ภาษามลายู กับ ภาษาไทยถิ่นใต้ 3
 
 

    ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้  / หน้า 1 / หน้า 2 / หน้า 3 /หน้า 4
 

 ภาษามลาย กับ ภาษาถิ่นใต้ 4
 

ภาษามลายู ภาษาไทย และคำที่ใช้ในปักษ์ใต้
tabik   (น)   "ตะเบะ" การแสดงความเคารพของทหาร ตำรวจ
tabung (น)  ตะบุง ใส่ของ(คำนี้ไม่แน่ใจว่าใครเป็นภาษาต้นแบบ)
tapa (น)  ตบะ  (ที่ได้จากการบำเพ็ญเพียร )
telok


 

(น)  โละ       พื้นที่ น้ำท่วมถึง  
ภาษาถิ่นใต้ชายแดนจะเรียกพื้นที่น้ำท่วมถึงซึ่งอาจติดกับ
คลองหรือทะเลว่า 
โละ  เช่น โละจังกระ( จังหวัดพัทลุง)
โละโลด   ( อยู่ที่ตำบลโคกม่วง  อำเภอคลองหอยโข่ง 
จังหวัดสงขลา )
timba
 

 

(น)  ถังตักน้ำ
ถิ่นใต้ชายแดน เดิมจะใช้ถังตักน้ำที่ทำด้วย 
" เตาะหมาก
หรือ เตาะหลาโอน " (กาบหมากกาบหลาโอน)  เย็บเป็น
กระทงเรียกว่า
 ติหมา / หมาตักน้ำ
tuak



 

 

 

(น) น้ำตาลเมา  
คนปักษ์ใต้บางครั้งจะเรียก น้ำตาลเมา ว่า ตะหวาก หรือ
 หวาก
โดยทั่วไป หวาก ของปักษ์ใต้ จะใช้หมักด้วยไม้
เคี่ยม แต่ในเขต
3 จังหวัดชายแดน จะใช้หมักด้วยเปลือก
มะม่วงหิมพานต์ที่ตากแห้งแล้ว

กล่าวกันว่าเมื่อครั้งมาร์โคโปโล เดินทางจากเมืองจีนกลับ
เมืองเวนิส ประเทศอิตาลีในสมัยโบราณ ได้แวะจอดเรือ
แถวแหลมมลายูและสุมาตรา ตามบันทึกของมาร์โคโปโล
ได้กล่าวถึง
ตะหวาก( tuak)เครื่องดื่มของคนแถบนี้ไว้
ด้วย
tuan

 

 


 

(น) ท่าน    คำนี้ในภาษามลายูโบราณ เป็นคำที่เรียกขาน
เจ้านาย  เจ้านายฝรั่ง เจ้านายอาหรับ ผู้พิพากษา ในเมือง
ไทย ถ้าชาวบ้านในเขต
3จังหวัดชายแดนมีคำว่า ต่วน นำ
หน้าชื่อ  ก็แสดงว่า  เป็นลูกหลานของเจ้าปัตตานี เก่า

ในเขตสงขลา คำว่า ต่วน นี้ ได้เลือนมาเป็น ตัว คำๆนี้ถือ
เป็นคำที่จะใช้พูดกับผู้ที่สูงศักดิ์กว่าหรืออาวุโสกว่าเท่านั้น
ห้ามมิให้ผู้ใหญ่ใช้คำนี้พูดกับเด็กหรือคนที่อาวุโสน้อยกว่า
ในภาคใต้ถิ่นอื่น คำนี้ได้ออกเสียงเลือนไปเป็น   ตน
หรือ เติ้น ซึ่งถือเป็นคำที่ให้เกียรติเช่นกัน
tunang



 

(น) คู่หมั้น, โต้หนัง มาจากคำว่า tunangan ในสมัยก่อน
 แถบ
ปักษ์ใต้ชายแดน  (สงขลา-คลองหอยโข่ง-สะเดา)
จะมีประเพณี
 "เฝ้าโต้หนัง"กล่าวคือหลังจากที่เจ้าบ่าวได้
สู่ขอเจ้าสาวแ
ล้ว    ฝ่ายเจ้าบ่าว จะต้องไปช่วยงานที่บ้าน
ของเจ้าสาว ก่อนจะถึงวันแต่งงานประมาณ 1-2 เดือน

umbai
 

umpama

คำนี้ ถิ่นปัตตานี ออกเสียงเป็น อูบา     ไทยนำมาใช้ ออก
เสียงเป็น 
อุบะ  หมายถึง ดอกไม้ที่ห้อยเป็นพู่

(ว) อุปมา  เปรียบเทียบ  เหมือนกับ

upaya
 
(น)  อุบาย  หรือการกระทำใดๆ  เพื่อให้การงานประสบ
ความสำเร็จ
usaha (ก)  อุตส่าห์  พยายาม
utama (ว)  อุดม,  อุตมะ,   สิ่งที่สูงสุด วิเศษ
utara (น)  อุดร  ทิศเหนือ
wacana (น)  วจนะ  คำพูด หรือการบอกกล่าวชี้แจง
wanita (น)  วนิดา  หญิงสาว
warna


 
(น) วรรณะ  สี   
ไทยใช้ในความหมาย  ชนชั้นวรรณะ   ในภาษามลายู จะ
ใช้ในความหมายว่า สี   เช่น
 ทีวี.สี   ในประเทศมาเลเซีย
จะใช้ว่า
 TV warna
wira (น)   วีระ  ผู้กล้าหาญ
yoga
 
(น)  โยคะ, การทำสมาธิ, ฤๅษี
 


หมายเหตุ

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

      กลับไปหน้าแรก

  

ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 


ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปแม่นาง
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

  

Free Web Hosting