คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                            ม              ห     

าษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด    ก )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -    )


กกๆ  (ออกเสียงเป็น ก็อกๆ)  (ว. มาก ๆ,  ไม่เหลืออะไรเลย
         คำว่า กกๆ นี้ เป็นคำที่ใช้เน้นความหมายเฉพาะคือ ใช้กับ  แก่ , แห้ง  ตัวอย่าง
         เช่น     
" แก่ กกๆ "  - แก่มากๆ
                   
" น้ำแห้ง กกๆ "  -  น้ำแห้งมากๆ ( แห้งไม่เหลือเลย)
      (กรุณาเปรียบเทียบกับคำว่า " แห้ง แผ็กๆ " - แห้งมากๆ  แห้งหมดและแข็งด้วย)

กง  (สำนียงใต้ออกเสียงเป็น ก๋ง)  (น.)   จงโคร่ง, คางคกไฟ : คางคกพันธุ์ใหญ่  สี
      น้ำตาลหม่น
นถึงสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 10 -12 นิ้ว กว้าง 5 -8 นิ้ว สูงประมาณ
     
4 -5.5 นิ้ว มีขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าจะสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้าจะมี 4 นิ้ว ระหว่างนิ้ว
      เท้าจะมีพังผืดเป็นแผ่นคล้ายตีนเป็ด นิ้วกลางจะยาวมากว่านิ้วอื่น ๆ
กงมักอาศัย
     
อยู่ตามริมป่าริมเขาที่มีสายน้ำไหลผ่าน ตุ่มที่หนังของกงมีพิษ ในสมัก่อนใช้
     
หนักง ตากแห้ง เป็นส่วนผสมในยาพิษ

      

       
ชาวไทยถิ่นใต้ มีความเชื่อว่า  กง เป็นสัตว์แห่งโชคลาภ  หากกงขึ้นบ้านใครแล้ว
       เจ้าของบ้านจะมีโชคลาภอยู่เสมอแต่เมื่อมีการเจ็บป่วยขึ้นภายในบ้านหรือมีเรื่อง
       ไม่ดีภายในบ้านกงจะไม่อยู่ในบ้านนั้นอีก  ดังนั้น ถ้ากงเข้าไปในบ้านใครเจ้าของ
       บ้านจะจับกงอาบน้ำทาแป้งให้  พร้อมทั้งจัดอ่างน้ำไว้ ใกล้ๆที่กงอยู่ เพื่อให้กงได้
       เล่นน้ำ

กรวม   (ว.)  คร่อม     เช่น  นั่งกรวม  (นั่งคร่อม)
       
 
" สาวๆ นุ่งกระโปรง เวลาซ้อนท้ายรถเครื่องอย่านั่งกรวม มันน่าเกลียด แต่ถ้า
         ให้ดีนุ่งกาง
เกง  แล้วนั่งกรวมไปเลย ปลอดภัยดี "

กล็อกแกล็ก   (น.)   การพนันชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มไฮโล  ต่างกันตรงที่ลูกเต๋าของ
        กล็อกแกล็ก
จะมีขนาดใหญ่กว่า
ลูกเต๋าของไฮโลมาก กล่าวได้ว่าเจ้ามือไฮโล
        เพียง
แค่เขย่าแต่ถ้าเป็นเจ้ามือ
กล็อกแกล็กจำเป็นจะต้อง "ฝัด"เท่านั้น สำเนียง
       ไทยถิ่นใต้(สงขลา) เรียกว่า
"ขวัดกล็อกแกล็ก"

       (
ในภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียงดั้งเดิม จะไม่มีเสียง ฝ. แต่จะใช้เสียง ขวฺ. แทน
       ฝัด จึงกลายเป็น ขวัด   ตัวอย่างคำไทยถิ่นใต้ที่ออกเสียง ขวฺ. และ ควฺ )

กรั้ง,  ปลากรั้ง  (น.)  ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง คล้ายปลาช่อนแต่ตัวเล็กกว่า มีสีคล้ำ
       
สำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา) เรียกว่า "โหลก กรั้ง"(ลูกกรั้ง)

กราด   (ว.)  ล็ก แคระแกร็น (มักใช้กับต้นไม้)

กริบตา (ก.) กระพริบตา 
          ( เปรียบเทียบกับภาษามลายูจะใช้คำว่า
kalip ในความหมายเดียวกัน )

กรี     (น.)  อุปกรณ์ที่ใช้ในการดายหญ้า เป็นมีดงอ ด้ามสั้น สันและคมมีดหักมุมได้
          ฉากกับด้าม เวลาดายหญ้า  จะต้องนั่งย่องๆ แล้วใช้ 
กรี  ดึงต้นหญ้า กอหญ้า
          เข้าหาตัว

กรด  (ว.) ักษณะนิสัยของผู้หญิงที่จัดจ้าน, ดื้อรั้น, ไม่ยอมคน  
            
" อีสาวเขียว เด็กบ้านตีน...   กรด อิตาย  กรด จน ม้ายใครหาญจีบ"
        
 สาวเขียว เด็กบ้านเหนือ..จัดจ้าน จะตาย  ไม่ยอมใคร  จนไม่มีใครกล้าจีบ

        บ้างครั้ง คำๆนี้ ญาติผู้ใหญ่ จะใช้สัพยอก ลูกสาว หรือ หลานสาวตัวเล็กๆ ด้วย
        ความรักเอ็นดู ก็ได้   ( แต่จะใช้ได้ ก็เฉพาะ ในกลุ่มญาติที่ใกล้ชิดกันเท่านั้น
        หากเป็นบุคคลภายนอก จะถือเป็นคำด่า )

กล้วยหลา (น.) มะละกอ (ตรงกับคำในภาษาไทยเจ๊ะเห ซึ่งเรียก มะละกอ ว่า กล้วย
      หลา
เช่นกัน)     ในอดีต คนไทยถิ่นใต้ ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง และอำเภอ
      สะเดา จังหวัดสงขลา  จะเรียกมะละกอ ว่า กล้วยหลา  
ปัจจุบัน คำว่า กล้วยหลา
      นี้ได้เลือนหายไป คงเรียกมะละกอว่า ลอกอ เช่นเดียวกันกับคนไทยถิ่นใต้ทั่วไป
      (คนที่ยังใช้คำว่า กล้วยหลา  จึงคงเหลือเฉพาะผู้สูงอายุ
60-70 ีขึ้นไป เท่านั้น)

                      กล้วยหลา ( ของคนคลองหอยโข่ง ในอดีต )

     มายเหตุ - คำในภาษาไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง สงขลา) ใช้เรียก มะละกอ มี
     อยู่
3 คำ คือ
          
1. แตงต้น  คำนี้ ใช้เรียกมะละกอพื้นเมืองดั่งเดิม ที่ลำต้นสูง ผลมีขนาดเล็ก
          
2. กล้วยหลา
 (ตรงกับคำในภาษาไทยเจ๊ะเห  ซึ่งใช้เรียกมะละกอ เช่นกัน)
          
3. ลอกอ  เป็นคำที่ใช้เรียก มะละกอ ในภาษาไทยถิ่นใต้ ทั่วไป

กล้า   (น.) พันธุ์ไม้ที่เพาะไว้เพื่อนำไปปลูกที่อื่น 
        
(ก.) ไม่กล้ว   ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำนี้ใน ความหมาย   สู้งาน, ขยัน
     
" ลูกสาวบ้านนี้ กล้าจัง ทำงานทั้งวัน ไม่หยุดเลย" = ลูกสาวบ้านนี้เป็นคนขยัน

กลัก   (น.) ภาชนะที่ทําเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ หรือมีฝา
       ปิด
สําหรับใช้บรรจุ ของเล็ก ๆ น้อย ๆ    เช่น   กลักไม้ขีดไฟ

กว้าน (น.) เรือนชั้นเดยวแบบจีน  มีประตูหน้ากว้าง

กวายหลาย (ว.)ลักษณะอาการของคนที่พยายามไขว่คว้าหาสิ่งยึดเหนี่ยว เพื่อช่วย
         เหลือตัวเองให้พ้นภัย
         
" แรกวา เห็นเณรไข เมาเหล้าเดินพลัดลงในคู   นอนกวายหลาย หย๋ใน
        
ป่าบอน ไม่มีใครช่วยเณรไข เลย "

กองลุย,  กองเอ  (ว.มากมายก่ายกอง, มีมากเหลือเกิน
         (ในภาษาสงขลามักจะใช้
คำว่า กองลุย  มากกว่าแต่ถ้าใชัคำว่า กองเอ ก็เป็น
         ที่เข้าใจ)

ก๋อง,  หลังก๋อง  (น.)  หลังค่อม,  หลังโก่ง

ก๋องแหม็ง  (ว.)  (ทำงาน) หักโหมไม่หยุดพัก

ก็องโท้   (ว.)  เที่ยงตรง  ซื่อสัตย์ ไม่ฉ้อโกง   คำนี้มักใช้ในวงการพนัน เช่น
        
"จะหาเจ้ามือปอ ที่เล่น ก็องโท้ ได้ที่ไหนละ"
              ปอ 
โป (การพนันชนิดหนึ่ง)

ก็องสี้  (น.) (มาจากภาษาจีน ) ที่พักของคนงานในสวนยาง เป็นอาคารชั้นเดียว
          ติดดิน และมีคนงานพักรวมกันหลายคน หรืออาจจะหลายครอบครัวก็ได้

กะ   (ส.)  ก็ 
        
" ฉาน กะ ไป "   =   ฉันก็ไป

กะเบอะ เบอะ,  กะเมอะ,  เมอะ    (ส.)   ก็,   ก็เพราะว่า
       คำนี้ใช้มากในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา
- หาดใหญ่, คลองหอยโข่ง)
 
       กะเบอะ,
 เบอะ
จะวางไว้หน้า หรือหลังคำที่ต้องการเน้น ก็ได้  ตัวอย่างเช่น 
         
" กะเบอะ มึงเสือกเอง "  ก็มึงเสือกหาเรื่องเอง
          " มึงเสือกเอง เบอะ " 
=  ก็เพราะมึงเสือกเอง

         
" เบอะ พี่หลวงซื้อแล้ว แรกวา  แล้วซื้อไส่ หล่าว  ก็พี่ซื้อแล้วเมื่อวาน
            แล้วซื้อทำไมอีก
 

  ข้อสังเกต  คำว่า กะเบอะ ของภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา - หาดใหญ่, คลองหอย
      โข่ง
) จะตรงกับ 
กะเบอะ, ก้อบ เบอะ นภาษาไทใหญ่  ( แม่ฮ่องสอน, รัฐฉาน
      พม่า) ในความหมายเดียว คือ 
ก็,  ก็เพราะว่า    ( สนใจเรียนรู้ ภาษาไทใหญ่
      เชิญเข้าไปดูได้ที่ เวปไซท์
BlogGang.Com :
นายช่างปลูกเรือน)
 


กัน 
   1. (ว.) ด้วย      " ไปกัน "  ไปด้วย
         2. 
(ก.)  กัน  กีดกัน  กันผม (ความหมายเดียวกันกับภาษากรุงเทพ)
        
3.
(ก.)   บั้ง (ปลา) 
            
" กันปลา "  บั้งปลา
         4. 
(น.)  กัน  ลักษณะของป่าไม้ เรียกว่า ป่ากัน เป็นป่าละเมาะเกิดจากการทำ
        ไร่แบบเลื่อนลอย แล้วปล่อยทิ้งไว้ จนมีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อมๆ

กันชง, กันชุง   (น.) คำในภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้เรียกเชือที่ผูกกับตัวว่าวจากส่วนหัว
        ว่าวไปยังส่วนหางว่าว   เชือก
กันชง(กันชุง)  นี้ จะผูกต่อไว้กับเชือกว่าวที่เราใช้
        ชักให้ว่าวขึ้น "ลอยติดลม" เมื่อชักว่าวขึ้นแล้ว เชือกกันชงนี้จะทำมุมเป็นรูปสาม
        เหลี่ยม โดยฐานของรูปสามเหลี่ยมจะเป็นตัวว่าว ยอดสามเหลี่ยมคือจุดที่เชือก
        ว่าวผูกไว้กับเชือกกันชง

กางหลาง   (ว.) เกเร  ทำอะไรที่ค่อนข้างขวางหูขวางตา
            ( ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า กวนตีน )

กาหลอ  (น.)ชื่อของการแสดงดนตรีที่ใช้ประโคมในงานศพตามประเพณีปักษ์ใต้ 
         เชื่อ
กัน
ว่าคำว่า กาหลอ มาจากพระกาฬ หมายถึง พระอิศวรเทพแห่งความตาย
         ซึ่งชาวไทยปักษ์ใต้เรียกว่า พระกาหลา คู่กับ พระกาหลี(เจ้าแม่กาลี พระชายา
         ของพระอิศวร)  และคำว่า กาหลา ตามสำเนียงมลายูท้องถิ่น จะออกเสียงเป็น
         กาหลอ เครื่องดนตรีที่เล่น ก็เป็นเครื่องดนตรีตามแบบมลายูโบราณ จึงเชื่อกัน
         ว่า ไทยปักษ์ใต้  น่าจะรับการแสดงกาหลอมาจากชวา/มลายู ในสมัยศรีวิชัย
         (ก่อนยุคศาสนาอิสลาม)

กาหลา  (น.) ชื่อของพันธุ์ไม้ตระกูลข่า  พืชท้องถิ่นชนิดหนึ่งของปักษ์ใต้ชื่อของพืช
        พันธุ์นี้ พ้องเสียงกับคำ พระกาหลา - พระกาฬ  ( พระอิศวรเทพแห่งความตาย)
      
 ในอดีตจึงไม่นิยมนำมาปลูกในบ้าน  และไม่นิยมนำดอกกาหลาไปบูชาพระ

          ( ปัจจุบันคนปักษ์ใต้น้อยคนที่จะรู้ความหมายของคำ กาหลาในอดีต ประกอบ
        กับ
กาหลา ได้ชื่อใหม่เป็นดาหลาจึงนิยมนำมาปลูกกันทั่วไป โดยเริ่มจากปลูก
        เป็น
ผักเหนาะ ช้ทานคู่กับขนมจีนหรือข้าวยำ     ต่อมา ก็ปลูกเป็นไม้ตัดดอก
        ขาย
ถือเป็นไม้ตัดดอกที่ทนทาน อยู่ได้หลายวัน  มีราคาดี )


กาหลา ( Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm.)

ก้าไหว  (น.) ชื่อการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งของเด็กๆในชนบทเขตคลองหอยโข่ง-สงขลา
         ที่ใช้ลูกบอลยาง( ขนาดลูกเทนนิส)  ทำด้วยลูกโป่ง พันด้วยยางพารา  วิธีเล่น
         จะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายใช้ลูกบอลขว้างไปมา  การขว้างจะมีท่าทาง และ
         วีธีขว้างแบบต่างๆ ลูกบอลที่ใช้ขว้าง เรียกว่า ลูกกาไหว   (กีฬาของเด็กชนิดนี้
         ชาวสวนยางจะไม่ค่อยชอบเนื่องจากเด็กๆมักจะเข้าไปขโมยลอกหน้ายางใน
         สวนยางพารา มาพันลูกบอล )

กาศ (ก.) อัญเชิญวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นศิริมงคล  หรือเพื่อช่วย
         ปกปักรักษา ในยามที่ประสบความทุกข์ยากและอันตราย   (กร่อนมาจากคำว่า
         ประกาศ)  เช่น    
"กาศครู"  หมายถึง การอัญเชิญวิญญาณของครูบาอาจารย์
         มาประจำ ณ โรงพิธี (โรงหนังตลุง โนรา ฯลฯ )    เพื่อเป็นศิริมงคลก่อนจะทำ
         การเล่น,      
"กาศตายาย" หมายถึง การอัญเชิญวิญญาณองบรรพบุรุษปู่ย่า
         ตายายเพื่อ ช่วยปกปักรักษาลูกหลาน
     หรือ อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่
         เรานับถือ เพื่อช่วยปกปักรักษา เช่น 
"กาศหลวงพ่อทวด", "กาศพ่อท่านคล้าย"

กำ (.)  อาการอักเสบที่เกิดจากดิน หรือสิ่งสกปรกติดในซอกเล็บ    คนไทยถิ่นใต้
        เรียกว่า
 " เล็บเป็นกำ "

กำชำ  (.)  มะหวด (พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง)


กำชำ
     ( ภาพจาก Internet )

 



