คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ม  ) หน้าที่ 2
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้):
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ม )
  หน้าที่ 2


ม  

แมงหมาบ้า  (น.) แมงหมาร้า
         (แมงชนิดหนึ่งมักใช้ดินเหนียวทำรังเป็นก้อนกลมๆตามฝาบ้าน)

แมวคราว  (ก.) แมวตัวผู้ที่ออกไปเที่ยวหาแมวสาว และมักจะหายไปนาน เมื่อหมด
        ฤทธิ์ก็จะกลับบ้านมาหาเจ้าของ ด้วยอาการที่อิดโรย 
การเที่ยวเตร่ทิ้งบ้านไปจีบ
        แมวสาวของแมวตัวผู้ หรือ แมวคราว นี เรียกว่า
ออกคราว
  

แม่เฒ่า (น.)  ยาย (แม่ของแม่)
          
       
 คำว่า ยาย ในภาษาไทยถิ่น
ใต้(สงขลา) จะมีความหมายเพียงเป็นญาติผู้น้องของ
         แม่เฒ่า  พ่อเฒ่า หรือ ญาติผู้น้องของ ปู่หรือของย่า เท่านั้น     ดังนั้น หากจะพูด
         ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ให้ถูกต้อง จะต้องเรียก ยาย(แม่ของแม่) ว่า   แม่เฒ่า
       
 เท่านั้น

แม็ด   (ออกเสียงเป็น แหม็ด) (ว.) มิด มองไม่เห็น ( ภาษาสงขลา จะแผลงเสียงสระอิ
        เป็น เสียงสระ
อะ )

แหม็ด (ออกเสียงเป็น แม็ด)  1. ( ว.)  หมด        " แหม็ดแล่ว " = หมดแล้ว
       ( คำว่า หมด ในภาษาไทยภาคกลาง    ในสำเนียงใต้
สามารถออกเสียงพูด ว่า
        มด  หรือ
แม็ด  ก็ได้ ก็เป็นที่เข้าใจกัน )
        2. เสม็ด พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง พบมากตามป่าพรุ
            ต้นเสม็ด  ออกเสียงสำเนียงใต้เป็น  
ต็อนแม็ด
            เห็ดเสม็ด ซึ่งพบตามป่าเสม็ด    ออกเสียงสำเนียงใต้เป็น  
แฮ็ดแม็ด
 

รายละเอียดความแตกต่าง ระหว่างเสียงภาษาไทยมาตรฐาน กับสำเนียงภาษา
ไทยถิ่นใต้(สงขลา) 
เข้าไปดูได้ที่
      -
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา
      - ภาษาสงขลา โดยสังเขป
 

แม่ไฟ   (น.) ที่วางก้อนเส้า(หินสามก้อน)สำหรับหุงข้าวต้มแกง
     
โดยปกติ "แม่ไฟ" จะเป็นกระบะสี่เหลี่ยม ใส่ดินเหนียวอัดแน่นให้เรียบใช้เป็นที่วาง
      ก้อนเส้า ขนาดของ "แม่ไฟ"จะต้องมีพื้นที่พอจะวางดุ้นฟืนได้ กรณีไฟไหม้ดุ้นฟืน
      จนหมด จะต้องไม่ลามมาถึงขอบของแม่ไฟ )

แม่แรง
 1. (น.)  อุปกรณ์ที่ใช้ในการยก,ดีด,งัด ของที่มีน้ำหนักมาก
       ในภาษาไทยถิ่นใต้ อาจใช้คำว่า  แย๊ก  (
Jack ในภาษาอังกฤษ) ในความหมาย
      
" แม่แรง " ก็ได้        
          
2. (น.) ใช้เรียกตัวพยาธิที่อยูในกระเพาะวัว ควาย เกาะอยู่ตามส่วนที่เรียกว่า
       
"ผ้าร้ายวัว" หรือ ผ้าขี้ริ้ววัว 

โม่,  โบ่     (ว.)  โง่   (โมห์ โมหะ - ความโง่, ความหลง)
      
" ถ้าฉาน โหร่ ว่าตัว โม่พันนี้   ฉานไม่เอาทำผัว ผึด "
      
  ถ้าฉัน รู้ ว่าพี่ โง่ อย่างนี้   ฉันไม่เอาทำผัว แน่นอน

โหมฺ,  โบ้  (ออกเสียงเป็น โม้, โบ้)  (น.)  หมู่, พวก, ตระกูล ( เสียง "สระอู" แปลง
        เป็นเสียง "สระโอ"
   
หมู่ = โหมฺ )
 
    
   "โหมฺ บก"   คำนี้หมายถึง ชาวสงขลาริมทะเล  นับรวมเฉพาะชาวระโนด สะทิง
        พระ  และ สิงหนคร

      
  "โหมฺ เหนือ"
คำนี้หมายถึง ชาวสงขลาตอนใน ที่อยู่ห่างจากทะเล คือ ชาวสะเดา
        
นาทวี  หาดใหญ่ และคลองหอยโข่ง
       
"ไอ โหมฺ เบล่อ"  ความหมายคือ ไอ้พวกบ้า
        
"โหมฺ ป่า"  
คำนี้หมายถึง ทหารกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยของ
       
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  ที่เข้าไปส้องสุมกองกำลัง  อยู่ในเขตป่าเขา
        ช่วงระหว่าง พ
.. 2509 - 2523  ในสมัยนั้น
"โหม่ ป่า"กระจายอยู่ในเขตป่าเขา
        ทั่วทั้งภาคใต้ 
(คำว่า
"โหมฺ ป่า" นี้อาจใช้ว่า "โหมฺ คอม" แทนก็ได้)
      ( คำว่า
โหมฺ นี้  บางครั้งอาจใช้  โบ้ แทน ก็ได้ )
       
โหมฺ หญิง,  โบ้หญิง   
พวกผู้หญิง
      
 โหมฺ ชาย,   โบ้ชาย    =   พวกผู้ชาย

โหม้ง,  โบ้ง  (น.)  สิ่งที่มีลักษณะเป็นตุ้ม เป็นปม
     
"โหม้งตอ" (น.) ดอกของสะตอ มีก้านยาว ดอกกลมเป็นตุ้มมีลักษณะคล้ายไม้ตี
      โหม่ง(เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของหนังตะลุง) จึงเรียกว่า
โหม้งตอ
      "
เชาะโหม้ง "(ก.) มัดหรือผูกให้เป็นปม มักใช้ในกรณีเด็กเล็กๆนุ่งกางเกงตัวใหญ่
      จึงจำเป็นต้อง รวมขอบกางเกงข้างๆมามัดให้เป็นปม กางเกงจะได้ไม่หลุด

โมง  (น.)   ก้น   ( "โมง" ถือเป็นคำหยาบ )
      
" โมงกูเด้ " วลีนี้มีความหมายในเชิง " เรื่องแค่นี้ (แค่นั้น )ไม่กระเทือนก้นกูหรอก "
      " บายโมง " - อาการสบายเนื้อสบายตัว ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้ถ่ายของเสียออก
      จนหมดไส้หมดพุง

โม่ง,  โบ่ง (ว.) โต ; คำในภาษาไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง -สงขลา)จะใช้ขยายความ
       ลักษณะสิ่งของรูปร่างยาว แต่มีด้านใดด้านหนึ่ง โตผิดปกติ
         
" ไอบ่าวนุ้ยไข้มาหลายวัน กินข้าวกะไม่ได้ ผอมหัวโม่งแล่ว "
            ไอหนูตัวเล็กเป็นไข้มาหลายวัน กินข้าวก็ไม่ได้ ผอมหัวโตแล้ว

