คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ม  )  สียงควบ  มรฺ   และ มลฺ
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้):
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ม )
   
เสียงควบ  มรฺ   และ  มลฺ


ม  
มายเหตุ  : ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) สำเนียงดั้งเดิม  จะมีคำในกลุ่มเสียง ม.
หลายคำ ที่มีเสียง  ร  และ
 ล  ผสมอยู่  คือ

มฺร,      มฺล

มรฺก,   มลฺก   (มรฺ, มฺล+ อก)(ว.) สกปรก  ( คำว่า สก หายไปคงเหลือแต่คำว่า ปรก
         แต่ เสียง ปรฺ   ในคำนี้ ไทยถิ่นใต้ออกเสียง เป็นเสียง มรฺ หรือ มลฺ  จึงกลายเป็น
        
มรฺก  หรือ  มลฺก )

          "หลวงไข  มรฺก อิตาย  แกไม่อาบน้ำมา
3 วันแล้ว  ไม่โหร่ แก โหย๋ ได้ผรื่อ "
         
 หลวงไข่(พี่ไข่)  สกปรก จะตาย (สกปรกมาก) แกไม่อาบน้ำมา 3 วันแล้ว ไม่รู้
           ว่าแกอยู่ได้อย่างไร

มฺร (มฺร + อน )  (ก.)  คำรณ (คำราม) การส่งเสียงขู่ขวัญของสัตว์ ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ 

          
  " แม่หมา
มฺร ไม่ให้ใครเข้า แค่ ลูก " 
            
" เสียงเสือ
มฺร อยู่ในป่าหลังหมู่บ้าน "
        (คำว่า คำรณในสำเนียงถิ่นใต้ เสียง ค
. จะหายไป คงเหลือเสียง อำ และ รณ
        เมื่อออกเสียงควบเป็นพยางค์เดียว จืงเป็น  
มฺร )

ลฺะ  (มฺล+ สระอะ )(ว.) บวม  อ้วนฉุ ( เป็นอาการอ้วนของคนที่อมโรค )

มฺลัก,    มฺรัก (มฺล, มฺร + อัก )  (ก.)  สำลัก
        ( เสียง ส. จะหายไปคงเหลือเสียง อำ และ ลัก   เมื่อออกเสียงพยางค์เดียว จึง
        เป็น 
มฺลั )

มฺรั้ง (มฺร + อั )  (ก.)  ทรงตัว ไม่ให้ล้ม

 
    " แม่เจ็บหัวเข่าข้างซ้าย ยันพื้นไม่ค่อยได้  กะเหลือขาข้างขวานี่แหละ ที่ช่วย
มฺรั้ง
     
 ไว้ ให้พอเดินได้ "
  
    แม่
เจ็บหัวเข่าข้างซ้ายยันพื้นไม่ค่อยได้  ก็เหลือขาข้างขวานี่แหละที่ช่วย
ทรงตัว
       ไว้ ให้พอเดินได้

มฺรับ (มฺร + อับ )  (น.)  สำรับ, ภาชนะที่เป็นชุด ประกอบด้วย ถ้วย จาน ชาม ใช้ใส่
        อาหาร และยกมารับรองแขกเป็นชุด   ภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า  
มฺรับ  

        
คำว่า สำรับ ในสำเนียงถิ่นใต้ เสียง ส. จะหายไปคงเหลือเสียง อำ และ รับ เมื่อ
         ออกเสียงพยางค์เดียว จืงเป็น 
มฺรับ   ปัจจุบันในครัวเรือนปักษ์ใต้ จะไม่ใช้คำนี้
         เรียก สำรับ แล้ว  คงมีเฉพาะในพิธีทางศาสนาคือ พิธียก มฺรับ หรือยกสำรับให้
         แก่ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเท่านั้น

มฺร้างๆ , มฺล้างๆ  (มฺล, มฺร + อา  +  ) (ว.) หมาดๆ , วนจะแห้ง     คำนี้ ใช้อธิบาย
        ถึงสิ่งของที่เปียก และกำลังจะแห้ง  
เช่น ผ้าที่ซักไว้เกือบๆ จะแห้ง หรือ พนังปูน
        ที่ฉาบไว้ จวนจะแห้งแล้ว  เรียกว่า    
พอ มล้างๆ

โมฺรง,  สำโมฺรง  (มฺร + สระโอ ) (น.) สำโรง (ต้นไม้ชนิดหนึ่ง) 
       คำนี้
ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา)เสียง ส จะกร่อนหายไปคงเหลือ เสียง อำและ
      โรง แต่จะออกเสียงควบเป็นพยางค์เดียว เป็น  " โมฺรง "
 ตัวอย่าง การใช้คำนี้ คือ
      สามแยกสำโรงและคลองสำโรง  คนสงขลาดั่งเดิมจะเรียกว่า สามแยกโมรง และ
      คลองโมรง

ไมร้    (มฺร + สระไอ )  (น.)    กำไร,   ผลที่ได้เกินต้นทุน

ไมล้    (มฺล+ สระไอ )  (น.)    กำไลเครื่องประดับสําหรับสวมข้อมือ หรือข้อเท้า

เหมฺรย,   เมฺร้ย,   เมฺล้ย,   เหมฺลย (มฺร, มฺล, + เสียง เอย )    (น.)  พันธะสัญญา
     ที่ลูกหลานได้ให้ไว้(ที่เคยบนบานไว้)แก่ครูหมอโนรา
หรือ ตายายโนรา  ซึ่งถือเป็น
     ธรรมเนียมที่ลูกหลาน จะต้อง 
ตัด เหฺมรย (แก้ เหฺมรย) ด้วยการเล่น โนราโรงครู

        
" ทำงาน พอ แก้ เหฺมรย "   -  การทำงาน ที่เพียงให้งานเสร็จสิ้น  ให้พ้นภาระ

เมลิน ตา,    เบลิน ตา (มฺล, บฺล + เอิน )  (ก.)  ลืมตา

เมลิ่น (มฺล+ เอิน  เสียงวรรณยุกต์ เอก)   (.)   ลื่น, ไถล, (บนพื้นที่เรียบเกลี้ยงซึ่งมี
         ลักษณะเป็นมัน เป็นเมือก)

         
 " ไอ้บ่าวเดิน ด้อๆ   หีด ทางมัน เมลิ่น"  -
             ไอ้หนู (เด็กชาย) เดินช้าๆ
หน่อย ทางมัน ลื่น

ข้อสังเกต - คำว่า ลื่น ในภาษาไทยภาคกลางนี้  ภาษาลาว จะใช้เป็น  มื่น  ในภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้  เมลิ่น  ( มฺล + อือ + น ,  แต่แปลงเสียงอือ  เป็น เออ     เมลิ่น  )
 

เมลื่อย  (ก.)  เมื่อย,   กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย เมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ อยู่เป็นเวลานาน

แมฺล้   (มฺล + สระแอ ) (น)   แผลตกสะเก็ด, แผลที่ยังไม่หาย(เกือบหาย)

มฺล่าย , ม่าย (ก.)  เลียบๆ เคียงๆ  แต่ไม่กล้าทำ ไม่กล้าลงมือ 
       เหมือนกับปลากัดที่วนไป วนมารอบๆคู่ แต่ไม่ได้กัดกันเสียที่   หรือเปรียบได้กับ
       การที่หนุ่มหลงรักสาว  ที่เฝ้าแต่เลียบๆ เคียงๆ  แต่ไม่กล้าบอกรัก
      (ปกติ คำนี้มักใช้กับสัตว์ เช่นปลากัด หรือวัวชน ถ้าเปรียบเปรยเรื่องหนุ่มเกี้ยวสาว
       ก็จะเป็นคำที่เพื่อนๆ หยอกล้อเท่านั้น)

โมฺละ, โมระ ,  โบระ,  โบฺละ (มฺล, มรฺ, บฺล+สระโอะ ) (ว.) ไม่หล่อ ไม่น่าดู ไม่สวย
        คำนี้ ในถิ่นใต้บางแห่ง จะออกเสียงเป็น โร๊ะ  (ไม่มีเสียงควบกล้ำ)

เมฺล่อ,  เบร่อ (มลฺ, บรฺ + สระเออ ) (ว.) ที่ไม่ถูกต้อง, ที่ค่อนข้างจะเพี้ยนๆ , ทะลึ่ง, 
       
บ๊อง ไม่เต็มเต็ง หรือ โง่
      "ไอ้ เมล่ ไหนวะ มาลักเปิดลมรถ"   ไอ้บ้า ไหนวะ มาแอบเปิดลมรถ
     
" เมล่อ ไม่ปันเพื่อน " =  
เพี้ยน ทะลึ่ง  เอามากๆ (ไม่เหมือนคนอื่น)

เมฺละ ,  เบฺละ  (มฺล, บฺล + สระเอะ ) 1. (น.)  มะลิ   
      ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา -คลองหอยโข่ง) เสียง อิ  จะออกเสียงเป็น เอะ และ
      จะรวบคำ เป็น
ออกเสียงพยางค์เดียว  มะลิ จึงกลายเป็น
   ̣มลฺะ 
 
     ( ปัจจุบัน คำว่า ̣̣ละ นี้  คงมีใช้เฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น   เด็กรุ่นใหม่ จะใช้
      มะลิ ตามภาษาไทยมาตรฐาน แต่ออกเสียงตามสำเนียงใต้ เป็น หมะ
-หลิ )
      
 2. (น)
ปลาแห้งตัวเล็กๆ(ปลากะตัก)ภาษาไทยถิ่นใต้เรียกว่า "ลูก̣ม̣ละ"

แมล้ะ    (มฺล + สระแอะ ) (ก.)  ชำแหละ   สียง ช. หายไปคงเหลือเสียง อำ และเมื่อ
       ออกเสียงพยางค์เดียว จืงเป็น
  "แมล้ะ"

       
 
" แมล้ะ หมู "     -   ชำแหละหมู
         
" แมล้ะ โหลกหนุน "    -   ชำแหละลูกขนุน

 


หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


  

 

 

 

     กลับไปหน้าแรก                                                           หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549    ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 

  

Free Web Hosting