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 
   เพื่อโปรดทราบ
 


      กลับไปหน้าแรก                                                        หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549        ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 16/10/2556
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 
 

หมายเหตุเบื้องต้น
ของ คนโบราณ ผู้รวบรวม/นำเสนอ
กรณีศึกษาภาษาสงขลา
(เพื่อความเข้าใจร่วมกัน)
 

 

ปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทยมาตรฐาน และเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)

1. ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ดั้งเดิมจะไม่มีเสียง ง.
    แต่จะใช้เสียง ฮ
.  แทน

2ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ดั่งเดิม  จะไม่มีเสียง ฝ,
    ฟ   แต่
จะใช้เสียง ขวฺ,  ควฺ   แทน
    ( ตัวอย่างการใช้เสียง ขวฺ  และ เสียง ควฺ )

3. ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)จะออกเสียง ญ. ( เสียง
  
 .นาสิกหรือเสียง ny ) ได้ชัดเจน  เราจึงสามารถ
    เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างเสียง ญ
. และ
    เสียง ย
. ในสำเนียงไทยถิ่นใต้  (คำว่า ย่า และ
    หญ้า ในสำเนียงไทยถิ่นใต้ จึงมีเสียงที่ต่างกัน)

4. กลุ่มพยัญชนะอักษรกลางในภาษาไทยภาคกลาง
    มีฐานเสียงเป็นเสียงสามัญ แต่ในภาษาไทยถิ่นใต้
    (สงขลา)จะออกเสียง เป็นเสียง จัตวา  
เช่น
          
ตาย   ออกเสียง เป็น  ต๋าย
          
กิน    จะออกเสียงเป็น  กิ๋น
           ไป    จะออกเสียงเป็น  ไป๋


5.  อักษรต่ำคำเป็นในภาษาไทยภาคกลาง  มีฐาน
     เสียงเป็นเสียงสามัญ แต่ในสำเนียงไทยถิ่นใต้
   
 
(สงขลา)จะเป็นเสียงสามัญเพี้ยน คือ เป็นเสียง
     สามัญที่มีหางเสียงเป็นเสียงโทเล็กน้อย
(ออก
     เสียงควบเป็นพยางค์เดียว) ตัวอย่างเช่น
    
        แพ  จะออกเสียงเป็น  แพ+แอ้
    
       คา 
ออกเสียงเป็น      คา+อ้า  
    
       ทราย
ออกเสียงเป็น ซาย+อ้าย

6. อักษรต่ำคำตาย ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)
   
จะมีฐานเสียงเป็นเสียงจัตวา  เช่น
           พลัด 
 จะออกเสียงเป็น ผลัด
           ซัด    
จะออกเสียงเป็น   สัด
           มด     จะออกเสียงเป็น หมด


7. อักษรสูงคำเป็น  ภาษาไทยภาคกลางมีฐานเสียง
    เป็นเสียงจัตวา  แต่ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)
    จะมีฐาน เสียงเป็นเสียงตรี   ตัวอย่างเช่น
      
     หัว    จะออกเสียง เป็น  ฮั้ว
            สอย   จะออกเสียงเป็น  ซ้อย

8. อักษรสูงคำตาย   สำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา)
  
จะมีฐานเสียงเป็นเสียงสามัญ  ตังอย่างเช่น
           สด    จะออกเสียงเป็น  ซด
           ขด    จะออกเสียงเป็น  คด


                          
  ฯลฯ

เพื่อรับทราบรายละเอียดความแตกต่าง ระหว่างเสียงภาษาไทยกรุงเทพกับสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้  เข้าไปอ่านได้ที่
  
 -  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา
  
 ภาษาสงขลา โดยสังเขป

หลายต่อหลายคำ ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)  มา จากคำภาษามลายู (โบราณ)   ดังนั้น เพื่อทราบที่มาที่ไปของคำ  เชิญเข้าไปอ่านได้ที่
   
ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้

 

 
 
 คำถามสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชม
ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด

    " ผี่ๆ หน่าๆ น่องๆ โหร่ซึก
  
แจ็บ แบ็ด ฮั้ว เมื้อน พ้ม ม้าย ขรับ "

     
พี่ๆ น้าๆ น้องๆ รู้สึกปวดหัวเหมือนผม มั้ยรับ ?

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting