รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    หมวดอักษร   -    ส     หน้าที่ 1
 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -    ส       หน้าที่ 1    )

 /     ส้มแขก     /     ส้มจี๊ด     /     ส้มมวงย่าน    /     ส้มเค้า    /  ส้มป่อย
 
/    
ส้มหลอด  ( มะหลอด)



ส้มแขก

  

    

ชื่อวิทยาศาสตร์   Garcinia atroviridis Griff.   
ชื่อวงศ์
   CLUSIACEAE  ( GUTTIFERAE )
ชื่อภาษาอังกฤษ   Asam Gelugur
ชื่ออื่น   ส้มมวงช้าง,   ชะมวงช้าง

ส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู สูง 6-12 เมตร ใบโตและผิวใบเป็น
มัน
เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแคบ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม
โคนใบรูปลิ่ม สีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีแดง ก้านใบยาว
1.5-2 ซม.ดอกแยกเพศ ผล รูปกลม
แป้น มีสันและร่องจำนวนมากสีเขียว   เมื่อสุก สีเหลืองแกมส้มสด ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวจัด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผลสด
ใช้แกงส้มหรืออาจนำมาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้งใช้ปรุงอาหารเช่น ต้มเนื้อ
ต้มปลา แกงส้ม ทำน้ำยาขนมจีน
  ใบ ใช้ต้มกับเนื้อหรือผัดน้ำพริกเช่นเดียวกับชะมวง
 

 


ส้มจี๊ด


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์    Fortunella  japonixa (Thunb.) Swing.  วงศ์  RUTACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Round Kumquat,   Marumi Kumquat
ชื่ออื่น      ส้มจีด (ใต้),   ส้มมะปี๊ด(เหนือ),   ส้มเกล่า (จ.ระนอง), กำกั๊ด, กิมกิด (จีน)
 

ส้มจี๊ด เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกแขนงเป็นพุ่มแน่น สูง 1.5 - 3 เมตร  กิ่งมีหนามแหลม
คม ยาว
1 - 3 ซม. ใบรูปไข่กว้าง 2 - 4
ซม. ยาว 4 - 7 ซม.ปลายและโคนแหลม สีเขียว
สดเป็นมัน มีหูใบขนาดเล็ก ดอก
ออกดอกเดี่ยว แต่มักออกรวมกันเป็นกลุ่ม มีสีขาว และ
กลิ่นหอมแรง ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบและปลายกิ่งกลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น
5
แฉกกลีบดอก
5 กลีบ ร่วงง่าย  เมื่อบานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2.5
ซม.  ผล ติดผล
ดก ผลค่อนข้างกลมเหมือนส้มทั่วไปแต่มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง
1.5 - 3
ซม.ผิวบาง
สีเขียว กลิ่นหอม เมื่อผลสุกมีสีเหลืองส้ม เนื้อมีรสเปรี้ยวจัด มีเมล็ด
1 - 3 เมล็ด

ลักษณะทางนิเวศน์
ส้มจี๊ด
 
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเซียตะวันออก ขึ้นได้ทั่วไป ไม่ชอบที่แฉะ มีน้ำขัง การขยาย
พันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ แบบปลูกด้วยเมล็ด หรือ ตอนกิ่งก็ได้

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ส้มจี๊ด เป็นส้มที่กินได้ทั้งเปลือก น้ำส้มจี๊ด มีวิตามินเอ ซีและกรดอินทรีย์หลายชนิด มีรส
เปรี้ยว สามารถใช้ในการปรุงอาหาร แทนน้ำมะนาวได้,   
ส้มจี๊ดทั้งเปลือก ใช้ทำแยมทา
ขนมปัง,   เปลือกของส้มจี๊ดห่ามๆ นำมา
กินเป็น"ผักเหนาะ" (ผักแนมจิ้มน้ำพริก)ได้

ประโยชน์ทางยา
น้ำส้มจี๊ดคั้นผสมกับเกลือ เล็กน้อย ใช้ดื่มบรรเทาอาการไอและช่วยลดเสมหะ  ผลส้มจี๊ด
ดองเกลือ
แล้วทำให้แห้ง เก็บไว้ ใช้เป็นยาแก้ไอ อมแก้เจ็บคอ    เปลือกผลดิบ  กินสดๆ
เป็นยาขับลม ช่วยไม่ให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

 


ส้มมวงย่าน

   


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด

...  :  ... (ยังไม่มีข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ ของ ส้มมวงย่าน)

ชื่ออื่น     ส้มมวงย่าน (สงขลา) ,  ส้มเกรียบ (พัทลุง)

ส้มมวงย่าน เป็นพืชเถาที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่น  มีใบสีเขียวเข้ม รูปหอก เรียงตรงข้าม กว้าง 2 -3.5 ซม. ยาว 6-9 ซม.  ก้านใบยาว 1 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม เถาส้มมวงย่าน
มี
สีน้ำตาล   เมื่อเด็ดใบจะมียางสีขาว

ลักษณะทางนิเวศน์
พบได้ตามธรรมชาติในภาคใต้ บริเวณริมป่าเขา ที่ยังไม่มีสวนยางพารา

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบและยอดอ่อน
มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักต้มกับเนื้อหมู มีรสชาติคล้ายชะมวง(ส้มมวง) แต่
จะไม่มีกลิ่นชัน  หรือจะใช้เป็นผักแกงส้ม
ก็ได้

หมายเหตุ ของคนโบราณ
ในเขต
.สงขลาไม่ค่อยมีคนรู้จัก
ส้มมวงย่าน คงมีเฉพาะผู้สูงอายุ 60,70 ปี ขึ้นไปเท่านั้น
ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากพืชผักชนิดนี้ 
  ทุกวันนี้
ส้มมวงย่านจึงกลายเป็นเพียงวัชพืชริมสวน
ยางของคนสงขลา   แต่ในเขตพัทลุง ส้มมวงย่านหรือ
ส้มเกรียบของชาวพัทลุง ยังคงเป็น
ที่รู้จักและใช้เป็นผักอยู่อย่างแพร่หลาย

 


ส้มเค้า(ส้มออบแอบ)
 



 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์      Cissus hastata Miq.    ชื่อวงศ์   VITACEAE
ชื่ออื่น      ส้มข้าว (ปัตตานี) ส้มเค้า (หาดใหญ่, คลองหอยโข่ง - สงขลา),
ส้มออบแอบ(ฉวาง,พิปูน- นครศรีธรรมราช),   ส้มเสดสา*(ร่อนพิบูลย์-นครศรีธรรมราช)
ย่านส้มออบ, เถาส้มออบ(สุราษฎร์ธานี),   ส้มสันดาน (ชลบุรี),

ส้มเค้า เป็นพืชเถาที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมหัวใจยาว
4 - 15 ซม. กว้าง 2 - 8 ซม. ขอบใบจักแบบฟันเลื่อยตื้นๆ  ใบอ่อนสีเขียวอ่อน หรือเขียว
อมม่วงแดง   เมื่อแก่ ใบจะมีสีเขียวเข้ม ลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นข้อยาวประมาณ 5 -10 ซม.
สีเขียวอ่อน  แก่เต็มที่
จะมีแป้งสีขาว เกาะติดระหว่างข้อ  ตรงข้อจะมีหนวดสีชมพูใช้เกาะ
เกี่ยวต้นไม้อื่น  ใบออกตรงข้อ
     ดอก เป็นดอกช่อเป็นตุ่มเล็กๆสีน้ำตาล  เมื่อดอกบาน
จะมีกลีบดอกเล็กๆสีเหลืองฐานของดอกรูกถ้วยสีแดง     ผล รูปกลมเป็นพวง แต่ละผลมี
ขนาดประมาณ 0.5 ซม
. ผลสุก สีม่วงแดง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ใบและยอดอ่อน
มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักแกงส้ม
(แกงเหลือง ปักษ์ใต้)   หรือนำไปลนไฟ
ตำน้ำพริกได้

หมายเหตุ ของคนโบราณ:
1. ส้มเสดสา*ความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  คือ ส้มของคนที่ทุกข์ยากลำบาก หรือ
ส้มของคนยากคนจน 
(คนที่เสดสา)

2. มีพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง   ชาวพิษณุโลก  เรียกว่า  ส้มอ๊อบแอ๊บ (  Embelia  subcoriaea
(C.B.Clarke) Mez.  วงศ์ MYRSINACEAE)  เป็นพืชในตระกูลไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม  ขณะ
ที่  ส้มออบแอบของชาว
นครศรีธรรมราช เป็นพืช
เถาที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่น ดังนั้น ส้มอ๊อบ
แอ๊บ
ของชาวพิษณุโลก
 จึงเป็นพันธุ์ไม้ที่ต่างชนิดกันกับ ส้มออบแอบ ของชาวนครศรี
หรือ ส้มเค้า ของชาวสงขลา


ส้มป่อย
 

  

าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ : ทุ่งปลักเหม็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์   Acacia concinna (Willd.) DC.
                       
 
(Synonym Acacia rugata Merr)
ชื่อวงศ์   FABACEAE (alt. LEGUMINOSAE ), MIMOSACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ    Soap-pod Tree
ชื่ออื่นๆ   ส้มป่อย(กลาง), ส้มปอย(ใต้),  ส้มขอน
(ไทยใหญ่ - แม่ฮ่องสอน)

ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ที่สามารถเลื้อยพาดพิงต้นไม้อื่นได้ไกลถึง 18 -30
เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นใบย่อยรูปขอบขนาน
ปลายและโคนใบมน  ก้านใบประกอบยาว
6-16 ซม. ก้านใบยาว 1.5-5.2 ซม.  ประกอบ
ด้วยใบ
5-10 คู่ มีใบย่อย 10-35 คู่ ในแต่ละก้าน    ยอดอ่อนของเถา จะเป็นสีแดงคล้ำมี
หนามอ่อน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อกลม เป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
7-12 มม. ดอกออกตามปลายกิ่ง และ ง่ามใบ มีเกสรเป็นขนอ่อนๆ รอบดอก  ผล เป็นฝัก
แบนยาวคล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น ฝักยาว
10-15 ซม. เปลือกของ
ฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเรียงอยู่ภายใน


ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ยอดอ่อนและใบอ่อนของส้มป่อย
 ีรสเปรี้ยวสามารถใช้เป็นผักแกงส้มกับปลา โดยอาจ
จะใส่ยอดอ่อนและใบอ่อนส้มป่อยอย่างเดียว
หรือใส่รวมกับผักอื่นๆเช่น ยอดมะขามอ่อน,
ใบส้มเค้า หรือใบกระเจี๊ยบ ก็ได้
   ฝักแห้งของส้มป่อย นำมาต้มทำเป็นยาสระผม ใบและ
ฝัก
นำมาต้มเป็นน้ำอาบสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ    เปลือกใช้ย้อมผ้าย้อมอวน  จะ
ให้สีน้ำตาลและสีเขียว
    น้ำของฝักส้มป่อย
ใช้ขัดล้างเครื่องเงิน เครื่องทอง

สรรพคุณของส้มป่อย ในตำรายาไทย
ใบ  ีรสเปรี้ยว ฝาดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณถ่ายเสมหะ(ขับเสมหะ) ถ่ายระดูขาว(เมือกมูต
ในช่องคลอด) ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด ฟอกโลหิต ระดู แก้โรคตา
  ดอก มีรสเปรี้ยว
ฝาดมัน แก้เส้นเอ็น พิการ ให้สมบูรณ์
       ฝัก มีรสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ทำให้
อาเจียนแก้น้ำลายเหนียว แก้โรคผิวหนัง
ช่วยขจัดรังแคและบำรุงผม  เปลือกฝัก มีรสขม
เปรี้ยวเผ็ดปร่า เจริญอาหารกัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก
     ต้น มีรสเปรี้ยวฝาดแก้น้ำตา
พิการ
  ราก มีรสขม แก้ไข้ แก้ท้องร่วง

วิธีใช้
  
- ขับปัสสาวะ ชาวเหนือใช้ ยอดอ่อนของส้มป่อยต้มน้ำ แล้วนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้ง
   - แก้พิษฝี นำยอดอ่อนของส้มป่อยมาตำรวมกับขมิ้นอ้อย ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อยหมกไฟ
   
 พออุ่น แล้วนำไปพอกฝี จะช่วยแก้พิษฝีได้
   - ใช้ฝักส้มป่อย 3-7 ข้อ ต้มน้ำอาบตอนเย็นก่อนกำหนดคลอด 2-3 วัน  เชื่อว่าจะช่วย
     ให้คลอดง่าย แต่ห้ามอาบมากไป จะทำให้รู้สึกร้อน
   - ใบและฝักส้มป่อย นำมาต้มเป็นน้ำอาบ สำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ 
   - แก้ท้องร่วง ใช้รากส้มป่อยต้มน้ำรับประทาน
   - ฝักส้มป่อย ปิ้งให้เหลือง ชงน้ำจิบแก้ไอ
   - ใบส้มป่อย ตำห่อผ้าประคบเส้น ช่วยให้เส้นอ่อน

ดูข้อมูลเกี่ยวกับ ส้มป่อย ในเวบไซท์อื่นๆ
เวบไซท์ Philippine Medicinal plants  เวบไซท์ GLOB in MED
เวบไซท์  เทศบาลเมืองทุ่งสง


ส้มหลอด (มะหลอด)

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ บริเวณหลังโรงพยาบาลบ่อเกลือ  อำเภอบ่อเกลือ  จังหวัดน่าน

   
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ บริเวณด้านข้าง พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี   ดอยแม่สลอง  จังหวัดเชียงราย

ชื่อวิทยาศาสตร์    Elaeagnus  latifolia     ชื่อวงศ์  ELAEAGNACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   
Wild Olive
ชื่ออื่นๆ   
มะหลอด, บ่าหลอด (ภาคเหนือ),   ส้มหลอด ( ภาคใต้),   สลอดเถา

ส้มหลอด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ที่พาดพิงต้นไม้อื่น  ลำต้นและกิ่งมีเกล็ดสีเงิน ความสูงของ
ต้นส้มหลอด จะขึ้นอยู่กับความสูงของต้นไม้ที่อาศัยพึ่งพิง     ใบ   เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปรี กว้าง
3.5-4.5 ซม. ยาว 6-12 ซม.  โคนสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบน
สีเขียวอมน้ำเงิน เกลี้ยง ด้านล่างมีเกล็ดเล็กๆ สีเงิน ก้านยาว
0.8-1.2 ซม.      ดอก ออก
เป็นกระจุกตามง่ามใบ
   เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  หรือมีดอกเพศผู้ปะปนด้วย กลีบดอกเชื่อม
ติดกันเป็นหลอดสามเหลี่ยมปลายแยก
5 กลีบ   ผล รูปรี ยาว 1-2 ซม ผลอ่อนสีเขียว สุก
สีแดง
หรือแดงออกส้ม รสเปรี้ยว ฝาดจนถึงรสหวาน แล้วแต่สายพันธุ์     เมล็ด สีน้ำตาล
เหลือง ตัวเมล็ดเป็นพู

ลักษณะทางนิเวศน์
ส้มหลอด (มะหลอด) เป็นพืชที่เติบโตได้เร็วในที่ๆมีอากาศค่อนข้างเย็น ดินร่วนปนทราย
น้ำไม่ท่วมขัง ให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุ
2-3 ปี ในช่วงธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ทำได้
ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งปักชำ 
ส้มหลอด (มะหลอด) เป็นไม้ผลพื้นเมืองที่พบมาก
ทางภาคเหนือ
ตามป่า ทุ่งนาหรือปลูกตามบ้าน     ในเขตภาคใต้
จะพบได้บริเวณริมป่าเขา
หลวง แถบอำเภอพิปูน-ฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ผลดิบ เนื้อจะค่อนข้างกรอบใช้เป็นยาฝาดสมาน, ผลกึ่งดิบกึ่งสุก คนไทยถิ่นใต้ใช้แกง
ส้ม, ผลสุก เนื้อจะนิ่ม เป็นอาหาร(ทานกับน้ำพริกหวาน), เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
, ใช้ทำ
ไวน์มะหลอด

ดูข้อมูลเกี่ยวกับ ส้มหลอด (มะหลอด) ในเวบไซท์อื่น
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะหลอด
- "มะหลอด"ไม้ผลพื้นเมืองสู่เส้นทางงานวิจัย

( หมายเหตุ ของคนโบราณ : เนื่องจากปัจจุบันในเขตภาคใต้  มีการทำสวนยางพาราที่
ครอบคลุมในทุกพื้นที่ป่าเขา ส่งผล
ให้ ส้มหลอด ผลไม้พื้นบ้านริมเขาหลวงดั้งเดิมลดน้อย
ลง จนพบเห็นได้ยาก  และกลายเป็นผลไม้ที่เด็กใต้รุ่นหลังส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก  คิดว่าเป็น
พันธุ์ไม้ต่างถิ่นต่างภาค
 เช่นเดียวกับ
 กำจัดต้น พันธุ์ไม้ดั่งเดิมของถิ่นใต้ ที่คนใต้รุ่นหลัง
จะรู้จักในชื่อ "มะแขว่น" ตามอย่างคนเหนือ )

 





  กลับไปหน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้                                               หน้าถัดไป   
 
                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 29/04/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting