ภาษาสงขลา (โดยสังเขป)

 

     ภาษาสงขลา : (โดยสังเขป)  หน้า 1  /  หน้า 2   หน้า 3  /  หน้า 4  

ภาษาสงขลา  : (โดยสังเขป) หน้าที่ 2

พยัญชนะควบกล้ำ  พยัญชนะผสมหรือพยัญชนะควบกล้ำในภาษาสงขลาได้แก่
 พยัญขนะต่อไปนี้

กล             เช่น           ก̣ลอน      (กลอน )

ขล ,  คล     เช่น           คล้าด      (ขลาด)

                                 คลอง'      (คลอง)

ตล             เช่น           ต̣ลอก      (ตรอก)

ปล             เช่น           ปลา

                                 ปลี

ผล             เช่น           ผล็อก      (กะลา )

                                 ผลื่อ'        ( อย่างไร)

มล             เช่น           แห̣̣ล็ด    ( เมล็ด )

                                 เม̣ลื่อน'     ( ลืมตา )

                                 เห̣̣ลือก'  ( เมือก )

กว             เช่น           กวำง        ( กวาง  )

ขว,  คว       เช่น           คว้า         (ขวา )

                                 แคว้น       (แขวน)

ตส             เช่น           ต̣สวด       ( ปลาจวด)

                                 ต̣สวน       ( ตรวน )

 

จะเห็นได้ว่าพยัญชนะที่มี ล  กล้ำ  ใช้ตรงกับกรุงเทพส่วนใหญ่  พยัญชนะที่มี ร
กล้ำนั้น โดยเหตุที่ภาษาสงขลาไม่มี ร กล้ำ จึงใช่  ล  แทน เช่น

ภาษากรุงเทพฯ                                ภาษาสงขลา

กราบ                                                 กลาบ'

คราง                                                 คลาง'

ครู                                                     คลู 

แปรง                                                  แปล๋ง

พร้า                                                    ผล่า

 

พยัญชนะ ร  , ล กล้ำที่ใช้ต่างกันบ้างก็มี ดังนี้คือ

๑. ลดเสียง ร, ล

ภาษากรุงเทพฯ                              ภาษาสงขลา

ใคร                                                   ใค'

เคลือบ                                              เคือบ'

 

๒. ลดเสียงพยัญชนะ ตัวหน้า เหลือแต่  ล

ภาษากรุงเทพฯ                              ภาษาสงขลา

เกราะ                                              เลาะ

เครือ                                        เลือ (หรือ เรือ  สำหรับกลุ่มสงขลาตอนใน)

 

๓.พยัญชนะที่มี ว  ควบนั้น มีตรงกัน มีตรงกัน มีทั้ง กว , ขว ,และ คว  เช่น

ภาษากรุงเทพฯ                             ภาษาสงขลา

กวัก                                              กวั๋ก

กว้าง                                             กวาง

กวาง                                             กว๋าง

ขวา                                               คว้า

เขว                                                เคว้

 

แต่ส่วนใหญ่   ขว   คว  ในภาษาสงขลา  มักใช้สลับกับ ฟ ในภาษากรุงเทพ

ภาษากรุงเทพฯ                             ภาษาสงขลา

ขวาน                                              ฟ้าน

ความ                                              ฟาม'

ควาย                                              ฟาย

ฟัน                                                 ควัน'

ฟ้า                                                 คว่า

ไฟ                                                 ไคว'

ฝา                                                 คว้า

 

นอกจากนี้ ในพยัญชนะ ว ควบ ในภาษากรุงเทพฯ  ในภาษาสงขลา ลดเสียง
พยัญชนะตัวต้น ก็มี

ภาษากรุงเทพฯ                             ภาษาสงขลา

จวัก                                                วั๋ก

กว่า                                                ว้า

ไกว                                                เว'

หน่วยเสียงสระ

ภาษาสงขลามีหน่วยเสียง สระเดี่ยว ๑๘ หน่วยเสียง ตรงกับภาษากรุงเทพฯ ภาษา
เชียงใหม่ และอุบล และมีหน่วยสระประสมเสียงยาว ตรงกัน 3 คือ เอีย  เอือ  อัว
สระที่ภาษาสงขลาและภาษากรุงเทพ ตรงกัน แต่ใช้ต่างกันมีดังนี้

ภาษากรุงเทพฯ   ไอ  (อะ  + ยะ )     ภาษาสงขลา  อาย

ใกล้                                                 กลาย

ไข้                                                   ค้าย'

ใช่                                                   ฉ่าย'

ใช้                                                   ฉ่าย

ไว้                                                   หว่าย

 

ภาษากรุงเทพฯ   เอา  (อะ + ว )       ภาษาสงขลา   อาว

เฒ่า                                                ท้าว

เท่า                                                 ถ่าว

 

ภาษากรุงเทพฯ    อิ                         ภาษาสงขลา   อี

ขิง                                                   คี้ง'

ลิง                                                   ลีง'

สิน (= ตัด)                                        ซี้น    

 

ภาษากรุงเทพฯ   อิ, อี                   ภาษาสงขลา  เอะ ,เอ

มะลิ                                              เหม̣ละ 

ขี่                                                   เค้

กระดี่                                              เด

 

ภาษากรุงเทพฯ   อิ                      ภาษาสงขลา  แอะ

นิ่ง                                                 แหน่ง'

 

ภาษากรุงเทพฯ    เอะ  ,เอ             ภาษาสงขลา   อิ ,  อี

เหม็น                                              มิ้น

เจ๊                                                   ฉี

 

ภาษากรุงเทพฯ   เอะ                   ภาษาสงขลา    แอะ

เก่ง                                               แก๋ง

เก็บ                                               แก๊บ

เจ็ด                                               แจ๋ด

เด็ก                                               แด๋ก

เหน็บ                                             แน็ต

เป็ด                                               แป๋ด

 

                                                                       / ภาษากรุงเทพฯ   อือ.....  

คัดลอกมาจาก   คำบรรยายภาษาไทยขั้นสูงของชุมนุมภาษาไทย ของคุรุสภา
( จัดพิมพ์สำหรับสมาชิกของชุมนุม )  พิมพ์ที่โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ นายกำธร
สถิรกุล 
 ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๑ วิชานิรุกติศาสตร์  เรื่องภาษาถิ่น
(ฉบับที่ ๑ - ๒ )นางสาวซ่อนกลิ่น  พิเศษสกลกิจ  บรรยาย  หน้า ๗๘๐ - ๘๐๒

  หน้าแรก                                                                 หน้าถัดไป    

  

ปรับปรุงหน้าเวบเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 


ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปนายเท่ง  ( "ไอ้เท่ง" )
หนังตะลุง :
ศิลปะถิ่นใต้


นายเท่ง 
หรือ ไอ้เท่ง ถือเป็นตลกตัวสำคัญของหนัง
ตะลุงที่มีบุคลิกตรงไปตรงมา
ูดจาโผงผาง ชอบล้อ
เลียนผู้อื่นและไม่เกรงใจใคร

ในบรรดานายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงในอดีต   หนังอิ่ม
บ้านควนเนียง  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ( ปัจจุบัน
ได้ยกฐานะเป็นอำเภอควนเนียง
) ถือเป็นนายหนังที่
เน้นบทบาทของไอ้เท่งได้สมจริง
จนมีฉายาต่อท้ายว่า
 หนังอิ่มเท่ง
 


 

 

  

Free Web Hosting