รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   : หมวดอักษร   -   ผ

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -  ผ  )

 ผักกูด    /    ผักเขลียง    /     ผักคราดหัวแหวน     /    ผักปลัง    /



ผักกูด




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Diplazium esculentum     ชื่อพ้อง  Athyrium esculentum  
ชื่อ
วงศ์    ATHYRIACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ      Vegetable fern
ชื่ออื่น      Paco (พิลิปปินส์),    Linguda(อินเดีย)

ผักกูด  เป็นพืชประเภทเฟิร์น มีเหง้าเจริญเติบโตเป็นกอ สูงประมาณ 1 เมตร ใบประกอบแบบขนนก
2 ชั้น ใบย่อยคู่ล่าง ลดขนาดปลายใบเรียวแหลม โคนเป็นรูปกึ่งรูปหัวใจ หรือรูปติ่งหู ขอบหยักเว้าลึก
เป็นแฉก ปลายมน ขอบหยักเป็นจักถี่ ๆ  ใบย่อยออกตรงข้ามกันบนก้านใบ ใบอ่อนม้วนงอ  แบบก้น
หอย มีขนปกคลุม ใบแก่หลังใบมีอับสปอร์ติดอยู่ตามเส้นใบ
ใบอ่อนแตกในฤดูฝน   ผักกูด  เป็นพืช
ที่เ
ติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งมีน้ำชื้นแฉะ และไม่มีสารเคมีในดิน   จึงเป็นผักที่ช่วยบอกสภาวะแวดล้อม
ให้เรารู้ได้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์   หากนำผักกูดไปปลูกในบริเวณดังกล่าว ผักกูด
จะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นขยายออก ในบริเวณนั้นเด็ดขาด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผักกูด เป็นผักพื้นบ้าน ที่มีมีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กสูง   สามารถนำ ยอดอ่อนและใบอ่อน
มาปรุงเป็นอาหาร ใช้ทำแกงจืด  แกงส้ม ผัดกับน้ำมัน, แกงเลียง, ลวกราดกะทิจิ้มน้ำพริก

ประโยชน์ทางยา
  ผักกูดมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต


เนื่องจากใบผักกูดสด
มีสาร ออกซาเลต สูง ซึ่งสารดังกล่าว จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของ
แคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญๆ อีกทั้งหากสะสมสารนี้ไปในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้ออกซาเลตไป
ตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เป็นนิ่ว  ดังนั้น จึงควรทำผักกูดให้สุก ก่อนกิน

 

ผักเขลียง
 




าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Gnetum gnemon Linn.  Var.  Tenerum  Markgr 
ชื่อ
วงศ์    GNETACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    Melinjo
ชื่ออื่น       ผักเหมียง (พัทลุง, ตรัง),     ผักเหลียง (ชุมพร, ระนอง, พังงา)
                ผักเขรียง, ผักเขลียง (พิปูน, ฉวาง  นครศรีธรรมราช)

ผักเขลียง เป็นไม้ป่า ไม่ชอบแสงแดด   ขึ้นได้ดีในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล   5 เมตร ถึง 200 เมตร
 
ผักเขลียง มีทรงพุ่ม สูงประมาณ 3-4 เมตร   เป็นพืชที่เจริญทางใบมากกว่าลำต้น     รากแก้วของ
เขลียงใหญ่แข็งแรง หยั่งลึกลงในดิน สามารถทนแล้งได้ดี    ใบเป็นใบเดี่ยวออกมาจากปลายยอด
ของต้นและกิ่ง ออกมาเป็นคู่ๆ ใบสีเขียวเป็นมันสดใสเมื่ออยู่ในร่มเงา  แต่ถ้าอยู่ในที่โล่งได้รับแสง
แดดจ้า ใบจะสีจาง ดอก เป็นดอกขนาดเล็กออกมาเป็นช่อตามข้อของกิ่ง กลีบดอกมีสีขาวเมื่อร่วง
หล่นจะร่วงทั้งช่อดอก ผลรูปลักษณะกลมยาวคล้ายไข่   ก้นผลแหลมหรือกลมมน  ผลอ่อนเปลือก
ผลสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกผลและเนื้อหุ้มเมล็ดสีขาว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน และใบอ่อน
มีรสหวานอมมันเล็กน้อย  ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง  เช่น ต้มกะทิ
แกงเผ็ดกับกะทิ  รองก้นห่อหมก แกงจืด แกงเลียง หรือกินเป็นผักสด ผักลวก
  แกล้มกับน้ำพริก
หรือเป็นผักสดกินกับขนมจีนน้ำยา
ผลสุก ผลแก่ นำมาต้มรับประทานได้ รสชาติเหมือนถั่ว
ประโยชน์ทางยา    
ใบอ่อน
 มีเบต้าแคโรทีนกว่าผักบุ้งจีน 3 เท่า และมากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่าในปริมาณที่เท่ากัน
จึงช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี    นอกจากนั้น
ผักเขลียง
ยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
และยังสามารถนำใบผักเขลียง มาตำ
พอกใบหน้าจะช่วยลอกฝ้าได้ด้วย       ราก ต้มน้ำ ดื่มป้องกันการตั้งครรภ์


ผักคราดหัวแหวน


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Acmella  oleracea     ชื่อพ้อง   Spilanthes acmella (Linn) Murr
ชื่อวงศ์     ASTERACEAE 
ชื่อภาษาอังกฤษ         Spilanthes,   Toothache plant
ชื่ออื่น     ผักคราด,    ผักเผ็ด,   ผักตุ้มหู,   อึ้งฮวยเกี้ย,  ตั่วอึ้งฮวย

ผักคราดหัวแหวนเป็นพืชตระกูลหญ้าสูงประมาณ 3-4 นิ้วลำต้นค่อนข้างกลมอวบน้ำ มีสีม่วงแดง
ต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ใบเลี้ยงคู่เรียงสลับกันรูปใบคล้ายใบโพธิ์ รูปสามเหลี่ยม กว้าง 4-3 นิ้ว
ยาว
3-6 นิ้ว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำสีเหลืองขมิ้น  ดอกแก่จะมีเมล็ดอยู่ใน
คล้ายเม็ดงาเล็กๆ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์  
ใบอ่อน  เป็นผักเหนาะ แกงหั่นฝอยใส่ข้าวยำ ดอกใส่ในเครื่องแกงคั่ว ให้มีกลิ่นหอม
ดอก 
แก้ปวดฟัน
  ใช้ดอกผักคราดหัวแหวน อุดที่ฟันปวด   หรือใช้ ใบสดตำกับเกลืออุดฟันที่ปวด
ใช้เป็นยาขับน้ำลาย  แก้โรคในคอ  รักษาแผลในปากในคอ    ใบ แก้ปวดศีรษะ  แก้โลหิตเป็นพิษ
เมล็ด ใช้เคี้ยวแก้ปากแห้ง  ทั้งต้น แก้พิษตานซาง  แก้ริดสีดวง  แก้ผอมเหลือง แก้บิด  แก้เลือด
ออกตามไรฟัน   ชงดื่มขับปัสสาวะ แก้หอบไอ แก้ไอกรน แก้ปวดบวม แก้ไขข้ออักเสบ แก้คันคอ
แก้ทอนซิลอักเสบ  พอกแก้พิษปวดบวม
  ราก ต้มดื่ม  เป็นยาถ่าย  อมบ้วนปากแก้อักเสบในช่อง
ปาก เคี้ยวแก้ปวดฟัน


ผักปลัง


ผักปลังแดง

    
ผักปลังขาว                                          ดอกผักปลัง

ชื่อวิทยาศาสตร์   Basella alba Linn. (ผักปลังขาว),  Basella rubra Linn. (ผักปลังแดง)
ชื่อวงศ์   BASELLACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ     Indian spinach,   Ceylon Spinach
ชื่อ
อื่น
     ผักปลัง (ใต้, กลาง),    ผักปั๋ง(เหนือ) 

ผักปลั เป็นไม้เลื้อยที่มีเถายาวหลายเมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก  ลำต้น
มีสีเขียวหรือสีม่วงแดง หากมีสีเขียว เรียกว่า "ผักปลังขาว" สีม่วงแดงเรียกว่า "ผักปลังแดง"
   ใบ
เดี่ยวออกสลับ 
แผ่นใบอวบน้ำ มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ป้อม หรือรูปหัวใจ หรือกลม  ใบกว้าง 2-6 ซม.
ยาว 2.5-7 ซม. ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นมันเกลี้ยง เมื่อขยี้ดูจะเป็นเมือกเหนียว
ดอก สีขาว หรือสีแดงคล้ำออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ  ดอกย่อยไม่มีก้าน  กลีบเลี้ยง 2 กลีบ  กลีบ
ดอก 5 กลีบ ไม่แผ่ออกและไม่ร่วงเมื่อดอกแก่ เกสรตัวผู้ 5 อัน
        
ผล มีรูปร่างกลมฉ่ำน้ำ ขนาด
เท่าเมล็ดถั่วเขียว ผลแก่สีม่วงอมดำ เนื้อนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วงหรือดำ 
  ผักปลัง เป็นพืชที่ขึ้นได้
เองตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป ออกดอกเกือบตลอดปี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน : นำมาต้ม ลวก หรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

ประโยชน์ ทางยา
ต้นและใบ  เป็นยาระบายอย่างอ่อน ใช้กับสตรีมีครรภ์และเด็ก      ดอก  แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ
และพิษฝีดาษ แก้โรคเรื้อน โดยการคั้นน้ำจากดอกสด ๆ นำมาทาตรงบริเวณที่เป็น   ราก ใช้เป็นยา
ถู หรือนวดให้ร้อนช่วยทำให้บริเวณนั้นมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น น้ำที่คั้นจากราก ใช้เป็นยาหล่อลื่นและ
ช่วยขับปัสสาวะ ก้านใบ มีสรรพคุณแก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้พรรดึก ลดไข้ ใบและผล ขยี้ทาบริเวณ
ที่ถูกแมลงกัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้  เมื่อทาแล้วจะช่วยบรรเทาอาการ และทำให้รู้สึกเย็นขึ้น

(ข้อมูลประโยชน์ทางยาและภาพประกอบ จาก  เวบไซท์ศูนย์วิจัยพุทธอรัญญเกษตร )



  หน้าแรก                                     หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้               หน้าถัดไป    

 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 
 


 

  

Free Web Hosting