รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    หมวดอักษร   -    ส    หน้าที่ 2
 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -    ส    หน้าที่ 2       )

 /    สลัดได    /     สามร้อยยอด    /     เสม็ด      /      เสาะเทาะ (น้ำใจใคร่)   /


สลัดได


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Euphorbia  antiquorum  Linn.  วงศ์   EUPHORBIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Malayan Spurge Tree
ชื่ออื่น  
 กะลำพัก,  เคียะผา,  สลัดไดป่า, 

สลัดได   เป็นพันธุ์ไม้  ที่พบในที่แห้งแล้งทั่วไป ลำต้นอวบน้ำ เป็นแท่งสีเขียว มีหนามไม่
ค่อยมีใบ ลักษณะคล้ายกระบองเพชร แต่ไม่ใช่กระบองเพชร    กล่าวคือ สลัดไดมียางสี
ขาวขุ่นแต่กระบองเพชรไม่มียาง  ดอกของสลัดไดจะมีขนาดเล็ก  สีเหลืองหรือเหลืองอม
เขียว  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกไม่ถึง ๑ ซม.คล้ายดอกไม้ชั้นเดียว แต่ส่วนที่เห็นเป็น
กลีบๆนั้นคือใบประดับ    ขณะที่ดอกกระบองเพชรมีขนาดใหญ่กว่ามาก   และมีกลีบดอก
จำนวนมากเรียงซ้อนกัน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์

ปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน ลำต้นสลัดได เป็นแท่งสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมมีสันเป็นแนวตรงมี
ใบเล็กๆ ซึ่งมักจะหลุดร่วงง่ายและมีหนามแหลมคม  ตามชนบทจึงนำสลัดได มาปลูกเป็น
รั้วบ้าน เพื่อกันคนและสัตว์

ยาง ยางสลัดไดมีพิษ หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคืองเป็นผื่นคันหรือกัดผิว
ได้
ในสมัยก่อนจะใช้ยางสลัดไดกัดหูดตามผิวหนัง  ( ปัจจุบันพบว่าน้ำยางมี
สารร่วมก่อ
มะเร็ง จึงไม่ควรนำมาใช้ )    ในตำรายาไทย จะลดความเป็นพิษของยางสลัดไดด้วยการ
"ประสะ"  คือนำยางสลัดไดใส่ลูกถ้วย นึ่งห้สุก แล้วตากให้แห้ง  ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง

แก่น
ต้นสลัดไดที่แก่จัด ลำต้นจะมีแก่นแข็งข้างใน เมื่ออายุประมาณ ๑๐ ปีขึ้นไป  ต้นจะ
ตายลง แต่แก่นแข็งๆ ยังอยู่   มีลักษณะเหมือนไม้แห้งๆ สีน้ำตาล มีกลิ่นหอม  และรสขม
เรียกว่า กะลำพัก
  ใช้ทำยาแก้ไข้  บำรุงหัวใจ

 


สามร้อยยอด


 

ชื่อวิทยาศาสตร์     Lycopodiella cernua (L.) pic. Serm.
ชื่อวงศ์  
 LYCOPODIACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    
Coral Fern,  Staghorn Clubmoss, Creeping Club Moss
ชื่ออื่น    หญ้ารังไก่(คลองหอยโข่ง, หาดใหญ่  สงขลา),     กูดขน( เหนือ), 
            
สามร้อยยอด(กลาง),     หญ้าก้านเพียง, แหยงแย้ (อีสาน),
             ดอกหิน, สลาบ (ตะวันออก)  

สามร้อยยอด เป็นพืชกึ่งเฟิร์น ลำต้น เป็นเหง้ายาวเลื้อยไปตามผิวดิน ด้วยรากที่ยึดเกาะ
แล้วชูยอดตั้งชันขึ้นและแตกกิ่งย่อยอีกมากมาย
  จนมีทรงพุ่มคล้ายต้นสน
ที่อาจสูงได้ถึง
50 ซม. หรือมากกว่า
ลำต้นที่แผ่ราบไปตามผิวดิน จะเลื้อยยาวไปได้ไกลมากกว่า 50 ซม.
ใบเล็กๆ สีเขียวอ่อนปกคลุมหนาแน่น
เรียงเวียนสลับ ลักษณะใบเรียวแหลมและลู่ไปทาง
ปลายกิ่ง ยาวประมาณ
3-5
ม.ม.
ใบจะติดแน่นกับผิวลำต้นจนแยกไม่ออกว่าส่วนไหนเป็น
ใบและลำต้น
 
ส่วนขยายพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างสปอร์ของสามร้อยยอด  เกิดที่ปลายกิ่งโค้ง
ห้อยลงมา ยาว
0.5-1.5
ซ.ม. มีลักษณะเป็นใบเกล็ดเล็กๆ อัดกันแน่นรอบแกน ที่โคนใบ
เกล็ดด้านในติดกับแกนลำต้น มีอับสปอร์ติดอยู่ที่โคนใบเกล็ด    
สามร้อยยอด เป็นพืชมี
รูปทรงเป็นพุ่มสวยงาม ทุกส่วนจะมีสีเขียวอ่อนสุกใส

ลักษณะทางนิเวศน์
สามร้อยยอด
กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยพบทั่ว
ทุกภาคในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ทั้งในที่เปิดโล่ง,ในบริเวณป่าพรุ หรือตามไหล่เขาที่มีความ
ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง
1,200 เมตร  ในที่โล่งที่มีแดดจัด สามร้อยยอดจะมีใบ
สีเขียวเหลือง และเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าขึ้นในพื้นที่ที่มีร่มเงาบ้าง เช่น ในป่าเสม็ด
ป่าพรุ ที่มีแสงแดดบ้างในบางช่วง กิ่งก้านของสามร้อยยอดก็จะมีสีเขียวอ่อนสวยงามและ
เจริญเติบโตได้ดี

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ต้นสามร้อยยอด  ปลูกเป็นไม้กระถาง ใช้ตกแต่งสวน
กิ่งก้าน นำมามัดรวมกับดอกไม้เป็นกำ  ขายเป็นดอกไม้บูชาพระ


หมายเหตุ ของคนโบราณ
สามร้อยยอด หรือหญ้ารังไก่ของคนสงขลานี้ เป็นพืชประจำถิ่น ที่พบได้ทั่วไปในป่าเสม็ด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณรอบๆสนามบินหาดใหญ่  ที่ทุกวันโกน วันพระ จะมีการซื้อขาย
สามร้อยยอด ในตลาดดอกไม้ของหาดใหญ่  สามร้อยยอดเป็นที่ต้องการ ของตลาดมาก
จึงมีราคาอย่างตำ กระสอบปุ๋ยละ
300.-บาท ขายให้แม่ค้ารายย่อย กก.ละ 45 - 80 บาท
ในอดีตเมื่อ
10 ปีก่อน ด้วยความที่สามร้อยยอดมีราคาดี จึงมีการตระเวณไปเก็บสามร้อย
ยอดในที่ต่างๆ   แม่ค้าดอกไม้จากตลาดหาดใหญ่ สงขลา ยังเคยเดินทางไปเก็บสามร้อย
ยอด ถึงป่าพรุโต๊ะแดง นราธิวาส  แต่ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไปหา ในเขตสตูล ตรังและพัทลุง
(ข้อมูล ราคาสามร้อยยอด เมื่อเดือน ธค
. 2553)

ตามตลาดนัดบางแห่ง ในกทม. มีแม่ค้านำต้นสามร้อยยอดนี้ มาชุบน้ำมันตะไคร้หอมแล้ว
นำมาวางขายอ้างว่า  เป็นต้นไม้กันยุง  ชื่อต้นมัสกิโต ซึ่งเป็นการหลอกลวง  เพราะในช่วง
แรกๆ  สามร้อยยอดชุบน้ำมันตะไคร้หอม จะสามารถกันยุงได้จริง   แต่เมื่อน้ำมันฯระเหย
หมดแล้ว  ต้นมัสกิโต ที่ผู้ขายอ้างสรรพคุณว่ากันยุงได้นี้  ก็ไม่สามารถกันยุงได้อีกต่อไป

 


เสม็ด



  
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Melaleuca CajuputiMelaleuca leucadendra Linn. var. minor Duthie
วงศ์   MYRTACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Cajeput tree
ชื่ออื่น   เสม็ดขาว,  

เสม็ด  เป็นไม้ต้น สูง  5-25 เมตร เรือนยอดแคบ ลำต้นมักบิด เปลือกสีขาวนวลเป็นแผ่น
บางๆ  เรียงซ้อนกันเป็นปึกหนานุ่ม
  เปลือกชั้นในบางสีน้ำตาล  ยอดอ่อนกิ่งอ่อน  และใบ
อ่อน
   มีขนสีขาวเป็นมัน  แผ่นใบ  รูปหอก    กว้าง  1.5-4 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบ
และโคนใบแหลมมีเส้นแยกออกจากโคนใบ
  5-7 เส้นขนานกันและไปจรดกันที่ปลายใบ
 ดอกเล็กสีขาว ออก 1-3 ดอก ตามง่ามใบ

ลักษณะทางนิเวศน์ -เสม็ดเป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ป่าพรุที่มีน้ำท่วมในหน้าฝน
และในหน้าแล้งมีไฟไหม้ป่าอยู่เป็นประจำ ซึ่งพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ จะไม่สามารถปรับตัวได้
คงเหลือแต่เสม็ดที่ขึ้นเป็นกลุ่ม
  เรียกกันว่า " ป่าเสม็ด "
(Melaleuca forest)

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ไม้
 
ใช้ทำเสา  เสารั้ว  และใช้เผาถ่านได้ดี 
เปลือก
 
ใช้มุงหลังคา กั้นฝาขนำ และใช้คลุกกับชัน(ยาง)พะยอม  ทำไต้ 
ดอกและยอดอ่อน
  
 มีรสเผ็ด.ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกได้
น้ำมันที่สกัดจากใบ ใช้เป็นยามรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ,ใช้ทาภายนอก
และรักษาโรคปวดข้อรูมาติสซัม
 

ประโยชน์ของป่าเสม็ดและข้อสังเกตเพิ่มเติม
1. ทุกปีในช่วงหน้าแล้งยาวนาน   หากมีฝนตกห่าใหญ่ จนป่าเสม็ดชุ่มชื้น  แล้วมีแดดจัด
ประมาณ
4-5 วัน ก็จะมีเห็ดเสม็ดงอก    เห็ดเสม็ด หรือ "เห็ดเหม็ด"ของคนไทยถิ่นใต้
เป็นเห็ดจำพวก
Ectomycorrhiza  ชื่อวิทยาศาสตร์  Boletus griseipurpureus Corner
มีรสชาติค่อนข้างขม  แต่ถือเป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทยถิ่นใต้ ที่มีราคาแพงมาก

(หากนำมาตากให้แห้งแล้ว จะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน)

  เห็ดเหม็ดที่ยังไม่ได้ลวก

  เห็ดเหม็ดที่ลวกแล้ว

2. ใบ,กิ่งก้านของเสม็ด   ประเทศออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียตนาม
ได้นำมาสกัดเป็นน้ำมัน Cajeput oil   และได้ผลิตเป็นสินค้าส่งออกที่คนไทยรู้จักกันใน
ชื่อ น้ำมันเขียว  ประเทศไทยเรา ก็มีต้นเสม็ดอยู่มากมาย สามารถผลิตสินค้าชนิดนี้ได้
เช่นเดียวกัน    จึงควรที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือ หน่วยงานเอกชนไทย หันมา
ดำเนินการในเรื่องนี้บ้าง
....

หมายเหตุ
 - ข้อมูล
เกี่ยวกับประโยชน์ของ
เสม็ด  - นจ. 
 
- ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เสม็ด ได้จากเวบไซท์
 
       สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน
         ethnobotany

         AgroForestryTree Database


เสาะเทาะ
(น้ำใจใคร่)





าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Olax scandens Roxb    วงศ์  OLACACEAE
ชื่ออื่น   เจาะเทาะ (พัทลุง, สงขลา - ริมทะเลสาปฯ),  เสาะเทาะ (สงขลาตอนใน เช่น
หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง
),    ส้อท่อ (ทุ่งสง นครศรีธรรมราช),     
ควยถอก (ชุมพร)
กระทอก(ประจวบคีรีขันธ์), กระทอกม้า(ราชบุรี),  กะหลันถอก, น้ำใจใคร่(กาญจนบุรี),

นางจุม, นางชม(ภาคเหนือ),

เสาะเทาะเป็นพันธุ์ไม้เถาเนื้อแข็งที่พึงพิงต้นไม้อื่น สูงถึง 5 เมตร  กิ่งอ่อน  ค่อนข้างตรง
กลม สีเขียว  มีขนปกคลุมเล็กน้อย ต้นแก่ มีสีเทา-ดำ 
 ใบ ป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ
ผิวใบลื่นเป็นมัน มีสีเขียวเข้มรูปขอบขนานแกมใบหอก  ใบอ่อนสีเขียวตองอ่อน  ก้านใบ
อ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย   ใบยาวประมาณ 5 -10 ซม.   กว้างประมาณ 2-4 ซม.
  ดอก
แตกออกตามข้อของเถา ดอกอ่อนสีเขียวดอกบานสีขาวไม่มีกลิ่น
   ผล  ออกตามลำกิ่ง
รูปกลมหรือรี ปลายแหลมเล็กน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 1-1.5 ซม.และมี
กลีบเลี้ยงหุ้มผลประมาณ 4/5 ของความยาวผล

ลักษณะทางนิเวศน์ - พบได้ทั่วไปในเขตป่าพรุ ทุ่งนา และริมป่าเขา

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ยอดอ่อน, ใบอ่อน(ใบเพสะลาด)   มีรส
หวานมันและฝาดเล็กน้อย  ใช้เป็นผักแกงเลียง
แกงส้ม หรือ กินเป็นผักแนมจิ้มน้ำพริก ( ผักเหนาะ)

สรรพคุณทางยา
ลำต้น
ใช้ทำยาต้มแก้โรคไตพิการและโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ   เปลือก ใช้เป็นยา
แก้ไข้  เนื้อของผล เป็นยารักษาโรคตาแดง

ที่มาของชื่อและข้อสังเกตุ :
   1.ลักษณะของผลเสาะเทาะ ที่มีรูปกลมรีและมีกลีบเลี้ยงหุ้มผลประมาณ 4/5 ของผลนี้
เป็นที่มาของชื่อ ที่มีคำว่า เทาะ, ถอก, และ กระทอก ต่อท้าย ( ในถิ่นใต้บางแห่งจะมีชื่อ
เล่น อีกชื่อว่า  ลูกไข่แลน )
   2.ลักษณะของผลเสาะเทาะ นี้   ชาวบ้านจะใช้เป็นตัวตรวจสอบว่า ปริมาณน้ำฝนในแต่
ละปี จะมีมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือ ถ้าปีไหนผลเสาะเทาะมีกลีบเลี้ยงหุ้มมากจนเกือบมิด
ปลาย ปีนั้นน้ำท่าอุดมสมบูรณ์  แต่ถ้ากลีบเลี้ยงมีน้อย ผลโผล่มาก จะแสดงว่า ปีนั้นฝนจะ
ตกน้อย
..

   
ผลและดอกเสาะเทาะ
ภาพจาก MagnoliaThailand

หมายเหตุ
 - ข้อมูล
เกี่ยวกับประโยชน์ของ เสาะเทาะ(น้ำใจใคร่)  - นจ. 
 - ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เสาะเทาะ(น้ำใจใคร่) ได้จากเวบไซท์
     
MagnoliaThailand  /  สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้

 





  หน้าแรก                            กลับไปหน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้   หน้าถัดไป   
 
                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting