รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    หมวดอักษร   -    ล     ว   
 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -    ล     ว    )

 ลังกาสา    /   ลำเท็ง   /  ลำพูป่า (ลำแพน)   /   ลียบ   /   ว่านน้ำ (หัวงอ)  



ลังกาสา



   


  
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Ardisia helferiana  Kurz.   ชื่อวงศ์  MYRSINACEAE 
ชื่ออื่นๆ   ส้มกุ้งขน (ปราจีนบุรี),    ลังกาสา ( ทุ่งตำเสา,ควนลัง - หาดใหญ่ สงขลา ),
              พระยาราม (ชุมพร )
 ตีนจำดง, ไม้ฮ้าง (อีสาน),   ก้างปลา, ตาปลา(ตราด)

ลังกาสา เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง ทรงพุ่ม   ลำต้นตั้งตรง  มีกิ่งแตกออกจากลำต้น เป็นชั้นๆ
แต่ละชั้นจะมีกิ่งประมาณ 
5-6 กิ่งเรียงสลับกัน  ใบ เป็นรูปหอก ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.
แตกออกจากกิ่งมีลักษณะเรียงสลับกัน ใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ใบโตเต็มที่ กว้าง
ประมาณ 
4 ซม. ยาวประมาณ10-17 ซม. หน้าใบสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีเขียวอ่อนเมื่อใช้มือลูบ
จะรู้สึกสากๆ  ดอก สีชมพูออกเป็นช่อ ตรงซอกใบ
ดอกยาวประมาณ 0.8 ซม. เมื่อบานจะ
เห็นกลีบดอก
5 กลีบ    ผล ผลอ่อนสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง จนถึงสีดำ เมื่อสุก มี
ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 ซม. เมล็ดเดี่ยวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.5
ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบ และ ยอดอ่อน  ใช้เป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริ   ผลสุก ทานได้
(
ชาวหาดใหญ่-ทุ่งตำเสา, ควนลัง ในอดีต  ใช้ใบอ่อน ยอดอ่อนของลังกาสาเป็นผักเหนาะ
จิ้มน้ำพริก ปัจจุบัน คนที่รู้จัก
ลังกาสา มีน้อยมาก คงมีเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ 60- 70 ปีขึ้นไป
เท่านั้น
.......)

 


ลำเท็ง  

      
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Stenochlaena palustris (Burm.f.) Bedd.  
ชื่อ
วงศ์
    BLECHNACEAE - PTERIDACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   
Miding Fern,   High Climbing Fern
ชื่ออื่น - ปรงสวน,   ผักยอดแดง,   ผักกูดแดง (กลาง),    ลำเท็ง, ละเท็ง, ลำเพ็ง(ใต้),
 
           ปากุ๊มะดิง (มลายู)

ลำเท็ง เป็นพืชเฟิร์นเลื้อยเถามีลักษณะกลม ขนาดราว 5-7 มม.  สีเขียว บางช่วงเรียบบาง
ช่วงมีขนหรือเกล็ด
 มีใบออกจากเหง้า ใบปกติมีข้อเกิดบนก้านใบย่อย   ใบประกอบขนนก
เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ขนาด 15-30 x 30-70 ซม.ใบย่อย 20-30 ใบ เรียงสลับ
รูปรีเรียวแคบ ก้านสั้นขนาดของใบย่อยไม่แน่นอน เฉลี่ย
3 x 15 ซม.ปลายใบเรียวแหลม
ฐานใบกลม ขอบใบหยักไม่เป็นระเบียบมีหนามแหลมคมที่ปลายหยัก เส้นใบตรง ขนานกัน
เป็นระเบียบ
  ใบย่อยสร้างสปอร์รูปรีแคบ ขนาดไม่แน่นอน เฉลี่ย 0.3 x 20 ซม. ขอบใบ
ม้วนขึ้นด้านบน
  ด้านล่างมีอับสปอร์ สีน้ำตาลปกคลุม
ใบอ่อนสีแดงอ่อนถึงแดงเข้ม
ลำเท็ง
พบทั่วไปในป่าน้ำท่วมขังที่มีแสงแดดรำไร   แต่ก็พบบ้างในที่มีแดดเต็มวัน หากขึ้น
ในที่โล่งจะแผ่ขยายเป็นวงกว้าง หนาแน่น

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบและยอดอ่อน
 เป็นผักพื้นบ้าน ใช้แกงเลียง ทำให้น้ำแกงมีสีแดง - ม่วง

 


ลำพูป่า  (ลำแพน)

  

าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่  :  บริเวณด้านหน้า อนุสรณ์สถานผู้เสียสละ เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

ชื่อวิทยาศาสตร์   Duabanga grandiflora  (Roxb. ex DC.) Walp.
ชื่อวงศ์
 LYTHRACEAE   (เดิมพืชในสกุล Duabanga อยู่ภายใต้วงศ์ Sonneratiaceae)
ชื่ออื่น   ลำแพน (ตรัง, พัทลุง, สงขลา);  ลำแพนเขา (ยะลา) อีกาย (นครศรีธรรมราช)
            
ลำพูขี้แมว (ระนอง);  ลำพูควน (ปัตตานี);  

ไม้ยืนต้นทรงพุ่มระย้า สูงได้ถึง 35 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม  ใบ รูปขอบขนาน
หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว
10-24 ซม.ปลายใบเรียวแหลมโคนใบกลมหรือเว้ารูปหัวใจ แผ่น
ใบด้านล่างมีนวล ก้านใต้ใบจะเป็นสันมองเห็นชัด ยอดและใบอ่อนมีสีเขียวอมแดง ใบแก่สี
เขียวหม่น
ดอก สีขาว มีกลิ่นเหม็น ก้านดอกยาว 3-4 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย 6-7 กลีบ รูป
สามเหลี่ยมไข่กลับ ยาว
1-3 ซม. บานออก กลีบดอก 6-7กลีบ ขนาดกว้าง 3 ซม.  ยาว 4
ซม. ก้านกลีบสั้นๆ ยาว 0.2-0.4 ซม.เกสรเพศผู้เรียง 2 วงอับเรณูติดไหว โค้ง ผลแห้งแล้ว
แตกรูปไข่เกือบกลม ยาวประมาณ
3-4 ซม. กลีบเลี้ยงของดอก ติดทน

ลำพูป่า(ลำแพน) มีเขตการกระจายพันธุ์  ตั้งแต่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน
และคาบสมุทรมะลายู ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ขึ้นเป็นไม้เบิกนำตามชายป่า ที่
เปิดโล่ง ตามหุบเขา ริมลำธารหรือที่ชุ่มชื้น จนถึงระดับความสูงประมาณ
1200 .

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
กลีบเลี้ยงของดอก คนไทยถิ่นใต้ ใช้กลีบเลี้ยงของดอกลำพูป่า(ลำแพน)ซึ่งมีรสฝาดมัน
เล็กน้อยเปรี้ยวนิดๆเป็นผักจิ้มน้ำพริก (ผักเหนาะ)   เนื้อไม้
สามารถนำไปทำวัสดุของใช้ที่
ต้องการน้ำหนักเบา เช่น กล่อง ไม้พายเรือ และก้านร่ม  เป็นต้น

สรรพคุณทางสมุนไพร    ลำพูป่า(ลำแพน) ทั้งต้น ต้มกับน้ำ  แก้อุจจาระติดโลหิตสดๆ
โลหิตช้ำ เผาไฟเอาขี้เถ้าละลายน้ำสุก ดื่มแก้เมื่อยเข็ดตามข้อกระดูก

 


ลียบ


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Ficus lacor Buch.        ชื่อวงศ์  MORACEAE
ชื่ออื่น  -    ผักเฮือด (เหนือ)

ลียบ  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ลำต้นสูง 8 - 15 เมตร  ในช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม
จะทิ้งใบหมด และในเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมีนาคมจะผลิใบใหม่ ใบอ่อนสีชมพูหรือชมพู
อมเขียว ใบอ่อนแลดูใสแวววาวไปทั้งต้น และมีปลอกหุ้มใบในระยะเริ่มแรกพอเจริญเต็มที่
ใบอ่อนกลายเป็นใบแก่ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ สีเขียว รูปรี หรือรูปไข่ปนขอบขนาน
ปลายใบมนทู่ ขอบใบเรียว ผิวใบมันกว้าง
6 - 7 ซม. ยาว 7 - 18 ซม. มีหูใบขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน   เป็นผักสด หรือนำไปลวกกับน้ำกะทิ เป็นผักจิ้มกับน้ำพริ

 


ว่านน้ำ


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Acorus  calamus L.   ชื่อวงศ์   ACORACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Calamus,  Beewort Sweet flag
ชื่ออื่น     หัวงอ  ( ใต้ ) , 

ว่านน้ำ   เป็นพันธุ์ไม้ชอบขึ้นอยู่ชายน้ำ หรือทางน้ำไหล  มีอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินทอด
ไปตามพื้นดิน และจะแตกเป็นต้นใหม่จากเหง้า  เหง้ามีกลิ่นหอม รูปทรงกระบอก ค่อนข้าง
แบนเล็กน้อย ใบ มีรูปแคบยาวคล้ายดาบ
เรียงสลับซ้ายขวา  ยาวประมาณ 1 - 1.50 เมตร
ขอบใบเป็นลอนคลื่น เส้นใบขนานตามยาวของใบ มีสีเขียวเข้ม ฉ่ำน้ำ   ดอก เป็นดอกช่อ
เชิงลด สีเขียวทรงกระบอก มีดอกย่อยจำนวนมาก อัดแน่นเป็นแท่ง
ว่านน้ำ พบตามริมห้วย ในเขตเอเชียอาคเนย์  ในประเทศไทยพบมากแถบภาคเหนือและ
อีสาน ขึ้นได้ทั่วไปตั้งแต่ระดับน้ำทะเล ถึง
1,200 เมตร    ในเขตอบอุ่น พบตั้งแต่ระดับน้ำ
ทะเล ถึง
2,000 เมตร

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
รากและเหง้า มีกลิ่นหอม เมื่อเคี้ยวสดๆ จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอ่อนๆ  ในทาง
สมุนไพร ใช้เป็นยาบำรุงประสาท บำรุงร่างกาย 
บำรุงธาตุ  ช่วยย่อย  แก้ปวดท้อง ขับลม
ถ้าใช้มาก จะทำให้อาเจียน




  หน้าแรก                                   หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้        หน้าถัดไป  

                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting