คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  ล )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ล    )


ลก แล็ก, ล๊อกแล๊ก (ว.  (พูด)ไม่ชัดเจน เชื่อถือไมได้, กลับกลอก
        
" หลวงไข่เป็นคน ลกแล็ก แหลงไหร   หกทั้งเพ "  -  หลวงไข่เป็นคนที่เชื่อไม่
       ได้  พูดอะไรแล้ว เป็นเรื่องโกหกทั้งนั้น 

ลก ลัก (ออกเสียงเป็น  หลก-หลัก ) (ว. เร่งรีบลนลาน
         
" ลกลัก ไป
ไหน เล่า ? "  จะรีบไปไหน ?  
        ทางนครศรีธรรมราช จะใช้ว่า ลก ลก  (ออกเสียงเป็น  หลก หลก)

ลด    (ออกเสียงเป็น  หลด) (ก.)  ตอน(ทำให้สืบพันธ์ไม่ได้ )
         
" อ้วนเหมือน ฮัว ลด "  -  อ้วนเหมือนงัว(วัว)ตอน

ลอมข้าว  (น.)เลียงข้าวที่นำมาเก็บในห้องข้าว(ยุ้งข้าว)กองซ้อนกันเป็นรูปวงกลมสูง
         ขึ้นไปเรื่อยๆโดยจะหัน "หัวเลียง" ไปข้างใน  เลียงข้าวบนสุดจะมีอยู่เพียง 1
         เลียง

ล่อ     1.  (ก.)  ล่อ หลอกล่อ
         2. 
(ว.) ที่โผล่ออกมา,  ถลนออกมาจากตำแหน่งเดิม
      
" ตาล่อเหมือนหมาครก เห็ง " - ตาถลนเหมือนหมาที่โดนครกทับ
      
" เห็นเบี้ยคนอื่นแล้วตาล่อ"- เห็นเงินของคนอื่นแล้วตาถลน(อยากได้ของคนอื่น)
  
     " ม่วงเล็ดล่อ " - มะม่วงหิมพานต์ ( มะม่วงที่เมล็ดโผล่ออกมาอยู่ข้างนอก)

ละไม (น.) พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับ มะไฟ

ลังทัง  (ว.)  (แม่ไก่)ที่ไข่ไม่เป็นที่  ( มักเกิดจาก คนไปเก็บไข่ จึงต้องย้ายที่วางไข่
         ไปเรื่อยๆ )   บางครั้งอาจใช้คำนี้เปรียบเปรย คนที่ขึ้หงุดหงิด แขวะคนโน้น
          แขวะคนนี้  

ลังทังไก่ ลังตัง  (น.) ต้นตำแย

ลังที,  หลั่งที (ว.) ลางที, บางครั้ง, บางที
          
" ครูเหิม บ้านม่วงค่อม  แกขี้เรียด อิตาย   แต่ ลังที กะใจกว้างเหมือนกัน
          ถ้าแม่หม้าย ขอเบี้ย"
  =   ครูเหิม บ้านม่วงค่อม แกเป็นคนขี้เหนียวจะตาย
          แต่ บางครั้งบางที ก็ใจกว้างเหมือนกัน
 ถ้าแม่หม้าย ขอตังค์"

ลา  1.(ก.) ละเลง, ทา 
      2.
 
(น.) ชื่อขนมชนิดหนึ่งที่ชาวปักษ์ใต้ ใช้ในพิธีงานบุญเดือนสิบ มีลักษณะคล้าย
      เสื้อผ้า (แป้งทอดบางๆ เป็นผืนใหญ่)  เปรียบเหมือนกับการส่งเสื้ออาภรณ์ไปให้
      แก่บรรพบุรุษ  ปู่ยาตายายที่ล่วงลับไปแล้ว    โดยเฉพาะ "ตายาย"  ที่ตกอยู่ใน
      อบายภูมิ  ขาดเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย ได้สวมใส่ กันร้อนหนาว

ลาต้า (ว.)  บ้าจี้  (คนที่)ตกใจแล้วจะพูดซ้ำๆ หรือใครสั่งให้ทำอะไรก็ทำ
         (  ปี 2549 มีเพลงวัยรุ่นปักษ์ใต้ ใช้ชื่อเพลงว่า
หัวใจลาต้า  คงมีความหมายว่า
         เป็นหัวใจที่ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำอะไรซ้ำๆ เหมือนคนที่ลาต้า นั้นเอง )

ลากโหม่หญิง (ก. ฉุดผู้หญิง ( ตามธรรมเนียมถิ่นใต้โบราณ เมื่อชายหนุ่มหลงรัก
         สาวแต่หญิงสาวไม่ยินยอมไม่รับรัก ฝ่ายชายก็มักจะใช้วิธีฉุด แล้วค่อยขอขมา
         ทีหลัง )

ลากพระ, ชักพระ (.)ประเพณีสำคัญของชาวไทยถิ่นใต้จะทำกันในวันออกพรรษา
         คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑   โดยตกลงนัดหมายกัน ลาก"เรือพระ”ออกจากวัด
        ไปยังจุดศูนย์รวม/จุดนัดพบ     ในสมัยก่อนจะพัก “เรือพระ” ค้างคืนไว้ 1 คืน
        วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑  จึงลาก"เรือพระ”กลับวัด
   ( ปัจจุบัน บางวัดจะ
        รวบรัด  ลาก"เรือพระ”ออกจากวัด และกลับวัด ในวันเดียว )

ลาย  (ก.  รื้อ  ทำลาย
        
"
จะลายบ้าน  จะรื้อบ้าน

ล่ายฮัว   (ก.) นำวัวไปกินน้ำ และย้ายที่ล่าม   ( ปกติในชนบทปักษ์ใต้ มักจะล่ามวัว
        ให้กินหญ้าไว้เฉพาะบริเวณ เมื่อหญ้าหมดหรือถึงเวลาเที่ยง จะต้องย้ายวัวไปกิน
       
น้ำ และนำล่ามไว้ในที่ร่มที่แดดไม่จัด  หรือถ้าไม่มีแดด ก็ย้ายวัวไปล่ามที่อื่นที
        พอมีหญ้าให้วัวกิน)
        
           
" ไอ้บ่าว เที่ยงแล้ว ไปล่ายฮัวก่อน แล้วหลบมากินข้าวพร้อมพ่อ "
        ความหมายของประโยคนี้คือ  "ไอ้หนู เที่ยงแล้ว ไปเอาวัวกินน้ำและย้ายที่ล่าม
        ก่อน  เสร็จแล้วกลับมากินข้าว พร้อมพ่อนะ"

ลายเคง  (ก.) รื้อ, ทำลาย งานที่เพิ่งเริ่มวางรากฐาน จนงานนั้นต้องล้มเลิก
        
 
         คำนี้ความหมายเดิมคือ เวลาที่ปลากัด ปลากริม ทำเคง  หรือก่อหวอด เพื่อจะ
         วางไข่แต่ถูกปลาตัวอื่นก่อกวน จนหวอดที่ก่อไว้แตก วางไข่ไม่ได้   ในอีก
         ความหมาย  เคง หมายถึง จอมปลวกเล็กๆที่อยู่ตามทุ่ง ป่าเสม็ด ป่าพรุ หรือรัง
         ปลวกเล็กๆที่เกาะอยู่ตามต้นมะพร้าว หรือ ต้นไม้ใหญ่   เรียกว่า หัวเคง  ก็ได้

         " ว่าอิตั้งวงกินเหล้าให้หรอยสักคืน   แต่กะสูญ  ถูกหลวงไข่ ลายเคง ตั้งแต่
           หัวค่ำ ทั้ง นายบ้าน
,  ทั้ง อบต. ฉูดไปคนทิศคนทาง " 

         
 ความหมายของประโยคนี้ คือ
          
ว่าจะตั้งวงกินเหล้าให้สนุกสักคืน แต่ก็ต้องเลิกเพราะถูกพี่ไข่ (น้าไข่)  รื้อวง
          
ตั้งแต่หัวค่ำ  ทั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง อบต.(ที่นั่งอยู่ในวง) ต้องแตกกระเจิงไปคน
           ละทิศ คนละทาง

ลายมาย , รายมาย    (ว.)    (การพูดจา) ลามปาม

ล่าว  (ว.)  อีก,  ทำซ้ำในสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว ตัวอย่างเช่น
          
