา) ,   เล็บเหยี่ยว ,
            
 
แสงขัน(นครศรีฯ),  สังขัน (สุราษฎร์ธานี), มะตันขอ,  หมากหนาม

ยับหยิ่ว เป็นไม้ยืนต้นเลื้อยพึงพิงต้นไม้อื่น  ใบ ใบคล้ายใบพุทราลำต้นและใบมีหนาม
แหลมงอเหมือนเล็บของเหยี่ยว ชอบขึ้นตามที่รกร้างหรือริมจอมปลวก
ผล ผลออกเป็น
ช่อเล็กๆรายไปตามกิ่งและใบผลอ่อนสีเขียวรสเปรี้ยว ผลสุกสีดำรสหวานอมเปรี้ยว กิน
ได้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผล
รสหวานอมเปรี้ยว กินได้    ใบและยอดอ่อน จิ้มน้ำพริกแก้โรคนิ่ว   
เปลือกลำต้น   ในพม่าจะใช้เปลือกลำต้นของยับหยิ่ว มาต้มกินเป็นยาแก้ท้องร่วงท้อง
เสีย  แก้มดลูกอักเสบติดเชื้อ   หรือใช้
เป็นยาบ้วนปาก แก้เจ็บคอ     ราก ต้มกินขับ
ปัสสาวะ แก้นิ่ว   ราก ผสมสารส้มต้มกิน แก้อาการอวัยวะเพศแข็งตัวค้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม   การใช้ประโยชน์ ยับหยิ่ว(เล็บเหยี่ยว) ในประเทศข้างเคียง
   -  Myanmar Medicinal Plant Database
   -  
Medicinal Plants of Bangladesh
 

 


ยายกลั้ง


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Pseuderanthemum latifolium (Vahl) B. Hansen
                          Pseuderanthemum teysmainnii Ridl. (ชื่อพ้อง)
ชื่อวงศ์
 
 ACANTHACEAE  

ยายกลั้ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1-2 เมตร ใบ ใบกลมปลายแหลมบางเรียบ
เป็นมัน ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อย ดอก ดอกยายกลั้งมีสีครามคล้ายดอกเข็มออกดอก
ตรงส่วนยอด
ผลแก่สีเขียว   ผลสุกสีดำ ออกเป็นช่อ ปลายผลแหลม ผลแบนดู
คล้ายผลแฝดข้างในมีเมล็ด
2 เมล็ด

ลักษณะทางนิเวศน์วิทยา
ยายกลั้ง
ขึ้นได้ในทุกสภาพพื้นที่ ที่มีดินอุดมสมบูรณ์พอเหมาะ แดดไม่จัด มักพบทั่ว
ไปในสวนยาง หรือริมป่าเขา

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอด ดอก และผลอ่อน
 มีรสจืด เจือหวานเล็กน้อย ใช้เป็นผักแกงเลียง

 


รางจืด

   


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่อ
วงศ์
   THUNBERGIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Laurel clock vine,  Blue trumpet vine
ชื่ออื่น     ขอบชะนาง , เครือเขาเขียว,  ยาเขียว ,  จางจืดดง (อีสาน)

รางจืด ป็นไม้เถาเนื้อแข็งมีใบเดี่ยวรูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14
ซม.ขอบใบเว้าเล็กน้อย  ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับ
สีเขียว ประสีน้ำตาลแดง ผลแห้ง แตกได้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบสด - ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่างๆ ในร่างกาย  เช่น อาการแพ้อาหาร  กาทดลอง
เพื่อใช้แก้พิษ ที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ได้ผลดีพอควร  สรุปได้ว่า อาจใช้
น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล  ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
ได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน
 


รา

   


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Ardisia elliptica Thunb.  ชื่อวงศ์   MYRSINACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Shoebutton ardisia
ชื่ออื่น    พิลังกาสา( ทั่วไป)     ราม (ระโนด,  สะทิงพระ, สิงหนคร - สงขลา)
             
ทุลังกาสา (ชุมพร),   ลังพิสา (ตราด),  ปือนา (มลายู - นราธิวาส),
             

ราม เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ2-5 เมตร มีกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ต้น ใบ ใบเดี่ยวรูปหอก
ปลายใบแหลมเรียงสลับรอบกิ่ง  ผิวใบและขอบใบ เรียบหนาเป็นมันสีเขียว ก้านใบสั้น
ใบ
กว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 7-15 ซม.
 ยอดอ่อนมีสีแดง ดอก ออกดอก
ได้ทั้งปี แต่จะมีมากในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของดอก
เป็นช่อกระจุกก้านช่อยาว ดอก
เล็กสีขาวแกมชมพู  เป็นช่อ ออกตามยอดและข้างกิ่ง  เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะมี 5
แฉกคล้ายดาว 
ผล กลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ออกเป็นกระจุก มีก้าน
ช่อยาว ห้อยย้อยลงมาเรียงสลับรอบก้านช่อ เมื่อสุกจะมีสีแดงเข้มเกือบดำ

ลักษณะทางนิเวศน์วิทยา
ราม
หรือ พิลังกาสาเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจาย
พันธุ์ทั่วไปตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่น  กระจายทั่วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจน
ถึงอินเดียภาคใต้ 
ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าโปร่ง ดินทรายหรือดินเหนียวที่ระบายน้ำได้ดี

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ผลอ่อน ยอดอ่อน ใช้เป็นผักสด จิ้มน้ำพริก,    ผลสุก รสหวานปนฝาด กินได้

สรรพคุณทางยา
ลำต้น ใช้รักษาโรคเรื้อน  รากใช้รักษากามโรคและหนองใน   ผล ใช้เป็นแก้ไข้แก้
ท้องเสีย 
(ข้อมูลสรรพคุณทางยา จาก เวบสมุนไพร)

หมายเหตุ : ในเขตสงขลาจะพบ  ต้นราม หรือ พิลังกาสา ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติใน
แถบอำเภอ
ชายทะเล เช่น อำเภอระโนด, สะทิงพระ, สิงหนคร,จะนะ, และอำเภอเมือง
ส่วนในเขตอำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอหาดใหญ่ที่ติดป่าเขาจะหาพันธุ์ไม้นี้ได้ยาก
คงพบแต่พืชในกลุ่มเดียวกันคือ ต้นตาเป็ดตาไก่
(
Ardisia lenticellata Fletch.)
และ
ต้นลังกาสา
(Ardisia helferiana  Kurz.)

 


เร็ดหนู


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  
Stachyphrynium repens
(Körn.) Suksathan & Borchs.
Stachyphrynium jagorianum(K. Koch.) K. Schum.  (synonym) 
ชื่อ
วงศ์   MARANTACEAE
ชื่ออื่น  แห
ร็ด นู้ (สงขลา),  กาเล็ดกาเว๊า, กาเร็ดกาเหว่า(สุราษฎร์ธานี)

ร็ดหนู (หร็ด นู้เป็นพืชในกลุ่มสกุลคล้ามีขนาดเล็กสูงประมาณ 60 ซม. มีเหง้า
ทอดเลื้อยอยู่ใต้ดิน
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปขอบขนาน ค่อนข้างเรียวแคบ
กว้าง 3-4
ซม. ยาว 14-18 ซม.  ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบสอบ ขอบเรียบหรือเป็น
คลื่นเล็กน้อย  ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน เส้นใบย่อยเป็นรอย
นูนและมีแต้มเรียวแหลมสีเขียวเข้มตามรอยนูนเรียงสลับกันทั้งสองด้านของแผ่นใบ ผิว
ใบด้านล่างสีเขียวอ่อน ก้านใบกลมเล็ก ยาว 10-20
ซม.   ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบ
ช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ช่อตั้งตรง มีกาบรองดอกย่อยเรียงซ้อนกันเป็นแถวในแนวระนาบ
เดียวกัน ดอกย่อย 1-5 คู่  กลีบเลี้ยงมีขนาดเท่าๆกัน ไม่เชื่อมติดกัน ชั้นของกลีบดอก
เป็นท่อสั้นสีขาว โดยเชื่อมกับชั้นของกลีบเลี้ยงซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอก  
ผล  ผล
เเห้งแตกเมล็ดผิวเกลี้ยง มี 2-3 เมล็ด ภายในเเบ่งเป็นสองซีก

ร็ดหนู (หร็ด นู้)เป็นพันธุ์ไม้ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในป่าดิบชื้นของภาคตะวันออกเฉียง
ใต้,ภาคใต้และตลอดแหลมมลายู
  โดยจะเจริญงอกงามได้ดี ภายใต้ร่มเงาต้นไม้อื่น 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
เหง้าของ
ร็ดหนู (หร็ด นู้)  ใช้เป็นสมุนไพรใน ตำรับยาอายุวัฒน ของคนไทย
ถิ่นใต้   ทั้งต้น  
ปลูกลงกระถางหรือปลูกลงเเปลงในที่ร่ม เป็นไม้ประดับตกแต่งสวน

( แหล่งข้อมูลอ้างอิง - การใช้ เร็ดหนู เป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ  - นจ. )

หมายเหตุของคนโบราณ
พืชสกุลคล้า ที่คนไทยถิ่นใต้(สงขลา)เรียกว่า เร็ด  หรือ แหร็ด นี้  ในภาคใต้มี 2 ชนิด
คือ
ร็ดหนู หรือ กาเร็ดกาเหว่า ที่กล่าวมาข้างต้น    อีกชนิดก็คือ  เร็ดใหญ่ (แหร็ด
ใหญ่)
ซึ่งใบมีขนาดใหญ่  คนไทยถิ่นใต้สมัยก่อน ใช้ใบเร็ดชนิดนี้เป็นวัสดุห่อของกิน
ของใช้ที่ซื้อขายกันในตลาดนัด เช่นเดียวกับใบตอง เช่น ใช้ห่อกะปิ,ห่อเนื้อหมู แล้วผูก
ด้วยเชือกกล้วยแต่ปัจจุบัน หลังจากที่มีการผลิตถุงพลาสติก(ถุงก๊อบแก๊บ)  คนไทยถิ่น
ใต้ได้เลิกใช้ใบเร็ด (ใบแหร็ด) ส่งผลให้เด็กใต้รุ่นหลังจำนวนมาก ไม่รู้จักวัสดุธรรมชาติ
ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ชนิดนี้
 


  หน้าแรก                                 หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้      หน้าถัดไป  

                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 19/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting