คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                            ม             ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด    ค  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ค  )


คง    (.)   ข้าวโพด
        คนไทยถิ่นใต้ ตั้งแต่ชายแดนมาเลเซียจนถึงนครศรีธรรมราช  จะเรียกข้าวโพดว่า
        "คง"  
   (คำนี้ เลือนมาจากคำว่า
 jagong  ในภาษามลายู)

คด ขดแข็ด คดเค็ด  (ว.)    ลักษณะที่คดเคี้ยว วกไป วนมา
       
" แรกก่อน ทางขึ้นเขาพับผ้าไปจังหวดตรัง คด ขดแข็ด คดเค็ด" = เมื่อก่อน ทาง
        ขึ้นเขาพับผ้าไปจังหวัดตรัง คด วกวนมาก

ค่า  (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น ข่า )  1. (.)  ราคา
        
2.  (ว.)   สั้นยาว พอๆกัน,  เท่าๆกัน
       
" แลๆ แล้ว  ไอ้แคว็ด กับไอ้ไข่ นี่ มันค่ากันแหละ งานไม่ทำ ได้แต่พากย์เหมือน
         กันทั้งคู่ "      
ความหมายคือ      ดูๆ แล้ว  ทั้งไอ้แคว็ดกับไอ้ไข่ นี่  มันพอๆกัน
         แหละ งานการไม่ทำ ได้แต่พูด(อวดเก่ง) เหมือนกันทั้งสองคน

คนด้น  (.)  คนดุ ,  นักเลง

คลิง    (ก) คลึง, หมุนไปมาด้วยมือ

เคลียว  (ก)  บิดพันเป็นเกลียว
         
" เอาผ้าขะม้ามาชุบน้ำ แล้ว เคลียว ให้แน่น"
- เอาผ้าขาวม้ามาชุบน้ำ แล้วบิดพัน
           เป็นเกลียว ให้แน่น

ครอกแครก   (ว.) อาการคลื่นไส้ มักใช้กับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่แพ้ท้อง

คร็อม  1. (.) เพลี้ย 
         
" ปลูกถั่วคราวนี้ไม่ได้ผล  คร็อมลง ฝักถั่วหงิกหมดเลย "   =  ปลูกถั่วคราวนี้ไม่
         ได้ผลเพลี้ยลง ฝักถั่วหงิกหมดเลย
        
2. 
(ว.)  อาการหลงลืมของผู้สูงอายุ,  ความจำเสื่อม 
 
       
 " หวางนี้ หลวงไข่ คร็อมแล้ว แหลงไม่รู้เรื่องเลย "  =  เดี่ยวนี้ หลวงไข่ เป็นโรค
          ความจำเสื่อมเสียแล้ว พูดจาไม่รู้เรื่องเลย

คร่อม   (.)  กระดูกไหปลาร้า

ครัน   (ว.)  มาก
        
" น้องบวชได้ตั้ง 3 พรรษา แล้วสึก พี่ว่าดีครัน แล้วน้อง "
          น้องบวชได้ตั้ง 3 พรรษา แล้วสึก พี่ว่าดีมาก แล้วน้อง

ครูหมอตายาย(.)วิญญาณของครูบาอาจารย์และบรรพบุรษ บางครั้งจะใช้เพียง
        คำว่า
ตายาย ก็ได้    เช่น   " ไอ้บ่าวนุ้ย ไข้มาหลายวันแล้ว ไปโรงหมอหลายหน
        แล้ว กะไม่หาย พ่อเฒ่า
แกว่า หมันโถก ตายาย ทัก "
        ความหมายคือ ลูกชายคนเล็กเป็นไข้มาหลายวันไปโรงพยาบาลก็
หลายครั้งหลาย
        หนแล้ว ก็ไม่หายซักที พ่อเฒ่าแกบอกว่า วิญญาณปู่ย่าตายายทัก

       กรณีตายายทักเช่นนี้ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะมีความเห็นให้เล่น
โนราโรงครู แก้บนเสียลูก
       หลานที่เจ็บไข้ก็จะหาย

ครกเบือ (ออกเสียงเป็น  คร็อก เบือ ) (.) ครกประจำครัว ใช้ตำน้ำพริก ตำเครื่องแกง
       
สากเบือ  =  สากที่ใช้คู่กับ ครกเบือ

คลด,  ครด  (ออกเสียงเป็น  คล็อด,  คร็อด ) (ก.)   กัด แทะ อาหาร
         
" คลด คง "  =  กัดแทะข้าวโพด

ควน    (.)  เนินเขา,  เขาเตี้ยๆ

คอ    (.) 1.อวัยวะที่เชื่อมระหว่างหัวกับลำต้ว,   ส่วนคอดระหว่างหัวกับต้วของภาชนะ,
         ส่วนคอดของเส้นทาง    2. ผู้ช่วย, ผู้มีฐานะรองลงไป  ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้
         คำว่า 
คอวัด  ในความหมาย รองเจ้าอาวาส หรือ รองสมภารวัด   3. เพื่อนเกลอ,
         คนที่ชอบเหมือนกันหรือคุ้นเคยกัน  "
ไอ้คอ "   = ไอ้เพื่อนเกลอ  

คอม  (น.) ทหารกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
      ประเทศไทยที่เข้าไปอยู่ในเขตป่าเขาช่วงระหว่าง พ
.. 2509 - 2523 โดยเหตุผล
      ทางการเมือง

ค้อย   ( ออกเสียงเป็น ข่อย)   (ว.)  ด้วย    (คำนี้มีเฉพาะในภาษาสงขลา )
      
" ไป ค้อย ม้าย ? "  
=  ไปด้วยกันม๊ย ?
       
" ท่ามั้ง ไปค้อย "  =  รอหน่อย จะไปด้วย  

คั่น  (.)  ถ้า
     
"
คั่น ทำงานกล้า พันนี้   เรื่องเท่ หมัน อี้จน ไม่มีเด็ดขาด "
        ถ้าขยันทำงานอย่างนี้  เรื่องที่ จะจน ไม่มีเด็ดขาด

คั้น ( ออกเสียงเป็น  ขั่น) (ก)  ขวาง,  กั้น   ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้ในความหมาย
      เกะกะ  ขวางทางเดิน
     
" พี่นั่งตรงนี้ คั้นน้องม้าย "
= พี่นั่งตรงนี้จะเกะกะน้องมั้ย(น้องจะทำงานสะดวกมั้ย)

คำพรัด,  กำพรัด,  (.)การว่ากลอน หรือขับกลอนของโนรา ศิลปะประจำถิ่นใต้ หาก
        นำบทกลอนที่แต่งไว้ก่อนแล้วมาขับ จะเรียกว่า
"ว่าคำพรัด"  หรือ "ว่ากำพรัด"
        แต่หาก โนรา
มีปฏิญาณสามารถว่ากลอนที่เกี่ยวกับบุคคล สถานที่หรือเหตุการณ์
        เฉพาะหน้าได้เป็นกลอนสด จะเรียกว่า
"ว่ามุดโต"

คึง   ( ออกเสียงเป็น  คึ่ง)  (ว.)  (น้ำ)ที่ค้างอยู่  ยังคงอยู่  ยังขังอยู่
          
"ฝนตกหนัก จนบ่อข้างบ้าน มีน้ำ คึง อยู่เต็มบ่อ"

คุ่นคิ่น ( ออกเสียงเป็น ขุ่นขิ่น)  (ว.) เกือบหมด,  เกือบจะไม่พอ
        
"เดือนนี้ ฉาน ต้องเสียค่าเทอมให้ลูกชาย คุ่นคิ่น จัง "  ( คุ่นคิ่น ในประโยคนี้
         หมายถึง เกือบไม่มีเงินเหลือ )

คุบ,  คลุบ (ว.) ทันทีทันใด 
       
" คุบ หวิบ,  คลุบ หวิบ"   -  อารมณ์โกรธ ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด
       
" คุบ ยกขึ้น"  
-  ลุกขึ้นยืนทันที,  ลุกขึ้นอย่างเร็ว

คุมท่าววัน , คุมราววัน  (ว.)  จนถึงทุกวันนี้
        
" ฉานยังจำเรื่องนั้นได้ คุมท่าววัน " = ฉันยังจำเรื่องนั้นได้ จนถึงทุกวันนี้

คุจง,   คูจง  (น.) สัตว์จำพวกบ่าง แต่มีขนาดใหญ่
        ( พบมากตามป่าเขา แนวเขาบรรทัด ในเขต สตูล- พัทลุง-สงขลา)

คุรำ,   คูรำ   (.)   เลียงผา ( แพะภูเขา )

คูด, นกคูด (ออกเสียงเป็น ขูด, หนก-ขูด) (.) นกกระปูด  ชื่อสามัญ Lesser Coucal
      
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centropus touloue      นกคูด หรือ  นกกระปูด มีขนปีกสีน้ำตาล
       แดง อกสีดำ ตาสีแดง  ชอบวิ่งหากินกบ เขียด คางคก และสัตว์ตัวเล็ก ตามพื้นดิน
       อาศัยตามป่าโปร่ง 

      ( คนไทยถิ่นใต้ได้ยินเสียงร้องของนกชนิดนี้เป็น คูดๆๆ ในขณะที่คนไทยภาคกลาง
      ได้ยินเป็นเสียง ปูดๆๆๆ  จึงเป็นที่มาของชื่อ 
นกคูด , นกกระปูด )   

เคง   (.)  1.  หวอด หรือฟองน้ำที่แม่ปลาพ่น ลอยเป็นกลุ่ม ใช้เป็นที่วางไข่
        
2.
จอมปลวกเล็กๆ ที่อยู่ตามทุ่ง ป่าเสม็ด ป่าพรุ (สูงประมาณ 1-2 ฟุต) หรือรัง
        ปลวกเล็กๆที่เกาะอยู่ตามต้นมะพร้าว เรียกว่า
หัวเคง ก็ได้ 
        "
 ลายเคง "  = การ
รื้อหรือทำลายงานที่เพิ่งเริ่มวางรากฐานจนงานนั้นต้องล้มเลิก

เคย  (.) 1. กะปิ     "เคยกุ้ง" = กะปิกุ้ง      " เคยปลา " =   กะปิที่ทำจากปลา
         
2.  อวัยวะเพศหญิง (ของเด็กเท่านั้น ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว จะไม่ใช้คำนี้ )
          3.
 "แมงเคย" = แมงปอ    ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา-คลองหอยโข่ง)
         จะเรียก แมงปอ ว่า
แมงเคย      ผีเสื้อ จะเรียกว่า  แมงบี้

เคร่า  ( ออกเสียงเป็น  ขฺร่าว)(ก.)   รอคอย
         " เคร่า พี่มั้ง
"   =  รอพี่ด้วย
        
" พี่นั่ง เคร่า น้อง อยู่ที่หลาริมทาง " พี่นั่งคอยน้อง อยู่ที่ศาลาริมทาง

เคอะ   (ก.)    ทะลึ่ง, แสดงกริยาวาจา ที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้จักกาลเทศะ

เค้า   (น.)  ต้นเรื่อง,  กรอบ,  ขอบเขต
        คำนี้ภาษาไทยถิ่นใต้  มักใช้ในสำนวน

          
1. 
"ในเค้า"  จะใช้ในความหมาย ในเครือญาติ   เช่น
            
          ถาม  
" รู้จักหลวงไข่ คนนี้ม้าย ?
              
       ตอบ   " รู้จัก.. ในเค้าลุงใกล้เขา"  =  รู้จัก..เป็นเครือญาติของลุงใกล้
         
2. 
" ไม่เข้าเค้า "     = ไม่เข้าพวก ไม่เข้ากลุ่ม
              
" คนไม่เข้าเค้า "  = คนไม่เอาไหน

แค่     (ว.)   ใกล้  , เกือบ
        
" เหนื่อยแค่ตาย "        =  เหนื่อยเกือบตาย
        
" ข้าวสารแค่หมดแล้ว " =   ข้าวสารเกือบจะหมดแล้ว
        
" อยู่แค่ๆ บ้าน "          อยู่ใกล้ๆบ้าน
        
" หลบ มาอยู่แค่ๆ "      =  กลับมาอยู่ใกล้ๆ
        
" แค่รูหมูก "   
=  ใกล้นิดเดียว
          
บ้านอยู่แค่รูหมูก ยังมาไม่ทันรถ    บ้านอยู่ใกล้นิดเดียว ยังมาไม่ทันรถ
        
" แค่เข้าแล้ว " = เกือบแล้ว,  เกือบจะบ้าแล้ว
         " ฉานแลๆ หลวงไข่ แค่เข้าแล้ว  แกเดินแหลงคนเดียวทั้งวัน "
         
 ฉันดูๆ แล้ว  พี่ไข่เกือบจะบ้าแล้วนะ  แกเดินไปเดินมา พูดอยู่คนเดียวทั้งวัน

แค็ก (ออกเสียงเป็น  แข็ก) (ก.)    ยืด , เบ่ง , เต๊ะท่ากิริยาท่าทางที่ถือดี อวดเก่ง

