อักษรขอมไทย  :   ตัวหนังสือของทวดที่ลูกหลานลืม
 
 


อักษรขอมไทย

        ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2523 "คนโบราณ" ได้ใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในร่มกาสาวพัตรในวันเวลา
ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่มีค่ายิ่ง
  กล่าวคือ ผมได้อุปสมบท   ณ วัดกาญจนาวาส
 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
พอถึงวันเข้าพรรษาก็ได้ย้ายไปจำพรรษา อยู่    ณ วัดเสะ (วัดเกษม
รัตน์) ตำบลสะพานไม้แก่น ซึ่งเป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สำคัญวัดหนึ่งของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ที่ "วัดเสะ" นี่เอง ที่ผมได้มีโอกาสเรียนรู้อักขระขอมจากคัมภีร์ใบลาน  ภายใต้การแนะนำของ "พ่อหลวงแก้ว"
รักษาการเจ้าอาวาสวัดเสะ ในขณะนั้น 

         "พ่อหลวงแก้ว" ได้แนะนำให้ผมรู้จัก ตัวหนังสือขอม   ด้วยวิธีการง่ายๆ  คือให้ศึกษาเปรียบ
เทียบโดยตรงจาก คัมภีร์ใบลาน โดยเริ่มจาก  บทสวด คำนมัสการ ,บทสวดพระไตรสรณาคม  ศีล
แปด พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ  ซึ่งบทสวดทั้งหมดนี้
 ชาวพุทธทุกคน ล้วนจำได้และ
ท่องขึ้นใจอยู่แล้ว  และโดยเฉพาะผู้ที่เป็นพระภิกษุด้วยแล้ว
   การสวดธรรมวัตรเช้าและ  ธรรมวัตร
เย็นในทุกวัน จะต้องเริ่มจากบทสวดเหล่านี้  " พ่อหลวงแก้ว"  ได้นำผูกคัมภีร์ที่เขียนเป็นภาษาขอม
มาให้ผม   พร้อมบอกให้ทราบว่าตอนไหน คือ บทสวดคำนมัสการ 
  ตอนไหนคือ บทสวดพระไตร
สรณาคม ฯลฯ แล้วให้แยกแยะตัวอักขระขอมเอาเอง โดยเทียบเคียงจากอักษรไทยปัจจุบัน

           ขั้นตอนการ "แกะ" ตัวอักขระภาษาขอมตามคำแนะนำของ " พ่อหลวงแก้ว"   ต้องใช้เวลา
นานหลายวัน จึงจะคัดลอกและแยกแยะได้    พอ"แกะ"ได้ครบ " พ่อหลวงแก้ว"
 จึงได้แนะนำให้รู้
ถึง ตัวอักขระ และเชิงของตัวอักขระ พร้อมยังได้ย้ำเตือนผมอยู่ตลอดว่า  อย่าเข้าใจว่าอักขระขอม
นี้ เป็นภาษาเขมร
   เพราะอักขระที่เรียนนี้ เขาเรียกว่า "ขอมไทย"     เป็นจารึกของคนไทยรุ่นก่อน
ของปู่ย่าตายายที่สั่งสอนต่อกันมา  หนังสือสำคัญ
 ตำราของคนไทยสมัยก่อน  ล้วนแล้วเขียนเป็น
ตัวหนังสือขอมไทย ที่นำไปให้คนเขมรอ่านจะไม่มีทางอ่านและเข้าใจได้
   ดังนั้น หากคนรุ่นเราไม่
สืบทอดเรียนรู้การเขียนอ่านอักขระนี้แล้ว ก็เท่ากับว่าละทิ้งหนังสือของคนรุ่นก่อน มองข้ามภูมิ ปัญญาของบรรพบุรุษ  ซึ่ง " พ่อหลวงแก้ว" บอกว่า ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น

           ผมรับปาก " พ่อหลวงแก้ว" และตั้งแต่วันนั้น  หากมีเวลา  ผมก็จะค้นคว้าและพยายามแกะ
รอยอักขระขอม โดยเฉพาะหนังสือขอมที่ทวดได้เขียนไว้ในหนังสือบุด  ทั้งนี้ก็เพื่อสืบทอดแนวคิด
ของ "พ่อหลวงแก้ว" ที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างอดีตกับปัจจุบันและอนาคต 
   จากวันนั้นจนถึง พ.ศ.นี้
แม้เวลาจะล่วงเลยไปเกือบ 30 ปี    ผมเองยังศึกษาได้ไม่ถึงไหน   หนังสือบุดของทวดบนหิ้ง
ก็ยัง
อ่านได้ไม่หมด  หลายๆหน้ายังไม่ทราบถึงเนื้อหาใจความที่ทวดเขียน ประกอบกับ
" พ่อหลวงแก้ว"
ผู้เป็นครู ที่พอจะให้ปรึกษา ท่านก็ได้มรณภาพจากโลกนี้ไปแล้ว

          อย่างไรก็ตาม  แม้ภูมิรู้ที่มีจะน้อยนิด แต่เพื่อสืบทอดแนวคิดของ" พ่อหลวงแก้ว" ผมจึงได้
ขวนขวายค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารที่พอจะหาได้ 
   มาเป็นเครื่องมือในการแกะรอยและทำความ
เข้าใจเนื้อหาสาระในหนังสือของทวดเล่มนั้น ให้จงได้ 

           ต่อไปนี้คือ ตัวอย่าง(บางหน้า)ของ  ตำราเรียนอักษรขอมด้วยตนเอง   ที่ขอนำเสนอไว้
 ณ ที่นี้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเบื้องต้น แก่ท่านทั้งหลายที่สนใจ 

 

คำนมัสการ

นโม  ตัสสะ   ภควโต อรหโต
สัมมา
 สัมพุทธัสสะ  ฯะ  ว่า  ๓ หน
 

พระไตรสรณาคม


พุทธัง  สรณัง   คัจฉามิ                    ฯะ  
ธัมมัง    สรณัง   คัจฉามิ        
          ฯะ 
สังฆัง   สรณัง 
   คัจฉามิ                   ฯะ 

ทุติยัมปิ    พุทธัง   สรณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ
    ธัมมัง   สรณัง   คัจฉามิ
ทุติยัมปิ    สังฆัง   สรณัง   คัจฉามิ

ตติยัมปิ    พุทธัง    สรณัง   คัจฉามิ            
ตติยัมปิ    ธัมมัง    สรณัง   คัจฉามิ           
ตติยัมปิ    สังฆัง    สรณัง   คัจฉามิ       ฯ
|

จบ พระไตรสรณาคม

ศึกษาเปรียบเทียบอักษรขอมไทย/อักษรไทย 
จาก
  
นโม  และ   แม่อักษร 

ขอเชิญ "คลิก"เพื่อศึกษาอักษรขอมไทย /   1    /    2    /           /   5     /    /

                                                     /   7     /     /     /   10   /   11   /  12   /

                                                     /  13    /  14    /  15    /  16   /   17    /


ตัวอย่าง หนังสือบุด / หนังสือเทศน์
ของวัดปักษ์ใต้สมัยก่อน (
เขียนคำบาลี ด้วยอักษรขอมไทย)

    
  
    อนึ่ง  เพื่อให้ท่านสามารถแยกแยะความแตกต่าง  ระหว่างอักษรขอมไทย กับอักษร
เขมรที่ใช้ในประเทศเขมรปัจจุบัน
กรุณาศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างแม่อักษรของขอม
ไทยกับอักษรเชรียงของเขมร  ซึ่งแต่ละตัวอักษร จะมีตัวเชิงประกอบเหมือนกัน แต่รูป
แบบวิธีเขียนจะต่างกันในหน้า อักษรเขมร  ที่ คนโบราณ แห่งขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
ได้
รวบรวมบันทึกไว้แล้ว
 

                                                             

 



เอกสาร/แหล่งข้อมูล อ้างอิง

   1. ตำราเรียน อักษรโบราณ เรียบเรียงโดย  สวัสดิ์  วิเศษวงษ์ ( หน้าที่ 17 - 48 ) สำนักพิมพ์
       วงษ์สว่างจัดจำหน่าย   พิมพ์ที่ บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด    70  ถนนราชบพิธ   กทม.2 
       นายยอดยิ่ง โสภณ   ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ.2524
  
2.
ศึกษาตัวอย่างอักขระขอมไทยเพิ่มเติมจาก
             -
 อักษรขอม : จารึกแห่งพระธรรม
             -  Wapedia-Wiki:อักษรขอมไทย

( เอกสาร / แหล่งข้อมูลอื่นๆ )


  หน้าแรก                                                                                   หน้าถัดไป    
 
 

นำเสนอข้อมูลเมื่อ 30/09/2549
ปรับแต่งหน้าเวบเพจเมื่อ 04/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 
 
 

หมายเหตุ :
     
      "อย่าเข้าใจว่า อักขระขอมนี้ เป็น
ภาษาเขมร  เพราะอักขระที่เรียนนี้เขา
เรียกว่า  "ขอมไทย" เป็นจารึกของคน
ไทยรุ่นก่อน ของปู่ย่าตายายที่สั่งสอน
ต่อกันมา  หนังสือสำคัญ ตำราของคน
ไทยสมัยก่อน
  ล้วนแล้วเขียนเป็นตัว
หนังสือขอมไทย   ที่นำไปให้คนเขมร
อ่านจะไม่มีทางอ่านออกและเข้าใจได้
        ดังนั้น หากคนรุ่นเรา ไม่สืบทอด
เรียนรู้การเขียน อ่านอักขระนี้แล้ว ก็
เท่ากับว่าละทิ้งหนังสือของคนรุ่นก่อน
มองข้ามภูมิ ปัญญาของบรรพบุรุษ"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อตั้งใจจะอ่านหนังสือขอมไทย ที่คน
รุ่นทวดได้เขียนไว้ ให้เข้าใจ
.. ก็จำเป็น
ที่จะต้องเรียนรู้ตัวหนังสือของเขมรเพื่อ
นำมาเปรียบเทียบ
..ก่อนอื่น ลองมาฟัง
เพลงเขมรกันบ้าง
... แล้วจะรู้ว่าสายสัม
พันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทย
-เขมร
นั้น
  เป็นเรื่องที่ น่าศึกษาเรียนรู้ จริงๆ

ทดลองฟังเพลงเขมร ทำนองเพลง
"ฝนเดือนหก"
ในเวอร์ชั่น เขมร ชื่อเพลง
" ma oum snea "

ขับร้องโดย


 
(ตามตัวอักษรที่เขียนคือ
พราบ สุวัถติ 
แต่เขมรจะออกเสียงเป็น
เพรียบ โซวัต
  Preap Sovath )

 
MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com

  

Free Web Hosting