คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  -     ห  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -    ห   )


   (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น ฮ็อก ) (ก.)  โกหก
    
 " หกใส่ "  กล่าวหา, ใส่ความ
    
 " ไอ้บ่าว หมึงทำ กะรับเสีย อย่าหกใส่น้อง " -ไอ้หนูเอ็งเป็นคนทำ ก็ยอมรับเสีย
        อย่าใส่ความน้อง

หบ  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ฮ็อบ) (ว.) สมแล้วที่.....( ก็เลยโดนเช่นนี้)
      
 " หบ บ้า
,  หบ เบล่อ "  สมแล้วที่บ้า ( อยากบ้าดีนัก) เลยโดน....
       
" หบด้น "  -  
สมแล้วที่ทำเป็นคนดุ ทำเป็นนักเลง ( เลยโดนดีเช่นนี)
       
"บ่าวคล้อยถูกฟันแขนขาด หบด้นไป  เขาห้ามแกแล้ว ว่าอย่าเข้าไปๆ แกกะ
        ไม่ฟัง"

หม   (สำเนียงสงขลา ออกเป็นเสียง   ฮ้ม )  (ก.) 1. ห่ม ( ห่มผ้า)
        2.  ขย่ม , เขย่า,  ทำให้สั่นไหว
       
" โหลกม่วง อยู่ปลายกิ่งเกี่ยวไม่ถึง หม เอาเลย ไอ้บาว "
        - ลูกมะม่วง อยู่ปลายกิ่ง เกี่ยวไม่ถึง เขย่ากิ่งเอาเลย ไอ้หนู
          

หวน  (สำเนียงสงขลา ออกเป็นเสียง   ฮ้วน ) 1.  (ก.)  ย้อนมาที่เดิม,  ย้อนกลับ
         (ความหมายเหมือนกันกับภาษาไ
ทยมาตรฐาน)
         2.  (ก.) กริยาที่อมน้ำกลั้วคอแล้วดื่มเพื่อลดอาการฝืดคอ ในภาษาไยถิ่นใต้
         เรียกว่า
"หวนน้ำ"  เช่น "เคี้ยวท่อม แล้วหวนน้ำตาม" ความหมายคือ
         
เคี้ยวใบกระ
ท่อมแล้ว ดื่มน้ำตาม

หวยๆ  (สำเนียงสงขลา ออกเป็นเสียง ฮ้วยๆ ) (ก.) สั่นไหว  (สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
        
ก็ได้ )

          
" ใบไม้หวยๆ "  
ใบไม้สั่นไหว
          
" เริ่นหวยๆ "     บ้านสั่นไหว   ( เริ่น = เรือน,  บ้าน )

หอน (สำเนียงสงขลา ออกเป็นเสียง  ฮ้อน ) 1. (ก.) หอน, ร้องเสียงยาวโหยหวน
           (ใช้กับหมา)
 
           2.  
(ว.) หอน  (มาจาก ห่อน ในภาษาเก่า) คำนี้ในภาษาสงขลามีความหมาย
                เช่นเดียวกับ
คำว่า  เคย  มักใช้ในประโยคปฏิเสธ โดยจะมีคำว่า ไม่  นำ
                หน้าเสมอ  ตัวอย่างเช่น
       
          
 " ไม่หอนไป "   -    ไม่เคยไป
       
          
 " ไม่หอนรู้ "     -     ไม่เคยรู้
      
            
" ไม่หอนเห็น "  -    ไม่เคยเห็น
          คำว่า หอน ในความหมายที่
2  นี้  เป็นคำที่บ่งบอกว่า ผู้พูด คือ  คนสงขลา 
          หรือคนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสงขลา 

หะ (สำเนียงสงขลา ออกเป็นเสียง  ฮะ ) (ก.)  อาเจียน
       
 " กินจน หะ "   -  กินมากไป จนอาเจียน
        
" หะ ออกเลือด "   - อาเจียนออกเป็นเลือด

หาจก,  หญาจก  (สำเนียงสงขลา ออกเป็นเสียง  ฮ้า จ็อก,  ญ้า จ็อก )(ว.) เหมือน
        กับเป็นยาจก,
ลักษณะการรับประทานอาหารที่มูมมาม ไม่สุภาพ

หา ม้าย  (ว. ไม่มี     
          
" หา ม้าย เมีย " 
-  ไม่มีเมีย
          
" หา ม้าย เบี้ย "  -  ไม่มีเงิน

หาหึง   (น. มหาหิงค์    สมุนไพรไทยที่ใช้บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ของเด็ก
        
  อ่อน  คนไทยถิ่นใต้ เรียกว่า  หาหึง

หางยาม (น) มือจับของคันไถ  ใช้สำหรับ ควบคุมการไถนาให้ วัวหรือควาย เดินไป
          ตามแนวของรอยไถ ที่ได้ไถไว้แล้ว

หาญ   (ก.) กล้า, ไม่กลัว    
        
" เบอะ เปรวอยู่ข้างทาง น้องไม่หาญไป " -ก็ป่าช้าอยู่ข้างทาง น้องไม่กล้าไป
        
" ใจไม่หาญ " - ใจไม่กล้า

หายหู้ด ตูดแลน,  หายหูด ตูดบ็อง (ว.) หายไปแล้ว , ไปไกลแล้วจนมองไม่เห็น
         คำนี้ มักใช้เป็นคำขยายความ เช่น
      
" ลุงเท่ง แล่น หายหูดตูดบ็อง ไปนานแล้ว ตามกะไม่ทันหรอก " 
         ลุงเท่ง วิ่งหนีหาย ไปตั้งนานแล้ว ตามก็ไม่ทันหรอก
    
" น้าไขแล่นหายหู้ดตูดบ้องไปนานแล้ว ไปตั้งแต่ได้ยินเสียงเมียแอม ฮั้นแหละ "
      
น้าไข่ วิ่งหนีไปไกล ตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ได้ยินเสียงเมียกระแอม นั้นแหละ

หีบ  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮีบ )  1. (น.)  หีบ  (หีบใส่ผ้า ) 
        
2.
(ก.) หนีบ,  บีบ, ถูกขนาบสองข้างจนกระดิกตัวไม่ได้   เช่น
    
 " ตลาดผีหีบ " คำนี้เป็นชื่อของตลาดที่มีป่าช้าขนาบอยู่ 2 ข้างที่นครศรีธรรมราช
    
" ควนหีบ " คำนี้เป็นชื่อช่องเขาที่มีควนขนาบอยู่ 2 ข้าง  อยู่ระหว่างอำเภอคลอง
     หอยโข่ง กับบ้านบาโรย อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา
    
" หีบ วาน "  สำนวนถิ่นใต้ใช้ในความหมาย อม หรือ ยักยอก ทรัพย์สมบัติของผู้
     อื่น มาเป็นของตนเอง ความหมายของว่า หีบ วาน คือ แอบซุกสิ่งของๆผู้อื่น ไว้ที่
     ก้นของตนเอง (วาน
= ทวาร )

หีด  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ฮีด )  (ว.)  นิด , หน่อย 
      
" เร็วๆ หีด "  เร็วๆหน่อย
      
" ขอเวลาสักหีด "  ขอเวลาสักนิด, ขอเวลาหน่อย
    
 
" เท่าหีด, แยด, แต็ด, เท่าตุ้งแยด " นิด, นิดเดียว, มีปริมาณหรือขนาดที่น้อย
        มาก

หักนา  (ก.) ถางป่าที่อยู่ในทุ่ง ขุดตอไม้ พร้อมทั้งทำคันนา เพื่อเปลี่ยนสภาพป่าให้
    
   เป็นที่นาทำกิน
     
" รุ่นพ่อเฒ่า เขาหักนา กับพร้า กับจอบ  หวางอิเสร็จ เหนื่อยกันเป็นเดือน มารุ่น
        หลาน จ้างรถไถ ดัน
วันสองวัน กะเสร็จ "
       
สมัยคุณตา จะหักร้างถางพงให้เป็นที่ทำนา ก็ใช้เพียงมีดพร้า กับจอบขุดดิน
        กว่าจะเสร็จ ต้องเหนื่อยกันเป็นเดือน มารุ่นหลาน แค่จ้างรถไถ ดันเพียง
วันสอง
        วัน งานก็เสร็จเรียบร้อย

      
หมายเหตุเพิ่มเติม
      
คนระยอง ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของอ่าวไทยจะใช้คำว่า
หักนา ในความหมายเดียว
       กัน
 - ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานวัฒนาธรรมจังหวัดระยอง

หันเดี้ยน    (ก.)  หมุนติ้ว  

หัว  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ฮั้ว ) 1. (น.)  ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือ
       สัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน
, ส่วนของสิ่งของที่อยู่ข้างหน้า
       หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม  (ความหมายตรงกันกับความหมายในภาษาไทยภาค
       กลาง)
      
2.
 (ก.)  หัวเราะ     " หัวคิกคัก " - หัวเราะคิกคัก

หัวขี้แตระ  (น.)พื้นที่บริเวณในป่าพรุที่น้ำท่วมไม่ถึงแต่มีน้ำล้อมรอบ   ในหน้าแล้ง
        หากมีไฟไหม้จนโล่งเตียนไปทั้งป่า
จะมองเห็นผืนป่าพรุ มีโคกเล็กๆ ตะปุ่ม
        ตะป่ำไปทั่ว โคกเล็กๆที่เห็นมากมายนั้น คนไทยถิ่นใต้(สงขลา)เรียกว่า
หัวขี้
        แตระ

     
 ( ข้อสังเกตุ นภาษาถิ่นจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของไทย มีคำที่คล้าย
       กัน คือ  
หัวขี้แต้    คนระยองใช้ในความหมาย  ดินที่เป็นก้อนแข็งตามท้องทุ่ง
       ท้องนา  เกิดจากขี้ไถไม่ละลาย คงอยู่เป็นก้อน มองเห็นตะปุ่มตะป่ำไปทั่ว
)

หัวเขากร็อกแกร็ก  (ว.)   เข่าไม่ค่อยแข็งแรง  ลุกเดินไม่ไหว หมดเรี่ยวหมดแรง
    
  (ที่บ้านวังพา ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ มี เนินเขาลูกหนึ่งอยู่หลังหมู่บ้าน  ชื่อว่า
      
โคกกร็อกแกร็ก ความหมายคือโคกนี้สูงชัน กว่าจะเดินขึ้นถึงบนโคกได้ หัวเข่า
     
   ดัง"กร็อกแกร็ก"
หมดเรี่ยวหมดแรงไปเลย)

หัวคลก, หัวครก  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว ขล็อก) (น.)  มะม่วงหิมพานต์ 
         คนสงขลา
จะเรียกมะม่วงหิมพานต์ ว่า   หัวคลก ( หัวครก)  และ  ยาร่วง
         คนภูเก็ต พังงา จะเรียกมะ
ม่วงหิมพานต์ ว่า  
กาหยู ,  กาหยี
         คนนราธิวาส จะเรียกมะ
ม่วงหิมพานต์ ว่า     ม่วงแตแหร

หัวโค่ (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว โค่) (.) คตร, เหง้า,โคนของต้นไม้ที่
         อยู่ใต้ดิน, ต้นเดิมที่แตกกิ่งแขนง ออกเป็นหลายต้น
         
" ัวโค่ไม้ไผ่ "   - ุ้มของกอไผ่ ที่แตกหน่อออกมารอบทิศจนเป็นกอไผ่
        
" หัวโค่ตายาย" (น.)โคตรเหง้าวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายลงมา

หัวจุก  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว จุก)  
         
1.
(น.)
" นกกรงหัวจุก " นกปรอดหัวโขน
          2.
(น.)  " หัวจุกหย่านัด "   -  จุก , ส่วนยอด ของผลสับปะรส
          
3.
(น.)  " ส้มหัวจุก "         -   ส้มพันธุ์หนึ่ง ของอำเภอจะนะ สงขลา  
          4.
(น.)  " หัวจุกโนรา "    -   หนุ่มๆ นักแสดงมโนราห์ในสมัยก่อนที่ สาวแก่
         แม่หม้าย(แม่ยก)หลงไหล
 คำนี้ปัจจุบันมักจะใช้เป็น
"บ้าหัวจุก"หมายถึงการ
         ที่คนแก่(ทั้งหญิง
และชาย) ชอบเด็กหนุ่มเด็กสาว ยอมทุ่มเงินปรนเปรอ โดยที่
         ไม่ได้ผลอะไรตอบแทนเลย

หัวฉอก (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว ช้อก)  (ว.)  ศีรษะเถิก

หัวชัว     (น.)  ไมโครโฟน

หัวเช้า  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว ฉ่าว ) (ว.) เวลาเช้า - เวลาที่ตะวันเพิ่งขึ้น
          พ้นขอบฟ้า  ( คำนี้มักใช้คู่กับคำว่า 
หวันเย็น ตะวันใกล้จะตกดิน )

หัวนอ (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น  ฮั้ว นอ )  (น)  ปลายของตง(ไม้เครื่องเรือนที่
         วางทับบนรอดสำหรับวางพื้น หรือฟาก)



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ


     กลับไปหน้าแรก                                                        หน้าถัดไป    
 
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 04/04/2557 
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 





ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

" ไอ้เท่ง "
ตัวตลกหนังตะลุงสงขลา (คู่กับไอ้หนูนุ้ย)

 

เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อ เท่ง  อยู่บ้านคู
ขุด อำเภอสะทิ้งพระจังหวัดสงขลา หนังจวน บ้าน
คูขุด นำมาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก  หนังคณะอื่นๆ
นำไปเลียนแบบ รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาว
กว่าท่อนล่าง ผิวดำ ปากกว้าง หัวเถิก ผมหยิก ใบ
หน้าคล้ายนกกระฮัง นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะ
เพศผู้ชาย นิ้วชี้กับหัวแม่มือซ้าย งอหยิกเป็นวงเข้า
หากัน  นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก  คาดพุงด้วยผ้า
ขะม้า ไม่สวมเสื้อ  ที่สะเอวเหน็บมีดอ้ายครก (มีด
ปลายแหลมด้ามงอ โค้ง มีฝัก) ชอบพูดจาโผงผาง
ไม่เกรงใจใคร ขู่สำทับผู้อื่น  ล้อเลียนเก่ง

  

Free Web Hosting