แค่น (ว.) ข้น, เริ่มจะแข็งตัว, เริ่มจะแห้ง (ไม่เหลวเหมือนเดิม)
     
 " อย่าเคี่ยวน้ำหวาน ให้นานแรง เดี๋ยวมันอิ แค่น มากไป "
         อย่าเคี่ยวน้ำหวาน ให้นานเกิน เดี๋ยวมันจะข้นมากไป
      
(ก.) ขืน, ฝืน, พยายามทำทั้งๆที่ไม่ชอบ, ฝืนทำทั้งๆที่ทำไม่เป็นหรือไม่สันทัด
        
" ทำไม่ได้ กะอย่าแค่นทำ"  = ทำไม่ได้ ก็อย่าฝืนใจทำ
        
" พอ แค่น ได้ " = พอใช้ได้(ยังไม่ดีพอ แต่ก็คุ้มค่าที่ได้พยายามทำ;ฝืนทำ)

แค้น   (ออกเสียงว่า แข่น) (ก.)  1. (ความรู้สึก)โกรธ แค้น  ซึ่งจำเป็นจะต้องตอบโต้
       "ล้างแค้น" เพื่อเอาคืน ( ความหมายนี้ตรงกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน )
       
2. (อาการ) จุก, กลืนอาหารไม่ลง จำเป็นจะต้อง  "ล้างแค้น"  ดื่มน้ำตามเพื่อแก้
        อาการอาหารติดคอ 

แคระ   (ก.)   สะพาย        " แคระย่าม " - สะพายย่าม 
         
(ในบางท้องถิ่น จะออกเสียงเป็น  แคร่ )

โครฺะ  (น.) ครุ, ภาชนะจักสาน สำหรับใส่ของ

แคว็ก ( ออกเสียงเป็น  แขว็ก )  (ก.) แคะ  ควัก ตัก  ขุด
       
 (อุปกรณ์ที่ใช้
แคว็ก จะต้องมีขนาด เล็ก เช่น เศษไม้เล็กๆ,  ช้อน, มีด,  นิ้ว)

แคว็ด   (ออกเสียงเป็น  แขว็ด ) (ว.)  คดเอียง, ไม่ตรง 
       คำว่า แคว็ด นี้จะใช้คู่กับคำว่า  ไข่
หรือ ไข ในสำเนียงถิ่นใต้  รวมเป็น  "ไขแคว็ด"
      "ไขแคว็ด"   หมายถึง อวัยวะเพศของเด็กชายตัวเล็กๆ ทีไม่ห้อยลงตรง แต่เอียงไป
     
ข้างหนึ่งข้างใด   ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา-คลองหอยโข่ง)คำว่าแคว็ด นี้เป็นคำที่
      ผู้เฒ่าผู้แก่ใช้เรียกเด็กผู้ชายแสดงถึงความรักความเอ็นดูที่ปู่ย่าตายายมีต่อลูกหลาน
      และมักจะ
ติดปาก กลายเป็นชื่อที่เรียกกันปกติ จนลืมชื่อจริงไปแม้ว่า "ไอ้ไขแคว็ด"
      จะโต
เป็นหนุ่มแล้ว   จากเด็กๆที่ถูกเรียกว่า " ไอ้ไขแคว็ด " จึงเปลี่ยนมาเป็น " บ่าว
      แคว็ด "
เมื่อบวชเป็นพระ ก็เรียกขานเป็น  "ต้นแคว็ด"    เมื่อสึกออกมาเด็กๆรุ่นน้อง
      ก็เรียก
ทิดสึกใหม่คนนี้ว่า  "พี่หลวงแคว็ด"

      (ดูความหมายคำว่า   บ่าว,   ต้น,   หลวง     เพิ่มเติม)

    
 ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา-คลองหอยโข่ง)จะมีคำที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ที่ผู้เฒ่าผู้
      แก่ใช้เรียกเด็กผู้ชายด้วย
ความรักเอ็นดู อยู่หลายคำ คือ   ไอ้ไขแคว็ด,   ไอ้ไขจ็อง,
     ไอ้ไขนุ้ยไอ้ไขดำ

แคว็-จ้อน  (ออกเสียงเป็น  แขว็ด จ้อน)  (ก.) ถกเขมร,   นุ่งผ้าหยักรั้งพ้นหัวเข่า , 
        
ลักษณะการนุ่งผ้าโสร่งของผู้ชายปักษ์ใต้ ที่ดึงส่วนล่างของโสร่งขึ้นมาเหน็บตรง
         สะเอว (
มักใช้เวลาลุยน้ำ  ไม่ให้โสร่งเปียก)

แควบ  1. (ว.) แฟบ, แบนเข้าไป    2. (น.แฟบ, พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นตามริมหนอง
         คลองบึง ผลแบน แฟบ ผลอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้ยำเป็นอาหารได้

        (มายเหตุ : ภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิมจะไม่มีเสียง ฟ.แต่จะใช้เสียง ควฺ.   แทน )  

โค่-เค่  (ในสำเนียงสงขลา จะออกเสียงเป็น โข่-เข่(ว.)   คู่ คี่   ( เลขคู่ เลขคี่ )
          
" นกโค่เค่ "  จะหมายถึง นกเงือก (หรือ  "นกเฮียก" ในสำเนียงสงขลา)
          
         
มายเหตุ  "นกโค่เค่" มักจะอพยพย้ายถิ่นในช่วงเดือนสามเดือนสี่ จากป่าใน
         แถบเขาบรรทัดเ ขตรอยต่อสงขลา-พัทลุง-สตูล โดยจะบินเป็นฝูงใหญ่ผ่านคลอง
         หอยโข่ง-หาดใหญ่ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ป่าขาสันกาลาคีรีในเขตนาทวี
         สะบ้าย้อย ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน จะพบเห็น "นกโค่เค่" เป็นประจำทุกปี ประมาณ
         ฝูงละ 10 - 20 ตัว   เมื่อมองไปไกล  เด็กๆจะเห็นฝูงนกและจะทายกันว่า นกทั้ง
         ฝูงรวมแล้ว  คู่ หรือ คี่  นั้นคือที่มาของ คำว่า "นกโค่เค่"
          
         ในปัจจุบัน  หลังจากมีการสร้างสนามบินหาดใหญ่ และเปิดใช้เพื่อการพาณิชย์มา
         ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 "นกโค่เค่"ก็ค่อยๆ ลดน้อยลงจนถึงปัจจุบัน เด็กแถสนามบิน
         หาดใหญ่ น้อยคนที่จะรู้จัก  "นกโค่เค่"

โคม   (น.)  กะละมัง   (ภาษาตรังใช้    ปุ๋น  ในความหมายเดียวกัน )
 


ควฺ   ฟ,        ขวฺ   =  ฝ

มายเหตุ  : ในภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียงดั้งเดิม จะไม่มีเสียง ฝ. และ  เสียง  ฟ. แต่จะ
         ใช้เสียง ขวฺ. และ  ควฺ.   แทน  

         ตัวอย่าง เสียง ขวฺ. และ  ควฺ.   ที่คนไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม ใช้
              ไควฺ  ม้าย 
ไฟไหม้
               ขวัด ข้าว 
=   ฝัดข้าว
               ขวฺน ตก  
=   ฝนตก
               ควัน ไควฺ 
=   ควันไฟ
               โหร่ ควัง มั้ง  ม้าย  
=  รู้ฟังบ้างมั้ย  ;  เข้าใจบ้างมั้ย
               แรก คืน พี่ ขวัน ไม่ดี  
เมื่อคืน พีฝันไม่ดี
               โหลกสาวใคร มีไขวฺ ข้างปาก
= ลูกสาวใคร มีไฝข้างปาก
                  ฯลฯ

       (  คำเหล่านี้ ยังคงมีใช้อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มชาวบ้านในเขตชนบท )

 

ปัจจุบัน เนื่องจากการจัดการศึกษาที่ใช้ภาษาไทยภาคกลางเป็นต้นแบบประกอบ
กับ อิทธิพลของวิทยุ โทรทัศน์   ทำให้ เด็กใต้รุ่นใหม่สามารถออกเสียง  ฝ
.,  ฟ.
ได้     จึงถือได้ว่าเสียง ฝ
. และ ฟ. ในภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นพัฒนาการทางภาษา
ของภาษาไทยถิ่นใต้ ในยุคปัจจุบัน

       



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ
 


      กลับไปหน้าแรก                                                          หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549        ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 24/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 

หมายเหตุเบื้องต้น
ของ คนโบราณ ผู้รวบรวม/นำเสนอ
กรณีศึกษาภาษาสงขลา
(เพื่อความเข้าใจร่วมกัน)
 



 

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปลูกเจ้าเมืองยักษ์
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting