บันทึก
ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
The Hut of Plugmet
A little bit of flora & language.

 

       

เกริ่นนำความเป็นมา

ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้  
ภาษาสงขลา โดยสังเขป อักษรขอมไทย
กรณีศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาสงขลา ข้อมูลจาก e-mail
ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ แหล่งข้อมูล อ้างอิง
เรื่องของคนรุ่นทวด หมายเหตุของผู้จัดทำ
       

 ภาษาสงขลา (โดยสังเขป)

 

     ภาษาสงขลา : (โดยสังเขป)  หน้า 1  /  หน้า 2   หน้า 3 /  หน้า 4 

ภาษาสงขลา  : (โดยสังเขป) หน้าที่ 1

เพื่อให้ท่านได้ทำความเข้าใจในภาษาไทยถิ่นใต้ (สำเนียงภาษาสงขลา)
ซึ่งแตกต่างจากภาษากรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับเสียงวรรณยุกต์
ที่มีมาก รวมทั้งหน่วยเสียงพยัญชนะที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นอย่าง
ยิ่งที่ต้อง แยกแยะศึกษา ตามขั้นตอน

เอกสารต่อไปนี้คัดลอกมาจาก คำบรรยายภาษาไทยขั้นสูง ของชุมนุมภาษาไทย
ของคุรุสภา( จัดพิมพ์สำหรับสมาชิกของชุมนุม  ) พิมพ์ที่ โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ
นายกำธร  สถิรกุล ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๑ วิชานิรุกติศาสตร์ เรื่อง
ภาษาถิ่น(ฉบับที่ ๑ - ๒)
 นางสาวซ่อนกลิ่น พิเศษสกลกิจ  บรรยายหน้า ๗๘๐
 - ๘๐๒ "

"คนโบราณ"  ผู้จัดทำเวบไซท์เห็นว่า  อ.ซ่อนกลิ่นฯ   อธิบายเรื่องภาษาสงขลาได้
ชัดเจน ง่ายต่อการศึกษาจึงได้นำมาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี่เพื่อผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้า

(เฉพาะข้อความตัวอักษรสีแดง จะเป็นหมายเหตุเพิ่มเติม ของผู้จัดทำเวบฯนี้ )


หน่วยเสียงพยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาสงขลา มี  ๒๐ หน่วยเสียง ดังนี้

๑.  ก                                                       ๑๑.   ป

๒.  ข  ( ค )                                              ๑๒.   ผ   (พ )

๓.  จ                                                       ๑๓.   ฝ   (ฟ )

๔.  ฉ  ( ช )                                              ๑๔.   ม

๕.  ญ                                                      ๑๕.   ย

๖.  ด                                                       ๑๖.   ล

๗.  ต                                                       ๑๗.   ว

๘.  ถ  ( ท )                                              ๑๘.   ส   ( ซ )

๙.  น                                                       ๑๙.  ห  ( ฮ )

๑๐. บ                                                      ๒๐.   อ

 

หน่วยเสียงพยัญชนะมีตรงกันกับภาษากรุงเทพฯ ๑๙ หน่วยเสียง  เสียงพยัญชนะที่
ภาษาสงขลามีแต่กรุงเทพฯไม่มี  ๑ หน่วยเสียงคือ พยัญชนะนาสิก ญ  ซึ่งมีตรงกัน
ทั้งภาษาเชียงใหม่  อุบล  และสงขลา หน่วยเสียงพยัญชนะที่มีในภาษากรุงเทพ ฯ
แต่ไม่มีในภาษาสงขลา  ๒  หน่วยเสียงได้แก่ พยัญชนะนาสิก ง  และพยัญชนะ ร

 

หมายเหตุ เพิ่มเติม
เฉพาะภาษาสงขลาริมทะเล  หรือ โหมฺ บก 
(" โม้  บ๋อก ") จะไม่มี เสียง ร   แต่ชาว
หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง  สะเดา หรือ โหมฺ เหนือ ("โม้ เนื้อ" )
จะมีเสียง ร  เฉพาะใน
พยัญชนะต้น

            

หน่วยเสียงพยัญชนะ  ญ   ที่มีในภาษาสงขลา  ได้แก่คำ ต่อไปนี้

ส.ข.                                                       ก.ท.

ญ้า                                                         หญ้า

ญิ้ง                                                         หญิง

ไญ้                                                        ใหญ่

หญัก                                                      ยักษ์

 

หน่วยเสียงพยัญชนะที่มีในภาษากรุงเทพ ฯ แต่ไม่มีในภาษาสงขลา  ๒ หน่วยเสียง
ได้แก่   พยัญชนะนาสิก ง  และพยัญชนะ  ร
   เสียง ร นั้น มีในภาษาปักษ์ใต้ถิ่นอื่น
บางถิ่น เช่น นครศรีธรรมราช

หน่วยเสียงพยัญชนะ  ง    ภาษาสงขลาใช้  ห  ( ฮ )

ส.ข.                                                       ก.ท.

ฮา                                                          งา

ฮาน                                                        งาน

เฮิน                                                         เงิน 

ฮ้อก                                                        หงอก

ฮ้อย                                                        หงอย

 

หน่วยเสียงพยัญชนะ  ร  ภาษาสงขลาใช้  ล   แทน
( หมายเหตุเพิ่มเติมเฉพาะ สงขลาชายทะเล
เท่านั้น
)

ส.ข.                                                       ก.ท.

หลัก                                                        รัก

ลัง                                                          รัง

หลู่                                                          รู้

โหลก                                                      โรค

 

หน่วยเสียงพยัญชนะที่ภาษาสงขลาและภาษากรุงเทพฯ มีตรงกัน  แต่ใช้ต่างกัน
ได้แก่เสียงพยัญชนะต่อไปนี้

พยัญชนะต้น

ภาษากรุงเทพฯ                                    ภาษาสงขลา

ต.  เตรียม                                             เปลี่ยม

จ.  เจ๊                                                      ฉี

ข.  เขก                                               ฉ  ( ช )  เช้ก

ฝ ( ฟ )  ฝุ่น                                         ข  ( ค )  คุ้น

ข.  ขื่น , ข่ม                                         ห  ( ฮ )  ฮื้น,   ฮ้ม

ง.   โง่                                                 ม.     โหม่

น    นิด,  หนีบ                                      ห  (ฮ )   ฮี้ด,   ฮี้บ

 

พยัญชนะตัวสะกด

ภาษากรุงเทพฯ                                     ภาษาสงขลา

ด   แฝด                                              บ     แฟ้บ่

บ   คับ                                                ด     ขัด

    เหน็บ                                                     แน็ด

ง    พรุ่ง                                               ก    โผลก่

ม    เอือม                                             น    เอื๋อน

 

การตัดพยางค์  ภาษาปักษ์ใต้โดยทั่วไปไม่ชอบออกเสียงคำมากพยางค์  คำหลาย
พยางค์ มักจะตัดพยางค์หน้าออก

ภาษากรุงเทพฯ                                     ภาษาสงขลา

กะเฉด                                                    ชี้ด่

ขยำ                                                       ญ้ำ

ขนุน                                                      นุ้น

จมูก                                                       มู้ก่

ตลาด                                                     ล้าด่

ตะวัน                                                     วั้น

นคร                                                       คอน่

มโนห์รา                                                  โน่ รา

สะพาน                                                    พาน่

อะไร                                                      ไล้

( หมายเหตุเพิ่มเติม  -  เฉพาะ สงขลาชายทะเลเท่านั้น ที่ออกเสียง ไล้    ถ้าเป็น
สงขลาตอนใน จะออกเสียง ไร้
 )

 

การตัดคำผิด บางคำแทนที่จะตัดพยางค์หน้าออกไปทั้งพยางค์ตัดไปเพียงครึ่งเดียว
พยัญชนะต้นเหลือพยัญชนะตัวสะกดที่อยู่ท้ายสระไปกลายเป็นพยัญชนะต้นประสม
กับพยัญชนะ ดังต่อไปนี้

ภาษากรุงเทพฯ                                     ภาษาสงขลา

กำไร                                                        ไม̣ล้

ชำแหละ                                                    แม̣ละ

สำรับ                                                        ม̣ลับ

สำลัก                                                        ̣ลัก

 

การกลมกลืนเสียง

บางคำใช้วิธีลดพยางค์ด้วยวิธีกลมกลืนเสียง ทำให้คำ 2 พยางค์กลายเป็นคำพยางค์
เดียว

ภาษากรุงเทพฯ                                     ภาษาสงขลา

มะระ                                                        หม̣ละ

มะลิ                                                        เห̣̣ละ

 

                                                                       / พยัญชนะควบกล้ำ    ...

คัดลอกมาจาก คำบรรยายภาษาไทยขั้นสูงของชุมนุมภาษาไทย   ของคุรุสภา
( จัดพิมพ์สำหรับสมาชิกของชุมนุม  ) พิมพ์ที่โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ    นายกำธร 
สถิรกุล 
 ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๑ วิชานิรุกติศาสตร์  เรื่องภาษาถิ่น
(ฉบับที่ ๑ - ๒ ) นางสาวซ่อนกลิ่น  พิเศษสกลกิจ  บรรยาย หน้า ๗๘๐ - ๘๐๒

  หน้าแรก                                                                 หน้าถัดไป    

  

 ปรับปรุงหน้าเวบเมื่อ 02/07/2554
 

 





ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปฤษี
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

 

Copyright © 2001-2011 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com
 
Free Web Hosting