คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม                   

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  ล ) หน้า 2
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ล  )
หน้า 2


เล่หล่อง (ก.)  ขายเลหลัง 

เลาแกะ (น.) ด้ามที่ใช้จับ  ของ "แกะ"(อุปกรณ์เก็บข้าวของปักษ์ใต้) ทำด้วยไม้ไผ่
         ต้นเล็กๆ

เลียง (น.) 1. มัดของรวงข้าวเลียงข้าว
    
 วิธีการเก็บเกี่ยวข้าวของปักษ์ใต้จะใช้ แกะ เก็บรวงข้าวที่ละรวง นำมามัดด้วย
      ซังข้าว    รวงข้าว
1 มัด จะเรียกว่า
ข้าว 1 เลียง
     
2. อุปกรณ์ทำด้วยไม้ เป็นรูปกลม ตรงกลางบุ๋ม ลักษณะคล้ายกะทะไม่มีหู ใช้
      สำหรับร่อนแร่ ในน้ำ เพื่อแยกเอาแร่ออกจากเศษหินเล็กๆ  อุปกรณ์ชนิดนี้เรียก
      ว่า
เลียง


"เลียงข้าว" ของชาวนาไทยถิ่นใต้
ภาพจาก  
เวบไซท์ สงขลาพอเพียง - เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพฯ


"เลียงที่ใช้ร่อนแร่" ของคนไทยถิ่นใต้
ภาพจาก
เวบไซท์ ภูเก็ตดาต้า ดอท เน็ท

เลี้ยม  (ว.)  แหลม
       ข้อสังเกตุ  :  เลี้ยม  ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)    =  แหลม
                          เหลียม 
ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)   =  เหลี่ยม
         ตัวอย่างเช่น
  
 เลี้ยม ฉุบ      ความหมายคือ   แหลมมาก
                       
เส เหลียม    ความหมายคือ   สี่เหลี่ยม
                            
 
สาม เหลียม  ความหมายคือ   สามเหลี่ยม

เลือดตก หมก ใน      เลือดตกใน 

แล   1.  (ก.)  ดู    (ภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำว่า  แล  ในความหมาย  ดู ) 
      
 "ลองแล"  -  ลองดู, ชักชวนให้ลองทำ
      
2.  
(ก.)  เฝ้าระวัง   
     
 
" ไอ้บ่าวนุ้ย  ไปแลฮัว ที่นอกทุ่งทั้งวัน ไม่หลบมากินข้าวเลย "
         ไอ้ตัวเล็ก ไปเฝ้าวัวที่ทุ่งนาอยู่ทั้งวัน ไม่กลับมากินข้าวเลย
      
" เด็กแลฮัว"
- เด็กเลี้ยงวัว

แล เหม  (ก.)  ดูลักษณะหน้าตาของผู้คน เพื่อเปรียบเทียบความเป็นเครือญาติกัน
      
" แลเหม แล้ว อีสาวนี้ หลานยายอ่ำแน่นอน  " - ดูรูปร่างหน้าตาแล้ว อีหนูคนนี้
       เป็นหลานของยายอ่ำ แน่นอน

แล้ง   1. (ว.)  แล้ง  -  ฝนขาดช่วงไปนานทำให้ แห้งแล้ง
         2.
(ก.)  ฝนหยุดตก หลังจากตกหนักมาระยะหนึ่ง
        
" อย่าเพิ่งไปเลยนะ รอให้ฝน
แล้ง ก่อน "   รอให้ฝนหยุดตกก่อน

แลน1. (น.) ตะกวด (Varanus bengalensis  วงศ์  Varanidae) สัตว์เลื้อยคลาน
        ชนิดหนึ่งลำตัวมีสี
เหลืองหม่นถึงสีน้ำตาล ลายเป็นจุดเล็กๆทั่วตัว  ส่วนหัวมักมี
        สีอ่อนกว่าตัวมีหางเรียวยาวเป็นพิเศษ
แลน ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่า
        ป่าทึบ,ขึ้นต้นไม้เก่ง 
ต่างจาก เหี้ย ("เญื้อ") ที่มักอาศัยอยู่ริมน้
        เนื้อของตะกวด(แลน) นำมาปรุงอาหาร ประเภทแกงเผ็ด แกงคั่ว จัดเป็นอาหาร
        ยอดนิยมของคนไทยถิ่นใต้ ส่วนเนื้อของ
เหี้ย(เญื้อ)ซึ่งจะมีกลิ่นคาวมาก คนใต้
       
ดั่งเดิม จะไม่กิน
         2.
 (ว.)
  ลักษณะของอวัยวะเพศชาย ที่หนังหุ้มปลายมีน้อย(ปลายเปิด) ว่า
          
"ไขแลน" หรือ "ดอแลน"( คำนี้ถือเป็นคำหยาบ ยกเว้นเฉพาะกรณีญาติผู้สูง
         อายุใช้คำๆนี้  พูดหยอกเล่นกับลูกหลานที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ  เท่านั้น)

        ในอดีต มีบทกลอนของคนไทยถิ่นใต้ ที่ถือเป็นกุศโลบายในการให้ความรู้แก
       
ลูกหลาน
เกี่ยวกับ   แลน  ดังนี้ 
         
"ไขแป็ดไขหาน ไม่ทานไขแลน,    ส้มโอส้มแป้น  ไขแลนดีหวา"
           ไข่เป็ด ไข่ห่าน เทียบกับไข่แลนไม่ได้    ส้มโอ ส้มแป้น   ไข่แลนก็ยังดีกว่า

แล่น  (สำเนียงถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น แหล่น ) (ก.)  วิ่ง
         ภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำว่า แล่น ในความหมาย วิ่ง ของภาษาไทยภาคกลาง  

         ตัวอย่างเช่น
          
" อย่าแล่น " - อย่าวิ่ง
          
" แล่นทุ่ง " 
- ท้องเสีย    ( วิ่งไปทุ่งนา เพื่อถ่ายอุจาระ )
          
" วันนี้แล่นทุ่งหลายหนแล้ว "  วันนี้ท้องเสีย ถ่ายหลายครั้งแล้ว
            (
ไปทุ่ง 
 -   ถ่ายทุกข์ปกติ )
      

        
คำว่า แล่นทุ่ง (ออกเสียงเป็น แหล่น ท็อง)มักใช้พูดกันในกลุ่มผู้สูงอายุอาจ
        มีที่มาจากอดีตที่ไม่มีส้วมใช้แต่จะใช้ทุ่งนาเป็นที่ถ่ายทุกข์ เมื่อประมาณ 40-50
       
ปีก่อนคำว่า
แล่นทุ่ง ในความหมายว่าท้องเสียนี้เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปแต่ปัจจุบัน
        คนที่พูดคำนี้มักจะมีอายุ  60-70 ปี  ขึ้นไป และเด็กรุ่นหลังก็มักไม่เข้าใจความ
        หมายคำๆนี้แล้

         ส่วนคำว่า  วิ่ง (สำเนียงถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น หวิ่ง )ในภาษาเก่าจะใช้ใน
         ความหมาย กระโดด  แต่ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว คงใช้แต่ โดด ในความหมาย
         กระโดด เท่านั้น
( ดูคำอธิบายความหมายคำว่า  วิ่ง  เพิ่มเติม)

แล้วหม้าย   ...แล้วหรือยัง, ..แล้วหรือไม่
       คำนี้
จะอยู่ท้ายประโยคคำถาม เช่น
       
      
"กินข้าวแล้วหม้าย"  (ออกเสียงเป็น กิ๋นค้าวแล่วหม้าย) ความหมายคือ
       กินข้าวแล้วหรือยัง ?

โล๊ะ 1. (ก.) ส่องไฟหาสิ่งของ เช่น ส่องหาปลา  หากบ หรือ ส่องไฟเวลากรีดยาง
        
        
ภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา-คลองหอยโข่ง)จะใช้ว่า โล๊ะปลา  โล๊ะกบ  โล๊ะยาง
       ( ภาษาไทยถิ่นใต้บางแห่ง จะออกเสียงคำนี้เป็น โหล   คำนี้มาจาก
suloh ใน
        ภาษามลายู)


        
2.  (น.) บริเวณที่น้ำท่วมถึง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ มักเป็นที่ลุ่มใกล้แม่น้ำลำคลอง
        ที่น้ำจะท่วมในหน้าฝน
  (คำนี้มาจาก  telok ในภาษามลายู )

ลำลาบ (ว.) โอ้เอ้ เยิ่นเย้อ, ทำอะไรช้าอืดอาด  (มักใช้พูดถึงการเดินเรื่องหนังตลุง
        ที่ชักช้า
เช่น
" หนังโรงนี้เดินเรื่อง ลำลาบ จัง"

เลาะ  (น.)   เกราะ  อุปกรณ์ที่ใช้ตีเป็นสัญญาณของหมู่บ้านในสมัยก่อน

        ถ้าทำด้วยกระบอกไม้ไผ่จะเป็น "เลาะ"ที่ใช้ตีไล่นกไล่กาตามขนำไร่  ถ้าเป็น
        "เลาะ" ประจำบ้านของผู้ใหญ่บ้านจะทำด้วยท่อนไม้ ที่เจาะเอาเนื้อไม้ข้างใน
         ออก  เวลาตีจะมีเสียงก้องดังไปไกล "เลาะ"ในถิ่นใต้จะใช้ไม้ตี(ค้อน)
หรือ 
        
2 อัน  เสียงที่ดังจะสื่อความหมายต่างกันเช่น " ได้ยินเสียง เลาะ 1 ค้อน"  
         แสดงว่าเป็นสัญญาณเรียกประชุม   เพื่อบอกข่าวที่ทางอำเภอแจ้งผ่านผู้ใหญ่
         บ้านมา
" ได้ยินเสียง เลาะ 2 ค้อน " มักใช้เป็นสัญญาณบอกข่าวว่ามีเหตุร้าย
        ในหมู่บ้าน เช่น โจรผู้ร้ายปล้น  หรือ มีการฆ่ากัน
         
         
( ปัจจุบัน  เนื่องจากการไปมาหาสู่ สะดวกรวดเร็ว ถนนหนทาง มีมากขึ้น รวม
        ทั้งการสื่อสารได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก
 ประเพณีตี
"เลาะ" เรียกประชุม 
        จึงหมดไปจากปักษ์ใต้โดยปริยาย )

ไล  (ก.เถลไถล, แชเชือน (การเดินทาง หรือการทำงานที่ชักช้าแวะที่โน้น แวะ
        ที่นี่ ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทาง)
       
" โหลกบาว โรงเรียนเลิกแล้ว อย่าเที่ยวไล อยู่หล่าว แขบหลบมาบ้าน ช่วยพ่อ
        เอาวัวเข้า
คอกมั้ง "  ลูกบ่าว(ลูกชาย)โรงเรียนเลิกแล้ว อย่าเที่ยวเถลไถลอยู่
        อีกละ รีบกลับมาบ้าน (จะได้)ช่วยพ่อเอาวัวเข้าคอกบ้าง

โหลฺ  (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น โล้ )  1. (น.) ลักษณะนาม  แสดงจำนวน
        นับเท่า
12   เป็นจำนวนนับ 1 โหล
              (ความหมายเดียวกับ ความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน)

