คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -   ย   )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -     ย   )


( เสียง ย. นาสิก )
 

หมายเหตุ ภาษาสงขลาและภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปจะออกเสียง ญ. ( เสียง
.นาสิก หรือ เสียง ny ) ชัดเจน  จึงสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง
.และ เสียง  ย. ได้  ในภาษาไทยถิ่นใต้
                  

ญ้า    (  ย. นาสิก เสียงตรี )   (น.)   หญ้า
        
        
ในภาษาไทยมาตรฐาน  มีการใช้ ญ.ในการเขียนแต่ไม่ได้ออกเสียงนาสิก คง
         ออกเสียงเป็นหย้า  ซึ่งเป็นเสียงเดียวกันกับคำว่า  ย่า (แม่ของพ่อ)  ขณะที่ใน
         ภาษาสงขลา ย่า  ออกเสียงเป็น  หย่า( ย.  เสียงเอก )   
หญ้า ออกเสียงเป็น
        
ญ้า( ย. นาสิก เสียงตรี )จึงสามารถแยก หญ้า และ ย่า ออกได้ทันที ที่ฟังคน
         สงขลาพูดสำเนียงใต้

หญา-จก  ( ย. นาสิก เสียงตรี )  หาจก   (ว.)   ยาจก  ใช้ในความหมายลักษณะการ
       กินที่ตะกละ ตะกราม กินอย่างมูมมาม กินทุกอย่างเหมือนยาจก หรือคนที่ขัดสน
       เพราะไม่แน่ใจว่ามื้อต่อไปจะมีกินอีกหรือเปล่า    คำนี้ มักเน้นไปในเรื่องการกิน
       อาหารที่ไม่สะอาด, ประเภทอาหารที่คนทั่วไปไม่กิน หรือกินมากผิดปกติ  เรียก
       ว่า  
 " กิน หญาจก "  หรือ   " กิน หาจก "

ญิ้ง      ( ย. นาสิก เสียงตรี )  (น.)  หญิง 

        ในภาษาไทยมาตรฐานเขียนด้วยอักษร  ญ. แต่ไม่ออกเสียงนาสิก คงออก
        เสียงเป็น หยิง

ใญ้     ( ย. นาสิก เสียงตรี )  (ว.)   ใหญ่ 
         
       
ในภาษาไทยมาตรฐาน จะเขียนด้วยอักษร ญ. แต่ไม่ออกเสียงนาสิก คงออก
        เสียงเป็น ใหย่  แต่ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะออกเสียง ญ
นาสิกชัดเจน

หญอด (หยอด - ออกเสียงนาสิก) (ว.)  แคระ แกร็น (มักใช้กับต้นไม้ที่แคระแกร็น
       
 เนื่องจากขาดน้ำ ขาดการดูแล )

แหญะ   (หย - ออกเสียงนาสิก) (ว. กินไม่หมด 
        ข้าวที่เหลือจากการกิน  เรียกว่า
ข้าวแหญะ


เญื้อ  (เยื้อ - ออกเสียงนาสิก)(น.)   เหี้ย ( Varanus salvator วงศ์  Varanidae )
       
สัตว์เลื้อยคลานลำตัวมีสีดำ   มีลายดอกสีขาว  หรือเหลืองอ่อนพาดขวางลำตัว
        หางมีสีดำ หรือ ลายปล้องดำสลับเหลืองอ่อน  บางตัวมีจุดแดงเล็กๆที่หาง ชอบ
        อาศัยตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ  
เหี้ย หรือ "เญื้อ"  เป็นสัตว์ที่เนื้อมีกลิ่นคาวมาก
        คนปักษ์ใต้ดั่งเดิม จึงไม่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร
        
       
ภาษาไทยถิ่นใต้ (คลองหอยโข่ง-สงขลา) จะเรียก เหี้ย ว่า "เญื้อ"  เสียง ห.ใน
        คำว่า เหี้ย กร่อนหายไป และหลังเสียง ย.จะมีเสียง อ.ต่อท้าย     คำว่า เหี้ย จึง
        กลายเสียงเป็น "
เญื้อ " (ออกเสียงนาสิก ) 

 


ยกขึ้น (ก.  ลุกขึ้น
      
" ยกขึ้น ยกขึ้น  ไอ้บ่าว   เติ่นได้แล้ว  นอนโหย๋ ผรื่อ  ... หวันแยงวานแล้ว "
         ลุกขึ้นๆ  ไอ้หนู ตื่นได้แล้ว นอนอยู่ได้อย่างไร  ตะวันแยงก้นแล้ว (ตะวันขึ้นสูง
         แล้ว ; สว่างแล้ว)

ยง  1.(ว.)  ชอบคุ้ยเขี่ยข้าว ของกระจุยกระจาย (คำนี้ มักใช้กับไก่ ที่คุ้ยเขี่ยทั้งพืชผัก
      ที่ปลูกไว้ข้างบ้าน รวมทั้งขึ้นไปคุ้ยหาเศษอาหารบนบ้านหรือในครัว จำเป็นต้องให้
      เด็กๆ คอยไล่อยู่ตลอด )  
       
" แม่ไก่ตัวนี้ ยง  เอาไว้ไม่ได้ ต้องเชือดแล้วแกง "
    
2. (ก.)  พรวนดิน, ทำให้ดิน รอบๆต้นไม้ ที่ปลูกไว้ ร่วนซุย  ( เฉพาะ ใช้ไม้หรือ
      อุปกรณ์พรวนดินเล็กๆ  ถ้าอุปกรณ์พรวนดินมีขนาดใหญ่ จะไม่ใช้คำนี้ )
    
    
ข้อสังเกตุ: คำว่า ยง, ยงดิน นี้ คนไทยโคราชก็ใช้ในความหมาย พรวนดิน เหมือน
     กันกับคำว่า ยง ของคนไทยถิ่นใต้(สงขลา)

    
ข้อมูลจาก   เวบไซท์ surveykorat ดอทคอม

ยน, บอกยน    (น.  ตะบันหมาก
      ( เหนือจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไป ไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า
" ไม้ทิ่มขล้อง" )
      " ดันยน "  แผ่นไม้รองก้นของ ตะบันหมาก
    
 " จนเหมือน ยนม้ายดัน "   -   สำนวน ไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย ยากจนมาก
      ขนาดไม้รองก้น ตะบันหมาก ก็ยังไม่มีปัญญาหา

ยอน    (ก.)  ยุยงให้เกิดเรื่อง ,  ยุให้ทำ,   แหย่ ,  กระทุ้ง      " ยอน มดแดง "

ยักหลัง(ก.)   ล้มหงายหลัง      " ยักหลังผีง "  หงายหลังตึง

ยัง     (ก.)   มี      
      
 " ยังเบี้ยเท่าใด "  -  มีเงินเท่าไหร่ ?
       
" ยังไหรม้าย " - มีอะไรมั้ย ?
        " ยังมั่งม่าย "  -  มีบ้างมั้ย ?

ยัน    (ก.)   เมา  โดยเฉพาะกินหมากแล้วเมา จะเรียกว่า ยันหมาก

ยับหยิ่ว (ออกเสียง หยับ หยิ่ว ) (น.)  เล็บเหยี่ยว ; ไม้ยืนต้นเลื้อยพึงพิงต้นไม้อื่น
      
 ( Zizyphus oenoplia  Mill.  วงศ์   RHAMNACEAE  )  ใบ คล้ายใบพุทรา
        ลำต้นและใบมีหนามแหลมงอ เหมือนเล็บของเหยี่ยว ชอบขึ้นตามที่รกร้างหรือริม
        จอมปลวก
  ผล ออกเป็นช่อเล็กๆรายไปตามกิ่งและใบ 
ผลอ่อนสีเขียวรสเปรี้ยว
        ผลสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว กินได้


        ข้อสังเกตุ
- ต้นไม้ชนิดนี้ ภาษาไทยโคราช เรียกว่า  
ยั่บเยี่ยว   ซึ่งใกล้เคียงกับ
       
ยับหยิ่ว ของคนไทยถิ่นใต้(สงขลา-คลองหอยโข่ง)

ยาขาว  (น.)  บุหรี่

ยาง  (น.)  (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น ย่าง ) 1.นกยาง (หน็อก ย่าง) : นกกระยาง
        
นกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลมขายาว ตัวสีขาว ชอบหากินตามชายน้ำและทุ่งนา
        2. ต้นยาง (ต็อน ย่าง)
ม้ต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae  เช่น
        ยางนา  ยางแดง

ยาง  (น.)  (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น  หยายาง ; ของเหลวและเหนียวไหล
        ออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ
        หรือสิ่งบางอย่างที่ทําจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ,
     
 
ต้นยาง (ต็อน หยาง)  - ต้นยางพารา ไม้ต้นอยู่ในวงศ์ Enphorbiaceae
       
ขี้ยาง (คี้ หยาง)
- เศษยางพาราที่หกตามโคนต้นยาง หรือ ที่แข็งติดจอกยาง ติด
        "ตะกง" ซึ่งสามารถรวบรวมมาขายได้
       
ต้นยางไทร (ต็อน หยาง ไซ)  -  ต้นยางพารา พันธุ์ดั้งเดิม ที่มีขนาดลำต้นใหญ่
       ให้ผลผลิต น้ำยาง น้อยกว่ายางพันธุ์ดีในปัจจุบัน  เชื่อกันว่า คนไทยชายแดน ได้
       นำพันธุ์ยางนี้มาจาก เมืองไทรบุรี ในเขตปกครองของอังกฤษ จึงเรียกต้นยางชนิด
       นี้ว่า ต้นยางไทร (
สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น ต็อน หยาง ไซ)

ย่าง  (ออกเสียง ย้า)  (ก.) การทำให้อาหารสุก โดยวางไว้ห่างๆไฟ อาจจะวางไว้ บน
       ไฟ หรือ ข้างๆไฟ   ก็ได้   (ถ้าวางไว้ใกล้ไฟ หรือวางบนถ่าน จะเรียกว่า จี )


       คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ - สงขลา คลองหอยโข่ง หรือ "โหม่เหนือ"ออกเสียงเป็น
       ย้าง     แต่ถ้าเป็น คนสงขลาริมทะเล หรือ " โหม่ บก " จะออกเสียงเป็น  หย่าง
       ( ดูคำอธิบายเพิ่มเติม หัวข้อ   "
หมายเหตุ กรณีศึกษาภาษาสงขลา " )

ย่าน,  ย่านเชียก (ออกเสียง หย่านหย่านเฉียก(น.) เถาวัลย์ (ทั้งที่ทอดยาวไป
        กับพื้นดิน  หรือเกี่ยวพันต้นไม้อื่น)
        
  " ย่านปด "   -  
รสสุคนธ์
         
 " ย่านนาง -   เถาย่านาง
          " ย่านนมควาย "
- เถาของต้นนมควาย
         
" พอสาวย่านถึง "  สำนวนใต้ ใช้ในความหมายว่า พอจะนับญาติกันได้ เปรียบ
       ได้กับญาติพี่น้องที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน    เหมือนกับ
เถาวัลย์ ที่มาจากกอเดียวกัน
        หรือจุดกำเนิดร่วมกัน
         
" ชักย่าน " (ออกเสียง ฉัก หย่าน )  - เดินตามกันเป็นแถว

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


     กลับไปหน้าแรก                                                         หน้าถัดไป    
 
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549    ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 13/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 



ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปฤษี
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุเพิ่มเติม
เกี่ยวกับคำว่า ต้นยาง, ต้นยางพารา, ต้นยางไทร

1. คนคลองหอยโข่ง สงขลา จะเรียก ต้นยาง  (พืชใน
   วงศ์ Dipterocarpaceae
ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ ต้น
   พะยอม)    และเรียก ต้นยาง (ยางพารา) ซึ่งอยู่
ใน
   วงศ์
Enphorbiaceae  แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ

  
"ต็อน ย่าง" คือ ต้นยาง ไม้ต้นขนาดใหญ่
 
 "ต็อน หยาง"  คือ ต้นยางพารา

2. คำว่า ต้นยางไทร (ต็อน หยาง ไซ) คนไทยถิ่นใต้
  ในแถบอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาในอดีต
  จะใช้เรียก ต้นยางพารา พันธุ์ดั้งเดิมที่มีขนาดลำต้น
  ใหญ่ ให้น้ำยางไม่มาก เหมือนกับยางพันธุ์ดี ในยุค
  ปัจจุบัน จึงเชื่อกันว่าคนคลองหอยโข่งและคนสะเดา
  ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนได้นำพันธุ์ยางพารามาจากเมือง
  ไทร หรือเมืองไทรบุรี เข้ามาปลูกในแถบชายแดน
  ฝั่งไทยโดยตรง  และคงไม่ได้ไปเอาพันธุ์ยางของ
  พระยารัษฎาฯ ที่จังหวัดตรัง เพราะหากคนชายแดน
  ต้องไปนำพันธุ์ยางมาจากจังหวัดตรัง มาปลูก  คน
  คลองหอยโข่ง คนสะเดา ในอดีต ก็คงจะเรียกต้น
  ยางพาราว่า "ต็อน หยาง ตรัง" ตามต้นตอที่มา และ
  อีกประเด็น ในอดีต ผู้คนในแถบคลองหอยโข่งและ
  สะเดา
ก็มักจะข้ามเขตแดนเส้นสมมุติที่อังกฤษและ
  ทางการกรุงเทพฯกำหนดตกลงกันไปยัง"เมืองไทร"
  "เมืองปะลิส" อยู่เป็นประจำ   การปฏิสัมพันธ์ของผู้
  คนระหว่างเมืองระหว่างหมู่บ้าน รวมทั้งระหว่างเครือ
  ญาติที่ไม่สามารถจำกัดให้สิ้นสุดลงแค่เส้นเขตจึงยัง
  ดำเนินอยู่ตามปกติ ทั้งการแลกเปลี่ยนซื้อขายที่ถูก
  กฎหมายและที่ผิดกฎหมาย เช่น การอุกชิงการปล้น
  ทรัพย์ ในอดีตในเขตชายแดนได้มีกลุ่มโจรจากฝั่ง
  ไทย  เข้าไปปล้นในเขตมลายูอยู่เป็นประจำ จนทาง
  การอังกฤษผู้ปกครองรัฐมลายูในขณะนั้น ต้องตั้งค่า
  หัวรางวัลนำจับกลุ่มโจรที่ไปจากเขตไทย  เมื่อข้าม
  ไปซื้อขายกันตามปกติหรือข้ามไปปล้นได้ ก็ต้องนำ
  สิ่งของ ติดไม้ติดมือกลับมาด้วย ซึ่งก็คง รวมทั้งต้น
  พันธุ์ยางพารา ที่ทางการอังกฤษสั่งห้ามนำออกจาก
  เขตรัฐมลายู และที่สำคัญ การเข้าไปขโมย เข้าไป
  ปล้นของสามัญชนคนไทย ก็ย่อมจะไม่มีการจดบัน
  ทึก ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนกับการนำพันธุ์
  ยางพาราเข้ามาปลูกที่จังหวัดตรังของพระยารัษฎาฯ
 
คงมีหลักฐานเฉพาะชื่อ ต้นยางไทร(ต็อน หยาง ไซ)
  ที่คนคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาในอดีต ใช้เรียก
  ต้นยางพารา เท่านั้น

 
(ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงข้อสังเกต ของลูกหลานสามัญ
  ชนคนคลองหอยโข่งคนหนึ่ง เท่านั้น   ไม่ใช่ผลงาน
  เชิงวิชาการที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่า ถูกต้องครบ
  ถ้วน  จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ไว้เป็นเบื้องต้น)

                     คนโบราณ - ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด

  

Free Web Hosting