คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ร  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -   ร  ) หน้า 2


แรก  ( ออกเสียงเป็น แหรก) (ว.)  อดีต,   เมื่อ(แสดงเวลาที่ผ่านมาแล้ว)
          
   คนแต่แรก
  -   คนสมัยก่อน คนในอดีต
           แต่ถ้าออกเสียงสั้น เป็น แร็ก จะใช้เป็นคำแสดงเวลาที่ผ่านมาแล้ว ตัวอย่างเช่น

              
แรกเมอใด  -    เมื่อไหร่
           
   แรกเดี๋ยว    -    เมื่อตะกี้
            
  แรกเช้า      -    เมื่อเช้านี้
           
   แรกคืน       -    เมื่อคืนนี้
              
แรกวา      
 -    เมื่อวานนี่
             
  แรกวาซือ  
 -    เมื่อวานซืน
              
แรกเดือนก่อน  -   เมื่อเดือนก่อน
             
  แรกปีแล้ว  
-    เมื่อปีที่แล้ว
              
แรกนู้         -   เมื่อก่อนโน้น
                  
" แรกนู้ ไซ่ไม่มา -  เมื่อก่อนโน้น  ทำไมไม่มา
              
แรกครั้งยาตาก -  เมื่อนานมาแล้ว   คำนี้จะใช้เปรียบเปรย หรือ ประชด
         ในทำนองว่าเป็นเรื่องเก่ ามากจนคนเขาลืมไปหมดแล้ว, ตั้งแต่ครั้งสมัยพระยา
         ตาก  ( ยาตาก = ระยาตาก, ระเจ้าตากสิน )
           
   แรกครั้ง
สะกี้ย่านปด - โบราณมาก คำนี้เป็นคำเปรียบเปรยว่า เป็นเรื่องนาน
         มาแล้ว  ตั้งแต่สมัยที่คนเรายังใช้ ย่านปด สานเป็นปุ้งกี๋ (ยังไม่รู้จักใช้หวาย)
                                    
         
ในประโยคคำถาม  หากมีคำว่า แรก นำตามด้วยคำว่า ใด   แสดงว่า ถามถึง
         เหตุการณ์ที่ได้ผ่านไปแล้ว
ตัวอย่างเช่น  "พี่หลวง ไปบ้านพ่อ แรกเมอใด"  คำ
         ตอบจะต้องมีคำว่าแรก นำหน้าเสมอ คือ ไปแรกวา หรือ ไปแรกเช้า  หรือ.........

           (คำว่า แรก จะคู่กับคำว่า   ต่อ  ซึ่งใช้แสดงเวลาที่มาไม่ถึง )

แรง  (ว.) มาก, เกินไป           " อย่านานแรง " อย่านานเกินไป, 
      
   
(น.) กำลัง, อำนาจ     เช่น   แรงคน, ไม่มีแรง, มีแรงมาก, เจ้าที่แรง
         "แม่แรง "
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการยก,ดีด,งัด ของที่มีน้ำหนักมาก
          (แรง ในความหมายนี้ จะตรงกันกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน)

แร้งฮัว (ออกเสียงเป็น  แร่งฮัว )(น.)หนังตรงใต้ลำคอของวัวตัวผู้ (วัวถึก)ที่ห้อยเป็นริ้ว

         คำว่า ฮัว เป็นคำที่มาจาก งัว ในภาษาเก่าที่หมายถึง วัว ในภาษาไทยมาตรฐาน
         และในภาษาไทยถิ่นใต้จะไม่มีเสียง ง. แต่จะแปลง
เสียง ง. เป็นเสียง ฮ. แทน

รุน     (ก.)   เข็น, ดันไปข้างหน้า     "รถรุน"  รถเข็น

รุมสุม  (ว.)  เยอะแยะ พะรุงพะรัง

รู,  ยิรู (น.)พืชตระกูลปาล์มขนาดเล็กขึ้นเป็นกลุ่ม ปัจจุบันมักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ
          ภาษาไทยถิ่นใต้ (นครศรีธรรมราช) เรียกว่า โร 
 หรือ ริงโร   ภาษากรุงเทพฯ 
          เรียกว่า จั๋ง 
(ชื่อของ ควนรู (รัตภูมิ สงขลา) เขาโร(ทุ่งสง นครศรีฯ )จึงเป็นคำ
          ที่มาจากพันธุ์ไม้ชนิดนี้)

โหร่   (ก.)  รู้,  ทราบ
        เสียง อู ในภาษาไทยภาคกลาง มีหลายคำที่คนไทยถิ่นใต้ (สงขลา)จะออกเสียง
        เป็นเสียง โอ 
  เช่น
           คู่  
=  โค่,      หมู่   =  โหม่,      ต้นประดู่  =  
ต้นโด,      รู้    =   โหร่

โหร่ฟัง  (ออกเสียงเป็น โหร่ ควัง) (ก.)   รู้ฟัง  (ฟังแล้วรู้) ความหมายคือ เข้าใจ
       
" ไอ้บ่าว พ่อบอกหลายหนแล้วนะ ว่าอย่าไปเล่นน้ำในคลอง โหร่ ควัง  มั่งม้าย "
          (ความหมายคือ  เข้าใจที่พ่อบอก พ่อสอน บ้างมั๊ย )

โหร่แหง 
(ก.)  รู้จักสถานที่, ไปถูก   
       
" ไม่ โหร่ แหง " - ไม่รู้จักสถานที่, ไปไม่ถูก

หรด  (ออกเสียงเป็น  รด)   (ก.)  พูดล้อเลียน เปรียบเปรยผู้อื่น ในเชิงสนุกสนาน

หระ  (ออกเสียงเป็น  ระ ) 1. (น.) แมงหรือ หนอน ที่ชอนไชหัวมัน หรือลำอ้อย
              
" หัวมัน หระ กินหมดแล้ว อิต้มได้ผรื่อ เล่า "
                 หัวมันนี้ แมงชอนไชกินหมดแล้ว แล้วจะต้มได้อย่างไร "
        ตัวอย่าง เพลงร้องเรือ ที่กล่าวถึง หระ ในลำอ้อย
              
อ่า เออ เหอ อ้อยตง เหอ โฉมยงมาเห็นเข้า กะติดใจ
               อีกินสักลำ ไม่สาไหร เพราะหระอยู่ใน พ่อทูนหัว
               อีกิน
สักลำ ที่ดีดี ไม่ต้องราคี พอยังชั่ว
               สาวน้อยทูนหัว กินอ้อย ไม่แล
..หระ
         2.
(ก. เคลือบ
             " หระน้ำผึ้ง
 " -  เคลือบน้ำตาล     คำว่า หระ ในความหมาย เคลือบ นี้  ภาษา
         ไทยถิ่นใต้บางถิ่น จะออกเสียงเป็น หรา
 

หรัง  (ออกเสียงเป็น รั้ง )(น.) 1.ศิลาแลง, ชั้นดินลูกรังที่อัดแน่นอยู่ใต้ดิน คนสมัยก่อน
        จะ
ใช้เหล็กสกัดออก ให้เป็นแผ่นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง  ใช้แทนอิฐในงาน
        ก่อสร้างได้  
2. ฝรั่งหรือชาวยุโรป ( สำเนียงใต้จะออกเสียงเป็น ฟะ-รั้ง, โหม่ รั้ง
        เป็นคำที่พ้องเสียงกับคำว่า  รั้ง ในความหมาย  ศิลาแลง )
         
        
หมายเหตุ-ในเขต .คลองหอยโข่ง จ.สงขลา มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านท่าหรัง
        ด้านทิศใต้ของหมู่บ้านจะติดกับคลองหลา(สาขาย่อยของคลองอู่ตะเภา)ตรงท่า
        น้ำของหมู่บ้าน จะมีชั้นดินหรัง(ศิลาแลง) เป็นแผ่น  จึงได้ชื่อว่า บ้านท่าหรัง แต่
        ปัจจุบัน หลังจากที่มีการสร้างสนามบินหาดใหญ่ คนคลองหอยโข่งก็เริ่มสอนให้
        ลูกหลาน
"พูดข้าหลวง"ในที่สุดชื่อหมู่บ้าน  จึงได้กลายเป็น  บ้านท่าหรั่ง เพื่อให้
        ง่ายเวลาออกเสียงเป็นสำเนียงบางกอก แต่ความหมายได้เลอะเลี่อนไปจากเดิม
        กลายเป็นหมู่บ้านที่มีท่าน้ำ เกี่ยวข้องกับ ฝรั่งมังคา ไป

หรับ   (ออกเสียงเป็น รับ)คำนี้ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)จะใช้ในความหมาย พึงพา
        ช่วยเหลือทำการแทน   เช่น
        
"บ่าวไข่คนนี้  หรับไม่ได้เลย "  - บ่าวไข่คนนี้   พึงพาอะไรไม่ได้เลย
 
         (คำนี้ในภาษาไทยเจ๊ะเห จะใช้ว่า   สะรับไม่ได้ )

หราด  (ก.)   ลื่นล้ม

เหรง (ออกเสียงเป็น เ้ง ) (น.) ปาล์มชนิดหนึ่ง; สิเหรง
        
(ว.) เตร่ไปมา 
      
 " หลวงไข ได้แต่ เดินเหรง  ไม่ทำไหรสักหีด "  
-
          หลวงไข ได้แต่ เดินเตร่ไปมา  ไม่ได้ทำอะไรสักนิด

ไหร    (ออกเสียงเป็น ไ้) (ว.)  อะไร    (บางที จะต้องการเน้น  คำนี้จะกลายเป็น
         ไอ ไหร )
      
" ทำไหร "  
=  ทำอะไร
     
"
ไอ ไหร เล่า  พอได้แล้ว "  =     อะไรกันเล่า  พอได้แล้ว
      
" คนม่ายไหร "  =  คนไม่มีอะไร , คนจน
     
" ยังไหรม่ายไหร "  =  มี หรือไม่มีอะไร
      
" ยังไหรม่ายไหร
  กินให้เอมก่อน ตะ " = มีหรือไม่มี ก็กินให้อิ่มก่อน เถอะ
     
 "
ไหรโฉ้  " =  อะไรก็ไม่รู้, ของแปลก
              
 " อย่าเม่ๆ กูอิบอก ไหรโฉ้ ให้โร่ " = อย่าเอ็ดไป กูจะบอกอไรให้รู้
               
" ไหรโฉ้ เพ " = วลีนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ มักใช้เป็นคำบ่น ความหมายที่
      ใกล้เคียง  คือ คนรอบข้าง มีท่าทางจะแปลกๆ ชวนให้สงสัยว่า กำลังสุมหัวกัน ทำ
      อะไรสักอย่าง   โดยไม่บอกให้เราทราบ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า ทุกคนเพี้ยนกัน
      หมดแล้ว  (
" ไหรโฉ้ เพ " = ทุกคน เป็นอะไรก็ไม่รู้,  " เพ " = ทั้งหมด, ทั้งเพ)

หรอย  (ว.)  อร่อย ,  ก่งมาก  ดีมาก   ( มักใช้ในการชมเชยการกระทำของคนอื่น)
          
"  แกงส้มร้านนี้ หรอยจังหู "  - แกงส้มร้านนี้ อร่อยจัง
          
"  หนังอิ่มเท่ง แหลงรูปไอ้เท่ง หรอยแต่เพื่อน " ความหมายคือ หนังอิ่มเท่ง 
          พูดรูปไอ้เท่ง ได้ดีมากๆ( สะใจ, ถึงใจ เก่งกว่าหนังตลุงโรงอื่น ๆ)

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


 เอกสาร/แหล่งข้อมูล อ้างอิง


     กลับไปหน้าแรก                                                          หน้าถัดไป    
 
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549   ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 



 

ล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ
หนังตลุง
: ศิลปะถิ่นใต้



 

" หนังแนบ นวลจันทร์  ศ.นครินทร์ "

บ้านม่วงค่อม  ตำบลควนลัง
อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting