คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ด  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ด )



 

หมายเหตุ :
เสียง ด
. - อักษรกลางในสำเนียงใต้(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็นเสียง จัตวา เช่น
                     ดุม  (ดมกลิ่น)  จะออกเสียง เป็น  ดุ๋ม
                     ดอ  (อวัยวะเพศชาย)   จะออกเสียง เป็น  ด๋อ
                    
                  กรุณาเทียบเสียงด้วย

ดม  1. (น.) แนวเขตบ้านหรือแนวที่ดินที่มีต้นไม้หลายๆพันธุ์ขึ้นอยู่เป็นแนว (เรียกว่า
     
 สายดม ก็ได้)       2. (ว.) สุ่ม, คาดหมายเอา 
       
" ซัดดมๆ ไปถูกเข้าหัวพอดี "  - ขว้างสุ่มๆ แต่ไปถูกหัวพอดี

ดอ   (ข.) (น.)  ใช้เรียกอวัยวะเพศชาย  (คำนี้ถือเป็นคำหยาบ ที่เลือนมาจากคำว่า
       กะดอ ในภาษาเขมร )
)

ดอแลน,  ไขแลน (น.) อวัยวะเพศชายที่หนังหุ้มปลายมีน้อย (ปลายเปิด)  
       ( คำนี้ถือเป็นคำหยาบ ยกเว้นเฉพาะกรณี ญาติผู้สูงอายุใช้คำๆนี้  พูดหยอกเล่น
       กับลูกหลานที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ  เท่านั้น )

ด้อ,  ด้อๆ   (ออกเสียงผสม ด+น)   (ว.)   ค่อยๆ  ช้าๆ 
        
" ไอ้บ่าวเดิน ด้อๆ หีด ทางมัน เมลิ่น " 
           ไอ้หนู (เด็กชาย) เดินช้าๆหน่อย ทางมัน ลื่น
      
( คำว่า ด้อ นี้ใช้มาก แถบสงขลาตอนใน เช่น คลองหอยโข่ง สะเดา )

ดอก  ( .) คำลักษณนาม ในภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้สำหรับ  หยดน้ำฝน  และ
         ผลไม้ที่มีขนาดเล็ก ยาว แหลม เช่น พริก,  ดีปลี
       
 " ดอกฝน "  
- หยดน้ำฝน เล็กๆ
        
"
ฝนลงดอก- ฝนเริ่มตก เป็นละอองฝนเล็กๆ     คำนี้ในภาษาไทยถิ่นใต้จะ
        
บอกถึงขนาดของ"ดอกฝน" ที่เล็กกว่า "เม็ดฝน" ดังนั้น ถ้าพูดว่า " ฝนลงเม็ด "
         จะแสดงว่า เม็ดฝนทีเริ่มตกนั้น มีขนาดโต ไม่ได้เป็น ละอองฝน
        
" ดีปลีขี้นก   3 ดอก "   - พริกขี้หนู่ 3 เม็ด
        
" ดีปลีเชียก  5 ดอก "   - ดีปลี เม็ด


ดอง  (ก.)แช่,  หมัก  ( .) ชื่อวิธีห่มจีวรของพระอย่างหนึ่ง คือ ห่มเฉียงบ่า เรียกว่า
        ห่มดอง
  
(ว.)เกี่ยวข้องกันเนื่องจากบุตรชายและบุตรสาวของสองฝ่าย แต่งงาน
        กัน   ภาษาไทยถิ่นใต้จะเรียกว่า
เป็นดองกัน  โดยพ่อแม่ของฝ่ายชายและพ่อ
        แม่ของฝ่ายหญิง จะเรียกว่า
 คู่ดอง

ดอม  (ก.) แอบมอง, แอบดู,  ด้อม
           
"แต่งงานใหม่ๆ อิทำไหร วังคนลักดอมแล สักฮีตนะ"
        แต่งงานใหม่ๆ จะทำอะไร ให้ระวังพวกแอบมอง สักหน่อย

ด็อง (น.)  กระด้ง ภาชนะจักสานทำด้วยไม้ไผ่ ใช้ในการฝัดข้าว  มีลักษณะสำคัญ
        คือ ขอบของ "ด็อง"จะเป็นวงรีด้านหนึ่งจะแหลมคล้ายจงอย ช่วยให้สะดวกเวลา
        ฝัดข้าว เอาแกลบออก
          
        ในภาษาไทยถิ่นใต้
-สงขลา  จะเรียก ภาชนะจักสาน
ในกลุ่มนี้  ดังนี
            ด็อง  
-  กระด้ง  
            ดั้ง  
  - 
กระด้งชนิดหนึ่งที่ ขอบกระด้งเป็นรูปวงกลม
            เจ้ย    -  ตะแกรง (กระด้งที่สานตาห่างๆ) ใช้สำหรับตากปลา

       " ฝัดด็องเปล่า " สำนวนไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย การลงทุนออกแรงทำงาน
        อย่างสุดจิตสุดใจ  โดยไม่มองดูตัวเองว่าควรหรือไม่   ที่สุด ก็เป็นการเสียเวลา
        เปล่า ไม่ได้รับผลตอบแทน  เปรียบเหมือนกับการฝัดกระด้งเปล่าๆซึงไม่มีวันที่
        จะได้ผลตอบแทนเป็น ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ได้เลย แม้แต่เมล็ดเดียว
        กรณี หนุ่มพยายามจีบสาวแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ และสุดท้ายต้องกลับมานอนคน
       
เดียว ก็เรียกว่า " ฝัดด็องเปล่า"
        

       
( คำว่า"ฝัดด็องเปล่า" นี้ สำเนียงถิ่นใต้ดั้งเดิม จะออกเสียงเป็น ขวัดด็องเปล่า
        เนื่องจากใน
ภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่มีเสียง ฝ  แต่จะใช้เสียง ขวฺ  แทน )

ด็อน,  ด้น  (ว.)  ดุ
         
"ด็อนเหมือนหมาล่ำ"  - ดุเหมือนหมาล่าม   สำนวนใต้ หมายถึง คนที่ชอบใช้
        อำนาจข่มขู่ผู้ที่ต่ำต้อยกว่า  เนื่องจากตัวเองมีเจ้านายคุ้มครอง ซึ่งหากขาดเจ้า
        นายเมื่อใด ก็เปรียบได้ เช่น  หมาวัด ที่ปราศจากพิษสง

ดักเดียม, ดักตูเดียม,  ดักอีเดียม,  ดั่กอีเดียม (ก.) อาการจั๊กจี้
        (เมื่อถูกแหย่ 
" ถูกตู้ตี้ " )

ดัง   (ออกเสียงเป็น " ดั๋ง") (ว.)  1. (เสียง)ดัง  
       2. (ว.)
ลักษณะสิ่งของที่จับตัว เป็นแผ่นๆเช่น เสื้อผ้าที่สกปรกจน
"แข็งเป็นดัง"
       3. (น.) ข้าวตัง    ภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า " ข้าวดัง" หรือ  "ดังข้าว" ก็ได้"

ดั้ง  (น.) กระด้งฝัดข้าว ที่ขอบกระด้งเป็นรูปวงกลม
    
(ถ้าขอบกระด้งเป็นวงรีและมีขอบด้านหนึ่งเป็นจงอย ภาษาไทยถิ่นใต้-สงขลา
      จะเรียกว่า
ด็อง)

ดับ (ก.) 1.  ทำให้หมดไป  ทำให้สูญสิ้น    -    ดับไฟ
       
2.  จัดเก็บข้าวของให้เรียบร้อย, เตรียมของให้พร้อม

            
" ดับผ้า " - จัดเก็บผ้า, พับผ้า
            
" ดับตัว " - เตรียมแต่งตัวให้พร้อม

            
" ดับแผง " - การจัดเก็บรูปหนังตลุงเข้าแผง หลังจากเลิกทำการแสดงเพื่อ
         พร้อมออกเดินทาง     คำ
" ดับแผง " นี้ ในสำนวนถิ่นใต้ อาจใช้ความหมายว่า
         ทำงาน หรืออยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว
เพราะอาจจะเกิดเรื่อง จึงจำเป็นจะต้องรีบเก็บ
         ข้าวเก็บของ เพื่อพร้อม ออกเดินทาง ได้ทันที

         
" ดับพาย " - เก็บเสื้อผ้า และของใช้ำเป็น ลงกระเป๋า(สะพาย) เพื่อเตรียม
        เดินทาง หรือ ย้ายถิ่นฐาน
         3. ส่อเค้า เริ่มจะ   
 "ดับอิ  "
        " พอเมีย คนดี  ดับอิ ขึ้นเสียง  ฉานกะ เหียบ เสียแหละ "
          พอภรรยาคนดี เริ่มจะ ขึ้นเสียง  ฉันก็ เงียบ เสียซิ

ดานเฉียง (น.)  เขียง  (ที่ใช้ทำกับข้าว)

ดาย  (ก.) กระจายให้ทั่วๆ , ทำให้บางๆ
     
"อิ ตากข้าวเปลือก ให้แห้งเร็ว กะต้องดายข้าวเปลือก ให้ทั่ว ให้บางๆ"
     
"จะตากข้าวเปลือก ให้แห้งเร็ว ก็ต้องกระจายข้าวเปลือก ให้ทั่ว ให้บางๆ"
     
"ดายหญ้า"
- ถางหญ้าออก ไม่ให้หญ้ารกจนเกินไป

ดายของ (ก.)   เสียดาย

ดาวนำ (น.) ดาวพระศุกร์(ที่ขึ้นตอนหัวค่ำ) ,  ดาวประจำเมือง

ดิกดิก  (ว.)  อาการ ระริกระรี้ ของหนุ่มสาวที่เกินพอดี,   แสดงความอยากได้ที่ออก
           นอกหน้า
            
" อยากได้ของคนอื่น จนตัวสั่น ดิกดิก "

ดีปลี (น.) พริก ( พืชในสกุล Capsicum  วงศ์  SOLANACEAE )
     
ดีปลีขี้นก = 
พริกขี้นก, พริกที่งอกขึ้นเองตามไร่ชายป่า โดยไม่มีใครปลูก
     
ดีปลีชี     =  ชื่อพริกชนิดหนึ่ง เม็ดพริกที่ยังไม่สุก จะมีสีเหลืองซีด
     
ดีปลีวิ่งหลา  = ชื่อของพริกชนิดหนึ่ง เม็ดคล้ายพริกหยวกแต่มีรสชาติเผ็ดมากๆ
     

      ดีปลีเชียก =   ดีปลี  ( Piper retrofractum Vahl  วงศ์  PIPERRACEAE )

ดีดติ้ง   (ก.)   กระโดดไปมา
        (
ใช้เรียกอาการของลูกวัวที่อยู่ไม่นิ่ง 
" เหมือนลูกวัว ดีดติ้ง " )

ดุก (ก.) กระตุ้นให้ผู้อื่นคิดหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใด  ในสิ่งที่คนอื่นมักมองข้าม หรือ
        ลืมกันหมดแล้ว
       
" น้าปานชอบดุกให้คนอื่นทำ  แล้วตัวเองนั่งแล "  ความหมายประโยคนี้ คือ
        น้าปาน ชอบริเริ่มให้คนอื่นทำ  แต่ตัวเองกลับนั่งดู

ดุด  (ก.) 1. สะดุด,  2. อาการคุ้ยหาอาหารของหมูที่ใช้จมูกดันพื้นดิน เรียกว่าหมูดุด

ดุม  (ออกเสียงเป็น "ดุ๋ม ") (ก.)  ดม, ทดสอบโดยใช้จมูก
       สำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะแปลงเสียง โอะ  เป็นเสียง อุ     
           
" ยาดุม "
- ยาดม

เดะ  1.  (ก.)  ตำหนิ  ติ  (ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง )
         
 " ดีแต่ เดะ เพื่อน แต่ตัวเองไม่ทำ "
-
ดีแต่ ติ คนอื่น  แต่ตัวเองไม่ทำอะไร
       2.  (ก.) ประดิดประดอย
          
" หลวงไข่ ช่างเดะ    ปั้นควายเหมือนควายจริงๆเลย "
           
พี่ไข่เป็นคนช่างคิด ช่างประดิดประดอย ปั้นควาย เหมือนควายจริงๆเลย

เดือน (ออกเสียงเป็น "เดื๋อน ")(น.)1. ดวงจันทร์  2. ส่วนของปี โดยปกติจะมี ๓๐ วัน
      ( ความหมาย 1.และ 2. ตรงกันกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน )
      3.ไส้เดือนดิน;
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยตามใต้ดินที่ชื้นร่วนซุย ใต้กองขยะ
      มูลฝอย    4. พยาธิไส้เดือน; พยาธิทางเดินอาหาร ตัวกลมสีขาวหม่น  หัวแหลม
      ท้ายแหลมอาศัยอยู่ในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์       

    
( คนไทยถิ่นใต้จะเรียกทั้ง ไส้เดือนดินและพยาธิไส้เดือน สั้นๆว่า เดือน   อนึ่ง ใน
    
ภาษาโบราณจะเรียกพยาธิในท้องว่า เอือน   ปรากฏข้อความใน  ไตรภูมิพระร่วง
     ดังนี้
   " ลางคาบมีตืด มีเอือน ในท้องนั้น " )

เดือนกิน, พร้าวเดือนกิน  (น.) มะพร้าวเป็นเอือน, มะพร้าวเอือนกิน ลักษณะของ
     เนื้อมะพร้าวแก่ที่บางขรุขระ เหมือนผิวมะกรูด มีรสออกหวานไม่มัน
  คล้ายกับเป็น
     โรค
  ( คนไทยถิ่นใต้ ออกเสียงเป็น "พร่าวเดื๋อนกิ๋น")

เดือนเป็นจันทร์,  ราหูจับจันทร์   (น.)  จันทรุปราคา

โด้   (ว.) โน้น   คำนี้มักใช้เน้นบุคคลที่ต้องการชม ให้ผู้ฟังรับทราบว่า เป็นคนสำคัญ
        หรือมีจุดเด่น
          
" แลโด้  โหม่ ศิลปิน มากันแล้ว  "   ดูโน้น ซิ หมู่ศิลปินเขามากันแล้ว

โดก    (น.)  กระดูก     " โดกวัว  โดกควาย "  -   กระดูกวัว  กระดูกควาย

โดกไก่1. (น.) กระดูกไก่      2. (น.) ชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ใช้เป็นยาสมุนไพร
         มี 
2 ชนิด  คือ 
โดกไก่ยอดดำ   และโดกไก่ยอดขาว

ได     (ออกเสียงเป็น "ได๋ ") 1.(ข.) (น.)  ความเคยชิน  ติดเป็นนิสัย
         ( เลือนมาจากคำว่า  กระได ในภาษาเขมร )
         2. บันได, กระได, สิ่งที่ทำเป็นขั้นๆใช้ก้าวขึ้นลง
            
" หัวได "  - หัวบันได

ได่   (ว.)  ทำไม
       
คนไทยถิ่นใต้ในเขตคลองหอยโข่ง-ะเดา สงขลาในสมัยก่อน จะใช้คำว่า ได่
       
ในความหมาย ทำไม     เฉพาะทัองที่ใต้สุด ตั้งแต่สายบุรี ปัตตานี ลงไปจนถึง
        รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย(ภาษาไทยเจ๊ะเห) จะใช้ว่า
 ยีได๋
 ในบางท้องถิ่น
        ของปักษ์ใต้  จะใช้คำว่า
ไตร่  หรือ ส่อ     แต่โดยทั่วไป ทั้งภาคใต้ จะใช้คำว่า
       
ไส่  
ในความหมาย ทำไม   เป็นส่วนใหญ่

      
 ข้อสังเกตุ :  คำว่า ได่ ของคนคลองหอยโข่ง คนสะเดา  จะใกล้เคียงกับคำว่า
       
ยีได๋   ในภาษาไทยเจ๊ะเห  ซึ่งจะตรงกับคำว่า ยิได ในภาษาไทยคำเมือง หรือ
        ภาษาไทยถิ่นเหนือ ในความหมาย ทำไม  เหมือนกัน  
        ตัวอย่างเช่น  ในกรณีที่ สินค้ามีราคาแพง  
        คนไทยภาคกลาง จะพูดว่า      " ทำไม มันแพงอย่างนี้ "
        คนไทยถิ่นใต้ทั่วไป  จะพูดว่า   " ไส่ มันแพงพันนี้ "
       
คนคลองหอยโข่ง คนสะเดา สมัยก่อน จะพูดว่า  " แล่ว ได่ มันแพงพันนี้ละ"
        คนไทยเจ๊ะเห  จะพูดว่า    " แล่ว ยีได๋ มันแพงพันนี้ ละนี้ "
        คนไทยถิ่นเหนือ จะพูดว่า
"  ยิไดมันแปงแต๊แปงว่า "

ได้แรงอก  (ออกเสียงเป็น "ด้าย แรง อ็อก")     อร่อยถึงใจ ,  สะใจดี



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


       กลับไปหน้าแรก                                                      หน้าถัดไป    
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 



ภาพจาก
 http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปหน้าบท
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

  

Free Web Hosting