คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ม  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้):
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ม )


 

ม็องแม็ง  (ว.) มอมแมม   ( คำนี้ใช้ แสดงถึง กริยาท่าทางอิดโรย ไม่สดชื่น ก็ได้ )

มวม   (ว.)  น่วม, อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว
       
" กล้วยหวีนี้ สุกจน มวมหมดแล้ว " - กล้วยหวีนี้ สุก(มาก) จนอ่อนนุ่มหมดแล้ว

มักเงาะ (น.) สาระแหน่  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ Melissa officinalis L. วงศ์ Lamiaceae )
       
มักเงาะ เป็นคำในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ดั้งเดิม ที่ใช้เรียก  สาระแหน่
        ปัจจุบัน คนที่พูดคำนี้ คงมีเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ในเขตชนบทอายุ
60, 70 ปี ขึ้นไป
        เท่านั้น ( เด็กใต้รุ่นใหม่ จะใช้คำว่า
สาระแหน่  เช่นเดียวกับคนไทยภาคกลาง )

มั่ง   (ว.)  บ้าง
        
ยัง มั่งม่าย   มีบ้างมั้ย ?

มันควาย, (ขาม)มันควาย  (ว.) มะขามคราบหมู,  มะขามที่แก่เต็มที่  เนื้อในมะขาม
        เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเปลือกของฝักมะขาม จะล่อนออกจากเนื้อ  ภาษา
       ไทยถิ่นใต้(สงขลา)เรียกว่า
 " โหลกขาม มันควาย "

มันทุ้ง  (น. มันสำปะหลัง ( ชื่อวิทยาศาสตร์  Manihot esculenta (L.) Crantz
      
วงศ์  Euphorbiaceae )   มันสำปะหลัง ในถิ่นใต้จะมีชื่อเรียก แตกต่างกัน กล่าว
       คือ  ชาวคลองหอยโข่ง สงขลา เรียกว่า
มันทุ้ง    ชาวควนลัง หาดใหญ่  สงขลา
       จะเรียกว่า 
มันเทศ       ชาวพิปูน, ฉวาง (นครศรีธรรมราช) เรียกว่า  มันตาหนี
     
 (มันตานี)
    และ ในถิ่นใต้บางท้องที่ จะเรียกว่า  มันไม้

มันหลา (น.) มันเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea batatas  วงศ์ Convolvulaceae)
        ภาษาสงขลา-คลองหอยโข่ง เรียกว่า มันหลา   บางท้องถิ่น ใช้เป็น มันล่า

มันหม่า (น.) น้ำมันหม่อง ในอดีต(ก่อนปี ..2500 หรือก่อนกึ่งพุทธกาล) คนคลอง
       หอยโข่ง,และคนหาดใหญ่ซีกตะวันตกจะเรียกน้ำมันหม่องว่า
มันหม่า ซึ่งมีความ
       หมายคือ มัน(น้ำมัน)ของคนพม่า  เช่น
  " มันหม่า ตราถ้วยทอง , มันหม่า ตรา
       ลิงถือลูกท้อ "

มั่วตั้ว   (ว.)  วุ่นวาย, ยุ่งเหยิง (จนทำอะไรไม่ถูก)

มายา,   ม่าย ยา   (น.)  ปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยคอก

ม่าย,  มฺล่าย ,(ก.)  เลียบๆ เคียงๆ  แต่ไม่กล้าทำ ไม่กล้าลงมือ เหมือนกับปลากัดที่
       วนไปมารอบๆคู่ แต่ไม่ได้กัดกันเสียที่  หรือเปรียบได้กับการที่หนุ่มหลงรักสาวที่
       เฝ้าแต่เลียบๆ เคียงๆ  แต่ไม่กล้าบอกรัก
      (ปกติ คำนี้มักใช้กับสัตว์ เช่นปลากัด หรือวัวชน ถ้าเปรียบเปรยเรื่องหนุ่มเกี้ยวสาว
       ก็จะเป็นคำที่เพื่อนๆ หยอกล้อเท่านั้น)

ม้าย   (ว.)  1.  ไม่,  ไหม (หรือไม่)
         
 มั่งม้าย ?   บ้างไหม ? ( บ้างมั้ย ?)
         
 โหร่ ม้าย ?    รู้ไหม ? (รู้มั้ย ?)
                2. ไม่มี
          
คนม้ายไหร  คนไม่มีอะไร , คนจน
         
 คนม้ายเมีย  =  คนไม่มีเมีย
          
คนม้ายใจ    =  คนไร้น้ำใจ

มิมัง   (ก.)   ห่วงใย   (ภาษาสงขลาตอนใน - นาทวี  เทพา และ สะบ้าย้อย)
        
" เด็กๆอย่ากลับกลับบ้านมืด นะ แม่เฒ่า มิมัง "  -  เด็กๆ อย่ากลับบ้านมืดนะ
        ยายเป็นห่วง 
       (คำนี้ ในภาษาไทยเจ๊ะเห จะใช้เป็น
" วิมัง "  ปัจจุบันในเขตสงขลามีคนพูดน้อย
        มาก จนบางครั้ง เด็กรุ่นหลังจะไม่เข้าใจ)

มิด (สำเนียงใต้ ออกเสียงเป็น มิด) (น.) สำริด ( โลหะผสมที่เกิดจากการนำเอาแร่
     ทองแดง ที่ผ่านการถลุงแล้ว มาผสมกับ ดีบุก ตะกั่ว แร่พลวง สังกะสี หรือสารหนู
     เพื่อให้มีความแข็งตัว หล่อหลอมเป็นอาวุธหรือภาชนะใช้งานต่างๆ )
 
เสียง ส และ
     เสียง ร ในคำว่า สำริด กร่อนหายไป  คงเหลือเสียง  ม (อำ) และ อิด เป็น  
หมิด
  
   (ออกเสียงเป็น มิด)
      
    ในภาษาสงขลาดั่งเดิมจึงเรียก ขันสำริด ว่า
ขันหมิด (คั้นมิด)   แต่เนื่องจากคำว่า
   
"หมิด"
  นี้ มีการใช้น้อยมาก จนบางครั้ง คนรุ่นหลังไม่เข้าใจ   ความหมายจึงเกิด
     ความผิดเพี้ยนในการใช้คำๆนี้
   
     ตัวอย่างเช่น"ควนมีด" ชื่อเป็นทางการของหมู่บ้าน  ในตำบลจะโหน่ง  อำเภอจะนะ
     จังหวัดสงขลา   เดิมจะเรียกหมู่บ้านนี้ว่า
 "ควนหมิด"     เนื่องจากมีการขุดพบวัตถุ
     โบราณและภาชนะสำริด ตรงบริเวณ
ควนที่ตั้งวัด    แต่เนื่องด้วยความสับสนเรื่อง
     ภาษา ชื่อที่เป็นทางการของหมู่บ้านเขียน เป็น  "บ้านควนมีด"  (ซึ่งมีความหมายที่
     คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นควนที่มีมีด มีดาบ) ในขณะที่"วัดควนหมิด" ได้เขียนป้ายหน้า
     วัดเป็น " วัดควนมิตร"
(ซึ่งความหมายตามตัวหนังสือจะกลายเป็นควนแห่งมิตรภาพ)
    

     
กรุณาเทียบเสียงจากประโยค  มดกินน้ำตาลหมด  ของภาษาไทยกรุงเทพ 
      ที่ออกเสียงสำเนียงไทยถิ่นใต้ เป็น   "หมด กินน้ำตาล มด"
     
ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ ปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐาน และเสียง
     
วรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา
)

มึก   (ออกเสียงเป็น  "หมึก")  (ข.) (ก.)  ดื่ม 
       
" มึกน้ำ " - ดื่มน้ำ
(คำนี้เลือนมาจาก ปฺรมึก / ปฺรอเมิ้ก ในภาษาเขมรโบราณ
        ภาษาเขมรปัจจุบัน ใช้คำว่า เพิก )

มุง   (ก.) ตั้งท้อง
       
คำนี้ ใช้กับสัตว์เท่านั้น เช่  วัวมุง  ควายมุง   
      
(ในบางถิ่น จะออกเสียงเป็น  มง,   ม็อง  ก็มีความหมายเป็นที่เข้าใจกัน)

มุ้งมิ้ง  (ออกเสียงเป็น หมุ่งหมิ่ง) (ว.) โพล้เพล้   เวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังตกดิน
       หรืออยู่ในช่วงเปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน  ซึ่งยัง
มีแสงสว่างอยู่บ้างแต่มอง
       อะไรไม่ชัด   โดยปกติ จะใช้คำนี้คู่กับ ตะวัน
-
หวัน
 เป็น หวันมุ้งมิ้ง (ออกเสียง
       สำเนียงใต้เป็น  วั่น หมุ่งหมิ่ง ) ในความหมาย   ตะวันโพล้เพล้

มุตโต (.) การว่ากลอน หรือขับกลอนของโนรา ศิลปะประจำถิ่นใต้  หากโนรามีความ
        สามารถในเชิงกลอน สามารถว่ากลอนสดเกี่ยวกับบุคคล สถานที่หรือ เหตุการณ์
        เฉพาะหน้าได้จะเรียกว่า
" ว่ามุดโต      
               ตรงกันข้าม หากนำบทกลอนที่แต่งไว้ก่อนแล้ว  หรือนำกลอนที่มีมาตั้งแต่
       โบราณมาขับ จะเรียกว่า
" ว่าคำพรัด " หรือ " ว่ากำพรัด "

มูสัง มุดสัง , มุสัง (สำเนียงไทยถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น  "หมู่ซั้ง,  หมุดซั้ง,  หมุซั้ง")
     
 (ม.) (น.) ชะมด,  อีเห็น:  สัตว์มีกระดูกสันหลัง หากินในเวลากลางคืนอยู่ใน
       วงศ์ Viverridae    ภาษาอังกฤษเรียกว่า Civet

       (คำว่า 
มูสัง,  มุดสัง,   หรือ  มุสัง นี้ มาจากคำ musang  ในภาษามลายู  )

มูสังแหย้ว,  สังแหย้ว  (น.)  คำเรียก สมมติตัวอะไรสักอย่างไว้หลอกเด็กเล็ก ว่า
        จะมาทำร้าย หรือจับตัวเอาไป ถ้าไม่หยุดร้อง
        
 " แน่งเสียต้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโด้ "  - นิ่งเสียนะจ้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโน่น

เม่อใด(ว.)  เมื่อไหร่
       
" พี่หลวงมาถึง เม่อใด "  =  พี่หลวงมาถึงเมื่อไหร่
        
(ให้ดูคำอธิบายคำว่า   ปาใด    เพิ่มเติมด้วย)

เมด     (น.)  มีด   
       เนื่องจาก ในสำเนียงสงขลา เสียง อี ในภาษาไทยมาตรฐาน จะแปลงเป็น เสียง
       เอ,    
ละคำตายอักษรต่ำ หรือคำที่ออกเสียงสั้นที่เป็นอักษรต่ำ  จะออกเสียง
       เป็นคำตายอักษรสูง        
ดังนั้น มีด  จึงเป็น เมด  ซึ่งออกเสียงสำเนียงสงขลา
       เป็น  เหมฺด

           
          
มดหน  (ออกเสียงเป็น เหมฺด หน ) =   มีดเหน็บ, มีดขนาดกลาง ด้าม
      ทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้ หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ในตัว  ใบมีดจะ
สอดไว้ในฝัก
      นิยม เหน็บเอว ในเวลาออกนอกบ้าน
         
เมดพร้า  (ออกเสียงเป็น เหมฺด ผล่า)    =   มีดพร้า
         
 เมดโต้    (ออกเสียงเป็น เหมฺด โต้ )     =    มีดอีโต้
          
เมด ฮับ   (ออกเสียงเป็น เหมฺด ฮับ )   
=    มีดพับ
          
มด ไตร  (ออกเสียงเป็น เหมฺด ไตร  =    กรรไกร
    
 ( บางครั้ง คำว่า
เมด  จะออกเสียงเป็น  เบด   ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง มีด  )

เมดหม้อ, มีดหม้อ  (ออกเสียงเป็น เหมฺด หม้อ,  หมีด หม้อ ) (น.)  มินหม้อ ,  เขม่า
        ดำที่ติดก้นหม้อ ก้นกะทะ

เมิดไม่ได้  (ออกเสียงเป็น เหมิด ไม่ได้ ) (ก.)  เผลอไม่ได้ 
     
"เมิดไม่ได้จริง ไอ้โหมนี้ แลไม่ทัน เอาไปแล้ว ล่าว" - เผลอไม่ได้เลย ไอ้พวกนี้
        แอบเอาของไปอีกแล้ว

แม่ปีก  (น.) นางพญามดแดง

แม่ขัน  (ออกเสียงเป็น แหม่ คั้น ) (น.)   ขันขนาดใหญ่
      
ภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า "ลูก" และ "แม่" ไว้ข้างหน้าคำนาม เมื่อต้องการบอก
       ขนาด ว่า เล็กหรือใหญ่  ตัวอย่างเช่น
            
ลูกจอก    หมายถึง   ถ้วย หรือ แก้วขนาดเล็ก
            
ลูกโคม    หมายถึง  กะละมังขนาดเล็ก หรือ ชามขนาดเล็ก
            
แม่ขัน     หมายถึง   ขันขนาดใหญ่
   

แมง  (น.)  ในภาษาไทยถิ่นใต้จะเรียกสัตว์จำพวกแมลงทุกชนิด ว่า แมง
        (คำว่า แมลง จะไม่มีในภาษาไทยถิ่นใต้)

แมงกุลาหักคอ (น.)  แมงดีดขัน,  แมงชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Elateridae  มีปีกแข็งสีดำ
        หรือสีเทาเข้ม  เมื่อจับได้ จะดีดหัวดังเปาะๆ

      
 
( คนคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เรียกแมงชนิดนี้ว่า แมงกุลาหักคอ 
          คนไทยล้านนา เรียกว่า แมงคอลั่น
)

แมงเคย (น.)  แมงปอ   ( ภาษาไทยถิ่นใต้สงขลา - คลองหอยโข่ง )
      
ข้อสังเกต :
      
คนฉวาง, พิปูน นครศรีธรรมราช  เรียก แมงปอ ว่า  แมงบี้
 
      คนไทยล้านา เรียก แมงปอ ว่า แมงกะบี้, แมงกำบี้

แมงบี้  (น.)  ผีเสื้อ   ( ภาษาไทยถิ่นใต้สงขลา - คลองหอยโข่ง )
       ข้อสังเกต :
       คนสุโขทัย, คนลานกระบือ กำแพงเพชร เรียก ผีเสื้อ ว่า  แมงกะบี้ 
       คนไทยล้านา เรียก ผีเสื้อ ว่า   แมงกำเบ้อ,
แมงกะเบ้อ,  แมงกะเบื้อ
       คน
อีสาน เรียกว่า แมงกะเบื้อ,  แมงกาบเบื้อ
     
       ดูความหมายและการใช้คำว่า แมงบี้, แมงกะเบื้อ ฯลฯ ในภาษาถิ่นไท เพิ่มเติมได้
       ใน
เวบไซท์ Olddreamz - คำไท คำถิ่น

แมงแปะ (น.)  แมลงสาป
        คำนี้ใช้เรียกเฉพาะลูกแมลงสาบตัวโตๆแต่ยังไม่มีปีก ถ้ามีปีกชัดเจนแล้วก็เรียก
        ว่า แมงสาป 
(คำว่า แมลง จะไม่มีในภาษาไทยถิ่นใต้)

แมงพลับ (น.)  แมงทับ

แมงฮัว (น.) แมงงัว   ด้วงมะพร้าว  ( ภาษาเหนือเรียกว่า  ด้วงกว่าง )

แมงไฮ  (น.)  แมลงชนิดหนึ่ง  มีหัวแหลมเล็ก สามารถนำมาใส่ในแกงเลียงหน่อไม้
       เรียกว่า 
แกงเลียงแมงไฮ จัดเป็นอาหารพื้นบ้านรสเลิศ ของคนไทยถิ่นใต้

 

หมายเหตุ  : ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) สำเนียงดั้งเดิม จะมีคำในกลุ่มเสียง ม. หลายคำ ที่มีเสียง  ร  และ  ล  ผสมอยู่  คือ    มฺร,      มฺล
( เปิดไปหน้า 
 มฺร,      มฺล )



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา         ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม           ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน       บ.    =     บุรพบท          อ.    =    อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .    =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา สำเนียงคลองหอยโข่ง 
เป็นต้นแบบ
โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น   รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้
ในจังหวัดอื่นๆ  มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม
เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ

คำในภาษาสงขลาหลายคำมาจากภาษามลายู ดังนั้นกรุณาเปรียบเทียบกับภาษา
มลายู เพื่อจะได้ทราบที่มาที่ไป  
( เข้าไปที่ ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ )


 

     กลับไปหน้าแรก                                                              หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549    ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 


ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

บังสะหม้อ หรือ ไอ้สะหม้อ

บังสะหม้อ  ตัวตลกหนังตะลุงสงขลา ที่หนังกั้น
ทองหล่อ นำมาจากคนจริง   โดยได้รับอนุญาต
จากชาวมุสลิม  ชื่อ  บังสะหม้อ อยู่บ้านสะกอม
อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา    รูปร่างบังสะหม้อ
หลังจะโกง มีโหนกคอ  คางย้อย ลงพุง  รูปร่าง
เตี่ย สวมหมวกแขก นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ พูด
ล้อเลียนผู้อื่นได้เก่ง ค่อนข้างอวดดี 
บังสะหม้อ
เป็นมุสลิม แต่ชอบกินหมู   ชอบดื่มเหล้า   พูด
สำเนียงสะกอม เนิบนาบ รัวปลายลิ้น

 

 


หมายเหตุ : 
 

เสียง ม 
- อักษรต่ำในสำเนียงใต้(สงขลา) จะมี
ฐานเสียง เป็น
เสียงสามัญเพี้ยน   คือ เป็นเสียง
สามัญ ที่มีหางเสียงเป็นเสียงโทเล็กน้อย   เช่น
มอง  
ในสำเนียงใต้จะออกเสียงเป็น  มอง
(ออกเสียง  มอง แต่หางเสียงเป็นเสียง โท)    

เสียง หนฺ -  เสียงสูง ที่คู่กับ น    ในสำเนียงใต้
(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็นเสียง ตรี
เพี้ยน  คือ
เสียงตรีแต่เพี้ยนไปทางจัตวา
 ดังนั้นคำว่า หน้า
ในสำเนียงใต้จึงออกเสียงเป็น น้า
( ออกเสียง
ตรีเพี้ยน  )

 มองหน้า  สำเนียงใต้(สงขลา)จึงออกเสียงเป็น
 
อง  น้า
 

กรุณา เปรียบเทียบจากเสียงพูดของคนสงขลา  หรือ อ่านคำอธิบายเพิ่มเติม
จาก
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา
                

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting