คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ร  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -   ร  )


รก  (สำเนียงใต้ออกเสียงเป็น " รก  " ) 1. (ว.)  แน่น, เกะกะ, ไม่มีระเบียบ  (ความ
       หมายในภาษาไทยทั่วไป)

   
   2.(น.) สิ่งที่ห่อหุ้มป้องกัน ของที่อยู่ข้างใน   เช่น  
        
" รก " ที่ห่อหุ้มปกป้อง เด็กในครรภ์ (คำในภาษาไทยทั่วไป)
        
 " รกพร้าว " 
-ในภาษาไทยถิ่นใต้หมายถึง รกมะพร้าวที่มีลักษณะเป็นเส้นใย
       สานกันเป็นแผ่นๆ ห่อหุ้มรอบต้นมะพร้าว ( ตรงโคนของทางมะพร้าว )

        
 " รกโผะค่าง "  - เส้นฝอยเล็กๆ เหนียวๆ  ที่สานเป็นกระเปาะห่อหุ้ม ดอกและ
       ผลของ กระทกรก
       
 " รกช้าง "   - คำในภาษาไทยถิ่นใต้ (พังงา) หมายถึง กระทกรก

รก อก (สำเนียงใต้ออกเสียงเป็น " รก อ็อก " ) (ก.)  รำคาญใจ,  หนักใจ, กลุ้มใจ,
        รับไม่ได้
      
" รก อก จริง แลอีสาวนั้นแต่งตัว อ้อร้อ อิตาย
" ความหมายคือ  รำคาญใ จริง
       ดูอีสาวคนนั้นแต่งตัว แรด จะตาย

รก แร็ก   (ออกเสียงเป็น" ร็อกแร็ก ") (ว.)ลักษณะที่ฝนที่ตกๆ หยุดๆตกประปราย
           
 "ฝนตก รกแร็ก"    ( บางครั้งจะใช้ว่า  "ฝนตก สกเส็ก" ก็ได้ )

รดท่อน (ออกเสียงเป็น "๊อด ถ่อน")(ก.) อาบน้ำ เฉพาะส่วนบนของลำตัวตั้งแต่เอว
      ขึ้นมา
( ก้มตัวให้ลำตัวขนานกับพื้น แล้วใช้น้ำรดตัวโดยไม่ให้ส่วนล่างเปียกมักใช้
      ในกรณีเดินทาง เมื่อไปพบบ่อน้ำจะอาบน้ำแต่ไม่มีผ้าเปลี่ยน คนรุ่นก่อนก็มักจะใช้
      วิธี
รดท่อน ถือเปนการอาบน้ำแบบลวกๆเพื่อ คลายร้อน แล้วเดินทางต่อ )

รถ รุน    (ออกเสียงเป็น " หร๊อด รุน " ) (น.) รถเข็น

รบ  (ออกเสียงเป็น " " )(ก.) ทะเลาะวิวาท,  ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม
       คำว่า"รบ" ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะใช้ในความหมาย ตั้งแต่ การทะเลาะวิวาท ตบตี
       กันธรรมดาระหว่างบุคคล รวมไปถึง การรบที่ต้องยกทัพจับศึกเข่นฆ่ากัน ระหว่าง
       รัฐ ระหว่างประเทศ           
ดังนั้น หากผู้เฒ่าผู้แก่คนไทยถิ่นใต้ พูดว่า   " อีสาว
       ไอ้บ๋าว อย่ารบกัน "
 ก็จะมีความหมายเพียง อย่าทะเลาะกัน (ไม่ได้หมายถึงการ
       เปิดศึกสงครามแต่อย่างใด )

     ข้อสังเกตุ :คนสุโขทัย, คนโคราช ก็ใช้คำว่า  รบ ในความหมาย ทะเลาะ เช่นเดียว
      กับ คนไทยถิ่นใต้

รวก,  ลูกรวก  (น.) ลูกอ๊อด  หรือ ลูกกบลูกเขียด ที่เพิ่งออกจากไข่ยังไม่มีขา อาศัย
       อยู่ในน้ำ   (ภาษาไทยโคราช เรียกว่า รวก เช่นเดียวกับไทยถิ่นใต้ ขณะที่คนไทย
       อีสาน และคนลาว  เรียกว่า ฮวก)

รวน,  ยีรวน(น.) ผึ้งขนาดเล็ก มักอาศัยทำรัง ตามบ้านเรือน (เป็นผึ้งที่ไม่ดุ อยู่ร่วม
        กับคนได้)ชาวสงขลา(คลองหอยโข่ง) เรียกว่า
ผึ้งรวน  แต่ชาวสตูล จะเรียกว่า
        
ผึ้ง
ยีรวน       ผึ้ง ในถิ่นใต้  มีหลายชนิด  ดังนี้
         
ผึ้งรวน,  ผึ้งยีรวน -  ผึ้งขนาดเล็ก ไม่ดุ ทำรังอยู่ตามบ้านเรือน
         
ผึ้งหลวง, ผึ้งยวน - ผึ้งขนาดใหญ่ที่ทำ
รังอยู่รวมกัน บนต้นไม้ต้นเดียว จะมีรังผึ้ง
                            หลายรัง
       
 
ผึ้งหลวงป่าไส, ผึ้งราด  ผึ้งขนาดใหญ่ที่ทำรังบนต้นไม้ใน ป่าไส  ต้นไม้หนึ่ง
                            ต้นจะมีรังผึ้
ง เพียงรังเดียว
         
ผึ้งหนอกวัว  -
ผึ้งขนาดใหญ่ที่ทำรังบนต้นไม้ และต้นไม้หนึ่งต้นจะมีรังผึ้เพียง
                            รังเดียว เหมือน
ผึ้งหลวงป่าไส  ต่างตรงด้านบนของรังผึ้งหนอกวัว
                            จะโหนกนูน คล้ายหนอกวัว

         
ผึ้งแมงวัน (ผึ้งมิ้ม)  -  ผึ้งขนาดเล็กมักทำรังตามชายป่า รวงรังมีชั้นเดียว ขนาด
                            ฝ่ามือกาง เป็นผึ้งที่ไม่ดุ และต่อยไม่เจ็บปวดเหมือนผึ้งชนิดอื่นๆ

        
 
ผึ้งอุง   -     
แมลงจำพวกผึ้ง ตัวเล็กๆ ไม่มีเหล็กใน ทำรังในโพรงไม้

รอก  (ออกเสียงเป็น " อก" ) 1. (น.) รอก ลูกรอก เครื่องทุ่นแรง    
       2.
(น.) กระรอก  (สัตว์กัดแทะตัวเล็กๆชนิดหนึ่ง)
          
 " พร้าวรอกเจาะ" ญิงสาวที่เสียความบริสุทธิ์ให้ชายแล้ว (ถูกกระรอกเจาะ)
      
3. 
(น.) เกราะ, กระดิ่งที่แขวนคอวัว  ภาษาไทยถิ่นใต้เรียกว่า  รอก วัว  (ออก
       เสียงเป็น หรอก ฮัว)  มักทำด้วยไม้เป็นกล่อง เจาะให้เป็นโพรง  ในช่องที่เจาะจะ
       แขวนไม้เนื้อแข็งหรือแท่งเหล็กเล็กๆไว้  เวลาวัวเดินหรือก้มกินหญ้า จะมีเสียงดัง
       ป๋องแป๋งๆ เสียงของ
"รอกวัว" แต่ละอันมีเสียงต่างกัน เด็กเฝ้าวัวจะรู้ว่าวัวของตัว
       เองอยู่ที่ไหนในป่าริมทุ่งก็ด้วยการฟังเสียงของ
" รอกวัว "
       

       
ข้อสังเกตุ
: คำว่า รอกวัว นี้ คนไทยโคราชก็ใช้ในความหมาย เกราะ, กระดิ่งที่
        แขวนคอวัว
ทำด้วยไม้ เหมือนกันกับคำว่า รอกวัว ของคนไทยถิ่นใต้(สงขลา)
      
 ข้อมูลจาก  
เวบไซท์ surveykorat ดอทคอม

 

ร้องเรือ,  เพลงร้องเรือ,  ร้องเรือชาเด็ก, เพลงชาน้อง (น.)เพลงกล่อมเด็กของคน
      ไทยถิ่น
ใต้ ซึ่งมีเอกลักษณเฉพาะ โดยทั่วไปจะมีคำขึ้นต้นว่า อ่า.. เอ้อ.. เหอ หรือ
       ฮา
.. เอ้อ.. เหอ และจะมีคำว่า เหอ.. แทรกอยู่เสมอในวรรคแรก   บทขับและท่วง
       ทำนองของ
เพลงกล่อมเด็กของคนไทยถิ่นใต้ จะมีสำเนียงไทยถิ่นใต้ที่ขับกล่อม
      ไปช้าๆ คล้ายคลึงกันทั้งภาค อาจมีข้อแตกต่างกันบ้าง ในเรื่องคำศัพท์ที่ใช้ ในแต่
       ละท้องที่่ ในแต่ละเขต

      ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง เพลงร้องเรือ ของ คนไทยถิ่นใต้ (สงขลา)

     
" อ่า.. เอ้อ เหอ ไก่แจ้ เหอ ว่ายน้ำหร่ำแหร่ ไปขอเมีย
       ขันหมาก ลอยน้ำเสีย เอาไหรขอเมีย ละไก่แจ้
       ขึ้นนั่งเรือนน้อง เขาเอาเงิน เอาทอง สองสามแคร่
       เอาไหร่ขอเมียละไก่แจ้    บอกแม่ว่า ลอย เหอ....เสีย "
      
      
อ่า.. เอ้อ เหอ  โผกเปล เหอ   โผกไว้ใต้ต้นชุมโพ่
       ให้แหวนพี่ชายไปทั้งโค่  บอกพ่อบอกแม่ ว่าแหวนหาย
       พ่อว่า ไม่โหร่บุญ   แม่ว่า ไม่โหร่ดาย
    
  บอกพ่อบอกแม่ ว่าแหวนหาย   ติดมือพี่ชาย  เหอ..ไป

        แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เพลงร้องเรือ   - นางเกลื้อม อุทัยหอม
       
ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เพลงร้องเรือ ที่ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด รวบรวมไว้
       
ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เพลงร้องเรือ จาก  เวบไซท์ พิพิธภัณฑ์เมืองนคร

รอด   (ออกเสียงเป็น " อด" ) 1. (ว.สามารถทำได้ ,   ไหว
        
" ไม้ท่อนนี้ หนักมาก พี่แบกไม่รอด " -  ไม้ท่อนนี้ หนักมาก พี่แบกไม่ไหว
        2.
 (น.) 
ไม้ที่ตอกติดกับเสา หรือ สอดรูเสาทั้งคู่ สําหรับรับกระดานพื้นเรือน
        3.
 (ก.)   ผ่านพ้น ภัยอันตรายหรือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนามาได้
         ( ความหมายที่ 2, 3  ตรงกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน )

รักษา  (ก.) คำนี้ในภาษาใต้ดั่งเดิม จะใช้ในความหมาย การบำรุงเลี้ยงดูให้ปราศจาก
       โรค ทั้งที่เป็นโรคแล้ว รักษาให้หาย และ ทั้งที่ยังไม่ได้เป็นโรค ก็ได้ 

       ดังนั้น หากมีผู้เฒ่าผู้แก่ถามว่า " ลูกบ่าว ปีนี้ รักษา หมูกี่ตัว "  ก็จะหมายความว่า
       ไอ้หนุ่ม ปีนี้เอ็งเลี้ยงหมูกี่ตัว   (ในที่นี้คำว่า รักษา จะหมายถึง เลี้ยง  ไม่ใช่รักษา
       พยาบาลให้หายจากโรค )

รังหยาว (ออกเสียงเป็น รังหญาว ออกเสียงนาสิก )    (ก.)   รำคาญ  หงุดหงิด
         
(เปรียบเทียบกับคำว่า ranjau ในภาษามลายู )

รัดดวง  (น.)  ริดสีดวง  
        
  " ถูกรัดดวง "  เป็นสำนวน หมายถึง  ถูกรสนิยม  หรือ ชอบเหมือนกัน

ราตับ   (ก.) เกียจคร้าน (คำนี้มีความหมายตรงข้ามกับ ราเยน หรือ ขยัน และถือเป็น
           คำหยาบที่ใช้ในการ ดุด่า เท่านั้น )

ราพา    (น.) กิ่งไม้ ใบไม้ที่น้ำพัดพามาติดอยู่ตามริมน้ำลำคลอง

ราโพ   (น.)พันธุ์พืชตระกูลหญ้าสูงท่วมหัว ขึ้นอยู่ตามริมน้ำลำคลองมักจะมีกิ่งไม้
           ใบไม้ที่น้ำพัดพา มาติดทับถม ( ราพา )

ราเยน, ยาเยน   (ก.)  ขยันพากเพียร, มีความอุตสาหะ ( มาจากคำว่า rajin ใน
            ภาษามลายู )

ราร่า (ออกเสียงเป็น " รา หร่า " ) (ว.) รุ่มร่ามรุงรัง,  กิริยาอาการทีขวางหูขวางตาคน
         ข้างเคียง

ราสา  (ว. มากมาย, เหลือเฟือ

ราก    (ก.)  อาเจียน      (น.) รากไม้

รางครึ่ง   (น.) ลังถึง  ( ภาชนะมีฝาปิด ใช้นึ่งขนม/ นื่งอาหาร )

ราด  (น. เงินตอบแทนตามประเพณี เงินที่ใช้ในงานพิธี ต่างๆ
     
"เงินค่าราดโรงหนังตลุง" 
- เงินค่าตอบแทนบูชาครูในงานแสดงหนังตลุง
     
 "เกิดไม่ตั้งราด - สำนวนไทยถิ่นใต้ หมายถึงคนที่ทะลึ่ง คนที่สัปดนไม่รู้จักที่ต่ำ
       ที่สูง       ( ธรรมเนียมไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม ก่อนที่จะถึงกำหนดคลอด จะต้องทำพิธี
       บอกกล่าวแก่วิญญาณบรรพบุรุษได้รับรู้ จะต้องมีการตั้งราด คือ  ราดพ่อ ราดแม่
       และราดหมอบิดั่น หรือราดหมอตำแย เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างง่ายดายและ
       ปลอดภัย คนที่เกิดมาโดยไ
ม่ได้ทำพิธีตั้งราด เหมือนคนทั่วไป  เชื่อกันว่า จะเป็น
       เด็กที่ผิดปกติ ไ
ม่รู้จักที่ต่ำ ที่สูง)
       คำว่า ราด นี้ มาจากคำว่า
pengeras ในภาษามลายู

ร้าย  (ออกเสียงเป็น " ่าย ") 1. (ว.) ร้าย ไม่ดี เลว (ความหมายเหมือนใน
            ภาษากรุงเทพ) 
             2
.  ซุกซน     

                
" สาวนุ้ย อยู่นิ่งๆ อย่าร้าย -  สาวน้อย อยู่นิ่งๆ อย่าซน
             3.  
(ว.) เก่า, ฉีกขาด               
              
 " ผ้าร้าย "   -   ผ้าขี้ริ้ว ,ผ้าเช็ดเท้า

รายมาย  (ก.)  ก่อกวน พาลหาเรื่องไม่หยุด

ริงไร  (น.)   เรไร,  จั๊กจั่น ( แมลงในเขตร้อนชนิดหนึ่ง )
   
 เส้นริงไร (น.)  เส้นสองสลึง,  เส้นเอ็น หรือเนื้อเยื่อบางๆ อยู่ด้านใต้ขององคชาติ
    
ที่ยึดหัวองคชาติ ว้กับหนัง
หุ้ม 

รึงรัง   (ว.)  รุงรัง, ไม่เป็นระเบียบ

รึบ รึบ  (ก.) กระวนกระวายอยู่ไม่ติด
      ตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
    
" ทำงานบ้านงานครัว แล้วเหื้อย..พอได้ยินเสียงกลองหนังกลองโนราแล้ว รึบ รึบ"
   
 " ที ทำงานบ้านงานครัว แล้ว เฉื่อย(ไม่มีเรี่ยวรง).. แต่พอได้ยินเสียงกลองหนัง
      ตะลุง กลองโนราแล้วกลับ กระวนกระวาย อยู่ไม่ติด "

รุน    (ก.)    เข็น,  ไส,  ดันไปข้างหน้า   "รถรุน" - รถเข็น

รุ้นริ้น  (ก.) ดิ้นรน  ร้อนใจ อยากจะทำ

เริก    (ว.) เผยอ   หรือ ยกตัวสูง (กว่าที่ควรจะเป็น) 
        
 “หัวไม้ดาน มันเริกโหย่   เดินแลๆ ฮีด เดี๋ยวอิ ดุด เอา” - หัวไม้กระดาน มันไม่
         เสมอ
 เดินดีๆหน่อย เดี๋ยวจะสะดุด เอา

เรียด  (ออกเสียงเป็น " เหียด " ) 1. (ว.) ชิด, ติดกันไม่มีช่องว่าง
          
" ก่อนตอกตาปู ต้องวางไม้ดานให้เรียด "
           
ก่อนจะตีตะปู จะต้องวางไม้กระดานให้ชิดติดกัน
        
2.
(ว.) ตระหนี่ ,  ใช้จ่ายอย่างประหยัด    
          
 
"ขี้เรียด"   ขี้เหนียว, ใช้จ่ายอย่างประหยัดจนเกินไป

เรียน (.) ทุเรียน    ในภาษามลายูใช้ว่า durian ความหมายคือ ผลไม้ที่มีหนาม
     
 "เป็นเรียน"
 (ว.) ลักษณะผิวหนังของหญิงที่เป็นตุ่มเล็กทั่วตัว และผอมแห้ง แรง
       น้อย เนื่องจากเป็นโรคเลือด หรือระบบรอบเดือนผิดปกติ

เรียนหรัง (ออกเสียงเป็น เรียน รั้ง )  (น.)  ภาษาไทยถิ่นใต้ในเขต คลองหอยโข่ง
      สงขลา  ใช้เรียก ทุเรียนเทศ, ทุเรียนน้ำ
 หรือ ทุเรียนแขก พันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับ
      น้อยหน่า น้อยโหน่ง  มีชื่อวิทยาศาสตร์
Annona muricata L.
      (" เรียนหรัง " แปลตามคำ คือ ทุเรียนของฝรั่ง )


เรียนหรัง,  เรียนเทศเรียนน้ำ,   เรียนแขก 
(
Annona muricata L. )

เริ่น      (น.)  เรือน(ที่อยู่อาศัย) 
           
"หลบเริ่น"   -  กลับเรือน
          
 "ออกเริ่น  -  แต่งงานแล้ว,  ออกเรือนแล้ว
         "
คนที่ เสาเริ่น อยู่บนห่อพาย" - คนที่เสาเรือนอยู่บนห่อสัมภาระที่สะพายติดตัว
          ใช้ในความหมาย คนพเนจร ไม่มีที่อยู่แน่นอน

     
"เริ่น" หมายถึง อาคารหรือโรงเรือน เฉพาะหลังหนึ่งหลังใด  แต่ "บ้าน" จะหมาย
       ถึง  เรือนหลายหลังคาเรือนที่อยู่เป็นกลุ่ม  ดังนั้น ในภาษาถิ่นใต้ดั่งเดิมจะไม่มีคำ
       ว่า หมู่บ้าน เพราะคำว่า บ้าน มีความหมายเป็นพหูพจน์อยู่แล้ว


       ก
รุณาเปรียบเทียบการใช้คำว่า  เริ่น  และ บ้าน ได้ ดังนี้

    
"หลบเริ่น"- กลับเรือน( คำนี้จะใช้ในกรณีที่ยังอยู่ในหมู่บ้านให้กลับไปเรือนได้แล้ว)
   
 "หลบบ้าน" - กลับบ้าน(ใช้ในกรณีที่ อยู่นอกหมู่บ้าน เช่น กลางทุ่ง อยู่ในเมือง หรือ
                    อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน
- อยู่ต่างบ้านต่างเมือง)
     
"อีสาวนุ้ยไปเรียนหนังสือที่บางกอกหลายปีแล้ว ต่อใด อิ หลบบ้านเสียที   พ่อเฒ่า
      ข้องใจ
พ่อเฒ่าคิดถึง"  ความหมายคือ  "อีหนูไปเรียนหนังสือที่บางกอกตั้งหลายปี
      แล้ว  เมื่อไหร่จะบ้านเสียที  ตาเป็นห่วง ตาคิดถึง"

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม
เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


     กลับไปหน้าแรก                                                          หน้าถัดไป    
 
  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 09/01/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 


 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting