ตำรายาของคนรุ่นทวด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ 
ลายแทงขุมทรัพย์ ภูมิปัญญาไทย  ที่เป็นทางการ และพอมีอยู่ ...ในยุคนี้

 

 

ยาสามัญประจำบ้าน
ตาม
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (5)

 


 

(22) ยาประสะมะแว้ง

วัตถุส่วนประกอบ

 

สารส้ม หนัก 1 ส่วน ขมิ้นอ้อย หนัก 3 ส่วน  ใบสวาด ใบตานหม่อน
ใบกะเพรา หนักสิ่งละ
4 ส่วน ลูกมะแว้งต้น ลูกมะแว้งเครือ หนักสิ่ง
ละ
8 ส่วน
 

 

 

วิธีทำ
 

บดเป็นผง ผสมน้ำสุกแทรกพิมเสนพอควร   ทำเป็นเม็ดหนักเม็ดละ
 
0.2 กรัม

 

 

สรรพคุณ
 

แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือรับประทานหรือใช้อม
 

 

 

ขนาดรับประทาน
 

เด็ก ครั้งละ 1-2 เม็ด
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 5-7 เม็ด
 

 

 

ขนาดบรรจุ

บรรจุ 30 เม็ด
 

 

 

(23) ยาบำรุงโลหิต

วัตถุส่วนประกอบ








 

ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง   สะค้าน ช้าพลู  ขมิ้นเครือ  เถามวก
แดง กำลังวัวเถลิง
   ดอกสารภี  ดอกพิกุล    ดอกบุนนาค  เกสรบัว
หลวง หนักสิ่งละ
2 ส่วน ดอกจันทน์ ลูกจันทน์  ลูกกระวาน กานพลู
เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว
  เทียนข้าวเปลือก   เทียนตาตั๊กแตน
โกฐสอ โกศเขมา โกฐหัวบัว
 โกฐเชียง  โกฐจุฬาลัมพา เนื้อลูกสมอ
ไทย
  เนื้อลูกสมอดีงู    เนื้อลูกสมอพิเภก   เปลือกชะลูด   เปลือก
อบเชยเทศ
  จันทน์แดง   แก่นแสมสาร   แก่นแสมทะเล  กฤษณา
หนักสิ่งละ
1 ส่วน   ครั่ง หนัก 8 ส่วน  ฝาง ดอกคำไทย  หนักสิ่งละ
 
10 ส่วน

 

 

วิธีทำ

บดเป็นผง

 

 

สรรพคุณ

บำรุงโลหิต

 

 

ขนาดรับประทาน
 

รับประทาน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำสุก
 

 

 

ขนาดบรรจุ

บรรจุ 30 กรัม

 

 

(24) ยาประสะไพล

วัตถุส่วนประกอบ


 

ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม  พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นอ้อย
เทียนดำ
    เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ 8 ส่วน   การบูร หนัก 1 ส่วน
ไพล หนัก
81 ส่วน
 

 

 

วิธีทำ

บดเป็นผง

 

 

สรรพคุณ

แก้จุกเสียด แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา

 

 

ขนาดรับประทาน
 

รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร  ครั้งละ 1 ช้อนชา ละลายน้ำ
สุก หรือน้ำสุรา
 

 

 

ขนาดบรรจุ

บรรจุ 30 กรัม
 

 

 

(25) ยาไฟประลัยกัลป์

วัตถุส่วนประกอบ
 

 

พริกไทยล่อน   ขิง     ดีปลี   กระเทียม หนักสิ่งละ 4 ส่วน   ขมิ้น
อ้อย     กะทือ    ข่า  ไพล  เปลือกมะรุม หนักสิ่งละ
5 ส่วน ราก
เจตมูลเพลิงแดง    สารส้ม แก่นแสมทะเล    การบูร 
   ผิวมะกรูด
หนักสิ่งละ
6 ส่วน

 

 

วิธีทำ

บดเป็นผง

 

 

สรรพคุณ

ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

 

 

ขนาดรับประทาน
 

รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร  ครั้งละ 1
 ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือ น้ำสุรา
 

 

 

ขนาดบรรจุ

บรรจุ 15 กรัม

 

 

(26) ยาไฟห้ากอง

วัตถุส่วนประกอบ

รากเจตมูลเพลิงแดง ขิง พริกไทยล่อน สารส้ม ฝักส้มป่อย หนัก
สิ่งละ
1 ส่วน

 

 

วิธีทำ

บดเป็นผง

 

 

สรรพคุณ

ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

 

 

ขนาดรับประทาน
 

รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร  ครั้งละ 1
ช้อนชา ละลายน้ำสุก หรือ น้ำสุรา
 

 

 

ขนาดบรรจุ

บรรจุ 15 กรัม

 

 

(27) ยาประสะเปราะใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ



 

โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง  โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำ
เทียนแดง  เทียนขาว   เทียนข้าวเปลือก  เทียนตาตั๊กแตน
 ลูก
จันทน์ ดอกจันทน์   ลูกกระวาน กานพลู  จันทน์เทศ จันทน์แดง
ดอกบุนนาค  ดอกสารภี   ดอกพิกุล   เกสรบัวหลวง
 หนักสิ่งละ
1 ส่วน เปราะหอม หนัก 20 ส่วน

 

 

วิธีทำ

บดเป็นผง

 

 

สรรพคุณ
 
 

ถอนพิษไข้ตานทรางสำหรับเด็ก ละลายน้ำดอก
ไม้เทศหรือ
น้ำสุกรับประทาน หรือผสมน้ำสุราสุม
กระหม่อม

 

 

ขนาดรับประทาน
 

รับประทานทุก 3 ชั่วโมง ครั้งละ ½ - 1 ช้อนชา

 

 

 

ขนาดบรรจุ

บรรจุ 15 กรัม



              ข้อ 4. ฉลากยาสามัญประจำบ้านตามประกาศนี้ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้

                        4.1 ชื่อยาตามที่ระบุในประกาศในกรณีเป็นตำรับยาที่มีการกำหนดชื่อยาไว้ในประกาศ
ฉบับนี้ กรณีมีการใช้ชื่อทางการค้าด้วย ให้แสดงชื่อยาควบคู่กับชื่อทางการค้าด้วย


                        4.2 คำว่า  “ยาสามัญประจำบ้าน ”   ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้
ชัดเจน


                        4.3 คำว่า “ยาสิ้นอายุ ” และแสดง วัน เดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุ
                             ให้ยาสามัญประจำบ้านตามประกาศฉบับนี้มีอายุการใช้ของยาได้ไม่เกิน 2 ปี
สำหรับ ยาน้ำ และไม่เกิน
3 ปี สำหรับยารูปแบบอื่น เว้นแต่ยาใดที่มีหลักฐานชัดเจนแสดงว่ามีอายุการใช้
มากกว่า ที่กำหนด ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจขยายอายุการใช้ของยาชนิดนั้นได้
 เป็นเฉพาะราย


                        4.4 ข้อความอื่น ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 57(2)  แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 แล้วแต่กรณี


              ข้อ 5.  ยาสามัญประจำบ้าน ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับให้ถือ
ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านต่อไปได้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ



              ข้อ 6. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณที่จะผลิตตำรับยาสามัญประจำบ้าน ตามประกาศฉบับ
นี้ ยื่นคำขอ ขึ้นทะเบียนตำรับยา
 โดยต้องมีสูตร ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ วิธีการใช้ และข้อความคำ
เตือน
  ตามประกาศฉบับนี้ หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติโดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการยา เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว จึงผลิตยานั้นได้



              ข้อ 7. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ ที่มีตำรับยาตามประกาศฉบับนี้  และได้ขึ้นทะเบียน

                      ตำรับยาไว้ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ   ที่ประสงค์จะให้ตำรับยานั้นเป็นยาสามัญ
ประจำบ้านโดย ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ ขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยา ภายในกำหนดหนึ่ง
ร้อยแปดสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ



              ข้อ 8.  ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542

(ลงชื่อ) กร ทัพรังสี



(นายกร ทัพรังสี)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

(คัดจากราชกิจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 67 ง วันที่ 24 สิงหาคม 2542)

 

 

 

 

    กลับไปหน้าสารบัญ                                                                                                       เปิดไปหน้าถัดไป   

                                                                                                                 

                                                              

Free Web Hosting