รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ    หมวดอักษร   -  ห 
 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(  หมวดอักษร   -  ห   )

/  หม้อข้าวหม้อแกงลิง   /  หมุย   /   หมากหมก   /   หัวแอกหัวไถ   /   หัสคุณ   /



หม้อข้าวหม้อแกงลิง
    
หม้อข้าวหม้อแกงลิง                              ดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง

    
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ป่าเสม็ด ทิศตะวันออก ของรันเวย์ สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce
ชื่อวงศ์
    NEPENTHACEAE
ชื่ออื่น     หม้อลิง (ใต้) , หม้อข้าวลิง (จันทบุรี) ,  เหน่งนายพราน, ก่องข้าวลิง

หม้อ
ข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชเถากินแมลง ขึ้นรวมกันเป็นกอลำต้นเลื่อยไปตามพื้นดิน
หรือเกี่ยวพันเกาะต้นไม้อื่นยาวถึง
5 เมตร   
  ใบ ใบยาว ๑๒ - ๑๘ ซม. ปลายใบ เป็น
กระเปาะคล้ายเยือก ยาว ๑๐ - ๑๕ ซม
. กระเปาะเมื่อยังอ่อนฝาจะปิดเมื่อ กระเปาะแก่
ฝาจะเปิด กระเปาะของหม้อข้าวหม้อแกงลิง ใน
สเปซีส์ "
mirabilis" ที่นำเสนอนี้ จะมีสี
เขียวอ่อน
ภายในกระเปาะมีขน  ป้องกันแมลงที่ตกเข้าไป ไม่ให้ออกได้      อีกทั้งผิว
กระเปาะ
  ยังมีรูเล็กๆจำนวนมากปล่อยน้ำย่อยออกมาขังไว้ในกระเปาะ เพื่อย่อยสลาย
แมลงเป็นอาหาร    ดอก
หม้อข้าวหม้อแกงลิง จะออกดอกในช่วงฤดูฝน ดอกออกเป็น
ช่อตามส่วนยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว ๕๐ - ๑๐๐
ซม.  ดอกเพศผู้ และเพศเมีย
แยกอยู่กันคนละต้น    เมื่อผสมพันธุ์แลัว
 ดอกเพศเมีย  จะกลายเป็นฝักที่มีเมล็ดเป็น
จำนวนมากอยู่ภายใน

 

ลักษณะทางนิเวศน์ - หม้อข้าวหม้อแกงลิง ในประเทศไทยพบตามภูเขา หรือที่ราบ
ลุ่มที่มีความชื้นและแสงแดดพอประมาณของทุกภาค
  โดยเฉพาะภาคใต้จะมีพันธุ์หม้อ
ข้าวหม้อแกงลิงมากที่สุดในบริเวณป่าพรุ, ป่าเสม็ด   (ต่างประเทศพบมากที่สุดในเกาะ
บอเนียว เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และในประเทศมาเลเซีย
)

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
ถา  ถาของหม้อข้าวหม้อแกงลิง  ที่เกี่ยวพันขึ้นต้นไม้อื่น  สามารถนำมาลอกเปลือก
ออก แล้วฟั่นเป็นเชือกใช้ล่ามวัว ได้ดี มีคุณภาพ ทนทาน
หม้อ(กระเปาะล่อแมลง นำมาล้างให้สะอาด ใช้นึ่งข้าวเหนียวหน้ากะทิ ถือเป็นขนม
พื้นบ้านยอดนิยมชนิดหนึ่งของปักษ์ใต้เรียกว่า "ขนมหม้อลิง" ( ขนมชนิดนี้สามารถกิน
ได้ทั้งเปลือก ไม่ต้องแกะเปลือกออก )


           ขนมหม้อลิง

หมายเหตุ (ของขนำริมทุ่งปลักเหม็ด) :  
หม้อ
ข้าวหม้อแกงลิงในธรรมชาติมีอยู่หลายสเปซี่ส์  สี และรูปทรงของกระเปาะ จึงมี
ความแตกต่างกัน ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงสนามบินหาดใหญ่ สงขลา จะมี
หม้อ
ข้าวหม้อ
แกง
ลิง  ชนิดกระเปาะสีเขียวอ่อน Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce  มากที่สุดจึง
ขอนำเสนอ ชนิดนี้ ไว้เป็นเบื้องต้น

 


หมุย

  
หมุย

ชื่อวิทยาศาสตร์    Micromelum minutum (G.Forst.)  Wight & Arn.
ชื่อวงศ์    RUTACEAE
ชื่ออื่น
    
หมุยช้าง, หมุรุย (ใต้),    หัสคุณ (สระบุรี),    
ชะมัด,สมัดใหญ่  (อีสาน),
              หมอน้อย (อุตรดิตถ์),    กาจับหลัก, มะห้อ, จี้ปุกตัวผู้, สาบฮิ้น (เหนือ)

หมุย  เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมสูงประมาณ 1-3 ม. ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย
รูปไข่ขอบขนานยาว ปลายแหลมสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร รสหอมร้อน
ดอก
ดอกเล็กเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง ผล ผลกลมสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุมเมื่อสุกสีส้ม
อมชมพู ผิวใส ฉ่ำน้ำ ออกเป็นพวงโต รสเปรี้ยวมัน  

ลักษณะทางนิเวศน์
หมุย
พบได้ทั่วไป ตามป่าดงดิบเขา  ป่าโปร่ง  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน, ใบอ่อน จิ้มน้ำพริก ใส่ข้าวยำ
สรรพคุณทางยา   ใบ  รสหอมเผ็ดร้อนตำทาแก้คัน พอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่น
คันตามผิวหนัง กระจายเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต     ดอก   รส
หอมร้อน ฆ่าเชื้อโรคแผลเรื้อรัง แก้ไส้ด้วนไส้ลาม    เปลือกต้น   รสร้อน แก้โลหิตใน
ลำคอและลำไส้ให้กระจาย   กระพี้   รสร้อน แก้โลหิตในลำไส้    ต้น   รสร้อน ขับลม
อันเป็นลูกเป็นก้อนในท้องให้กระจาย    ราก   รสร้อน แก้ริดสีดว

ข้อสังเกตุ
หัสคุณ(สระบุรี)  คือ  หมุย (ปักษ์ใต้)  ( Micromelum minutum )
หัสคุณ
(สงขลา)  คือ
เพชรหึงตักกาด(ตราด) (Spirolobium cambodianum Baillon)


หมากหมก

  


ภาพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )
สถานที่
: บ้านม่วงค่อม ม. 5   ต. ควนลัง  หาดใหญ่  สงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์   Lepionurus sylvestris  Bl.     ชื่อวงศ์  OPILIACEAE
ชื่ออื่น
 
 -

หมากหมก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านแผ่ออก
จากลำต้นเป็นทรงพุ่ม มีกิ่งแตกออกเป็นชั้นๆละ
3 กิ่งๆ ละ 3 - 6  ใบ    ใบ 
เป็นใบเดี่ยว
เรียงสลับ
 รูปยาวรีปลายแหลม  หน้าใบเป็นมันลื่น  ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อย  ใบกรอบ
เกรียม
กว้างประมาณ 3 –7 ซม. ยาวประมาณ10 ซม.   ดอก  ออกใต้ลำกิ่งระหว่างขั้ว
ใบ เป็นช่อ ดอกอ่อนสีเทา
ดอกแก่สีเหลืองปลายดอกสีแดง   
 ผล  กลมรียาวประมาณ
 
1 ซม. ลักษณะและขนาดของผลคล้ายผลของ ผักเขลียง  ช่อหนึ่งมี 3-5 ผล  เมื่อสุก
จะมีสีแดงสดใส

ลักษณะทางนิเวศน์ - หมากหมก พบได้ตามป่าชื้นทั่วไป ที่น้ำไม่ขัง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ราก(หัว)ใช้กินดิบๆ หรือเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน กินบำรุงกำลังกระตุ้นความ
กำหนัด
หรือใช้หัวตากให้แห้งบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลาย
ก้อย กินครั้งละ
3 เม็ด เป็นยาบำรุงกำลัง    ราก(หัว) ต้มกินเป้นยา แก้ตานขโมย แก้
โรคซางในเด็ก
รักษาฝ้าในปาก    ทั้งต้น  แก้โรคไต โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ

ยอดและผลอ่อน  ใช้เป็นผักแกงเลียง    ผลแก่ ใช้ต้มกินเล่น

(หมายเหตุ  :ในเขตสงขลาสมัยก่อน(คลองหอยโข่ง,ทุ่งตำเสา) จะพบเห็นหมากหมก
ได้ตามบริเวณ
สายดมแนวเขตบ้าน  ปัจจุบันพบเห็นบ้างเฉพาะบริเวณที่ยังไม่มีการปลูก
ยางพารา หรือตามหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกล )

 


หัวแอกหัวไถ 


ภาพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )
สถานที่  
:   ทุ่งปลักเหม็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์   Nephrolepis biserrata Schott  
ชื่อวงศ์
     OLEANDRACEAE
ชื่ออื่น      เฟิร์นหางปลา, กูดลาน ,  หัวแอกหัวไถ(ใต้)

"หัวแอกหัวไถ"  เป็นพืชตระกูลเฟิร์น   ขึ้นตามขอบไร่ปลายนา  ที่มีความชุ่มชื้น  มีใบ
ลักษณะขนนกใบอ่อนจะขดม้วนแบบก้นหอยเช่นเดียวกับผักกูด
 ก้านใบแก่เต็มที่จะสูง
 1.5 - 2 เมตร
  ใบย่อย ยาว ประมาณ 18 ซม.กว้าง 3 ซม.    

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ยอดและใบอ่อน ใช้แกงเลียง ผัด    ลวกจิ้มน้ำพริกกินกับข้าว
เป็นอาหาร ถือเป็นกับข้าวที่กินแก้ไข้หัวลม
   หรือเป็นไข้เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง
 ปัจจุบันมักจะใช้
"หัวแอกหัวไถ"ในการตกแต่งสวน

(หมายเหตุ  : ชื่อ "หัวแอกหัวไถ" น่าจะเป็นเพราะในช่วงเริ่มหน้านาไถหว่านจะต้องรีบ
เร่งทำงาน "หัวแอกหัวไถ" เป็นพันธุ์ไม้ริมทุ่ง ที่สามารถเด็ดมาเป็นผักแกงสะดวก เรียก
ได้ว่า สะดวกเก็บและสะดวกแกง ชาวชนบทถิ่นใต้ จึงเรียกเฟิร์นชนิดนี้ว่า
 " หัวแอกหัว
ไถ"
-
แหล่งข้อมูล  - นจ. )


หัสคุณ

  
ภาพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )
สถานที่  
:   ป่าเสม็ดหลังหมู่บ้านแมนดาริน (ทุ่งปลักเหม็ด) สนามบินหาดใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์    Spirolobium cambodianum Baillon 
ชื่อวงศ์
  APOCYNACEAE
ชื่ออื่น    เพชรหึง,   เพชรหึงตักกาด (ตราด),   หัสคุณ หรือ เสียบคุณ (สงขลา)

หัสคุณ/เพชรหึง เป็นไม้พุ่มสูงได้ประมาณ 2 .ลำต้นมีขนละเอียด ปกคลุมประปราย
ใบรูปรีหรือรูปแถบ
ยาว 2.5-8 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาวโคนใบรูปลิ่มหรือกลม
มีขนตามเส้นกลางใบและก้านใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.5 ซม.  ดอก ช่อดอกสั้น มีขน
กลีบเลี้ยงรูปใบหอกกลับ ตอนโคนกว้างเรียงยาวตอนปลายยาว
0.2-0.7ซม. มีขนขอบ
เป็นขนครุย มักมีต่อม (
colleters) ด้านใน กลีบดอกสีขาวหลอดกลีบเรียวยาว ป่องตรง
กลางยาว
1.5-3.5 ซม.กลีบดอกบานออกยาว 0.8-1.5 ซม.มีขนหรือเกลี้ยงอับเรณูยาว
3.7 - 4 มม.  ก้านเกสรเพศเมีย รูปเส้นด้าย มีขนประปราย ยาว 6 - 6.5 มม. รังไข่ยาว
ประมาณ
1 มม. ฝักติดกันเป็นคู่ ยาว 8.5 - 19 ซม.แต่ละฝักกว้าง 3 - 4 มม. เมล็ดยาว
 
0.5 - 1 ซม. กระจุกขนยาว 1 - 4 ซม.

ลักษณะทางนิเวศน์
หัสคุณ/เพชรหึง    มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู
และเกาะบอร์เนียว        ในไทยพบเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ แถบจังหวัดชลบุรี

จันทบุรี และตราด  และในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป
 หัสคุณ/เพชรหึง ขึ้น
หนาแน่นตามป่าชายหาด,  ป่าเสม็ดที่เป็นทุ่งหญ้า,
ที่ชื้นแฉะและเป็นดินทราย หรือตาม
ชายป่าโกงกาง

 หมายเหตุ   :
 
 1.  ชาวคลองหอยโข่ง ชาวหาดใหญ่ สงขลา เรียกพันธุ์ไม้นี้ว่า หัสคุณ หรือ เสียบคุณ
     
  (
แหล่งข้อมูล  - นจ. )
   2.  หัสคุณ(สงขลา)    คือ
  เพชรหึงตักกาด(ตราด)  
      
 แต่  หัสคุณ (สระบุรี)    เป็นพันธุ์ไม้อีกชนิด คือ   หมุย ( ปักษ์ใต้)
 



  หน้าแรก                               หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้        ไปหน้าถัดไป

                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 11/05/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting