ภาษามลายู กับ ภาษาไทยถิ่นใต้ 2
 

    ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้  / หน้า 1 / หน้า 2 / หน้า 3 /หน้า 4
 

ภาษามลายู กับ ภาษาไทยถิ่นใต้ 2
 

 

ภาษามลายู ภาษาไทย และคำที่ใช้ในปักษ์ใต้
cam (ก) จำ จดจำ  (คำนี้ไม่แน่ใจว่าใครเป็นภาษาต้นแบบ)
candra (น) ดวงจันทร์
cempedak (น)  จำปาดะ ผลไม้คล้ายขนุน
cerlih
 
(น)  กระแต
 
คนปักษ์ใต้ (สงขลา)จะเรียกกระแต ว่า "เลียะ"
chelaka

 
(ว.)  ชั่ว  ช้า  เลวทราม
คำนี้ปรากฎในหนังสือบุดเรืองพระสุธน ใช้เป็น 
ฉลากา,หลากา
(เป็นคำที่ใช้ด่าทอปัจจุบัน ไม่มีการใช้คำนี้แล้ว)
cicak

 
(น)  จิ้งจก
(คำนี้ น่าจะมาจากเสียงของจิ้งจก หูของคนมลายูฟังเป็น
จิจะ
ส่วนไทย
ฟังเป็น
จิ้งจก )
cirit (น)  จิ้งหรีด
cop (น)  จอบขุดดิน
cuti

 

 

 (ก ) “ จุติ ”  คำไทยใช้ในความหมาย เทวดาหมดบุญวาสนา
 คือ
สิ้นสุดการเป็นเทวดา ลงมาเกิดในโลกมนุษย์
       
“ยุติ ” คำไทยใช้ในความหมาย   จบสิ้น หยุด
ในภาษา
มลายูและชวาจะใช้ในความหมาย หยุดพัก ไม่ทำงาน
 

cakrawala
 

(น) จักรวาล     มลายู(ชวา)จะใช้ในความหมาย ท้องฟ้า หรือ
เกี่ยวกับสวรรค์
  

cakrawati จักรวรรดิ    มลายู (ชวา)ใช้ในความหมาย “ปกครอง”
candi
 

(น)  เจดีย์ หรือ จันฑิ  มลายู(ชวา)  จะใช้ในความหมาย วัด
 หรือ ศาสนสถานของพุทธ หรือพราหมณ์

cita (น)  จิตใจ
citra
 
(น)  จิตร มลายู(ชวา)จะใช้ในความหมาย"ภาพวาด "   (ไทย
ใช้ในคำว่า "จิตรกรรม" การวาดภาพ )
dana (น)   การให้ทาน การบริจาค
darma
 

(น)   ธรรม  
มลายู(ชวา) จะใช้ในความหมาย  การปฏิบัติหน้าที่

darmabakti

 

(น) ธรรมภักดี   มลายู(ชวา)จะใช้ในความหมาย การทำงาน
เพื่อสังคมด้วยความสมัครใจ หรือการ
ทำงานบำเพ็ญสาธารณะ
ประโยชน์

dasadarma
 
(น)ทศธรรม   มลายู(ชวา)ใช้ในความหมายหน้าที่ 10ประการ
ของลูกเสือ/เนตรนารี
dasasila

 
(น)  ทศศีล 
มลายู(ชวา) ใช้ในความหมาย“บัญญัติ  10  ประการ”
(the Ten Commandments) ที่โมเสสได้รับมอบจากพระเจ้า
dasawarsa (น)  ทศวรรษ  รอบ 10 ปี
datuk
 
(น)  ผู้เฒ่า ผู้อาวุโส ในวงศ์ตระกูล    ภาษาปักษ์ใต้ชายแดนใช้เรียกผู้นำศาสนาอิสลาม ว่า โต๊ะครู
desa
 
(น)  พื้นที่ เขต   ไทยใช้ในความหมา “ชุมชน” เช่น เทศบาล
ในภาษามลายู(ชวา)ใช้ในความหมาย
“หมู่บ้าน” (kampung)
dewa (น)  เทวา,  เทวดา
dewi (น)  เทวี,  เทพธิดา , ผู้เป็นที่รัก
duka (น)  ทุกข์  ความโศกเศร้า ความทุกข์ยาก
dukacita (น) ทุกขจิต  ความโศกเศร้า ความทุกข์ยากแสนสาหัส
dupa (น) ธูป
durian (น)  ทุเรียน  ความหมายในภาษามลายูคือ ผลไม้ที่มีหนาม
duta (น)  ทูต  ตัวแทนของพระราชา หรือตัวแทนของประเทศ
dwi (ว.) ทวิ, สอง
ekabahasa
 
(น)  เอกภาษา   ภาษามลายู(ชวา)ใช้คำนี้ในความหมาย
 
monolingual (ภาษาหลักภาษาเดียว)
ela (น)  หลา     หน่วยวัดความยาว เท่ากับ 3 ฟุต 
emas (น)   มาศ  ทอง
enau
 
(น)  ต้นเหนา หรือ ต้นอิเหนา
พันธุ์ไม้ตระกูลปาล์มทำน้ำตาลได้  
"ต้นฉก"  ก็เรียก
endan (ก)  ดัน, ผลักด้วยมือ
engkau (น) อ็ง   (สรรพนามบุรุษที่2)
ereng (น)  อีแร้ง
ganja (น)  กัญชา
gerengcheng
 
(น)  หม้อโลหะหล่อ(ทองเหลือง/ทองแดง)ขนาดใหญ่ มีหูหิ้ว
คนปักษ์ใต้ สมัยก่อนจะเรียกว่า
"หม้อแหล็งแฉ็ง"
gerai (น)  แคร่  ( ภาษามลายูจะหมายถึงแคร่ที่ทำด้วยไม้ไผ่)
gua  ( กู-อา) (น) คูหา   ถ้ำ
gudang (น)  โกดังเก็บสินค้า
guni (น)  กระสอบยูหนี
guru (น)  ครูผู้สอน
harga (น)  ราคา ,  มีค่า
istri
 
(น) อิสตรี  ผู้หญิง
ภาษามลายู(ชวา)ใช้คำนี้ใช้ในความหมาย ภรรยา
jagong

 
(น) ข้าวโพด
ชาวปักษ์ใต้ตั้งแต่ชายแดนถึงนครศรีฯ จะเรียกข้าวโพดว่า
"คง"
 (ตั้งแต่สุราษฎร์ธานี ขึ้นไป จะใช้เป็น "โพด")
jambu


 

(น) ฝรั่ง(ผลไม้) 
คนปักษ์ใต้จะเรียกฝรั่งว่า
ชมพู่ หรือ ย่าหมู โดยเฉพาะคำว่า
ย่าหมู
จะใช้กันตามแถบริมทะเลตั้งแต่ชายแดนมาเลย์ไปจน
ถึง สุราษฎร์ฯ

jenis (น) ชนิด,พวก  (คำนี้ไม่แน่ใจว่าใครเป็นภาษาต้นแบบ)
jiak
( burung jiak)
 
(น) นกกระจาบ
คนหาดใหญ่ตอนใน คลองหอยโข่งและสะเดา จะเรียก  นก
กระจาบว่า
นกเจี๊ยะ
jiwa (น) ยี่หวา , ชีวา ,  จิตใจ ,  จิตวิญญาณของมนุษย์
jumpa
 
(ก) พบปะ, มาเจอกัน   
(ในเขตอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีวัดๆหนึ่งชื่อ
วัดจุมปะ)
kaca (น)  กระจกเงา, แก้ว  (คำนี้ไม่แน่ใจว่าใครเป็นภาษาต้นแบบ)

kajang

(น) กระแชง  (อุปกรณ์ใช้มุงหลังคา หรือ กันฝนชั่วคราว)
kalip (ก)  กลิบตา (ขยิบตา)

kiak-kiak
 

(น) ไทยปักษ์ใต้ชายแดน จะเรียกปลวกเฉพาะปลวกทหาร
ที่มีหัวโตทำหน้าที่ป้องกันศัตรูว่า
"เกี๊ยะ"

kakak

 
(น)   พี่สาว  
 
มลายูใช้คำนี้เรียกพี่สาวหรือพี่ชาย
แต่ในภาษาถิ่นใต้ชายแดน
จะใช้เพียงคำว่า กะ เรียกเฉพาะ พี่สาว(ที่เป็นมุสลิม)
kapal

 
(น) กำปั่น, เรือ   ภาษามลายูโบราณ จะใช้ในความหมายเรือ
ทุกชนิด( ปัจจุบันจะใช้คำว่า
berahu )   ในภาษาไทยคำว่า
 
 "กำปั่น"  จะใช้ในความหมายเฉพาะชนิด
karang (น) ปะการัง
kata (น)  กถา, คาถา,  พูด,  คำกล่าว (ปาฐกถา) 
kawi

 

 

 

 

kelamai
 

(ว.)  สีแดงม่วง  
คนไทยปักษ์ใต้แถบ
สงขลาจะเรียกบอนชนิดหนึ่งที่มีทางและ
ใต้ใบสีแดงอมม่วง
ว่า
บอนกาหวี  เกาะลังกาหวี(เกาะลังกาวี)
มีความหมายถึงเกาะแห่งนกออก นกอินทรีทะเลที่มีขนสีแดง
อมม่วง) 
ลัง, หลัง ในภาษามลายูคือ นกอินทรี  คำนี้คนสตูล
จะนำมาใช้เป็นนามสกุล เช่น
       หลังปูเตะ
-  อินทรีขาว
       หลังนุ้ย   
อินทรีน้อย
       (นุ้ย ในภาษาใต้ คือ   น้อย ในภาษากรุงเทพ)
       หลังจิ       อินทรีเล็ก  (เกอจิ - เล็กๆ ,กระจิดริด)

(น) คำนี้ มลายู ออกเสียง เกอะลาไม  ถิ่นปัตตานีออกเสียง
กะลาแม    ไทยใช้เป็น 
 กะละแม

kenanga (น) ต้นกระดังงา(คำนี้ไม่แน่ใจว่าใครเป็นภาษาต้นแบบ)
kepala

 
(น)  ศีรษะ, กบาล หรือ ผู้นำ
(ตัวอย่าง เช่น
kepala desa -กบาลเทศา ในภาษาชวา จะ
หมายถึง ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมขน)

keris

(น)  กริช
kertas
 
(น)  กระดาษ
     
kipas (น) พัด
kopi (น)  กาแฟ  โกปี้
kubur (น)  กุโบร์   สุสาน ที่ฝังศพ ของชาวมุสลิม
kuli
 
(น)  คนงาน กุลี (coolie)
ภาษาไทยถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น กุหลี , ลูกกุหลี
kunci
 
(น)  กุญแจ (คำนี้ไม่แน่ใจว่าใครเป็นภาษาต้นแบบ)
 
kurma

 
(น) อินทผาลัม
คนปักษ์ใต้จะเรียกอินทผาลัมว่า
   "ลุมหมา  หรือ กุรหมา "
 
kurung

 

(น) กรง   ที่คุมขัง ทั้งขังคน และขังสัตว์

 


หมายเหตุ

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

      กลับไปหน้าแรก                                                        หน้าถัดไป     

  

ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 



ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปหน้าบท
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

  

Free Web Hosting