คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  น  )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  น )



 

 หมายเหตุ
 1.
อักษรต่ำ  คำเป็นในภาษาไทยมาตรฐาน  มีฐานเสียงเป็นเสียงสามัญ แต่ใน
 สำเนียงไทยถิ่นใต้
(สงขลา)จะเป็นเสียงสามัญเพี้ยนคือ เป็นเสียงสามัญที่มีหาง
 เสียงเป็นเสียงโทเล็กน้อย
(ออกเสียงเป็นพยางค์เดียว) ตัวอย่างเช่น
    
        แพ    ออกเสียงเป็น      แพ+แอ้
    
       คา 
   ออกเสียงเป็น      คา+อ้า
           
นวน   ออกเสียง เป็น     นวน+อ้วน,    
            เนียน  ออกเสียง เป็น    เนียน+เอี้ยน

 2. อักษรต่ำคำตาย ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะมีฐานเสียงเป็นเสียงจัตวา
 เช่น
           นก      ออกเสียงเป็น   หนก
           พลัด 
  ออกเสียงเป็น   ผลัด
           ซัด     
ออกเสียงเป็น   สัด
           มด      ออกเสียงเป็น   หมด

รายละเอียดความแตกต่างระหว่างเสียงภาษาไทยกรุงเทพกับสำเนียงภาษาไทย
ถิ่นใต้(สงขลา)
เข้าไปอ่านได้ที่  - เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา

นกกรง  (น.)  ชื่อกลุ่มของนกขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในป่าพื้นราบของภาคใต้
       ประกอบด้วย  นกกรงหัวจุก,  นกกรงแม่พะ,
 นกกรงหน้าหมา,  นกกรงดิน,
       นกกรงดอกแตง

           
-
 นกกรงหัวจุก (Red-whiskered) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnonotus jocosus
       วงศ์
Pycnonotidae
   นกชนิดนี้ในเขตภาคกลางเรียกว่า นกปรอดหัวโขน,  ภาค
       เหนือเรียก
นกพิชหลิว หรือ ปิ๊ดจะลิว (ปัจจุบัน "นกกรงหัวจุก"ได้กลายเป็นสินค้า
       ที่มีการซื้อขายกันทั่วไปในภาคใต้  
จึงหานกชนิดนี้ในป่าธรรมชาติได้ยาก)
            
-
นกกรงแม่พะ, นกปรอดแม่พะ (
Straw-headed Bulbul)จัดเป็นนกปรอด
       ที่มีขนาดโตที่สุด
และหายากที่สุดของประเทศไทย  ขนที่หัวของ
นกกรงแม่พะจะ
       มี
สีส้มสด ขณะที่ขนส่วนอื่นๆจะเป็นสีน้ำตาลหม่น   
( ปัจ จุบันในป่าธรรมชาติของ
       ภาคใต้จะหานกชนิดนี้ได้ยาก เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุก )

    
             (
นกกรงหน้าหมา,  นกกรงดิน,   นกกรงดอกแตง  - ยังไม่มีข้อมูล )

นกตูก  (ออกเสียงเป็น หนก ตู้ก) (น.)  นกฮูก,   นกเค้าแมว
        (พบเห็นได้น้อยมาก  หลังจากที่เกษตรกรไทย เริ่มใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหนู)

นกพี่ทิดพี่ที  (น.) นกทึดทือมลายู, นกในวงศ์นกเค้าชนิดหนึ่ง(วงศ์ Strigidae)มีขนาด
        ใหญ่
ตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้ว
         ยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน

      
 (คนไทยถิ่นใต้ ได้ยินเสียงนกชนิดนี้ร้องเป็น "พี่ทิดพี่ที"  จึงเรียกนกนี้ว่า  นกพี่
        ทิดพี่ที
)

นกพร้าว (น.)  ช่อดอกของมะพร้าว

นม, นุม  (น.) คำที่ใช้เรียกมารดาผู้ให้กำเนิด  ใช้เช่นเดียวกันกับคำว่า แม่    หรือใช้
      เป็นคำนำหน้านาม เรียกญาติผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หญิงด้วยความเคารพ

     
 ( แถวๆบ้านพรุ หาดใหญ่ สงขลา มีคลองสายหนึ่งเรียกว่า คลองหามนม ที่มาของ
       ชื่อนี้ คือ ลูกๆหามแม่ซึ่งป่วยหนัก ข้ามคลองไปหาหมอ เพื่อทำการรักษา )

นวล   (ว.) นุ่ม
       
" หมอนนี้ นวลจัง "  -  หมอนใบนี้นุ่มจัง

        
(ข้อสังเกตุ: นวลของคนสงขลาจะรู้ว่า นวลหรือไม่ ก็ด้วยการจับต้อง  แต่ นวล
        ในภาษากรุงเทพฯ
จะรู้ได้  ก็ด้วยการมอง )

น้องใหญ่  (น.)  สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้กับ ญาติผู้น้องแต่มีอายุมากกว่าผู้พูด 
      
ในเขตหาดใหญ่ รัตภูมิ คลองหอยโข่งและเขตใกล้เคียงของจังหวัดสงขลา จะใช้
       คำว่า น้องใหญ่ นำหน้าชื่อของบุคคลที่เป็นญาติผู้น้องแต่มีอายุมากกว่า
(บางครั้ง
       จะตัดทอนให้สั้น เหลือ เพียงคำว่า ใหญ่ คำเดียว
      
       ตัวอย่างประโยคเช่น 
" พี่หลวง.. บ้านใหญ่คลิ้งไปทางไหน "    คำว่า ใหญ่ คลิ้ง 
       นั้น คำเต็ม คือ น้องใหญ่คลิ้ง แสดงว่าผู้ถามเป็นญาติผู้พี่ของนายคลิ้ง และนาย
       คลิ้ง เป็นญาติผู้น้องแต่มีอายุมากกว่าผู้ถามประโยคนี้
     
      
หมายเหตุ    คำว่า  น้องใหญ่ นี้จะ ใช้คู่กับคำว่า  พี่นุ้ย 

นอน กด  (ก.)   ตื่นแล้ว แต่ไม่ยอมลุกจากที่นอน
         " ไอ้บ่าว ยกขึ้นได้แล้ว  นอนกด อยู่พันนั้น เขาว่าเป็นคนขี้คร้าน "
       
ไอ้หนู ลุกขึ้นได้แล้ว    ตื่นแล้ว แต่ไม่ยอมลุกจากที่นอน อย่างนั้น เขาว่าเป็นคน
       เกียจคร้าน

นอ   (น.) ไม้หนาแผ่นยาวที่ใช้ติดเป็นขอบพื้นกระดาน ของบ้าน หรือขนำแบบไทยถิ่น
       ใต้ ซึ่งสูงจากนอกชานขึ้นไป   
"นอ" ที่ตอกติดไว้นั้น จะอยู่สูงกว่าพื้นกระดานนิด
       หนึ่ง จึงเรียกขอบของนอ ว่า "หัวนอ"    ปกติ แขกที่เยี่ยมกับเจ้าของบ้าน,เจ้าของ
       ขนำ จะใช้เป็น "หัวนอ" เป็นที่นั่งพูดคุยกัน     บางครั้งเจ้าของบ้าน ก็ใช้ "หัวนอ"
       หนุนนอนแทนหมอน   ระหว่าง "นอ" กับนอกชานที่อยู่ต่ำลงไป จะเป็นช่องเรียก
       ว่า  "ร่องแมว" ให้แมวได้ลอดขึ้น ลอดลงได้

       " สับ หัวนอ หมาย " สำนวนถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย บันทึกจดจำไว้ไม่ให้ลืมว่า
       ครั้งหนึ่งได้เคยถูกกระทำ เข้าทำนองว่า แค้นนี้ไม่มีวันลืมนอกเสียจากว่ากระท่อม
       หรือขนำ หลังที่หัวนอได้ถูกมีดสับหมายไว้นั้น ถูกรื้อทำลายไปเสีย  เมื่อสับหัวนอ
       หมายแล้ว ก็เลิกคบกันไปเลย

      
" นอตู " -  ธรณีประตู
     
 
" แก้นอ " - การถอนพิษเหล้าช่วยให้สร่างเมา หรือการแก้อาการเมาค้างด้วยการ
       ดื่มเหล้าอีกในตอนเช้า ในปริมาณที่ไม่มากนัก ภาษาไทยถิ่นใต้เรียกว่า
"แก้นอ" 

นั่งหม้อง (ว.)  นั่งซึม ไม่พูดไม่จากับใคร

นากา    (ออกเสียงเป็น หน่า กา)  (น.)  นาฬิกา

นากบุด, ต้นนากบุด   (น.) ต้นบุนนาค

นาย 
(น.) ตำรวจ
      ในอดีตคนปักษ์ใต้จะเรียกตำรวจว่า
นาย  เนื่องจากตำรวจส่วนใหญ่มักใช้อำนาจ
      ข่มขู่และทำตัวเป็น นาย เหนือกว่าชาวบ้าน ซึ่งเป็นคนยากคนจน   คนบ้านนอกจะ
       กลัวตำรวจ ถึงขนาดเวลาเด็กๆร้องไห้โยเย ผู้เป็นแม่ก็จะขู่ลูกว่า 
       
 " นาย มาแล้ว  
....อย่าร้อง เดี๋ยวนายจับแหละ"
      
ปัจจุบัน โดยทั่วไปจะใช้คำว่า ตำรวจ 

นายคุม (น.) ผู้คุม,  เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
    
ในอดีตคนไทยถิ่นใต้จะเรียก
ผู้คุม  ผู้ทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังในเรือนจำตามหมาย
      ศาล ว่า  นายคุม
     
     
ปัจจุบัน คำว่า นายคุม นี้ จะไม่มีใครพูดแล้ว โดยทั่วไปจะใช้คำว่า ผู้คุม ตามภาษา
      ไทยมาตรฐาน
  คำว่า นายคุม จะมีพูดบ้าง ก็เฉพาะคนเฒ่าคนแก่หรือคนบ้านนอก
      ริมเขา ริมควน
เท่านั้น

นายเงา  (น.)   คำเรียกสมมติตัวอะไรสักอย่าง ไว้หลอกเด็กๆ
     
 
" ไอ้บาว อย่าเล่นเงา  เดี๋ยวอิโถก นายเงา จับไปทุ่มเล "
         ไอ้หนู อย่าเล่นเงา เดี๋ยวจะถูกนายเงา จับตัวไปทิ้งทะเล

   
ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้  ตอนกลางคืนเด็กๆจะเล่นเงาโดยจุดตะเกียงกระป๋อง
    หรือ "เกียงคางคก" แล้ว  เอามือมาบังแสงให้เกิดเป็นเงาบนฝาห้อง   การเล่นเงาดัง
    กล่าวเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะอาจเกิดไฟไหม้ได้     ผู้ใหญ่จึงใช้คำว่า นายเงา เป็น
    อุบายหลอกให้เด็กกลัว  
 (  กรุณาเปรียบเทียบกับ   มูสังแหย้ว  ตัวสมมุติอีกตัว ที่
    เป็นอุบายหลอกเด็กของคนปักษ์ใต้สมัยก่อน )

นายหนัง  (น.)คนเชิดหนังตะลุง,  ศิลปินพื้นบ้านปักษ์ใต้,  ( ผู้เป็นนายของรูปหนัง)

 
 

ภาพการฝึกซ้อมของ "นายหนัง"  ตัวน้อยๆ
ใน "ชมรมหนังตะลุงบ้านม่วงค่อม"
 ตำบลควนลัง   อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

นายบ้าน  (น.) ผู้ใหญ่บ้าน ( ผู้เป็นนายของหมู่บ้าน)

นายหัว, นายหัวรถ  (น.)  คนขับรถ, โชเฟอร์

       คำว่า นายหัว ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ดั่งเดิม จะใช้ในความหมาย คนขับรถ
       เนื่องจากจะต้องนั่งอยู่ที่หัวรถ  ไม่ได้ หมายถึง เจ้านาย หรือ เศรษฐีคนมีเงิน แต่
       อย่างใด  กรณีเศรษฐีคนมีเงินในภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป จะใช้คำว่า เถ้าแก่(ออก
       เสียงเป็น ท่าวแก๊) เช่น เถ้าแก่เรือขุด,  เถ้าแก่เหมืองแร่, เถ้าแก่สวนยาง เป็นต้น

      
ปัจจุบัน คำว่า นายหัว นี้ ได้มีการนำไปใช้เรียก  เศรษฐีคนมีเงินคนปักษ์ใต้ ใน
       ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนต์ ซึ่ง ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม

เน,  เด  (ว.)  นี่,  นี้
      เนื่องจาก ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) มักจะแปลงเสียง อี เป็นเสียง
เอ และเสียง
      น.  ไทยถิ่นใต้จะออกเสียงผสมเป็น น+ด   ดังนั้น
คำว่า  เน,  เด  ของคนไทยถิ่น
      ใต้  ก็คือ คำว่า   นี่,  นี้
  
ในภาษาไทยภาคกลาง
      ตัวอย่าง การใช้คำนี้ของคนไทยถิ่นใต้ สงขลา
       "
เน อี้สาว  มาเด พี่หลวง อีบอกให้โร้ "
      ความหมายของประโยคนี้ คือ  
นี่ อีสาว  มาตรงนี้ พี่หลวง จะบอกให้รู้

น้ำชุบ (น.) น้ำพริก   
        ชาวสงขลา จะเรียกน้ำพริกว่า 
น้ำชุบ  โดยเฉพาะน้ำพริกกะปิที่มีน้ำขลุกขลิกที่
        เราสามารถใช้ผักจุ่มลงไปในน้ำชุบ ได้  ( ถ้าจุ่มแล้ว น้ำพริกไม่ติดผัก ก็ไม่เรียก
        ว่า
น้ำชุบ )

น้ำตาล  (น.) น้ำตาลเมา    (  คำว่า น้ำตาล ในภาษาไทยถิ่นใต้ดั่งเดิมจะใช้ในความ
       หมายน้ำตาลเมา หรือ  หวาก    และ
น้ำผึ้ง จะใช้ในความหมาย น้ำตาลในภาษา
     
 ไทยภาคกลาง )

น้ำเต้า   (น.)   ฟักทอง
        
" น้ำเต้าเชื่อม " 
ฟักทองเชื่อม
           
น้ำเต้าขาควาย (น.)   คำนี้ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) หมายถึง   น้ำเต้า (ที่เมื่อแก่
        และแห้งแล้ว  เปลือกน้ำเต้าจะแข็ง สามารถดัดแปลงเป็นภาชนะเก็บน้ำได้)

น้ำเทะ   น้ำกะทิ     ( ในสำเนียงสงขลา จะแปลงเสียง อิ  เป็น เสียง เอะ )  
           
"น้ำเทะเรียน"        (
น้ำกะทิทุเรียน )
           
"ต้มเทะหน่อไม้"    ( ต้มกะทิหน่อไม้)

น้ำผึ้ง (น.น้ำตาล คำว่า น้ำผึ้ง ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา,พัทลุง ) จะใช้ในความ
         หมาย น้ำตาล แต่จะเป็นน้ำตาลประเภทใด จะต้องดูคำที่ต่อท้าย เช่น
          
" น้ำผึ้งทราย  "    น้ำตาลทราย
          
" น้ำผึ้งกลวด  "    น้ำตาลกรวด
          
" น้ำผึ้งเหลว  "     
น้ำตาลโตนด (เคี่ยวแล้ว ข้นเหลว สีน้ำตาล)
          
" น้ำผึ้งเมืองเพชร "    น้ำตาลปี๊บ (สีขาว - น้ำตาลอ่อน)
          
" น้ำผึ้งแว่น "       น้ำตาลแว่น (ทำจาก"น้ำผึ้งเหลว" ที่เคี่ยวจนเหนียว )
          
" น้ำผึ้งโหนด  "    น้ำตาลโตนด
         
  " น้ำผึ้งรวง  "       น้ำผึ้ง  (จากรวงผึ้งจริงๆ)

หนาบทีง ( ออกเสียงเป็น น้าบทีง )
       (น
.)  งูชนิดหนึ่ง มีขนาดและลำตัว ยาวคล้ายงูบอง(งูจงอาง) แต่แตกต่างจาก
งู
       บอง(งูจงอาง)
ตรงที่งูหนาบทีง ตลอดลำตัวจะมีลายพาดสีดำสีเหลือง (สีน้ำตาล)
       และสันหลังจะเป็นเหลี่ยม  
งูหนาบทีง เป็นงูไม่มีพิษอำพรางตัวได้เก่ง เมื่อจวนตัว
       จะเลื้อยหนี อย่างรวดเร็ว
     
 (
คนสงขลา ในเขตอำเภอหาดใหญ่, คลองหอยโข่ง และสะเดา จะเรียกงูชนิดนี้ว่า
       "งูหนาบทีง, งูบองหนาบทีง" 
แต่คนสงขลา แถบอำเภอสิงหนคร สะทิงพระ,
        ระโนด รวมทั้งอำเภอหัวไทร, เชียรใหญ่ จังหวัด
นครศรีธรรมราช เรียกงูชนิดนี้ว่า
        งูหนาบควาย   ปัจจุบันจะพบเห็น
งูหนาบทีง หรือ งูหนาบควาย นี้ได้ยากมาก )

หนามฮับ (ออกเสียงเป็น น้าม หับ)(.) ไมยราบ,วัชพืชชนิดหนึ่ง(Mimosa pudica L.
       วงศ์ Leguminosae)
มีหนามตามลำต้นที่เลื้อยไปตามพื้นดิน ลักษณะใบคล้ายใบ
       ผัก
กระเฉด   เมื่อถูกกระเทือน ใบก็หุบราบ

หนุน (ออกเสียงเป็น นุ้น ) (น.)   ขนุน,  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่( Artocarpus
       heterophyllus Lam. วงศ์ Moraceae )

หนุนปุด (น.)  ขนุนป่าชนิดหนึ่ง  เมื่อสุกเนื้อจะเละๆ กินไม่อร่อย  มักเป็นอาหารของ
       สัตว์ป่า  แต่เนื่องจาก "หนุนปุด" มีเมล็ดมาก ชาวป่าซาไก และชาวบ้านริมป่าเขา
       ในอดีต จึงใช้ประโยชน์"หนุนปุด" โดยการนำเมล็ด"หนุนปุด" มาต้มกิน

หนวย (ออกเสียงเป็น น้วย ) (น.) หน่วย คำลักษณะนาม ใช้กับสิ่งของที่มีรูปทรง
       กลมๆ หรือ เรียวๆ   เช่น   
         
" ถ้วย หนวย"  -   ถ้วย 3 ใบ
         
" กล้วย 2 หนวย "  กล้วย 2 ใบ
        
 " ดีปลี 5 หนวย  ( 5 ดอก)  "  -  พริกขี้หนู 5 เม็ด

หนอย หนอย (ออกเสียงเป็น น้อย น้อย) (ว) เบาๆ, ค่อยๆ
      
 " เฆี่ยน หนอย หนอย พันนี้   แล้วตอใด เด็ก อิ กลัวละ "
     
  (ลงโทษ)เฆี่ยน(เด็ก เกเร)  เบาๆอย่างนี้   แล้วเมื่อไหร่ เด็ก ถึงจะ กลัวละ

หนำ  (ออกเสียงเป็น นั้ม )  (น.)   ขนำ, กระท่อม (ที่อยู่อาศัย ในสวนหรือตามหัว
        ไร่ปลายนา)
         
" หนำไร่ " - ขนำเฝ้าไร่
        
 
" หนำริมถ่องปลักเหม็ด " - ขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
         
       
หมายเหตุ : ทุ่ง  สำเนียงไทยถิ่นใต้ -สงขลา จะออกเสียงเป็น ถ่อง   ( เสียง อุ
        ในภาษาไทยภาคกลาง  ในสำเนียงไทยถิ่นใต้-สงขลา  จะออกเสียงเป็น เอาะ
        หรือ โอะ )

หน่ำ (ก.)  ปลูก (ข้าว  หรือ พืชอื่นๆ เฉพาะในที่สูง ที่ดอน )
        
ถ้า ปลูกข้าวจะเรียกว่า
หน่ำข้าว ปลูกถั่ว จะเรียกว่า หน่ำถั่ว   การหน่ำข้าวของ
        คนปักษ์ใต้จะเริ่มในช่วงต้นหน้าฝน  โดยทั่วไปผู้ชายจะเดินข้างหน้า   มือทั้งสอง
        ถือ ไม้สัก กระทุ้ง พื้นดิน ให้เป็นหลุม (รู) เล็กๆ เป็นแนวสองแนว ส่วนผู้หญิงจะ
        ถือกระบอกไม้ไผ่ที่ใส่ข้าวเปลือก ดินตามและหยอดเมล็ดข้าวเปลือกลงในหลุม
        (รู) เมื่อหยอดเมล็ดข้าวแล้ว  ก็จะใช้กระบอกไม้ไผ่กระแทก ขอบหลุม(รู) ให้ดิน
        กลบเมล็ดข้าว  เมื่อฝนดีแดดดี ข้าวก็จะงอกงาม เป็นข้าวไร่ที่เขียวขจีรอการเก็บ
        ข้าวในอีก 3 - 4 เดือนข้างหน้า

        
( พันธุ์ข้าวไร่  พื้นเมืองของปักษ์ใต้มีหลายพันธุ์ ที่สำคัญคือ ข้าวดอกพะยอม )

 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.   =     อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .   =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เพื่อโปรดทราบ   -    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
  เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น


     กลับไปหน้าแรก                                  หน้าถัดไป  น. หน้าที่ 2 

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 24/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 


ภาพ
จาก Internet
(  pkkk2714 Blog )

หมายเหตุ  : ในป่าธรรมชาติของภาคใต้ จะหา นกกรง
หัวจุก
ได้ยากมาก เนื่องจากค่านิยมผิดๆของคนไทยถิ่น
ใต้ที่ชมชอบการกักขังนกสวยงาม 
นกกรงหัวจุกในภาค
ใต้
จีงกลาย
เป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันทั่วไป   ปัจจุบัน
ได้มีการข้ามเขตขึ้นไปหานกกรงหัวจุก   ทางภาคเหนือ
และภาคอีสาน
   จึงคาดว่า  นกชนิดนี้คงจะสูญพันธุ์ไป
จากประเทศไทย
ในไม่ช้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting