อักษรเขมร
 
 
อักษรเขมร

ตัวอักษรภาษาเขมร ที่ชาวเขมรใช้อยู่ในประเทศกัมพูชา ปัจจุบัน   มี
 2  ชนิด คือ
อักษรมูล และอักษรเชรียง  อักษรทั้ง 2 นิดมีลักษณะการเขียนและการใช้งานที่ต่าง
กัน
 
ดังนี้
 
"อักษรมูล"
       อักษรมูล เป็นตัวอักษรที่เดิมใช้ในการเขียนหนังสือธรรม  เช่น  คัมภีร์พระไตรปิฎก,
หนังสือเทศน์   ปัจจุบันมักใช้ในงานศิลป์
/ ป้ายโฆษณา หรือ งานเขียน ที่ต้องการให้มีจุด
เด่นพิเศษ เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทชื่อหัวข้อ หรือชื่อเฉพาะ    อักษรมูลนี้ หากดัดแปลงให้
ตัวอักษรบางตัว ให้มีเส้นน้อยลง จะเรียกว่า  " อักซอคอม" หรือ อักษรขอม 
 แต่โดยทั่ว
ไป ชาวเขมรจะเรียกอักษรทั้ง
2 แบบนี้ว่า อักษรมูล
        อักษรมูล นี้ ถือเป็นต้นแบบที่ คนไทยในสมัยก่อน
 ทั้งในภาคกลาง ภาคอีสานและ
ภาคใต้ (ยกเว้นภาคเหนือ)
 นำมาใช้ในการเขียนหนังสือทางศาสนา
และจัดบันทึกทั่วไป
โดยใช้คำไทยเขียนด้วยภาษาขอมเรียกว่า " อักษรขอมไทย " และพัฒนเปลี่ยนแปลง
ตามลำดับจนกลายมาเป็น อักษรไทย ในปัจจุบัน

  อักษรมูล ( ไม่ได้แสดงตัวเชิง)


 

"อักษรเชรียง"
        อักษรเชรียง
  เป็นตัวอักษรที่เขมรใช้มากในปัจจุบัน  ทั้งในการพิมพ์และเขียน แต่
เดิมก่อนที่จะมีเทคโนโลยี่การพิมพ์เขมรจะเขียนตัวหนังสือเอียงหรือ อักษรเชรียงนี้ เมื่อมี
การพิมพ์หนังสือจึงได้มีการดัดแปลงเป็นตัวหนังสือตรง
( อักษรชนิดนี้จึงมีชื่อใหม่ว่า  อัก
ซอโฌ
หรืออักษรยืน )

อักษรเชรียง (พร้อม ตัวเชิง)

  ลักษณะอักษรเชรียง ที่เขียนโดยทั่วไป
  ( เป็นตัวอย่างเฉพาะตัวอักษร
-ไม่มี ตัวเชิง)


เทียบกับอักษรไทยได้ ดังนี้

         ก       ข       ค        ฆ        
      จ    
  ฉ        ช        ฌ       ญ
      ฏ
      ฐ        ฑ        ฒ       ณ
      ต
      ถ        ท        ธ        
      ป    
  ผ        พ        ภ        ม
      ย   
   ร         ล        ว         ส
                        
 
ห        ฬ        อ


ตัวอย่างภาษาเขมร    ( เขียนด้วย อักษรมูล และ อักษรเชรียง )


ทั้ง 2 บรรทัดนี้ ตัวหนังสือคือ"อักษรเขมร"
อ่านออกเสียงว่า 
อักซอ เคย์มะระ

บรรทัดบนเป็นตัว  "อักษรมูล" หรือ  "อักซอ คอม"
บรรทัดล่างเป็นตัว  "อักษรเชรียง"  หรือ  "อักซอเจรียง" หรือ อักษรตัวเอียง   
 


อ่านว่า   โลบ เปก นวมออย ขาดเลียบ
แปลเป็นภาษาไทย จะมีความหมายว่า "โลภมากทำให้ขาดลาภ(เสื่อมลาภ)"



 เอกสารอ้างอิง /แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

   1.  หนังสือ "อ่านภาษาเขมร" .กาญจนา นาคสกุล  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กทม.10330   นายประเสริฐ
        ศิลพิพัฒน์ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา พ.ศ.2529
   2.  CAMBODIA SEA site  Khmer language learning,    Southeast Asian Studies
        Summer Institute,  the University of Wisconsin

 
3
บทเรียนที่ 17 อักษรมูล หรือ อักษรศิลป์ ในภาษาเขมร ( บล๊อก  GotoKnow.org )
 
  4.
 อักษรเขมร  จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เปิดไปหน้า อักษรขอมไทย                                                              หน้าแรก
 
  

นำเสนอข้อมูลเมื่อ 30/09/2549
ปรับแต่งหน้าเวบเพจเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 
 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting