เกริ่นนำ   ความเป็นมาของเวบไซท์
 
 

เกริ่นนำ    ความเป็นมาของเวบไซท์
 

สืบเนื่องจาก ผมเป็นชาวปักษ์ใต้คนหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางออกจากพื้นที่บ้าน
เกิดไปเป็นเวลายาวนาน
ที่สุดก็ได้หวนกลับสู่ถิ่นเกิดอีกครั้ง  เมื่อวัยล่วง
เลยกึ่งศตวรรษ
การคืนสู่ถิ่นเก่าครั้งนี้ผมมีความรู้สึกที่แปลกแยกที่ไม่สา
มารถประสานสัมพันธ์กับชุมชน
เดิมได้ ทั้งนี้มิใช่ว่าจะเป็นคนที่ทันสมัยจนสื่อสาร
กับลูกหลานไม่ได้ หากกลับกลายเป็น
ว่า
ลูกหลานไม่เข้าใจเรื่องเก่าๆภาษา
เก่าๆ  นั้นคือ สังคมปักษ์ใต้บางพื้นที่ ( โดยเฉพาะ
ที่บ้านเกิดของผมเอง
) ได้กลายเป็นสังคม ที่ลืมอดีต ลืมภาษาของคนรุ่นก่อน

ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือเด็กรุ่นนี้จะไม่รู้จักกิน "ลูกมเหร ,  ลูกโทะ” ไม่รู้จัก" ลำเท็ง”
ไม่รู้จักต้นไม้ข้างบ้าน
ไม่เคยเข้า“ป่ากัน” ริมทุ่งสถานที่ ที่คนรุ่นพ่อรุ่นลุงเคยใช้เป็นที่
วิ่งเล่นกันในอดีต 
 หากแต่เด็กรุ่นนี้ กลับรู้จักพันธุ์ไม้ที่อยู่ห่างไกลออกไปเป็นพันกิโล
เมตร  เช่นจะรู้จักลูกสตรอเบอรี่ จนสามารถอธิบายถึงรสชาติและรูปลักษณะได้อย่าง
ชัดเจน

ในเรื่องภาษา เด็กใต้รุ่นปัจจุบัน จะพูดภาษาปักษ์ใต้ผสมภาษาไทยกรุงเทพฯ ปนเปกัน
มีการใช้ศัพท์ภาษาถิ่นใต้สำเนียงภาษากรุงเทพฯ หรือศัพท์ภาษากรุงเทพฯ สำเนียงใต้
และประการสำคัญ ที่น่าจะมีผลกระทบต่อภาษาไทย
ถิ่นใต้ในอนาคต นั้นคือครอบครัว
คนใต้รุ่นใหม่ มักสอนให้ลูกพูดภาษาไทยกรุงเทพ เป็นภาษาแรก แต่ภาษาปักษ์ใต้ให้
เรียนรู้เอาเองจากชุมชน
   ผลที่ได้คือ   หนังสือบุดของทวดบนหิ้ง  หนังสือลายลักษณ์
ของปักษ์ใต้ รวมทั้งหนังตลุง โนรา กำลังกลายเป็นของเก่าๆที่เด็กปักษ์ใต้เองไม่เข้าใจ
"ไม่รู้เรื่อง"  (ซ้ำร้าย
"คุณตาคุณยาย"ทั้งหลายที่พอจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรุ่นเก่ากับ
รุ่นใหม่
   ก็กลับเห็นดีเห็นงาม  ที่จะให้ลูกหลานพูดบางกอก ไปด้วย) 

จากเรื่องราวมูลเหตุที่กล่าวม ผมจึงได้เกิดแนวคิดที่จะรวบรวมเรื่องราวในอดีตนำเสนอ
ในรูปแบบใหม่  นั้นคือจะลองสร้าง
“ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด” ยุค IT  เพื่อเสนอตัวอย่างใน
อดีต 
 
โดยจะขอนำเสนอพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งที่กินเป็นผักและกินเป็นยา เป็นประการ
แรก   และประการที่ 2 จะนำเสนอเรื่องราว ว่าด้วยภาษาไทยปักษ์ใต้ทั้งที่ได้จากตำรา
เก่าๆและถ้อยคำภาษาที่คนรุ่นก่อนพูดกันมาเสนอ ณ ที่นี่  ทั้งนี้
“ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด”
จะขอใช้มุมมองของสามัญชนคนชายขอบและรูปแบบที่เรียบง่าย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า    ตัวอย่าง และสาระเล็กๆน้อยๆจากชนบทชายแดนใต้นี้   คงจะเป็น
ประโยชน์แก่ผู้เยี่ยมชมขนำและพอจะเป็นบันทึกช่วยจำให้แก่เด็กใต้รุ่นหลังได้มีสายใย
ที่จะเชื่อมโยงไปยังอดีตของสังคมชายแดนใต้ได้บ้าง


อย่างไรก็ตาม  คนโบราณขอยืนยันเป็นเบื้องต้นว่า  วัตถุประสงค์ของเวบไซท์นี้  ไม่ได้
ต้องการให้ คนไทยถิ่นใต้  หวนกลับไปอยู่กับอดีตที่ผ่านเลยไปแล้ว   เราทุกคนจะต้อง
เดินไปข้างหน้า เด็กใต้รุ่นใหม่ต้องไปไกลกว่ารุ่นพ่อรุ่นพ่อเฒ่า เด็กใต้รุ่นลูกรุ่นหลานจะ
ต้องก้าวข้ามขีดจำกัดไปสู่ความเป็นสากล  แต่ต้องไม่ลืมหัวโค่ตายาย หรือโคตรเหง้า
ของตนเอง
...

นี่คือความหวังของ  คนโบราณ แห่ง
ทุ่งปลักเหม็ด

คนโบราณ


หมายเหตุ

ทุ่งปลักเหม็ด -ในที่นี้ คือ ทุ่งนาและป่ากันในพื้นที่รอยต่อของตำบลควนลังและตำบล
ทุ่งลาน
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเมื่อ 40 ปีก่อน   ปัจจุบันได้หมดสภาพความเป็น
ทุ่งนากลายเป็น เขตหวงห้ามของสนามบินหาดใหญ่
  บางส่วนเป็นที่ตั้งของกองบิน 56
บางส่วนอยู่ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง และบางส่วน
อยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัด
สงขลา พื้นที่ส่วนหนึ่งของ
ทุ่งปลักเหม็ดได้แปรสภาพกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่มีผู้คน
อยู่อาศัยมากหน้าหลายตา
......

"ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด" ณ ที่นี้ จึงเป็นบันทึกของอดีต "เด็กแลวัว" แห่งทุ่งปลักเหม็ดคน
หนึ่ง ที่ยังคงใช้
ขนำริมทุ่งฯ( จากเศษเสี้ยวแห่งความทรงจำ )  เป็นที่พักพิง....จดบันทึก
เรื่องราวพื้นๆ เก่าๆ ไว้    โดยหวังว่า
 คงจะเป็นประโยชน์แก่  ผู้ที่ผ่านทางมาแวะเวียนที่
ขนำฯ
 ได้บ้าง และจะดีใจเป็นอย่างยิ่ง หากผู้เยี่ยมชมเป็นเด็กใต้รุ่นหลัง รุ่นลูกรุ่นหลาน
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย
ที่คนโบราณได้คาดหวังไว้....


หัวข้อ ที่ขอแนะนำให้อ่านก่อน เพื่อความเข้าใจร่วมกัน
  เกี่ยวกับผู้จัดทำเวบไซท์ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
   หมายเหตุของคนเฝ้าขนำริมทุ่งปลักเหม็ด



     กลับไปหน้าแรก 

 
  ปรับแต่งข้อความเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 

 

 “  อยากให้คนสงขลาอนุรักษ์ และพูดภาษาถิ่น
ของสงขลาควบคู่กันไปด้วยเนื่องจากปัจจุบันชาว
สงขลาไม่ค่อยนึกถึงเสน่ห์ของภาษาถิ่นที่มีอยู่ใน
ตัว  ทั้งที่ภาษาถิ่นของชาวสงขลา เป็นภาษาที่มี
เสน่ห์และควรนำเสน่ห์ของภาษาถิ่นมาเป็นตัวดึง
ดูดให้คนทั่วไป รักสงขลาด้วย
”

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
และรัฐบุรุษ
 ในพิธีเปิดโครงการ ” เรารักสงขลา
เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
ครบ
7 ”  ณ  ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราช
สมบัติ ครบ
60 ปี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เมื่อ วันที่
7 กันยายน 2554

 


  
"หัวแอกหัวไถ"


 Nephrolepis biserrata Schott
วงศ์  OLEANDRACEAE

"หัวแอกหัวไถ"    เป็นพืชตระกูลเฟิร์น ขึ้นตาม
ขอบไร่ปลายนา
ที่มีความชุ่มชื้น  ใบเป็นใบแบบ
ขนนก
 ใบอ่อนขดม้วนแบบก้นหอยเช่นเดียวกับ
ผักกูด ก้านใบแก่เต็มที่สูงประมาณ
1.5 -2 เมตร
ใบย่อยยาว
  ประมาณ 18-20 ซม.  กว้าง 3 ซม.
ยอดและใบอ่อน
ใช้เป็นผักแกง  ถือเป็นกับข้าว
กินแก้ไข้หัวลม
  หรือไข้เนื่องจากอากาศเปลี่ยน
แปลงปัจจุบันมักจะใช้ในการตกแต่งสวน

(เข้าไปดู หัวแอกหัวไถ
และพันธุ์ไม้อื่นๆ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting