คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  น  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  น )


  หน้า 2
 

หมายเหตุเสียง น. - อักษรต่ำ(เดี่ยว) ในสำเนียงใต้(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็น
                  เสียง โท      เช่น 
                          นวน  จะออกเสียง เป็น  น้วน 
                          เนียน จะออกเสียง เป็น  เนี้ยน

                  กรุณาเทียบเสียงด้วย

นุ้ย      (ออกเสียงเป็น  หนุ่ย)  1. (น.) คำสรรพนามที่เด็กผู้หญิง ใช้แทนตัวเอง
          เวลาพูดกับผู้ใหญ่,
         
2. 
(ว.)    น้อย, เล็ก,  (ใช้แสดงความรู้สึก ในทาง น่ารัก น่าเอ็นดู หรือแสดง
          ถึงความผูกพัน) เช่น  
 
        
" บ่าวนุ้ย"  
หมายถึง ลูกชายคนเล็ก หรือ น้องชายคนเล็ก  
         " สาวนุ้ย "  
หมายถึง สาวน้อย, ลูกสาวคนเล็ก หรือ น้องสาวคนเล็ก  
         " ทำนุ้ย "   วลีนี้มีความหมายถึง การแสดงกิริยาเหมือนกับเด็กเล็กๆ (ทั้งๆที่โต
                          แล้ว) เพื่อให้พ่อแม่เอาใจ
         " พี่นุ้ย "    คำนี้หมายถึง ญาติผู้พี่ แต่อายุน้อยกว่า
        
ในเขตหาดใหญ่  รัตภูมิ  คลองหอยโข่ง และเขตใกล้เคียงของจังหวัดสงขลา
         ถ้ามีคำว่า พี่นุ้ย นำหน้าชื่อบุคคล จะมีความหมายว่า
ญาติผู้พี่แต่มีอายุน้อยกว่า
        
ตัวอย่างเช่น ประโยคต่อไปนี้       " น้าหลวง รู้จักบ้านพี่นุ้ยแดงม่ายครับ "
         คำว่า พี่นุ้ยจะมีความหมายว่า  นายแดงหรือนางแดง ที่ถูกถามหานั้น  เป็นญาติ
         ผู้พี่ของคนถามและมีอายุน้อยกว่าคนถามด้วย      บางครั้ง  การพูดคำว่า พี่นุ้ย
         ตามด้วยชื่อจะช้าไปไม่ทันการ 
 จึงใช้สั้นๆว่า นุ้ย   (ไม่มีคำว่าพี่ นำหน้า)  เช่น
        
รู้จักบ้าน นุ้ยแดง ม่าย     นุ้ยแดง  ในที่นี้ ก็คือ  พี่นุ้ยแดง นั้นเอง

           หมายเหตุ    คำว่า  พี่นุ้ย  นี้จะ ใช้คู่กับคำว่า   น้องใหญ่ 

เนียง  (น.) 1. ชื่อพันธุ์ไม้ถิ่นใต้ชนิดหนึ่ง ผลใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก  
       2.
ภาชนะดินเผาสำหรับใส่น้ำหรือของเหลว มีขนาดเล็กกว่าโอ่ง หรือตุ่ม
       แต่โตกว่าไห (ตุ่มขนาดเล็ก)

เนียน   1. (ว.)   ละเอียดลออ   คนเนียน   ก็คือ คนที่ละเอียดลออ มักใช้ในความ
          หมายตระหนี่
           2.  (น.)  พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้น สีน้ำตาลเข้ม-ดำ
           3. 
(ว.)   พัง, แหลก,ไม่มีชิ้นดี,  "เนียน เจ็กๆ"
             
"เนียนเหมือนยานัดถุ์"  แหลกละเอียดเหมือนยานัดถุ์

เนือย   (ก.)  หิว 
           
" เนือยจัง "  -  หิวจัง      
        
( แต่ถ้าออกเสียงสูงเป็น "เหนื้อย"
ในสำเนียงสงขลาจะหมายถึง เหนื่อย หมด
         เรี่ยวหมดแรง

แน็ด     (ว.)   ชา    
       
"แน็ดกินตีน"  ก็คือ เท้าเป็นเหน็บชา ( เนื่องจากนั่งพับเพียบ นานๆ )

แน็บเพลา   (น.)   สนับเพลา ,   กางเกง
         
( คำนี้ ปัจจุบันหาคนพูดได้ยากมาก  ถ้ามี อย่างน้อยต้องอายุ
70 ปีขึ้นไป )

โนรา, มโนราห์   (น. )  ศิลปะการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของคนไทยถิ่นใต้

โนราโรงครู  (น. พิธีการเล่นโนราแบบโบราณ เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ  มักใช้ใน
        การแก้บน (
ตัด เหฺมฺรย) กรณีที่ตายายทัก มีผลให้ลูกหลานเจ็บไข้ไม่สบาย  
        ( กรณีเจ็บไข้ในโรคทั่วไป ก็พอช่วยได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ เมื่อเล่นโนราโรงครู
        แล้ว ผู้ป่วยมีความมั่นใจ ว่าวิญญาณปู่ย่าตายาย  ยังคอยช่วยเหลือลูกหลานอยู่
        เมื่อมีกำลังใจ โรคร้ายก็หาย )
       (อ่านเรื่อง โนราโรงครู  และอื่นๆได้ที่
 Blog-Sidabhai : วิถีไทยใกล้ตัว )
 

ในโหย,  ในหยู่,  แหละนี้,   โหยฺ เครง  (ว.) เดี๋ยวนี้ .. ขณะนี้
        
ในโหย, ในหยู่   คำนี้ใช้ในเขต นครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา ตรัง
        
แหละนี้      คำนี้ใช้ในเขต สงขลาตอนล่าง คือจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย
         และในเขต
3 จังหวัด ชายแดน

       
 โหยฺ เครง
  คำนี้ใช้ในเขตภาคใต้ตอนบน สุราษฎร์ธานี ชุมพร ..
        
        ทั้ง
3 กลุ่มคำที่กล่าวมา ใช้ในความหมาย  
เดี๋ยวนี้ .. ขณะนี้    ปัจจุบันนี้

หนักแรง  (ว.) คำนี้ใช้ในกรณีที่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด จนคนอื่นรับไม่ได้
        รู้สึกว่ามันจะ เกินไปแล้ว ก็จะตอบโต้ด้วยคำนี้ คือ 
" อย่าหนักแรง " ( ความ
        หมายใกล้เคียงกับ  " มันจะมากไปแล้ว " ในภาษาไทยภาคกลาง)

หนักหู   (ว.) หนวกหู , เสียงดัง,  อึกทึก

หนังโรง, หนังลุง  (น.) หนังตะลุง การละเล่นพื้นบ้านของคนไทยถิ่นใต้ ( ที่เด็กใต้รุ่น
         หลังมักมองข้าม  หรือ หลงลืม)

หนุม  (ออกเสียงเป็น  นุ้ม  )  (น.) ขนม

หนุมกลวย, หนมกรวย(ออกเสียงเป็น นุ้ม กล๋วย, นุ้ม กร๋วย ) (น.)  ชื่อขนมทำจาก
      แป้งและน้ำตาลโตนด(
"น้ำผึ้งเหลว")ใส่กรวยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก
โดยทั่วไป
     
"หนุมกลวย" จะผูกรวมกันเป็นพวง ( ซื้อขายเป็นพวง )

หนุม ก้อ ทึ่ง  
(น.) ขนมตุ๊บตั๊บ

หนุมโค  (น.) ขนมโค,ชื่อขนมชนิดหนึ่งของถิ่นใต้ ใช้ในงานพิธีต่างๆ  เช่นานวันว่าง
       บัวเดือน
5 (วันสงกรานต์),ไหว้พระภูมิเจ้าที่, ไหว้ครูหมอตายาย ฯลฯ 
 "หนุมโค"
       ทำจากแป้งข้าวจ้าว   ปั้นเป็นลูกกลมๆ มีใส้เป็น "น้ำผึ้งแว่น"  ผิวนอกคลุกด้วย
       มะพร้าวขูด

หนุมถาด (น.) ชื่อขนมชนิดหนึ่งของถิ่นใต้; ขนมกวน(ขนมที่ต้องกวนแล้วใส่ถาด)

หนุมน้ำ (ออกเสียงเป็น นุ้ม หน่าม ) (น.)  ขนมลอดช่อง

หนุมปำ(ออกเสียงเป็น นุ้ม ป๋ำ ) (น.ชื่อขนมชนิดหนึ่งของถิ่นใต้ คล้ายขนมถ้วยของ
       ภาคกลาง
ทำจากแป้งและน้ำตาลโตนด(
น้ำผึ้งเหลว)ใส่ถ้วยเล็กๆ แล้วนำไปนึ่ง
       ให้สุก
 "หนุมปำ" แตกต่างจากขนมถ้วย ตรงที่ไม่มีหน้ากะทิ  
       (คำนี้มาจาก apam - ขนม ในภาษามลายู)

หนุมเป้า (ออกเสียงเป็น นุ้ม ป้าว ) (น.)  ซาลาเปา หนุม = ขนม, เป้า = ซาลาเปา)

หนุมแม็ดข้าว (น.)  ขนมเม็ดข้าว  ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้าย ขนมปลากริม

หนุมหม้อลีง (น.) ขนมหม้อลิง ขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งของปักษ์ใต้ ที่ใช้หม้อ หรือกระ
       เปาะล่อแมลงของ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง นำมานึ่งข้าวเหนียวหน้ากะทิ

  
หนุมหม้อลิง  (ขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง)

หน่อถั่ว  (ออกเสียงเป็น  น้อ ถั๊ว ) (น.)  ถั่วงอก
   ( ปัจจุบัน หาคนพูดคำนี้ได้น้อยมาก คงมีเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่หรือชาวบ้านนอกไกลๆ )

หนู่ - หนี่   (ว.) คำประกอบนาม ใช้แสดงที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้
         " เท่ หนู่ "   ที่โน้น    (  สำเนียงนครศรีฯ  จะออกเสียงเป็น   ถี่ นู้  )
         " 
เท่ หนี่ "   =   ที่นี่       (  สำเนียงนครศรีฯ  จะออกเสียงเป็น   ถี่ นี้  )
      ถ้าไม่มีคำว่า  ที่ (เท่ ) นำ  มีเพียง โน้น คำเดียว สำเนียงสงขลาจะออกเสียงเป็น
     
หนู้   เช่น   
         
หนู้ พ่อเฒ่า เดินมาแล้ว "
-  โน้น คุณตา เดินมาแล้ว
      แต่ในกรณีที่ใช้ในความหมาย เวลาที่ผ่านไปแล้ว และเวลาปัจจุบันนี้ จะออกเสียง
      เป็น
 
นู้   - นี้   เช่น 
        
แรกนู้  - เมื่อก่อนโน้น       
         หวางนี้
 
- ระหว่างนี้ ,เดี๋ยวนี้

เหน้   (น.)   หนี้ (หนี้สินที่ต้องชำระคืน) 
         
        
สำเนียงใต้(สงขลา) เสียง อี จะแปลงเป็นเสียง เอ เช่น   สี่  ออกเสียงเป็น เส ,
         ปลากระดี่  ออกเสียงเป็น  ปลาเด ,  หนี้  ออกเสียง เหน้  ฯลฯ

เหนฺด  (น. ออกเสียงเป็น  น นาสิก )   (ก.) เหยียบย่ำให้แหลกละเอียด
    
  
" แม่ฮัว หลุดเข้าไป เหนฺด กล้าที่หว่านไว้  เนียนเจ็กๆ หมดแล้ว พี่หลวงเหอ "
      
แม่วัว หลุดเข้าไป เหยียบย่ำ ข้าวกล้าที่หว่านไว้(ในนา)  แหลกละเอียดเสียหาย
       ยับเยินหมดแล้ว พี่หลวงจ๋า

น่ง (ก.) นิ่ง ( เสียง  อิ ในภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นใต้-สงขลา จะออก
         เสียงเป็น  แอะ   ดังนั้น  นิ่ง   ของคนกรุงเทพ ก็คือ    แหน่ง  ของคนสงขลา )

น่งกึ๊บ (ก.)  นิ่งเสีย  นิ่งเดี๋ยวนี้ 
         (
คำนี้ใช้ขู่เด็กขี้แยให้หยุดร้องไห้)  "
กึ๊บ " เป็นคำที่ออกเสียงสั้นๆ เน้นเสียงให้
          เด็กกลัว    ตัวอย่างเช่น
  
"น่งกึ๊บ..แหน่ง ! ไม่แหน่ง เดี๋ยว ตักแกกินตับ"
        
- นิ่งเสีย ไม่นิ่งเดี๋ยว ตุ๊กแกกินตับ

เหนียว หลบ  (น.)  ข้าวเหนียวมูน ( ข้าวเหนียว เคล้ากะทิ)

เหนา, ขี้เหนา  (น.)   รอยเปื้อนของเชื้อรา บนเสื้อผ้าที่เปียกชื้นนานๆ หรือเสื้อผ้าที่
          ตาก ไม่แห้ง
  ภาษาไทยถิ่นใต้-สงขลา  เรียกว่า  ผ้าขึ้นเหนา,  ผ้าขึ้นขี้เหนา

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


     กลับไปหน้าแรก                                                       หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 02/02/2556
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 


 


ภาพจาก
http://www.thaiwebwizard.com/
member/bpsthai/showdetail.asp?boardid=248
โนรา

 


ข้อสังเกตสำหรับผู้สนใจภาษาไทยถิ่น

คำเสียงสั้นของภาษาไทยภาคกลาง มีหลายคำที่ออกเสียงไม่ถูกต้อง 
!!

คำที่ประสม สระเสียงสั้น หรือ รัสสระ  ในภาษาไทย
ภาคกลาง มีหลายคำออกเสียงผิดเป็นเสียงยาว  เช่น
   เช้า
   ออกเสียงผิดเป็น   ช้าว
   เก้า  
 ออกเสียงผิดเป็น   ก้าว
   เปล่า 
ออกเสียงผิดเป็น   ปล่าว
   ไหว้
   ออกเสียงผิดเป็น  หว้าย
   ไม้
    ออกเสียงผิดเป็น   ม้าย
   ได้
    ออกเสียงผิดเป็น   ด้าย   
   น้ำ
    ออกเสียงผิดเป็น   น้าม
 
 
ในภาษาไทยถิ่นเหนือ และอีสาน ออกเสียงสั้นถูกต้อง
กว่า ภาษาไทยถิ่นใต้มักจะออกเสียงเป็นเสียงยาวใกล้
เคียงกับเสียง
ภาษาไทยภาคกลาง แต่มีคำที่ออกเสียง
ถูกต้อง ตรงตาม
เสียงสระชัดเจน คือ คำว่า  เปล่า
ตัวอย่างเช่น     น้ำเปล่า 
   ไทยภาคกลาง ออกเสียงเป็น   น้าม ปล่าว
   ไทยถิ่นใต้      ออกเสียงเป็น   หน่าม เปล๋า

น้ำ เป็นคำประสมสระเสียงสั้น หรือ รัสสระ  ไทยถิ่นใต้
ออกเสียงเป็น หน่าม ซึ่งไม่ตรงตามเสียงสระ เช่นเดียว
กันกับไทยภาคกลาง  ส่วนคำว่า เปล่า ไทยถิ่นใต้ออก
เสียงเป็น เปล๋า  เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงจัตวาแต่
ออก
เสียงสระเสียงสั้น
รัสสระ
ถูกต้องกว่า

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting