คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ผ  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษาภาษาสงขลา ( หมวด -  ผ   )



 


หมายเหตุ
:   เสียง ผ. - อักษรสูง ในสำเนียงใต้(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็นเสียง
                   ตรี
 เช่น   ผมเฮาะ  จะออกเสียง เป็น  พ้มเฮาะ,   แต่ถ้าเป็นคำตาย
                   เช่น ผัก
 จะออกเสียงสูงเป็น พัก  ดังนั้น ผัก (ที่กินได้ )จะออกเสียง
                   เป็น  พัก        พักผ่อน (นอนหลับ)   จะออกเสียงเป็น 
 ผัก พ้อน
                                       (กรุณาเทียบเสียงด้วย)
 

ผมเฮาะ, ลูกผมเฮาะ   (น.)  เงาะ (ผลไม้)
      
( ในสำเนียงสงขลาไม่มีเสียง . แต่จะใช้เสียง ฮ. แทน ) ปัจจุบัน คนไทยถิ่นใต้
       ทั่วไปจะไม่ใช้คำนี้แล้ว คงเรียกสั้นๆว่า เงาะ เช่นเดียวกับภาษาไทยกรุงเทพ แต่ยัง
       คงออกเสียงเป็น เฮาะ ในสำเนียงใต้

ผรื่อ,  พรื่อ   (ว.) อย่างไร , อะไร
       (ภาษาไทยถิ่นใต้ ในที่อื่น อาจพูดเสียงสูงเป็น  พรื้อ  แต่ก็มีความหมายเหมือนกัน)
        
   " ผรื่อโฉ้ "  -    รู้สึกอย่างไรก็ไม่รู้ (วิงเวียน , ตาลาย, หรือ ไม่ค่อยจะปกติ)

           " ว่าแล้ว ผรื่อ ฮะ "  บอกแล้วไง,  บอกแล้วไม่เชื่อ
           " ว่าผรื่อ ?"   - ว่าอย่างไร, ว่าไง ?
          
" ไม่ผรื่อ ไม่เป็นไร
          
" เป็นพันผรื่อ ? " เป็นอย่างไร ?
          
" ไอ้นี้ เขาเยียกว่า ผรื่อ ? " - สิ่งนี้ (ของอันนี้) เขาเรียกว่าอะไร ?
          

ผลา,  ผรา  (น.)  ที่เก็บของที่อยู่สูง ชั้นบนเตาไฟ ( ควันไฟถึงแต่ไม่ร้อนจัดจนเกินไป
        ใช้เป็นที่
เก็บ ถ้วยชาม อาหารแห้ง หรือเก็บเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์พืช )

     
" เดินนอกชาน ถ้วยราน แหม็ด ผรา "    สำนวนใต้ ใช้ในความหมาย การกระทำที่
       ซุ่มซ่าม ไม่ระมัดระวัง  (ขนาดเดินอยู่นอกชานซึ่งอยู่หน้าบ้าน แรงสั่นสะเทือน ยัง
       เข้าไปถึงในครัว ถ้วยชามที่เก็บไว้บนผรา ยังแตกร้าว)

ผักเหนาะ(ออกเสียงเป็น พักเนาะ )  (น.)  ผักหลายชนิด  อาจจะเป็นผักสดหรือผัก
         ดองที่รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับข้าวและแกงที่มีรสจัด เพื่อช่วยบรรเทารสเผ็ด
         ร้อนของอาหารทำให้รู้สึกว่าอาหารมีรสกลมกล่อม

         ปกติผักเหนาะจะต้องคู่กับ น้ำชุบ   ผักที่มีรสฝาดจะต้องกินกับแกงส้มหรือแกง
         เหลือง  ผักที่
มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ดร้อนต้องกินกับแกงเผ็ด   แต่ถ้าผักมีรสขม เช่น
         ยอดสะเดาหรือยอดเทียม จะต้องคู่น้ำชุบที่มีรสหวานนำ  อาหารมื้อนั้นก็จะอร่อย
         ยิ่งขึ้น

ผักไห  (น.)   ผักไห่  มะระขี้นก

ผัง     (ว.)  ฉุน,เผ็ดร้อน      คำนี้ โดยปกติจะใช้กับกลิ่นของพริก หรือ เครื่องแกงที่
         ไหม้ไฟ  เช่น 
       
" แกงบนไฟ ไหม้แล้วโด้  หมิ้นผัง ไปทั้งบ้านแล้ว " -  แกง(ที่อุ่นไว้ )บน(เตา)ไฟ
          ไหม้แล้วโน้น   เหม็นฉุน ไปทั้งบ้านแล้ว

ผังเหย,  พังเหย    (น.) รู หริอ ช่องที่ใช้ระบายอากาศ   หรือ ใช้เป็นทางหนีฉุกเฉิน
          คำนี้มักใช้อธิบายลักษณะรูที่อยู่อาศัยของสัตว์ ที่มีออกหลายทาง   เช่น รูของ
          แย้, รูของตะกวด

ผ้าโผ่ย  (น.) ผ้าผวย,  ผ้าที่ใช้ห่มนอนห่ม  ( เขมรใช้คำว่า พูย ในความหมายเดียวกัน)

ผ้าร้าย 1.  (น.)  ผ้าขี้ริ้ว - ผ้าเก่าๆ ใช้ทำความสะอาดสิ่งของหรือใช้เช็ดมือเช็ดเท้า
          
2.  (น.) ส่วนภายในกระเพาะวัว หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง ที่มีลักษณะเป็นกลีบๆ
                      
"ผ้าร้ายวัว"  -  ผ้าขี้ริ้ววัว

ผึง  (ก.)  กางออก  แผออก
    
" ถ้าแลตัวหนังสือไม่ชัด กะ ผึง หนังสือให้กว้างๆ "
       ถ้ามองตัวหนังสือไม่ชัด ก็ เปิดหนังสือให้กว้างๆ ซิ

ผึ้งกา     (ออกเสียงเป็น พึ้ง ก๋า )  (น)   กิ้งก่า

ผึ้งกือ    (ออกเสียงเป็น พึ้ง กื๋อ )  (น)   กิ้งกือ

แผ็ก (ออกเสียงเป็น แพ็ก ) (ว.) มาก 
         คำว่า แผ็ก นี้ เป็นคำที่ใช้เน้นความหมายเฉพาะคือใช้กับ  แข็ง,  แห้ง
        
" แข็ง แผ็ก " - แข็งมาก  ,    "แข็ง แผ็กๆ " - แข็งมากๆ
       
 " แห้ง แผ็กๆ " - แห้งมากๆ (แห้งหมดและแข็งด้วย)
   (กรุณาเปรียบเทียบกับคำว่า   " น้ำแห้ง กกๆ "  -  น้ำแห้งมากๆ, แห้งไม่เหลือเลย )

แผ้ง,  แผ่ง  (ก.)   ฉายไฟ , ส่องไฟ       "แผ้งไฟฉาย" - ส่องไฟฉาย

เผล้ง   (น.) ภาชนะใส่น้ำกิน หรือใส่ข้าวสารในครัว มักทำด้วยดินเผา มีรูปทรงกลม
           เรียกว่า
เผล้งน้ำ หรือ เผล้งสาร

แฝบ    (ว.)   แฝด,   เป็นคู่

โผะ  (น.) 1. ฟอง, ฟองน้ำ     " ขี้นโผะ "  แตกฟอง
      
 " หวากบอกนี้ ขึ้นโผะ แล้ว กำลังพอดีเลย " น้ำตาลเมากระบอกนี้ แตกฟอง
        แล้ว  กำลังพอดีเลย
             2.
โผะ,  กะโผะ  พันธุ์ไม้ในวงศ์มะเดื่อ
(MORACEAE) ผลอ่อน ใช้เป็นผักจิ้ม
        น้ำพริก ได้

โผะค่าง (น.)  คำนี้ในภาษาไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง - สงขลา)  หมายถึง กระทกรก

ผ่อทิ   (ว.) ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้คำนี้เพื่อเน้นข้อความ ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น และมัก
          ใช้แสดงถึง ความประหลาดใจ
 เช่น

           " ลูกสาวหลวงไข่ สวยจัง ผ่อทิ "   - ลูกสาวของพี่ไข่ สวยจังเลย (ไม่น่าเชื่อ)
          
" หรอยจัง ผ่อทิ   
-      อร่อยจังเลย  ( คิดไม่ถึงว่า จะอร่อยอย่างนี้ )

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา         ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม           ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน       บ.    =     บุรพบท          อ.    =    อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .    =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด      ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา สำเนียงคลองหอยโข่ง 
เป็นต้นแบบโดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ใน
จังหวัดอื่นๆ  มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ

คำในภาษาสงขลาหลายคำมาจากภาษามลายู ดังนั้นกรุณาเปรียบเทียบกับภาษา
มลายู เพื่อจะได้ทราบที่มาที่ไป  
( เข้าไปที่ ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ )

เอกสาร/แหล่งข้อมูล อ้างอิง


  

     กลับไปหน้าแรก                                                           หน้าถัดไป    

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555 
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 



 

 

  

Free Web Hosting