          2.
(ก.) ใช้มือจุ่มลงไปในภาชนะเก็บน้ำ เช่น หม้อ ไห โอ่ง  ฯลฯ
        
" ไอ้บ่าว อย่าเอามือ โหลฺ ลงในตุ่มน้ำฝน เดี่ยวน้ำสกปรกหมด " ความหมาย
          ของประโยคนี้คิอ   ไอ้หนู อย่าเอามือจุ่ม ลงไปในตุ่มเก็บน้ำฝน เดี่ยวน้ำฝน
         (ที่เก็บไว้กิน) จะสกปรกหมด

หลา , ศาหลา (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น ล้า,  สา-ล้า )  (น.)  ศาลา   
        
" หลาริมทาง " ศาลาริมทาง 

หลากา, ฉลากา (ออกเสียงเป็น ล้า ก๋า,  ฉะ ล้า ก๋า) (ม.) (ว.) ชั่วช้า  เลวทราม
       สำส่อน         "
หลากา" หรือ "ฉลากา" นี้   เป็นคำในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา-
       คลองหอยโข่ง)
และในภาษาไทยถิ่นใต้เจะเห ดั้งเดิม มาจาก chelaka นภาษา
       มลายู
  เป็นคำที่ใช้ด่า ผู้หญิงสำส่อน มากผัว มากชู้    ปัจจุบันได้เลิกใช้ไปแล้ว
       คงมีเหลือเฉพาะ ในหนังสือบุด
/สมุดข่อย เท่านั้น ปรากฎตามสำนวนโบราณดัง
       ต่อไปนี้

             “กริ้วโกรธท้าวธ่ร้องดาไป    ลูกอี้หญิงจังไหร  มึงเข้ามาไยเล่าหนา  มึงนี้
         เป็นหญิง  ฉลากา กูชังน้ำหน้า  หมึงเข้ามาว่าก่ไหร”
 

     
       
“หมึงชันดีไปลอง  หมันมิถองเบือย่างไฟ  ฉลากา  พาจังไร  หมึงหลบไป
         ลองสักที”

                                                                       (
สมุดข่อยเรื่องพระสุธน )

เหลิ่น  (ก.)   ทะลึ่ง,  ขี้เล่น, หยอกล้อโดยไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง  
          มักใช้กับเด็กที่หยอกล้อผู้ใหญ่ แล้วโดนตวาดกลับไปว่า   

          " หมึง อย่า เหลิ่น กูไม่ใช่เพื่อน "

เหลินดังแส็ก  (ก.)   เหลิน หล่น     ดังแส็ก  -  เสียงดังแส็ก
         วลีนี้หมายถึง เสียงสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มากนัก หล่นลงบนพื้นที่มีใบไม้แห้ง
        
" เหลินดังทึ "    - เสียงสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้นมานิด  หล่นลงบนพื้นดิน
       
 " เหลินดังตืง "     -  เสียงสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก  หล่นลงบนพื้น
         
" เสียง สากๆตืง "
  -  มักใช้กับ ผลทุเรียนหรือมะพร้าวหล่น ก่อนถึงพื้นดิน
         จะมีเสียงผลทุเรียน (หรือมะพร้าว ) กระทบกิ่งไม้ ใบไม้ หรือทางมะพร้าวแห้ง
         ดังสาก ๆ

เหลย  ( ออกเสียงเป็น เล้ย )  (ว.)   อีก
        
" เอา เหลย ม้าย ? "  เอาอีกมั้ย ?

เหลือก  ( ออกเสียงเป็น เลื้อก ) (ก.)  ค้อนควัก;   เหลือบตา

 



หมายเหตุ
 

     ก.   =    กริยา          ว.   =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.   =    นาม            ส.   =     สรรพนาม
     สัน. =    สันธาน        บ.   =     บุรพบท              อ.   =     อุทาน
     .   =   ภาษาจีน       .   =     ภาษามลายู        .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


     กลับไปหน้าแรก                                หน้าถัดไป (หมวด ล) หน้าที่ 3   
                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 23/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 
 

  

Free Web Hosting