โมบ,  โบบ (ออกเสียงเป็น  โหมฺบ, โบบ) (ก.) โลภ, ละโมบ  อยากได้ไม่รู้จักพอ

ไม่ตรึก  (ว.)  จำนวนที่มากมาย นับไม่ถ้วน  ไม่มีหมด

ไม่รู้สา (ว.)  ไร้เดียงสา  ( มักใช้ในแง่ลบ เช่น เป็นผู้ใหญ่แต่ทำตัวเป็นเด็ก )

ไม่สาไหร (ว.)  ไม่มีรสชาติ   ไมสะดุ้งสะเทิอน
       
" คนไม่สาไหร "
  - คนขี้ขลาด ไม่สู้คน ไม่เอาถ่าน
        ( อ่านความหมายคำว่า สา เพิ่มเติม )

หมัง(ออกเสียงเป็น  มั้ง) 1. (ก.)  ประมาณการ,   ใคร่ครวญก่อนทำ
           
 " หมังแล้ว  ว่าน่าจะมีปํญหา..  กะ ไม่ต้องทำ "
              คิดใคร่ควญแล้ว  ว่าน่าจะมีปํญหา..  ก็ ไม่ต้องทำซิ
         
2. (น. เสือชนิดหนึ่ง ,  เสือหมัง  
          3.
(ว.)  เวลา, ขณะ, ช่วง   
        
 " หมังนี้ "   - ในช่วงนี้
          "
หมังนี้ พระมายืนบาตร แต่เช้า "  - ในช่วงนี้ พระมาบิณฑบาตร แต่เช้า

หมก   (ออกเสียงเป็น  ม็อก) (ก.) เอาสิ่งของ (เช่น หัวมันหลา มันทุ้ง )ไว้ใต้ขี้เถ้าร้อนๆ
          หรือถ่านไฟใกล้มอด เพื่อให้สุก
      
"ไม้หมก" (ออกเสียงเป็น  ม่าย-ม็อก) (น.)  ไม้เรียว  (ใช้เฆี่ยนเด็กๆที่ซุกซน)

หมึง   (ออกเสียงเป็น  มึ้ง) (น. 1. มึง (สรรพนามบุรุษที่ 2)  
          2.
ตำลึง
( Coccinia  grandis (L.) voigt. ) ผักพื้นบ้านที่คนไทยทุกคนรู้จัก
          คนไทยถิ่นใต้(สงขลา)  เรียกว่า ผักหมึง

หมูก  (น.) จมูก
      
" หมูกแตกเข็ม " - เลือดออกทางจมูก, เลือดกำเดา

หมวน  (ออกเสียงเป็น  ม้วน) (น.)  ตะกอน          
          "อย่ากวน หมวน"
  
อย่ากวนน้ำให้ขุ่น

หมวด (น.) เหมือด,  ผักชนิดต่างๆที่นำมาหั่นปนเข้าด้วยกัน เช่น  ปลีกล้วย กระถิน
          ถั่วฝักยาว ใบชะพลู  ยอดแซะ   ยอดขรี ฯลฯ    เพื่อรับประทานคู่กับอาหาร
          (
หมวดข้าวยำ - ผักที่ใส่ข้าวยำ,  หมวดหนมจีน - ผักใช้ทานคู่กับขนมจีน )

หมอดั้น,  หมอบิดั้น, หมอไบทาน,  หมอแม่ทาน  (น.)  หมอตำแย,  หมอทำคลอด
          แผนโบราณ        ภาษาไทยถิ่นใต้
คลองหอยโข่ง-สงขลา จะใช้คำว่า หมอดั้น
         
หรือ หมอบิดั้น,  
ภาษาไทยถิ่นใต้ ฉวาง พิปูน - นครศรีธรรมราช จะใช้คำว่า
         
หมอไบทาน หรือ หมอแม่ทาน
          ( คำนี้มาจากภาษามลายู ว่า  bidan )

หม้อควง (น.)  หม้อเคลือบ ชนิดมีหูหิ้ว

หม้อตุก  (น.)  ภาชนะดินเผาขนาดเล็ก สำหรับเด็กเล่นขายของ หรือ ตั้งประดับเพื่อ
          ความสวยงาม

หม้อง,  หม็อง  (ว.) ลักษณะของคน, สัตว์, สิ่งของ, ที่นั่งอยู่ หรือวางอยู่ ตั้งอยู่ อย่าง
          โดดเดี่ยว ไม่ไหวติง  และมองเห็นได้ชัด
        
" หลวงไข โถก  เมียดา   ออกไป นั่ง หม็อง อยู่ ที่หลา หน้าบ้าน  โด้"
           พี่ไข่ ถูกเมียด่า    (ก็เลย)ออกไป นั่งอยู่คนเดียว ที่ศาลา หน้าบ้าน โน้น

หม็องแหม็ง (ออกเสียงเป็น  ม้อง แม้ง) (ว.) สกปรก ไม่ภูมิฐาน ไม่มีราศรี ( มักใช้กับ
         เสื้อผ้าหรือการแต่งตัวของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง)

หมัน 1. (ว.)  ใช่  ใช่แล้ว 
          
" หมันแหละ " 
-  ใช่แล้ว     ( ใกล้เคียงกับคำว่า แม่นแล้ว ในภาษาอีสาน )
          
" หมันม้าย     ใช่มั๊ย ใช่รึเปล่า
        2.
(น.)  มัน   (สรรพนามบุรุษที่ 3)
           
" เบอะหมันไม่มา ใครอิบังคับได้เล่า " - ก็มันไม่มา ใครจะบังคับได้เล่า
          3. 
(ว.)  หมัน,  เป็นหมัน 

หมา, ติหมา, หมาตักน้ำ   ( หมา สำเนียงใต้ ออกเสียงเป็น ม้า)(น.) ถังตักน้ำ  หรือ
        ครุที่ใช้ตักน้ำ   
คนไทยถิ่นใต้ แต่เดิมจะใช้ถังตักน้ำที่ทำด้วย
"เตาะหมาก" หรือ
       
"
เตาะหลาโอน " (กาบหมาก กาบหลาโอน) เย็บเป็นกระทงเรียกว่า หมา (ออก
        เสียงเป็น
- ม้า),  ติหมา(ออกเสียงเป็น - ติม้า) หรือ  หมาตักน้ำ (ออกเสียงเป็น
      
 - ม้าตักหน่าม) "
       
" หมาจาก "  ครุตักน้ำ/ถังตักน้ำ ทำด้วยใบจาก
       
        
( คำว่า 
หมา,  หรือ  ติหมา นี้   มาจากภาษามลายู ว่า  timba  )

        ตัวอย่างการใช้คำว่า  หมา ในความหมาย ถังตักน้ำ หรือ ครุตักน้ำ  ที่ปรากฏใน
        ป้ายหน้าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดหน้าพระลาน จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

เหม่เม่,  เบ่  (ก.)  ส่งเสียงดัง   ตัวอย่างเช่น
      
"เด็กๆ  อย่าเหม่  (เบ่)  อย่าฉาว  เดียวแมวคราวอิมากินตับ
       
เด็กๆ อย่าส่งเสียงดัง เดี๋ยวแมวตัวใหญ่จะมากินตับ  

เหม้งพร้าว (น.) มะพร้าวอ่อนที่ยังไม่มีเนื้อมะพร้าว เมื่อผ่าแล้ว ส่วนที่เป็นกะลายังอ่อน
        นิ่มพอจะกินแก้หิวได้ กะลาอ่อนๆนั่นแหละคือ 
เหม้งพร้าว

เหมีย   (ว.)   ตัวเมีย        
        หมาเหมีย"     -   หมาตัวเมีย

 

 หมายเหตุ  : ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) สำเนียงดั้งเดิม จะมีคำในกลุ่มเสียง ม. หลายคำ ที่มีเสียง  ร  และ  ล  ผสมอยู่  คือ    มฺร,      มฺล
( เปิดไปหน้า 
 มฺร,      มฺล )

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น
 


  

 

 

 

      กลับไปหน้าแรก                                                         หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549    ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 23/07/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 


                

 

  

Free Web Hosting