ภาษามลายู กับ ภาษาไทยถิ่นใต้ 3
 
 

      ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้  / หน้า 1 / หน้า 2 / หน้า 3 /หน้า 4
 

 ภาษามลาย กับ ภาษาถิ่นใต้ 3
 

ภาษามลายู

ภาษาไทย และคำที่ใช้ในปักษ์ใต้

lakon (น)  ละคอน 

laksana

(น)  ลักษณะ
laksmi (น)  พระนางลักษมี  เทพธิดาแห่งความงาม
langsat (น)  ลางสาด  (ผลไม้ชนิดหนึ่ง)
loteng
 
(น)   เลาเต๋ง   ชั้นบนของร้านค้า หรือบ้าน
(มลายูและไทยถิ่นใต้ รับคำนี้ มาจากภาษาจีน)
lorong

 

 

(น)   ตรอก , ซอย  
ในภาษาไทยถิ่นใต้ (คลองหอยโข่ง
-สงขลา)จะมีคำว่า
 ทาง
รั้วรง
 หรือ ทางรง  ใช้เรียกเส้นทางจูงวัวจูงควาย มักเป็นทาง
แคบๆ  พอที่จะใช้ จูงวัว จูงควาย    ออกไปทุ่งนาหรือ ออกไป
นอกหมู่บ้านได้ (แถบสะกอม อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา จะ
เรียกว่า
ทางลุรง )
lelang

 
(ก)   ขายเลหลัง
ภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า
เล่
ล็อง หรือ เล่หล่อง
 
mahkota

 
(น)  มกุฎราชกุมาร
มลายู(ชวา) ใช้คำว่า
 Butra mahkota  หมายถึง มกุฎราชกุมาร
ผู้สืบราชบัลลังก์
mak (น)  แม่  ชาวมุสลิมใช้เรียก แม่ หรือผู้หญิงมุสลิมสูงอายุ
makda (น)แมงดา
mala (น) มล  สิ่งสกปรก, มลพิษ
malai (น)  ดอกไม้, พวงมาลัย
mantra (น)  เวทย์มนตร์ คาถา
manja

 
(ก)   ขี้อ้อน
"เด็ก มานยา"
ในภาษาไทยถิ่นใต้ ( สงขลา-คลองหอยโข่ง )
จะหมายถึง เด็กขี้อ้อน  ต้องการให้พ่อ แม่เอาใจ
manusia (น)  มนุษย์
maya (น)  สิ่งลวงตา ไม่จริง
merah jambu
 


 

merengsa

 

(น)  สีชมพู
ในภาษามลายูจะใช้ในความหมาย สีแดงอย่างลูกชมพู่
( คำนี้ในภาษาไทย ถ้าจะให้ถูกต้อง จึงน่าจะใช้เป็น  สีชมพู่
 เหมือนอย่างมลายู จะได้ทราบที่มาของคำๆนี้)
 

(น)  มลายู  ออกเสียง  เม้อะเร็งซา  ไทยใช้เป็น   มะเร็ง
ในความหมาย   แผลเปื่อยที่รักษายาก
 

mihun


 
(น) บะหมี่
ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) จะเรียกเส้นบะหมี่ขาว ว่า หมี่หุน 
หรือ  บี้หุน

(ทั้ง มลายูและไทยถิ่นใต้รั บคำนี้มาจากภาษาจีนเหมือนกัน )
musang
 

 

(น)ชะมด, อีเห็น : สัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่หากินในเวลากลางคืน
จัดอยู่ในวงศ์ Viverridae    ภาษาอังกฤษเรียกว่า Civet

ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) จะเรียก ชะมด ว่า   มูสัง,  มุสัง,
หรือ มุดสัง    (มลายูปัตตานี จะออกเสียงเป็น  มูแซ )
naga (น)  พญานาค
nanas

 
(น)  สั
ภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) จะเรียกว่า  ยานัด  หรือ ย่านหนัด
(มลายูและไทยถิ่นใต้รับคำนี้มาจากภาษาฝรั่ง  เหมือนกัน )
pachau 
 

 

 

pandan

(น)  "โจ" อุปกรณ์หลอกเด็ก แขวนบนต้นไม้ผลเพื่อป้องกัน
ขโมย
มักทำด้วยกระบอกไม้ไผ่   หรือ “ติหมา”   (ครุตักน้ำ
ทำด้วยกาบหมากหรือกาบหลาวโอน)
 ข้างในจะใส่เส้นผมคน
ตาย พร้อมเขียนยันต์หรืออักขระด้านนอกของ
 "โจ" ด้วยปูนที่
กินกับหมาก     เด็กๆ เมื่อเห็น ต้นไม้ มี"โจ"แขวน ก็จะไม่กล้า
ขโมยเก็บผลไม้   ด้วยกลัวว่า เมื่อกินผลไม้แล้ว จะมีอาการ
"พุงพอง" (ท้องป่อง) หรือเจ็บไข้ ไม่สะบาย

(น) ปาหนัน ลำเจียก

Pancasila (น)  ปัญจศีล   หลักปกตรอง 5 ประการของอินโดนีเซีย
pateri (ก) บัดกรี 
pendiat
 

pending

 

(น)  เพนียด คล้องช้าง
 

(น) คำนี้ มลายู ออกเสียง เป้อะเน็ง ใช้ในความหมาย เข็มขัด
ขนาดใหญ่ที่ประดับด้วยเพชร พลอย     ในภาษาไทยเรียกว่า
ปั้นเหน่ง

pengeras
 
(น)   เงินตอบแทนตามประเพณี เงินที่ใช้ในงานพิธี   ปักษ์ใต้
 จะใช้ 
"เงินค่าราดโรงหนังตลุง"
peruang

 
(ก) สะกด (ด้วยคาถาอาคม)
ปักษ์ใต้โบราณจะใช้ว่า
"
ถูกปังหรัง" คือ ถูกเวทมนต์สะกดให้
จังงัง   ถ้าถูกสะกดพูดไม่ได้ ก็ว่า 
"ถูกมบ"
pisah 


 

 

(น)  เป้ากางเกง    แปะสะ หรือ แป้สะ
ภาษามลายูจะใช้ว่า
pisah -  pisahter ในความหมาย  ฉีกขาด
 แยกออกตรงที่ต่อเชื่อมกัน
    หรือ ขาดออกจากกันเนื่องจาก
อุบัติเหตุ 
คนไทยชายแดนใต้จะใช้คำนี้ก็ต่อเมื่อเป้ากางเกงขาด
เช่น
" ไอ้บ่าว แปะสะ กางเกง   แหก แล้วนั่น"

pondok


 

(น) ปอเนาะ (โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม)
ความหมายเดิมคือ กระท่อม , ขนำ, ป้อม  ปัจจุบันใช้เรียก
โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม
ซึ่งเป็นกระท่อมเล็กๆเรียงรายกัน
ในบริเวณ มัสยิดหรือบ้านของครูสอนศาสนา(อุสตาส)

porok

 

(น)  กะลามะพร้าว (ที่ผ่าซีกแล้ว)
คนสงขลาจะเรียก
กะลาว่า พรกพร้าว(ออกเสียงว่า ผร็อกพร้าว)
 

puak
 


 



 

(น)    พวก  กลุ่ม
คำนี้ในภาษาอินโดนีเซีย(ชวา) มีความหมายว่า กลุ่ม  หรือ เผ่า
พันธุ์ 
Puak  Melayu   กลุ่มหรือเผ่าพันธุ์มลายู
Puak Siam      กลุ่ม หรือ เผ่าพันธุ์สยาม

คำว่า พวก หรือ   puak  นี้ ยังสรุปไม่ได้ว่า ไทย ยืมมาจาก
ภาษาชวา หรือชวายืมไปจากไทย  แต่ข้อสันนิฐานเบื้องต้น คง
จะเกี่ยวพันกันมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยโบราณ ในภาษา
มลายูท้องถิ่น(
3จังหวัด)จะมีคำว่า
"ปวก ดียอ"หมายถึง พวกเขา
 
puja (ก) บูชา
pukat  
 

 

(น) ตาข่ายดักปลา  ภาษาถิ่นใต้ใช้เรียก อวนหรือตาข่ายดัก
ปลาขนาดเล็ก ใช้ขึงขวางทางน้ำเพื่อดักปลาว่า
"กัด" ด้านล่าง
ของ
"กัด" จะไม่ถึงดิน มีตุ้มตะกั่วถ่ว ริมบนจะติดทุ่น "กัด" มี
 2 ชนิด คือ
กัดวาง และกัดลาก

purb, purbakala (ว)  บุรพ  -  ก่อน ,โบราณ
purnama (น)  วันเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง

putera, puteri

(น)  บุตร ,บุตรี
racun

 

 




 

     
(/น )  racun  คำมลายูหมายถึง   ยาพิษ
meracun  -  วางยาพิษ 
ke
racunan - ถูกวางยาพิษ
คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา-คลองหอยโขง ) จะใช้ว่า
ราจุน  หรือ ยาจุน ในความหมาย การวางยาพิษ  ตัวอย่างเช่น
ประโยค ต่อไปนี้
" เขารู้กันว่า เมื่อ 50 ปีก่อน ปู่เนี่ยมถูกเมีย ราจุน ตาย จนถึง
วันนี้กะยังไม่รู้ว่าเมียคนไหนทำ เพราะแกมีเมียหลายคน "

 เขารู้กันว่า เมื่อ 50 ปีก่อน ปู่เนี่ยมถูกเมียวางยาพิษ าย จน
ถึงวันนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเมียคนไหนทำ เพราะแกมีเมียหลายคน "
 

raja (น)  พระราชา
rajin


 


 

ranjau

 

(ว) ขยัน  พากเพียร    คนไทยถิ่นใต้ชายแดนจะใช้ว่า ราเยน
หรือ  ยาเยน
    ตัวอย่างข้อความประโยคหนึ่งที่คนเฒ่าคนแก่
มักจะใช้สอนคนรุ่นลูกหลานในเรื่องการทำงานคือ
   "ราเยน
 
บ่าด้าน ขี้คร้าน อกแตก"  
ความหมายคือ  คนขยันจะแบกสิ่ง
ของแต่ละครั้งไม่มาก เท่าที่พอจะแบกได้ ทำงานมากบ่าจะด้าน
ซึ่งเป็นปกติของคนขยัน
   แต่คนขี้เกียจจะรีบแบก เพื่อให้งาน
เสร็จเร็ว โดยไม่สนใจ  ว่าร่างกายของตนเองจะรับได้แค่ไหน
คนขึ้เกียจ จึง อกแตก (เสียสุขภาพ) เป็นธรรมดา

( ก) ในภาษามลายู  รันยาว ใช้ในความหมาย  รบกวนก่อความ
รำคาญให้กับผู้อื่น  ภาษาไทยถิ่นใต้ใช้เป็น 
รังหยาว ในความ
หมาย หงุดหงิด รำคาญใจ

raup
 

 

 

 

( ก)  รวบ
คำนี้ในภาษาอินโดนีเซีย(ชวา) จะมีความหมายแล้วแต่ วิภัต
 ปัจจัยที่ใช้เสริมคำ ดังนี้
"
meraup "   -  กอบด้วย 2 มือ    (me + raup)
"
raupan "    -  เต็มกำมือเดียว    ( raup + an )

แต่ คำว่า รวบ ในภาษาไทย   ความหมายมีเพียงว่า ใช้มือรวบ
เข้ามา มือข้างเดียวหรืออาจใช้มือทั้ง 2 ข้างรวบก็ได้
คำว่ารวบ
 นี้ ยังสรุปไม่ได้ว่า เป็นภาษาไทย หรือภาษามลายู
 
sagu
 
(น) ต้นสาคู  (พืชตระกูลปาล์ม)  เนื้อในลำต้น ใช้ทำแป้งสาคู
     หรือใช้เป็นอาหารสัตว์
saksi (น)  สักขี, พยาน (ไทยใช้คำว่า สักขีพยาน)
sakti
 
(น) ศักดิ์, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจที่เหนือธรรมชาติ ,  เวทย์มนตร์
คาถา
salak (น)  ต้นสาละ - พืชตระกูลปาล์ม
sarang  satar

 

 

(น)  กระปุก ทำด้วยไม้ใส่น้ำหมึกมีเชือกเส้นเล็กๆแช่ไว้ จะดึง
เชือกออกใช้ตีเส้นบนแผ่นไม้กระดานที่จะเลื่อยเพื่อให้คลอง
เลื่อยตรง
 ไทยปักษ์ใต้เรียกเพี้ยนเป็นรางเส้นทัด หรือ
รางทัด
หรือ
พรกทัด
 

sarung (น)  โสร่ง
sawa nila  
(buah sawa )

 
(น)  ลูกสวา  (ออกเสียง ซ้าว้า )  ภาษาไทยถิ่นใต้ชายแดนจะ
เรียก ละมุดว่า
"ลูกซ้าว้า" ขณะที่ทางนครศรีธรรมราชจะเรียก
ว่า 
ลูกมุดหรัง(ละมุดฝรั่ง)ทางแถบอันดามันจะเรียกว่า มะตีกู
selak (น) สลัก, กลอนประตู, สลักประตู
selut

 
(น.)  ดินโคลน     ในภาษาไทยถิ่นใต้จะเรียกเฉพาะ โคลนที่ติดเท้า ซึ่งจะต้องล้างก่อนขึ้นเรือน ว่า หลุด (ออกเสียงเป็น ลุด)
 
     
" ลุด ติดตีน "  ดินโคลนที่ติดเท้า
sembahyang (น)  การประกอบพิธีละหมาดของมุสลิม
sempurna (น)  สมบูรณ์   ครบถ้วน
senapati (น)  เสนาบดี  แม่ทัพ
sengsara

seri

(น)  สังสาระ  ความทุกข์ยาก ความโศกเศร้า (วัฏฏสงสาร)

(ว.)   สิริ ,  ศรี   มีเกียรติ , ทรงเกียรติ

setui  
 

 

(น) "สะตุ" , เปลี่ยนแปลงทำให้หมดฤทธิ์, เนรมิต หรือ สาป
เช่น
สะตุนางบุษบา (ผู้หญิง) ให้เป็นอุณากรรณ (ผู้ชาย) ใน
ภาษา
ไทยจะใช้เฉพาะ การสะตุสารส้มหรือสารวัตถุอื่นๆให้หมด
ฤทธิ์ ก่อนเอามาทำยา

stupa (น)  สถูป  ศาสนสถานทางพุทธศาสนา
suami (น)  คำในภาษามลายู(ชวา)  หมายถึง สามี
suka (น)  ความสุข
suloh
 
(ก)  ส่องไฟหาสิ่งของ  เช่น ส่องหาปลา  หากบ
ภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้ว่า โล๊ะปลา  โล๊ะกบ
surau (น)  สุเหร่า


หมายเหตุ

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

      กลับไปหน้าแรก                                                           หน้าถัดไป   

  

ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 



 


บังสะหม้อ
ตัวตลกหนังตะลุงสงขลา
(เป็นมุสลิม พูดสำเนียงสะกอม)

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/


  

Free Web Hosting