" พี่ อิ ไปแล หนังอิ่มเท่ง ล่าว ม้าย"    -   พี่ จะไปดูหนังอิ่มเท่งอีกมั้ย
          
" บ่าวไขหลับแล้ว ล่าว " - บ่าวไข หรือพี่ไข่ (ที่เพิ่งตื่นนอน)หลับต่ออีกแล้ว

ลิด   (ออกเสียงเป็น  หลิด)(ก.)ปอกเปลือกผลไม้ที่เปลือกติดแน่น เช่น ปอกมะพร้าว
        หรือมะม่วง ก็จะใช้  ลิดพร้าว  ลิดโลกม่วง แต่ถ้าปอกผลไม้ที่เปลือกหลุดง่ายก็
        จะใช้คำว่า ปอก เช่น  ปอกกล้วย

ลิว    (ก.)   ขว้างปา
     
    
 
ข้อสังเกต : คำว่า ลิว  คนสงขลาใช้ในความหมาย ขว้างปา  แต่ คนลานกระบือ
      จังหวัดกำแพงเพชร   ใช้ในความหมาย    โยน  หรือ เหวี่ยง
      ข้อมูลอ้างอิง
: เวบไซท์ รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม โดยนายสันติ อภัยราช

ลุกขี้ (น.) ก้นของภาชนะใส่ของ เช่น
        ลุกขี้หม้อ  -  ก้นหม้อ
       
ลุกขี้ตุ่ม    -  ก้นตุ่ม
        พอลายลุกขี้    -  มีน้อยนิดพอจะละลายปิดก้นหม้อ (หรือก้นกะทะ)
       
 ตั้งลุกขี้     การริเริ่มเพื่อให้ผู้อื่นสานต่องาน ( คำนี้มาจากการสานตะกร้าจะ
        ต้องตั้งลุกขี้ หรือขึ้นโครงก่อนโดยจะเริ่มจากก้นของตะกร้า  เมื่อตั้งลุกขี้แล้ว
        เด็กๆ ก็สามารถสานต่อได้

ลุ้น    (ว.)  สั้น
      
" ไก่หางลุ้น "   - ไก่หางสั้น

ลุ้นตุ้น  (ว.)  สั้น,   กลม,   ป้อม,   กระปุกลุก
      
" อีสาวนุ้ย ตัวสั้นลุ้นตุ้น " - น้องสาวคนเล็ก รูปร่างสั้นกระปุกลุก

ลุย  1. (ก.)  บุกไปข้างหน้า  (ตรงกับความหมายทั่วไปในภาษาไทย)
      
2. (ว.)   มากมาย,   เยอะแยะ
    
 
" เหลือตั้งลุย " - เหลือตั้งเยอะแยะ
    
 " คนที่รักกะมาก คนที่เกลียดกะลุย " - คนที่รักก็มาก คนที่เกลียดก็เยอะ

      ในภาษาไทยถิ่นใต้ คำที่ใช้ในความหมาย  " มากมาย,  เยอะแยะ, จำนวนมาก"
      มีอีกหลายคำ เช่น  
กองลุย,   ราสา,  จ้าน,  จังหู ,   เจ็กๆ,    เตร็กๆ,   โข
     
และ  ก่ะหรัด (ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจะเห )

ลุ่ย   (ก.)   หลุด  
       " อีสาว นุ่งผ้าถุงให้ดี  ผ้าถุง
ลุ่ย กลางหลาด  ได้อายคนแหละ "
         อีหนู นุ่งผ้าถุงให้ดี  ผ้าถุงหลุดกลางตลาด  ได้อายคนแหละ "

ลูกรวก (ออกเสียงเป็น - โหลก หรวก)(น.) ลูกอ๊อด(ของกบ เขียด)

 


หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา         ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม           ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน       บ.    =     บุรพบท          อ.    =    อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .    =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด   ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา สำเนียงคลองหอยโข่ง 
เป็นต้นแบบ
โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้
ในจังหวัดอื่นๆ  มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ

คำในภาษาสงขลาหลายคำมาจากภาษามลายู ดังนั้นกรุณาเปรียบเทียบกับภาษา
มลายู เพื่อจะได้ทราบที่มาที่ไป  
( เข้าไปที่ ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ )


     กลับไปหน้าแรก                               หน้าถัดไป  (หมวด ล) หน้าที่ 2   

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 




ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปเจ้าเมืองยักษ์ (ยักษ์หน้าเขียว)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting