คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ต  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ต  )


หน้าที่ 1
 

หมายเหตุ
เสียง ต. - อักษรกลางในสำเนียงใต้(สงขลา)จะมีฐานเสียงเป็นเสียง จัตวา เช่น
                   
 ตาย (หมดลมหายใจ)   จะออกเสียง เป็น  ต๋าย
                     ตุงหัว ( ล้มหัวคะมำ )    จะออกเสียง เป็น  ตุ๋ง - ฮั้ว
เสียง ห
. - อักษรสูง ในสำเนียงใต้(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็นเสียง ตรี
                    
หัว    จึงออกเสียง เป็น  ฮั้ว  ตามตัวอย่างข้างต้น
                 

ตก   (ออกเสียง ต๊อก )   1. (ก)  หล่น, หล่นลง ( ตรงตามความหมายในภาษาไทย
        มาตรฐาน), เรียกสินสอดทองหมั้น    (ในภาษาถิ่นใต้ คำมาจาก เงินทองที่ใช้
        ตกแต่ง )   ตัวอย่างเช่น
       
" พี่อิไปขอน้อง แล้วนะ  บอกแม่กัน อย่าตกแพงแรง "
        ความหมายคือ  " พี่จะไปสู่ขอน้องแล้วนะบอกแม่ด้วยอย่าเรียกสินสอดมากนัก"

       
2. (น.)  ทิศตะวันตก (ในภาษาถิ่นใต้ จะใช้เป็น
ข้างตก,  ประตก,  มละ ตก )

ตกท้องช้าง  (ว.) ลักษณะการหย่อนของเชือกที่ขึงหรือโยงไว้ ที่ช่วงกลางของเชือก
         จะตกลงมาเป็นเส้นโค้ง ตัวอย่างเช่น ว่าวที่ชักขึ้นติดลมแล้วช่วงกลางของเชือก
         ว่าว หรือสายว่าว จะหย่อนลง ก็เรียกว่า   เชือกว่าว (สายว่าว)ตกท้องช้าง

ตกหวางเวร  (ว.) สำนวนไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย สภาวะที่อยู่ระหว่างเวรกรรม
         ไม่ได้รับผลอะไรเลย จากการกระทำใดๆ   หรืออีกความหมายก็คือ ถูกหลงลืม

ตะ,  ต้า (ว.)  คำช่วยกริยาบอกลักษณะบังคับ ใช้เหมือนกับคำว่า   เถอะ,  นะ
            
" หลบบ้าน ตะ นัอง "  -   กลับบ้านเถอะน้อง
           
" แน่งเสียต้า มูสังแหย้ว มาแล้วโด้ " - นิ่งเสียนะจ้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโน่น

ตะกง (น.)ภาชนะมีลักษณะคล้ายถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าก้นลึกประมาณ ๑๐ ซม.
        ทำ
ด้วยอลูมิเนียม หรือเหล็กสแตนเลส (เดิมจะทำจาก ปี๊บน้ำมันก๊าด ผ่าครึ่ง)
        ใช้ใส่น้ำยางพารา ที่ผสมกับน้ำกรด (ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า น้ำส้มยาง) เพื่อให้ยา
        แข็งตัว
ก่อนเข้าเครื่องรีดให้ยางเป็นผืน ที่มีขนาด กว้างยาว และหนา พอดี
        ( ในบางท้องถิ่น จะใช้คำว่า พิมพ์  แทนคำว่า 
ตะกง)

ตักแก  (น.) ตุ๊กแก

ตังหุน  (น.)  วุ้นเส้น

ตั้งเขลง  (ว.)  ลักษณะการวางของ ตั้งของที่มองเห็นชัด,วางเด่นอยู่

ตัดยาง , ขีดยาง   (ก.) กรีดยาง

ตัดยางหวะ    การรับจ้างกรีดยางพารา  
       ผลที่ได้ จะ
แบ่งกับเจ้าของสวนยาง ในอัตรา  5/5 หรือ 6/4 แล้วแต่จะตกลงกัน
       ระหว่าง เถ้าแก่
( ท่าว แก๊) เจ้าของสวน กับ ลูกกุลี(โหลก  กุ หลี) คนที่รับจ้าง

ต้น (ออกเสียง ต๊อน ) 1. (น.) โคน, ลำ, ทีแรก, จุดเริ่ม  (ความหมายทั่วไป ตาม
         ภาษาไทย มาตรฐาน)
        
2.  (น.) คำที่ใช้เรียกพระภิกษุที่บวชใหม่ ของคนไทยถิ่นใต้      ตัวอย่างเข่น
       
     " ต้นคล้อย พระที่จำวัดอยู่ที่กุฏิข้างเมรุ  ดูท่าทางจะเป็นพระที่เคร่ง  ผิดกับ
          
พ่อหลวงหนุ่ย ที่ชอบตั้งตนเป็นเจ้าสำนักปลุกเสกจตุคาม จนลืมกิจของสงฆ์ "
          ความหมายคือ พระคล้อย ที่จำวัดอยู่ที่กุฏิข้างเมรุ  ดูท่าทางจะเป็นพระที่เคร่ง
          ผิดกับพระหนุ่ย (พระที่บวช ตอนแก่)  ที่ชอบตั้งตนเป็นเจ้าสำนักปลุกเสกจตุ
          คาม จนลืมกิจของสงฆ์"

          เพื่อให้เข้าใจความหมายและการใช้คำ กรุณาเปรียบเทียบจากตัวอย่างต่อไปนี้
          นายคล้อยเป็นชายที่ยังไม่ได้บวชเรียน
 คนที่รู้จักสนิทสนมซึ่งเป็นน้องๆของ
          นายคล้อย จะเรียกนายคล้อยว่า 
"บ่าวคล้อย"   เมื่อนายคล้อยอุปสมบทเป็น
          พระภิกษุ ชาวบ้านจะเรียก พระคล้อย พระบวชใหม่รูปนี้ ว่า  "ต้นคล้อย"  แต่
          เมื่อพระคล้อยสึกออกมา    เด็กๆ หรือ น้องๆ จะเรียกนายคล้อยคนใหม่ ว่า 
          "
หลวงคล้อย " ขณะที่คนที่อาวุโสกว่านายคล้อย จะเรียกนายคล้อยทิดสีก
          ใหม่ว่า "
เณรคล้อย"   และถ้าเวลาผ่านไปจน นายคล้อย แก่ชรา แล้วกลับมา
          อุปสมบทอีกครั้ง  ชาวบ้านก็เรียกพระภิกษุรูปนี้ ว่า
พ่อหลวงคล้อย
         (ดูความหมายของ คำว่า
 
พ่อหลวง เพิ่มเติม)

ต้ม  (ออกเสียง ต๊อม ) 1.(ก.) ทำให้สุกโดยเอาน้ำใส่ภาชนะ แล้วทําให้ร้อนให้เดือด
       หรือให้สุก เช่น  ต้มข้าว,
ต้มนํ้า , ต้มไก่ ...  (ความหมายตรงกับความหมายใน
       ภาษาไทยมาตรฐาน)

      2. (น.) ชื่อขนม ที่ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิและถั่วดำ  (หรือไม่มีถั่วดำ ก็
      ได้)ใส่ลงใน "ห่อต้ม"ที่ทำจากใบกระพ้อ เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วนำไปนึ่งให้สุก
     
ขนมชนิดนี้จะใช้ในงานบุญเดือนสิบและวันลากพระตักบาตรเทโว ประจำปี ของ
      คนไทยถิ่นใต้
       
" แทงต้ม " -  หมายถึงการนำข้าวเหนียวที่ผัดกะทิแล้ว ใส่ลงใน "ห่อต้ม" ที่ทำ
      
จากใบกระพ้อ แล้วสอดใบกระพ้อมัดให้แน่น    "ต้ม" หรือ "ขนมต้ม" นี้ จะมีรูป
       เป็นสามเหลี่ยมสวยงาม คนปักษ์ใต้(คลองหอยโข่ง,หาดใหญ่ สงขลา)สมัยก่อน
       จะรู้ว่า ลูกสาวบ้านไหนเป็นคนละเอียดอ่อน รู้จักประดิษฐ์ประดอย ก็ด้วยการดูว่า
      
"ต้ม "ที่พาไปทำบุญที่วัด ของใคร จะสวยกว่ากัน
       
 " ทำต้ม "   -  หมายถึงกระบวนการทำขนมต้มทั้งหมด
       ตัวอย่างประโยคภาษาไทยถิ่นใต้ ของผู้เฒ่าผู้แก่ ต่อไปนี้
      
" เณรไข่เหอ  หมึงไปหาใบพ้อ ให้แม่ สักมัดทิ  อิถึงเดือนสิบแล้ว เดี๋ยวอิทำต้ม
       ไม่ทัน  หมึงไปหาใบพ้อ  แล้วให้อีสาวแทงต้ม  ช่วยแม่ นะโหลก นะ
"
       
ความหมาย คือ
       ไข่เอ้ย  เอ็งไปหาใบกระพ้อให้แม่สักมัดซิ  
ใกล้จะ
ถึงเดือนสิบแล้ว เดี๋ยวจะทำ
       ทำต้มไม่ทัน เอ็งไปหาใบกระพ้อ แล้วให้น้องสาวแทงต้ม ช่วยแม่ นะลูก นะ
"
     
      ( ดูวิธีการ ทำต้ม
/ แทงต้ม ได้จาก 
บันทึกของหนูรี )


" ต้ม " ขนมในงานบุญเดือนสิบของคนไทยถิ่นใต้
(
ภาพจาก  บอร์ดสนทนา ประพันธ์สาส์นดอทคอม )
 

เต๊ะ  (น.)  กุฏิ        คำนี้ในภาษาสงขลา- คลองหอยโข่ง ใช้เรียกเฉพาะ กุฏิของเจ้า
         อาวาส     ในภาษาไทยเจ๊ะเห จะเรียกว่า  กะเต๊ะ

ตรัตรั  (ว.)  แฉะ  ชื้น   มีน้ำชุ่ม
        
" ทางเดินไปสวนยาง เป็นที่ลุ่ม เปียก ตรับ ตรับ  เดินลำบากมาก " - ทางเดิน
         ไปสวนยาง เป็นที่ลุ่ม เปียกแฉะ
เดินลำบากมาก

ตรัน   (ก.) ค้ำ,   ยัน,  ต้าน (อยู่คนเดียว  โดยที่ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังมาก หรือใหญ่
         เกิน ที่จะต่อสู้ได้)
        
" เรื่องใหญ่ พันนี้ ต้องช่วยกันหลายคน  ตรันอยู่คนเดียว ไม่ได้ "
         
เรื่องใหญ่ อย่างนี้ ต้องช่วยกันหลายคน  ต้านอยู่คนเดียว ไม่ได้หรอก
        
"
ถือฆ้องให้เพื่อนตี ตรันวานหมีให้เพื่อนเล่น" -สำนวนไทยถิ่นใต้ใช้เปรียบถึง
         การ
ทำประโยชนให้กับผู้อื่น อย่างเต็มที่ ถึงกับ ยอมเหนื่อย ยอมเจ็บแทน โดย
         ที่ไม่ได้รับผลบตอบแทนอะไรเลย

ตร้า   (น.)  ตะกร้า     คำนี้บางครั้ง จะออกเสียงเป็น  ซ่า
      ( เสียงควบ  กรฺ     แปลงเป็นเสียงควบ ตรฺ 
ในภาษาไทยถิ่นใต้ )

ร้  (น.) ตะกร้อ         " ฉัดตรอ " -   เตะตะกร้อ
         คำนี้บางครั้งจะออกเสียงเป็น  ซ่อ
 
       
( เสียงควบ  กรฺ     แปลงเป็นเสียงควบ ตรฺ  ในภาษาไทยถิ่นใต้ )

ตรอง  (น.)  กระชอน (อุปกรณ์ใช้กรองน้ำกะทิ)


ตรอง
สานด้วยเส้นตอกจากต้นคลุ้ม
( ภาพจาก Blog - Sidabhai )

ตรอม  (น.) สุ่มที่ใช้สำหรับขังสัตว์ปีก  ทำด้วยไม้ไผ่สาน    "ตรอมไก๋"  =  สุ่มไก่

ตรฺอด (น.)มดชนิดหนึ่งตัวเล็กๆสีน้ำตาลที่ทำรังบนต้นไม้ในป่าพรุป่าเสม็ดรังมีสีดำ
        หรือน้ำตาลเข้ม
          
         
มดตรอด  เป็นมดที่ไม่กัด  เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยน้ำเหนียวๆใส่ผู้รุกราน รังมด
         ตรอดในป่าเสม็ด
มักจะมีตัว
"อุง" ( ผึ้งชันนะรง ) อาศัยร่วมกันอยู่ในรังแบบพึ่ง
         พาอาศัยซึ่งกันและกัน
         ดังนั้น ในสมัยก่อนเด็กเลี้ยงวัวในทุ่งป่าเสม็ด  จะหาน้ำผึ้ง"อุง"ก็ด้วยการสังเกตุ
         รังมดตรอดบนต้นไม้ที่มี"อุง"บินอยู่ข้างๆรังมด ถ้ามีก็จะโค่นต้นไม้ลง เพื่อแกะ
         รังมดหาน้ำผึ้ง "อุง"   

ตรอย  (ว.)  กร่อย      " น้ำตรอย"  -  น้ำกร่อย

เตราะ สายเตราะ (น.)  สายน้ำ,    ลำธารเล็กๆ ในป่าเขามีน้ำไหลไม่มาก  มักมีหิน
           และอยู่ต้นน้ำ

เตราะน้ำ   (ว.)   ( ต้นไม้ )ยืนต้นตายนื่องจากฝนตกมาก มีความชื้นแฉะเกินไป

แตร็ก แตร็ก   (ว.)  มากมาย,  จำนวนมากจนนับไม่ถ้วน

ตอ      1. (น.) ตอไม้ ,  ต้นตอ   (ความหมายเดียวกัน ตรงตามภาษาไทยมาตรฐาน)
          2.
(น.) สะตอ  
          สะตอ ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา-คลองหอยโข่ง)  มี 2 ชนิด  คือ

          " ตอหนัก "
- สะตอ  ( MIMOSACEAE  : Parkia speciosa Hassk.)
          " ตอเบา "   
-ะถิน  ( MIMOSACEAE  : Leucaena glauca Benth.) 
        
ภาษาไทยถิ่นใต้ ในบางแห่ง ( เช่น ฉวาง พิปูน นครศรีธรรมราช ) จะเรียก
        
กระถิน ว่า  ตอแต

ต่อ  (ว.)  เป็นคำที่ใช้แสดงเวลา หรือเหตุการณ์ที่มาไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้น
         ตัวอย่างเช่น
          
ต่อเดี๋ยว  
=    ีกสักครู่, อีกสักประเดี๋ยว
          
ต่อเช้า     =    เช้าวันพรุ่งนี้
          
ต่อค่ำ      =    คืนนี้
          
ต่อโพลฺก  =  วันพรุ่งนี้ (สำเนียงใต้ฝั่งตะวันตกจะใช้เป็น 
ต่อโพลฺะ, ต่อโผลฺะ)
          
ต่อรือ     
=    วันมะรืนนี้
          
ต่อเรื่อง    =    วันมะเรื่องนี้
          
ต่อเดือนสิบ  =   เดือนสิบที่จะถึง
          
ต่อเดือนอ้าย   =   เดือนอ้ายที่จะถึง
          
ต่อปีหน้า  =   ปีหน้าที่จะถึง
          
ต่อใด    =   เมื่อไหร่ ? (ใช้ถามถึงเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิด)

        ตัวอย่างเช่น "พี่หลวง อิไปเที่ยวบ้านน้อง ต่อใด"  ความหมายของประโยคนี้
        คือ พี่หลวงจะไปเที่ยวบ้านน้องเมื่อไหร่ 
             ถ้าจะไปเลย ก็ตอบว่า
 "ไปต่อเดี๋ยว"  
             ถ้าจะไปคืนนี้ ก็ตอบว่า 
 "ไปต่อค่ำ"  .... 

        (คำว่า   ต่อ  จะคู่กับคำว่า  แรก  ซึ่งใช้แสดงเวลาที่ผ่านมาแล้ว )

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


 เอกสาร/แหล่งข้อมูล อ้างอิงอื่นๆ


   กลับไปหน้าแรก                                              หน้าที่ 2 

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 13/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting