คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                            ม              ห     

าษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด    ก ) หน้า 2
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -    )หน้า 2


กำพรัด, คำพรัด (.)การว่ากลอนหรือขับกลอนของ โนรา ศิลปะประจำถิ่นใต้ หาก
         นำบทกลอนที่แต่งไว้ก่อนแล้วหรือกลอนที่มีมาตั้งแต่โบราณมาขับ จะเรียกว่า
         
"ว่าคำพรัด"  หรือ "ว่ากำพรัด" แต่หาก โนรา สามารถขับกลอนที่เกี่ยวกับ
         บุคคลสถานที่หรือเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นกลอนสดจะเรียกว่า
"ว่ามุดโต"

กำพรึก, ลูกกำพรึก (.) กัลปพฤกษ์ ต้นไม้สาระพัดนึก ขึ้นอยู่ตามสี่มุมเมืองในยุค
         พระศรีอารย์ เชื่อกันว่า หากประสงค์สิ่งใด ก็สามารถเก็บ หรือสอยเอาได้ตาม
         ปรารถนา
      
  "หว่านลูกกำพรึก"  การโปรยทานในพิธีเผาศพ มักใช้สตางค์ หรือเงินเหรียญ
         ยัดใส่ในลูกมะนาว หรือห่อด้วยกระดาษสี กระดาษแก้ว โดยจะโปรย
ขณะไฟ
         กำลังลุกไหม้ เพื่อให้ลูกหลาน ได้เก็บเป็นที่ระลึก หรือนำไปใช้จ่าย

กิน  (ว.) คม  (ใช้กับของมีคม )
    
 
"เมดนี้ ลับพันผรื่อกะไม่ กิน สักที" = มีดเล่มนี้ลับเท่าไร(อย่างไร)ก็ไม่คมสักที

กุนหยี,   กุดหยี  (น.)  บานไม่รู้โรย(ดอกไม้)

กุบ  (น.) กล่องหรือภาชนะเล็ก ๆ ที่มีฝาปิด ใช้ใส่ของ  เช่น  "กุบใส่ใบจากยาเส้น"

กุบกับ (ว.)   รีบด่วน    " ทำอะไรกุบกับ "   ทำอะไรที่รีบด่วน

กุลาหักคอ, แมงกุลาหักคอ (น.)   แมงชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Elateridae   มีปีกแข็ง
        สีดำ หรือสีเทาเข้ม  เมื่อจับได้จะดีดตัวดังเปาะๆ  (ถ้าจับตัวไว้ หัวจะดีดไปมา)
        ในกรณีที่ แมงชนิดนี้ คลานเข้าหูเด็กๆ จะอันตรายมาก เนื่องจาก
จะเข้าไปดีด
        อยู่ในรูหู
  
      
 
( คนคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เรียกแมงชนิดนี้ว่า แมงกุลาหักคอ  แต่ต่าง
       ถิ่นต่างภาคเรียกว่า แมงคอลั่น
  หรือ แมงดีดขัน )

                   
                        แมงกุลาหักคอ ของ
คนคลองหอยโข่ง
                              (เปรียบเทียบกับ ไฟแช้ค)

กุหลิบ  กุหลิบ (ว.) ลักษณะการกระพริบตา มองผู้อื่นโดยสายตาที่ใสซื่อ
          ( มักเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกตำหนิ )

เก้ง   (ว.)   ทำอะไรไม่เสร็จ
      
" ชามเก้ง " 
ชามที่ทิ้งไว้ไม่ล้าง    
      
" เด็กขี้เก้ง "   เด็กที่ถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ล้างก้น
      
      ( คำว่า "เก้ง" ในภาษาไทยถิ่นใต้ นี้ ใกล้เคียงกับคำว่า "แก้ง" ในภาษาไทยถิ่น
       อื่นๆ เช่น    "ไม้แก้ง" 
ในภาษาไทยเพชรบุรี ที่หมายถึงไม้ที่ใช้เช็ดก้นแล้วทิ้ง
       "
แก้งขี้พระร่วง "  ชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เนื้อไม้มีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระ  ใน
       ภาษาไทยโคราช )

เกลียดแล  (ก.) รำคาญตา, ไม่อยากมอง
    
“ กูเกลียดแล ไอ้เฒ่านี้จัง  อายุกะมาก หัวกะหงอก ยังทำตัวเหมือนเด็ก "
      
กูรำคาญ ไอ้เฒ่านี้จัง  อายุก็มากแล้ว หัวก็หงอก ยังทำตัวเหมือนเด็ก

เกลือน-อก  (ก.)  คลื่นใส้สะอิดสะเอียนรู้สึกรับไม่ได้ ต่อคำพูดหรือการกระทำ
         (ในบางท้องถิ่น คำนี้จะออกเสียงเป็น กวนอก )

เกียงคางคกเกียงป๋อง (น.) ตะเกียงกระป๋อง ขนาดเล็กใช้น้ำมันก้าดเป็นเชื้อเพลิง

เกียงฉอด  (น.)  ตะเกียงอะเซติลีน  อุปกรณ์ให้แสงสว่างของชาวสวนยาง ซึ่งจะผูก
         ตะเกียงให้ติดกับหมวก หรือ กาบหมากทำเป็นหมวก  สวมไว้ที่ศีรษะขณะกรีด
         ยาง
(
โล๊ะยาง) แสงไฟของ " เกียงฉอด"จะส่องให้เห็น "หน้ายาง"ได้ชัดเจน
         กรีดยางได้สะดวก

เกียน   (น.เกวียน

เกียด (ก.)  เขี่ยออก,   เขี่ยทิ้ง

เกี๊ยะ  (น. ปลวก โดยเฉพาะปลวกทหารที่มีหัวโตทำหน้าที่ป้องกันศัตรู
         (
ภาษาสงขลา - คลองหอยโข่ง )
        
 " ถ้าจะขุด เหมา ทำเหยื่อตกปลา กะอย่ากลัวเกี๊ยะขบ "  =  ถ้าจะขุดแมงเม่า
         ทำเหยื่อตกปลา  ก็อย่ากลัวปลวกกัด
       
 ( เปรียบเทียบกับภาษามลายู จะใช้คำว่า kiak-kiak ในความหมายเดียวกัน )

แกร็ด ,  แก็ด (ก.) กัดแทะ, กิริยาที่ใช้ฟันกัดแทะให้กร่อนทีละน้อย  เช่น แมลงสาบ
         กัดผ้าจะใช้ว่า 
แมงสาบแก็ดผ้า ( แกร็ดผ้า )

แกล็ดฟ้า 1.(น.กล็ดฟ้า,ก้อนเมฆระดับสูงมีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆหรือเป็นละออง
        คลื่นเล็กๆอยู่ติดกัน เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ เต็มท้องฟ้า    มักจะเห็นในช่วง
        หมดฤดูฝนของปักษ์ใต้   ( จัดอยู่ในกลุ่มเมฆ cirrocumulus  หรือ
กลุ่มเมฆ
        altostratus )
        2. (ว.)   ลักษณะของผมที่เว้าแหว่งไม่เรียบ ไม่สวย เป็นคลื่นเหมือนเกล็ดฟ้า
        ปกติมักเป็นทรงผมของเด็กเล็กที่นั่งไม่นิ่งเวลาตัดผม  ทรงผมที่ได้จึงเรียกว่า
      
 "ทรงแกล็ดฟ้า"

 
แกะ  (น.) ชื่อของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้าวในชุมชนปักษ์ใต้ (ถิ่นใต้บางท้องที่ จะเรียกว่า
        แกระ แกะ มีลักษณะเป็นใบมีดเล็กๆ ติดกับแผ่นไม้บางๆใช้เก็บข้าว(ตัดรวง
        ข้าว) ที่ละรวงและนำไปมัดเป็น
เลียงข้าว   เลียงข้าวที่ได้จะนำไปกองซ้อนกัน
        ใน
ห้องข้าว(ยุ้งข้าว)เก็บไว้ได้เป็นปี   ก่อนเก็บไว้ในห้อง เลียงข้าวจะต้องแห้ง
        สนิทไม่มีความชื้น

            กล่าวกันว่า
แกะ  คือ  อารยธรรมร่วมในพื้นที่อาณาจักรศรีวิชัยในอดีต ที่ยัง
         หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน  ( จะเห็นได้จากการที่ ชาวนาปักษ์ใต้ของไทย ชาวนา
         มาเลเซีย สุมาตรา รวมทั้ง ชวา จะใช้ แกะ เก็บข้าว มีการมัดรวงข้าวเป็น
เลียง
       
 ตลอดทั้งกรรมวิธีการเก็บ
ใน  ห้องข้าว และการนวดข้าวที่เหมือนกัน จะผิดกัน
         ก็เพียงภาษาที่ใช้สื่อสารกันเท่านั้น)


แกะ - อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้าวของ ชาวนาไทยถิ่นใต้

โกปี้  (น.)  กาแฟ
      
  "โกปี้อ้อ"
- กาแฟดำ

โก้    (ก.)    กู่  ตะโกน
        
" อย่าโก้ให้ดัง มันหนวกหู "  
 อย่าตะโกนให้ดัง  มันหนวกหู

โกง   1. (ก.)  ฉ้อโกง  ( เหมือนกับความหมายในภาษากรุงเทพ ) 
       
2.  (ว.) ลักษณะอาการกริยาที่หยิ่งยโส ถือตัว ไม่คบผู้อื่น  เช่น 
         
" ไอ้บ่าวนี้โกงจัง พอไปเรียนบางกอก  หลบ
มาบ้าน ไม่แหลงกับใครเลยนะ "

ก่ต่อพระอินทร์ (.) แมลงช้าง, แมลงชนิดหนึ่งที่ทำหลุมทรายไว้ คอยดักจับแมลง
        ตัวเล็กๆ ที่ตกลงไป  (คนคลองหอยโข่ง สงขลา เรียกว่า
"
ก่ต่อพระอินทร์ "
       
แต่ คนฉวาง, พิปูน นครศรีธรรมราช จะเรียกว่า  "แมงนกขุ้ม" )


 



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ
 


      กลับไปหน้าแรก                                                        หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549        ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 22/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting