หมายเหตุเบื้องต้น  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา 
 
 
หมายเหตุเบื้องต้น
กรณีศึกษาภาษาสงขลา

เพื่อเป็นการบันทึกช่วยจำ  เรื่องของภาษาไทยถิ่นใต้  โดยเฉพาะภาษาสงขลาในยุคก่อนให้เด็กรุ่น
หลังได้รับทราบ
   จึงขอรวบรวมภาษาสงขลาเท่าที่พอจะหาได้  โดยจะขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ
ภาษาสงขลาของ "
โหมฺ-บก"(สงขลาริมทะเล) และ "โหมฺ-เหนือ" (สงขลาเหนือน้ำ,สงขลาตอนใน)
เป็นกรณีศึกษาเบื้องต้น ดังนี
 

1. ภาษาสงขลากลุ่มที่อยู่เหนือน้ำ("โหม่-เหนือ") หมายถึงภาษาที่ชาวหาดใหญ่,  คลองหอยโข่ง,
สะเดา , นาทวี , จะนะ, เทพา, และสะบ้าย้อย พูดจาสื่อสารกัน  ภาษาสงขลากลุ่มนี้จะมีเอกลักษณ์
เรื่องภาษาสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเช่น

          - "ยิง หมี นะ”   วลีนี้มีความหมายใกล้เคียงกับ " ยังดี นะ " หรือเกือบไปแล้วไหมละ ของ
ภาษาไทยกรุงเทพฯ
  ประโยคตัวอย่างเช่น  “ ยิง หมี นะ ตาย ถ้ากูมาไม่ทัน หมายความว่า เกือบ
ตายไปแล้ว ยังดีนะที่กูมาทัน
”

          - คนสงขลากลุ่ม " โหมฺ-เหนือ " ( โดยเฉพาะ คนคลองหอยโข่ง ดั่งเดิม ) จะเรียก มะละกอ
 ว่า  กล้วย
หลาหรือ แตงต้น  ในขณะที่ปักษ์ใต้ทั่วไป จะเรียกมะละกอว่า “ลอกอ"

           - คนสงขลากลุ่ม " โหมฺ-เหนือ " (  โดยเฉพาะ คนคลองหอยโข่ง,สะเดา,  นาทวี  )  มักจะ
พูดคำว่า
หน้อ  ต่อท้ายประโยค  และมีหางเสียงที่ยาวไม่ขาดห้วน ถือเป็นสำเนียงสงขลา  ที่มีความ
นุ่มนวล กว่า
สำเนียงสงขลากลุ่ม    "
โหมฺ-บก "

          - คนสงขลากลุ่ม "โหม่-เหนือ"   (โดยเฉพาะคนคลองหอยโข่งสมัยก่อน )  จะใช้คำว่า  ได่
ในความหมาย ทำไม   ในขณะที่คนปักษ์ใต้ทั่วไปจะใช้คำว่า  ไส่     ตัวอย่างเช่นประโยคต่อไปนี้ที่
แม่เฒ่าชาวคลองหอยโข่ง
  ถามลูกหลาน ที่ไปเยี่ยมถึงบ้านว่า  
" มา ได่  หะ โหลก "   ซึ่งมีความ
หมายว่า "มาทำไม ละลูก"

2. ภาษาสงขลากลุ่มที่อยู่ริมทะเล (โหม่-บก)  โดยเฉพาะชาวสงขลาที่อยู่ในเขตอำเภอสิงหนคร,
อำเภอสะทิ้งพระ และอำเภอระโนด
     แม้ส่วนใหญ่ จะมีสำเนียงใกล้เคียงกับชาวสงขลาเหนือน้ำ
(
โหม่-เหนือ)  แต่ก็มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ

             - การออกเสียง ร.  ที่ทางคนสงขลาริมทะเล  ออกเสียงไม่ได้ทั้งเสียงพยัญชนะนำ  และ
อักษรควบแต่จะใช้ ล. แทน เช่น  รัก จะออกเสียงว่า ลัก  จึงมีผลให้ "ฉันรักเธอ"  ของคนสิงหนคร
กลายเป็น"ชั้นหลักเธอ"(เขียนตามเสียงวรรณยุกต์)

            - ในส่วนของ "โหมฺ-เหนือ" (คนหาดใหญ่,  คลองหอยโข่ง, สะเดา)  แม้จะออกเสียง ร. ที่
เปนพยัญชนะนำได้ แต่จะออกเสียงอักษรควบ ร.ไม่ได้เช่นเดียวกันกับคนสงขลาริมทะเล  ตัวอย่าง
เช่น

                เปรียบเทียบ    -    คนสงขลา (ทั้งจังหวัด) จะออกเสียงเป็น     "  เปลียบเทียบ "

                แปรงฟัน      -      คนสงขลา (ทั้งจังหวัด) จะออกเสียงเป็น      "  แปลงฟัน "

          - ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงคำว่า ไก่ย่างองคนหาดใหญ่  และ ไก่ย่างของคน
สะทิ้งพระ
จะเป็นตัวระบุถึงถิ่นที่อยู่  ของผู้พูดได้ทันที  เนื่องจากคน
หาดใหญ่ จะออกเสียง ไก๋ย๊าง
(ย่างจะออกเสียงตรี)  แต่คน
สะทิ้งพระ จะออกเสียง ไก๋หย่าง (คำว่าย่างใช้เสียงวรรณยุกต์โท) คำ
ว่า
ก๋หย่าง นี้   จะใช้พูดกันตั้งแต่ สิงหนคร เรื่อยไป   จนถึงหัวไทร นครศรีธรรมราช

3. อัตลักษณ์ ในภาพรวมของภาษาสงขลา  อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว ภาษา
ไทยถิ่นใต้ของชาวสงขลา ก็ยังมีความกลมกลืนกัน และมีเอกลักษณ์ในเรื่องภาษาสำเนียง  
การใช้
คำที่เด่นชัดเรียกได้ว่าผู้ฟังจะทราบได้ทันทีว่าผู้พูดคือคนสงขลาก็ด้วย  ศัพท์และสำเนียงของภาษา
สงขลา นั้นคือ

      -  ภาษาสงขลาแท้  หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆ เบาเสียงลง  ลักษณะดังกล่าวช่วยให้
         ภาษาสงขลา ฟังแล้ว ไม่หยาบกระด้าง
      -  รอหน่อย จะไปด้วย    คนสงขลา จะพูดว่า
"
 ท่ามั้ง ไปค้อย " ในขณะที่ไทยถิ่นใต้ในจังหวัด
        
อื่นๆ จะพูดว่า    " ท่ามั้ง ไปกัน "
     
คำว่า   เบอะ , กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า  เพราะว่า,  ก็เพราะว่า
         จะเป็นคำพูดที่ติดปากของคนสงขลา
     
เงิน ที่ใช้จับจ่ายซื้อสินค้า  คนสงขลา จะเรียกว่า เบี้ย ในขณะที่ ท้องถิ่นอื่น เรียกว่า   ตางค์
     
กระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง   คนสงขลาดั้งเดิม  จะเรียกว่า  ถุงเสื้อ ถุงกางเกง
     
-  
ภาษาสงขลาจะใช้คำว่า  ไม่หอน   ในความหมาย  ไม่เคย
            เช่น  ฉานไม่หอนไป  ฉานไม่หอนรู้   (  ฉันไม่เคยไป  ฉันไม่เคยรู้)

                   
          ฯลฯ     ฯลฯ

      .....................................................
      ..............................................................................
      ............................................................................................

ท้ายที่สุดนี้   หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาสงขลา)   ทั้งหมดไม่น้อย
กว่า
750 คำ ที่
คนโบราณ ได้รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้น และนำเสนอไว้ ณ ที่นี่     คงจะเป็นประโยชน์
แก่ผู้สนใจภาษาไทยถิ่นใต้   และพอจะเป็นบันทึกช่วยจำให้แก่เด็กใต้รุ่นหลัง ได้มีสายใยที่จะเชื่อม
โยงไปยังอดีตของสังคมไทยถิ่นใต้ได้บ้าง
....    เพียงแค่นี้ คนโบราณ ก็ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งแล้ว


หมายเหตุเพิ่มเติม :

1. เนื่องจาก " คนโบราณ"  ผู้รวบรวมเป็นคนสงขลา ลูกหลานคลองหอยโข่ง    จึงใคร่ขออนุญาตยึด
ภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่งเป็นต้นแบบ   โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวม
ทั้งสำเนียง
ภาษาไทยถิ่นใต้ในจังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. กรณีการออกเสียง ร ของคนสงขลา  " คนโบราณ"  ผู้รวบรวมและนำเสนอ   ขอยืนยัน ณ ที่นี้ว่า
คนสงขลา ในกลุ่ม
"โหมฺ-เหนือ"(คนหาดใหญ่, คลองหอยโข่ง, สะเดา)  สามารถออกเสียง . ที่เป็น
พยัญชนะนำได้ ซึ่งอาจจะเป็นความเห็น ที่คัดค้านผลงานวิจัยของนักวิชาการหลายๆ ท่านที่ได้สรุป
ไว้   ทั้งนี้ คนโบราณไม่ใช่นักภาษาศาสตร์  หากเป็นเพียงลูกหลานคลองหอยโข่ง  ที่ได้ยินเสียง
ปู่ย่าตาทวด พูดกันมา ตั้งแต่จำความได้ จนปัจจุบัน อายุกำลังใกล้ 60 ....

                                                                                              " คนโบราณ"

 


เพื่อรับทราบรายละเอียดความแตกต่าง ระหว่างเสียงภาษาไทยกรุงเทพกับสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้  เข้าไปอ่านได้ที่   ภาษาสงขลา โดยสังเขป

หลายต่อหลายคำ ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)  มา จากคำภาษามลายู (โบราณ)   ดังนั้น เพื่อทราบที่มาที่ไปของคำ  เชิญเข้าไปอ่านได้ที่   ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ 

 



     กลับไปหน้าแรก                                                                       หน้าถัดไป    

  

ข้อมูล/ปรับแต่งเมื่อ 05/10/2556
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

    

 



 

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปหน้าบท
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

 


ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปนายสะหม้อ ("บังสะหม้อ")
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้


นาย
สะหม้อ
เป็นรูปหนังตะลุงตัวแทนไทยมุสลิม มีโหนกคอ หลังโกง คางย้อย ลงพุงรูปร่างเตี้ สวมหมวกแขกนุ่งผ้าโสร่งไม่สวมเสื้อ  ชอบพูด หรด หรือล้อลียนผู้อื่นบุคลิกโดยรวมค่อนข้างอวดดีพูดสำเนียงสะกอมที่ช้าเนิบนาบ และรัวปลายลิ้น

 

  

Free Web Hosting