รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ   : หมวดอักษร   -   น   บ 

 

รวมพันธุ์ไม้พื้นๆข้างขนำ
(หมวดอักษร   -    น    บ   )

/   นมแมว     /   นมควาย  /   เนระพูสีไทย  /    น้ำข้าว   /    ใบระบาด  


นมแมว

    


าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Rauwenhoffia siamensis Scheff    ชื่อวงศ์   ANNONACEAE 
ชื่ออื่น    -

นมแมว 
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของไทย   ชอบขึ้นในบริเวณที่ค่อนข้าง
ชื้น ตามริมทุ่ง ริมคลอง   ลำต้น สูง
1 – 2 เมตร แตกกิ่งไปทางส่วนปลายของลำต้น เปลือก
ของลำต้นชั้นนอกสีเทา ผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดลอก เปลือกชั้นในมีสีแดง
 ใบ เป็นใบเดี่ยว
กระจายทั่วกิ่ง ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบเป็นรูปขอบขนาน แกมรูปหอกกลับ ใบกว้าง
ประมาณ
2 – 5 ซม.  ยาว 14– 20 ซม. ก้านใบยาว 1 ซม. ผิวใบมีไขนวล   ดอก เป็นดอก
เดี่ยวห้อยลง
 เกิดตามซอกมุม ดอกมีสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบเรียงเป็น 2 ชั้น  กลีบดอก
กว้างประมาณ
2 ซม. ยาว 3 ซม.    ผลเป็นผลกลุ่ม เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง
สวยงามรสหวานรับประทานได้ เปลือกนอกบางเรียบ ภายในมีเมล็ดสีดำ หลายเมล็ด เมล็ด
มีลักษณะกลมแบนหนังเหนียวเคลือบอยู่

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ดอก   มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น    เนื้อไม้และราก มีรสฝาด ต้มเป็นยา
แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ   
ราก  เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้

 

 


นมควาย

    
ลักษณะ ผลนมควาย ที่สุกงอม และร่วงหล่น ตามธรรมชาติ
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

    
ใบนมควาย
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)



    
ลักษณะ ผลและ ดอกของ นมควาย
าพจาก Internet


ชื่อวิทยาศาสตร์   Uvaria rufa   Bl.       ชื่อวงศ์  ANNONACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ
 Carabao teats

ชื่ออื่นๆ   นมควาย (ใต้),   นมแมวป่า (เชียงใหม่),   บุหงาใหญ่ (เหนือ),
        หำลิง
(ตะวันออกเฉียงเหนือ),  
ติงตัง (นครราชสีมา) ตีนตั่งเครือ (ศรีสะเกษ อุบล),
        พีพวน (อุดรธานี),  สีม่วน (ชัยภูมิ
),
 
Susu ng  kalabaw  หรือ Carabao teats
       
(ฟิลิปปินส์)

นมควาย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อไม้แข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกล สูง 4 - 6 เมตร
กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง   ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปวงรีหรือรูปไข่ สีเขียวเข้ม ผิวใบมี
ขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง
2.5-3.5 ซม. ยาว 4.5-10 ซม
 ดอก สีแดงสดถึงสีแดง
เข้ม ออกเป็นช่อ
1-4 ดอก ตามซอกใบ  กลีบเลี้ยง 3 กลีบ  มีขนปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบ
รูปไข่ปลายมน มีขนปรายทั้งสองด้าน ดอกบานขนาด
1.5-2.5 ซม.  เกสรผู้ จำนวนมาก วง
นอกมักเป็นหมัน รังไข่มี
10 อัน หรือจำนวนมาก
 ผล เป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือไข่กลับ ขนาด
ผลเท่าลูกตำลึง
ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ขนาดยาว
2-3 ซม. แต่ละช่อมี 4-20 ผล เนื้อข้าง
ในผล สีขาวขุ่นหุ้มเม็ดในสีดำไว้ 
ก้านผลยาว
1-4 ซม. เมล็ด 10-20 เมล็ด   เมื่อสุก ผลจะ
สีแดงสด  รสเปรี้ยวๆ
  รับประทานได้

การกระจายพันธุ์    นมควาย กระจายพันธุ์ทั่วไปตามป่าดงดิบที่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง
800 เมตรจากระดับน้ำทะเล  พบได้ตั้งแต่ ยูนนาน(ประเทศจีน),   ลาว,   เวียตนาม,  ไทย,
เขมร, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์  นมควาย จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม -
มิถุนายน ติดผลในเดือน มิถุนายน-กรกฎาคมและผลจะสุกในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน

การขยายพันธุ์   ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
แก่น และราก    ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ สลับไข้ซ้ำ เนื่องจากกินของแสลง     ราก แก้ผอมแห้ง
สำหรับสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้หลังการคลอดบุตร และช่วยบำรุงน้ำนม   
ผล  ผลสุก รสเปรี้ยวๆ
รับประทานได้ (ต้องปอกเปลือกออก และทานทั้งเมล็ด เนื่องเนื้อและเมล็ด ติดกัน)    เถา
เถานมควาย (ภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า ย่านนมควาย) มีเนื้อไม้แข็งสามารถนำเถานมควาย
แห้ง มาทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านหรือใช้ในงานจักสานได้

ดูข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ของ นมควาย เพิ่มเติม
 
 เวบไซต์
  Chinese Plant Names ,  
   เวบไซต์  The Indi journal

 


หมายเหตุเพิ่มเติม ของ คนโบราณ

ลักษณะของใบและดอกของ นมควาย คล้ายคลึงกับใบและดอกของ
"กล้วยมูสัง"ซึ่งเป็น
พืชในวงศ์
 ANNONACEAE วงศ์เดียวกัน  แต่มีความแตกต่างที่ ลักษณะของผล  กล่าวคือ
นมควาย มีผลสั้นรูปไข่ ลักษณะคล้ายนมของควาย   คนไทยถิ่นใต้ จึงเรียกว่า นมควาย
เช่นเดียวกับ คนฟิลิปปินส์ ก็เรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า
 Susu ng  kalabaw  หรือ Carabao
teats 
ซึ่งแปลว่า นมของควาย เช่นกัน  
ส่วนลักษณะผล กล้วยมูสังจะมีรูปทรงยาวคล้าย
กล้วย  คนไทยถิ่นใต้เรียกพันธุ์ไม้ชนิดนี้
ว่า กล้วยมูสัง(กล้วยของชะมด) เนื่องจากเป็นผล
ไม้ป่าที่ มูสัง ชอบกิน    

( มูสัง,  มุสังมุดสัง  ในภาษาไทยถิ่นใต้ ก็คือ ชะมด หรือ อีเห็น ในภาษาไทยภาคกลาง
ส่วนคำว่า หมูสัง นั้น ไม่มีในภาษาไทยถิ่นใต้ )


เปรียบเทียบลักษณะ  ผลของนมควาย กับ ผลของกล้วยมูสัง


นมควาย ( Uvaria rufa  Bl.    วงศ์  ANNONACEAE )
าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)


าพจาก Internet
กล้วยมูสัง ( Uvaria grandiflora Roxb.  วงศ์  ANNONACEAE )

 


เนระพูสีไทย
 
     

าพโดย   :   คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด  (ซอยทวดพรหม สนามบินหาดใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์    Tacca chantrieri Andre    วงศ์  TACCACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ    
Bat flower
ชื่ออื่น  -  ว่านนางครวญ(ใต้), ว่านค้างคาวดำ,เนระพูสีไทย(กลาง), เนียมฤาษี(เชียงใหม่),
       ดีงูหว้า(เหนือ), 
ว่านหัวฬา(จันทบุรี),  ว่านพังพอน (ยะลา),  ละเบ๊าะบูเก๊ะ (มลายู),
       
ม้าถอนหลัก(ชุมพร),    ดีปลาช่อน(ตราด) 

เนระพูสีไทย ป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าเจริญตามแนวราบใต้ดิน  ชอบขึ้นในที่ชื้น  ระบายน้ำได้ดี
และมีแดดรำไร โดยธรรมชาติจะพบ
ในป่าดงดิบชื้น ในระดับความสูง 500-1500 เมตร   ใบ
ใบรูปหอกแกมรูปไข่  ขอบใบเรียบปลายเรียวแหลม   กว้างประมาณ
10 ซม. ยาวประมาณ
 
40 ซม. โคนใบมน หรือเฉียง  แผ่นใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ  ก้านใบสีเขียวคล้ำชูขึ้นสูง
ดอก ออกดอกปลายฝน  ดอกของ
เนระพูสีไทยมีสีม่วงดำ ก้านดอกชูขึ้นมาสูงจากกลางกอ
ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุกดอกออกแน่นล้อมรอบด้วยใบประดับรูปไข่
2 ใบ ตรงกลางดอก
มีเกสรตัวผู้และตัวเมียสีดำสนิท  มีกลีบดอก
2 กลีบ  ลักษณะรีรูปทรงกลม รังไข่ใต้วงกลีบ
ดอกด้านใน จะเป็นเส้นยาวคล้ายด้าย ยื่นห้อยลงมา   เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว  ดอกของ
เนระพูสีไทย  จะมีลักษณะคล้ายค้างคาวกำลังกางปีก ( จึงได้ชื่อว่า ว่านค้างคาวดำ)

วิธีขยายพันธุ์  
เนระพูสีไทย  สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีแยกหน่อหรือจะใช้วิธีปลูกด้วยเมล็ดก็ได้
แต่ค่อนข้างจะช้า
กว่าวิธีแยกหน่อ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
เหง้า  ใช้ต้มหรือดองสุรา ดื่มแก้โรคความดันเลือดต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ   บำรุงกำลังสตรี
ระหว่างตั้งครรภ์
     ทั้งต้น    ต้มอาบแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย

 


น้ำข้าว 


าพ # 1 โดย :  คนโบราณ (a_Rsw )  
สถานที่ ทุ่งปลักเหม็ด 

  
ภาพ #2 จากเวบ บ้านสวนพอเพียง         ภาพ #3 จากวบ พันทิพย์

ชื่อวิทยาศาสตร์   Glycosmis  pentaphylla (Retz.) DC.   ชื่อวงศ์  RUTACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Ash sheora,   Orangeberry,   Rum Berry,   Gin Berry
ชื่ออื่น      กระรอกน้ำ (ชลบุรี),  กระรอกน้ำข้าว,กระโรกน้ำข้าว (กลาง), เขนทะ (เหนือ), 
               น้ำข้าว (กลาง
, ใต้),  ส้มชื่น (กลาง,เหนือ),  ตาระแป (มลายู),     
               ลูกเขยตาย   (ชื่อในตำรับยา )

น้ำข้าว  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก(สูงได้ถึง 5 เมตร)   ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ
ปลายคี่ 
5-7 ใบ  ก้านใบ 2-10 มมใบย่อยขนาด 3-7 × 10-25  ซม.  ดอก  ดอกสีขาวมี
กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบ     ผล  ผลกลมโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
8-10
มม. ผลสุกสีแดงอมชมพู มีรสหวานน้อยๆ รับประทานได้   มีขึ้นตามป่าราบและที่รกร้างทั่ว
ไป
  น้ำข้าว พบกระจายพันธุ์ ตั้งแต่ เนปาล,  ภูฐาน,  อัสสัม, พม่า, ยูนนานตอนใต้,  ไทย,
ลาว,  เวียตนาม, ศรีลังกา, และฟิลลิปปินส์

ส่วนที่ใช้ประโบชน์
ราก
มีรสขื่นปร่า ใช้เป็นยากระทุ้งพิษ แก้ไข้รากสาด แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษงู
ดอกและผล  ใช้รักษาหิด     เปลือกและเนื้อไม้ แก้ฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม 

หมายเหตู  พืชในกลุ่ม Glycosmis  นี้ นอกจากต้นน้ำข้าว หรือ ลูกเขยตาย(Glycosmis
pentaphylla
(Retz.) DC.
) แล้ว ยังมีพันธุ์ไม้อีกชนิดเรียกว่า ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก
Glycosmis cochinchinensi Pierre.)  ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เหมือนกันทุกอย่าง
ต่างกันเฉพาะใบ ที่
ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก(Glycosmis cochinchinensi Pierre.) จะ
มีใบ เป็น
ใบเดี่ยวรูปหอก ปลายและโคนแหลม   (ทั้ง 2 ชนิด มีสรรพคุณทางสมุนไพรใกล้
เคียง ใช้แทนกันได้) 
   ตัวอย่างภาพต่อไปนี้



ภาพจากวบ พันทิพย์

ข้อมูลเพิ่มเติม   ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์และสรรพคุณสมุนไพร   เวบทองไทยแลนด์,
                        เวบ GlobinMed,  
วบพันทิพย์,   เวบ Citrus Pages

 


ใบระบาด


 

ชื่อวิทยาศาสตร์     Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer. 
ชื่อวงศ์    CONVOLVULACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ   Elephant creeper,  Hawaiian Baby Woodrose
ชื่ออื่น        ผักระบาด,   เมืองมอน

ใบระบาด  เป็นไม้เถาเกี่ยวพันต้นไม้อื่นยาวได้ถึง10 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีขนนุ่ม มียาง
เหนียวสีขาว   ใบ  ใบเดี่ยวออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 ซม.  ยาว 11 - 30 ซม.  ปลาย
แหลมโคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน  ดอก ดอกออกชิดกัน เป็นช่อ
ตามซอกกิ่ง
กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกใหญ่สีม่วงแกมชมพู เชื่อมติดกัน
เป็นรูปกรวยยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้นๆ  เมื่อดอกบานเส้นผ่า
ศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.เกสรตัวผู้ 5 อัน   ผล  ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม.
ปลายมีติ่ง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ใบระบาด   มีดอกและใบสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งสวน
ใบ เป็นสมุนไพร ใช้ในการ
บ่มเร่งหนองฝี รักษาแผล ดูดหนองฝี  ปิดแผล เป็นยาพอกแผล
ลดการอักเสบของแผล  และใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง
ราก
   ฝนกับข้าวสาร ใช้พอกข้อที่ปวดบวม  เนื่องจากเป็นโรคไขข้ออักเสบ ช่วยลดอาการ
อักเสบบวมได้   นอกจากนี้ ตามตำราอายุรเวท ยังระบุว่ารากของใบระบาด
ใช้เป็นยาขับน้ำ
เหลืองเสีย และ
นำไปปรุงยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ  เป็นยาบำรุง ยาอายุวัฒนะ  

อย่างไรก็ตาม   การใช้ใบระบาดเป็นยาสมุนไพร โดยเฉพาะเป็นยาภายใน (ยารับประทาน)
อาจเกิดผล
ข้างเคียง ที่ต้องระวัง      คือ  อาจเกิดอาการคลื่นใส้ อาการประสาทหลอน
เหงื่อออก  และความดันโลหิตสูง

ข้อมูลเพิ่มเติม   ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์   the-than.com
                       ข้อมูล
สรรพคุณสมุนไพร   rVita - Personalized Natural Healing
 




 หน้าแรก                                  หน้าฐานข้อมูลพันธุ์ไม้           หน้าถัดไป
 
 
นำเสนอเมื่อ 15/11/2552
ปรับแต่งครั้งสุดท้ายเมื่อ 04/01/2555

Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
 

 

 

 

 

 


 

 

 

  

Free Web Hosting