ภาษามลายู กับ ภาษาไทยถิ่นใต้ 1                                                                              
   
 

ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้  / หน้า 1 / หน้า 2 / หน้า 3 /หน้า 4

ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้  1

       ภาษาและสำเนียงของคนปักษ์ใต้ โดยเฉพาะคนสงขลา จะมีคำศัพท์เฉพาะ
จำนวนมากที่คนกรุงเทพฯฟังแล้วไม่เข้าใจ
 และ
แม้จะสอบค้นจากพจนานุกรมไทยไม่
ว่าฉบับใดก็คงจะค้นหาความหมายคำเหล่านี้ได้ยาก
ตัวอย่างเช่น
 
 เลี๊ยะ 
 ซ่า-ว้า
 มายา, ม่ายยา
 
คง
 น้ำพ
ภาษาสงขลาใช้เรียก  กระแต(สัตว์ตัวเล็กคล้ายกระรอก)
ภาษาสงขลาใช้เรียก  ละมุด (ไม้ผลชนิดหนึ่ง)
ภาษาสงขลาใช้เรียก   ปุ๋ยคอก 
ภาษาสงขลาใช้เรียก   ข้าวโพด
ภาษาสงขลาใช้ในความหมาย  น้ำท่วม

      ฯลฯ

       ศัพท์ภาษา ที่แตกต่างจากเขตอื่นเหล่านี้   ล้วนแล้วแต่เป็นคำที่คนสงขลารับมา
จากมลายู 
  ทั้งนี้เนื่องจาก อยู่ใกล้ชายแดน  มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนไทยและ
มลายูดั่งเดิม
  ส่งผลให้คนไทยชายแดนรับเอาภาษามลายู มาใช้ในชีวิตประจำวัน ใน
ขณะเดียวกัน
ำในภาษามลายูเองก็มีคำหลายๆคำที่คล้ายคลึงกันกับภาษาไทย  ทั้ง
สำเนียงและความหมาย จนผู้รู้ทางด้านภาษาเองก็ไม่สามารถบอกได้เช่นกันว่ามลายู
ยืมจากภาษาไทย หรือไทยยืมมาจากภาษามลายูกันแน่
 

      ดังนั้น เพื่อเป็นการสืบทอดภาษาของคนเฒ่าคนแก่ให้คงอยู่ จึงขอนำภาษาไทย
และมลายูที่เหมือนกัน
(เท่าที่จะสามารถค้นได้จาก Kamus มาเลย์ -อินโดนีเซีย) มา
เปรียบเทียบกับภาษาไทยถิ่นใต้ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เขาพูด เขา "แหลง" กัน
  เพื่อให้ท่านได้
ลองพิจารณา  ดังต่อไปนี้

ภาษามลายู

ภาษาไทย และคำที่ใช้ในปักษ์ใต้

acar

 

(น)  ผักดอง     ผักดองที่เป็นเครื่องเคียงของแกงมัสหมั่น จะ
เรียกว่า
อาจาด  หรือ อาดจาด  ( คำนี้เดิมมาจาก achar ใน
ภาษาทมิฬ )

aduh
 

 

(ว)  คำอุทานแสดงอาการปวด
ะโดย, อะโตย   เป็นคำอุทานแสดงอาการปวดของคนใต้ 
กล่าว
กันว่า  คำๆ นี้ใช้กันตั้งแต่ปักษ์ใต้ของไทย   ลงไปจนถึง
เกาะชวาของอินโดนีเซีย
“อะโดย” หรือ "อะดุย"  จะหมาย
เฉพาะเจ็บนิดๆ  แต่
 
อะโตย  หรือ อัดโตย จะเจ็บมากกว่า

amboi

 

(ว) คำอุทานในลักษณะชื่นชม
คนปักษ์ใต้
โดยเฉพาะคนสะกอมจะใช้คำนี้อุทาน  เช่น
 
" อะโบย มะ สวยจังหู สวยจังเลย "

ambruk

 

(ก)  ล้ม, พัง, ทรุด          " ต้นไม้ใหญ่ พรวก เหงบ้าน " 
ความหมายคือ ต้นไม้ใหญ่ล้มทับบ้าน
 

asrama

 

(น)  อาศรม    คำนี้ ในภาษามลายู จะใช้ในความหมายหอพัก
ของนักเรียนนักศึกษา    แต่ภาษาไทย จะใช้ อาศรม ในความ
หมาย ที่พักของฤษี นักบวช

bab
 

(ลักษณะนาม)  ฉบับ  หรือ ตอน   ใช้กับ เอกสารหรือหนังสือ
(
chapter)

bah ( air bah )


 

(ก)  ท่วม , นอง
ในเขตปักษ์ใต้ชายแดน  จะเรียกฤดูฝน ซึ่งจะมีน้ำหลากอยู่เป็น
ประจำ
ระหว่าง เดือน 12 ถึงเดือนอ้ายว่า "ดูพะ" หรือ "ฤดูพะ"
 (หมายถึงฤดูน้ำท่วม น้ำนอง)

bahasa

(น)  ภาษา

bahtera

(น)  เภตรา  หรือ  เรือ

baja
 

(น)  ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยขี้ค้างคาว
ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา จะเรียกว่า " มายา " หรือ "ม่าย ยา"

bakti

(น)  ภักดี    วามซื่อสัตย์ จงรัก

balai
 

 

(น)  พาไล  คำมลายูใช้ในความหมาย ห้องประชุมหรือสำนัก
งาน
แต่ภาษาไทยปักษ์ใต้ใช้ในความหมาย ห้องหรือสถานที่ๆ
ต่อเติมจากตัวบ้านไว้เป็นการเฉพาะเช่น
"พาไล" ของโนราโรง
ครู
 ในกรณีต่อเติมมักจะใช้คำสั้นๆว่า พะ เช่น " เรือนซีกนี้พะ
ออกไปเป็นครัว
"

banci

 

(น) บัญชี ในภาษามลายูใช้ในความหมายการสำรวจ หรือ การ
สำมะโน
 

bangsa


 

(น) ชาติกำเนิด,ชาติตระกูล    ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ใช้ว่
บังสา   มีตัวอย่างที่ผู้เฒ่าผู้แก่พูดกันดังนี้ 
 
"อย่าไปถือสามันเลย บังสาของมัน เป็นอย่างนั้นเอง " หมาย
ถึง ชาติตระกูลหรือลักษณะของมันเป็นอย่างนั้นเอง

barat

 


 

(น) ทิศตะวันตก
ไทยปักษ์ใต้ใช้เฉพาะเรียกชนิดของฝนหรือลมเช่นคำว่า
"ลม
พรัด"
หมายถึงลมในช่วงเดือนหก เดือนเจ็ดซึ่งมาจากทิศตะวัน
ตก  ถ้าพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้   จะเรียกว่า
ลมพรัดยา
(
barat-daya) หรือลมพัทยาในภาษากรุงเทพฯ  แต่ถ้าเป็นลม
ที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะเรียกว่า  
ลมพรัดหลวง
(barat-laut)  ซึ่งลมชนิดนี้ความรุนแรง ของลมจะมีมาก

baroh
 

(น)   บริเวณที่ลุ่ม มีน้ำแฉะ
ไทยถิ่นใต้ชายแดนใช้ว่า 
พระ  หรือ พรุ    (ป่าพรุ)

beka

(น)  ต้นเพกา

bia

 

(น)  เบี้ย 
คนไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียก เงินหรือ ธนบัตร ว่า
เบี้ย
มลายูใช้ในความหมายเฉพาะ ภาษีอากร และเงินทุนการศึกษา

bidan

 

 

(น) หมอตำแย    ภาษาไทยถิ่นใต้( คลองหอยโข่ง สงขลา)
เรียก  หมอตำแย หรือ
หมอทำคลอดว่า
หมอบิดัน หรือ หมอ
ดั้น
ในท้องที่ที่ห่างจากชายแดนออกไป เช่น นครศรีธรรมราช
( ฉวาง
-พิปูน) จะออกเสียงคำนี้เป็น "
หมอไบทาน"
(ภาษายาวีในเขต 3 จังหวัดชายแดน จะใช้เป็น "โต๊ะบิแด"
ในภาษามาเลย์ ประเทศมาเลเซีย  จะใช้ Tok Bidan )

binasa

(น) (ก)   พินาศ   ทำลาย,กวาดล้าง

bok

(น)  เบาะ ที่รองนั่ง หรือนอน 

budu

(น)  น้ำบูดู

bumi
 

bumi butra

 

bunga

bunga rampai

 

(น)  ภูมิ,  แผ่นดิน
 

(น)  ภูมิบุตร ลูกหลานของแผ่นดิน
ภาษาถิ่นใต้ จะใช้คำว่า
" ลูกที่ " หมายถึง ผู้คนดั่งเดิมที่อยู่ใน
ท้องถิ่น  (ไม่ได้อพยพมาจากที่อื่น)

(น)  บุหงา ดอกไม้

(น)  การจัดดอกไม้ ที่นำเอาดอกไม้หลายอย่าง ต่างสีมาผสม
รวมกันและปรุงด้วยเครื่องหอม  แล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ
คนไทยเรียกตามภาษามลายู ว่า 
 บุหงารำไป

buruk

 

(ว)  ไม่สวย, ไม่ดี,
ไทยปักษ์ใต้จะใช
้คำว่า
"โบร๊ะ" ในความหมาย ไม่หล่อ ไม่สวย
หรือขี้เหร่

borok

 

(ว)  สกปรก  
ไทยปักษ์ใต้ชายแดน(คลองหอยโข่ง)จะใช
้คำว่า
" บอรอก,
 มอรก,  
หรือ  มรก "  ในความหมาย
สกปรก

borung

(น)  บุหรง  นก

bulan

(น)  บุหลัน  เดือน, ดวงจันทร์

cakap

 

 

(น)  (ก)  พูดคุย นทนา
 ผู้เฒ่าผู้แก่แถบปักษ์ใต้ชายแดนโดยเฉพาะในเขต อ. นาทวี
อ. สะบ้าย้อย  จะใช้คำนี้ในบางโอกาส เช่น   
 "ถ้าไม่ได้จากับ
กับสาวๆ แล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยนะ"
 หมายความคือ" ถ้า
ไม่ได้พูดคุยกับสาวๆ แล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ เลยนะ"


หมายเหตุ

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

    กลับไปหน้าแรก                                                           หน้าถัดไป    

  

ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 21/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 



รูปแม่นาง
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้


บังสะหม้อ
ตัวตลกหนังตะลุงสงขลา
(เป็นมุสลิม พูดสำเนียงสะกอม)

ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

 

 

  

Free Web Hosting