คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม           ส   ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด -  ส   ) 
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -   ส  )


.

สกเส็ก (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ซ็อกเซ็ก)  (ว.)  ไร้สาระ,  ไม่น่าพูด ไม่ควร
        
นำมาปฏิบัติ
           
" เรื่องสกเส็ก พรรค์นี้  คนเป็นถึงกำนันเขาไม่ทำกันหรอก "   ความหมายคือ
        เรื่องไร้สาระอย่างนี้  คนเป็นถึงกำนันเขาไม่ทำกันหรอก
        คำว่า สกเส็ก นี้ บางครั้งจะใช้อธิบายลักษณะของฝนที่ตกๆ หยุดๆ ตกประปราย
        ว่า  
ฝนตกสกเส็ก    ( หรือจะใช้ว่า  "ฝนตก รกเร็ก" ก็ได้ )

สกครูก,  สักครูก,  สกโครก,   สักโครก (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ซก ขรูก, ซัก
       ขรูก,  ซก โขรก,  ซัก โขรก)
   (ว.)  สกปรก
       
คำที่มีความหมาย สกปรก ในภาษาไทยถิ่นใต้ มีหลายคำ  คือ
         
หลุหล๊ะ  คำนี้ใช้ในความหมาย สกปรก เลอะเทอะ
         
ม่อร็อง  คำนี้ใช้กับเสื้อผ้าที่สกปรก หรือรูปร่างหน้าตาที่สกปรก
          สกหมก, มรก (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ซก หมก, หมรฺก) คำนี้ใช้กับเสื้อผ้า
       หรือการแต่งกายที่สกปรก
       

สมรม  (ว.)  ผสมผสาน ปนเป
       
 " แกงสมรม " 
=  แกงเหลือในงานวัด ที่นำมาผสมรวมกัน แล้วอุ่นใหม่ ไม่ให้บูด
        
" สวนสมรม "  =  สวนผลไม้ ที่มีพืชหลายชนิด ขึ้นปะปนกัน

ส้มๆ     (ออกเสียงเป็น ซ็อมๆ) (ว.)  ไม่ปกติ ไม่เต็มบาท
         
" หลวงขวดเป็นคนส้มๆ ทำไหร กะเพี้ยนๆ " 
           หลวงขวดเป็นคนไม่ปกติ ทำอะไรก็เพี้ยนๆ

ส้มเกลี้ยง  (ออกเสียงเป็น ซ็อม เกลี่ยง ) (น.)   ส้มเขียวหวาน

สวด   (น.)    หวด,  อุปกรณ์ที่ใช้นึ่งข้าว, นึ่งอาหาร

สอก   (ก)  พร่อง ,  ลดลง
        
(คำนี้เลือนมาจาก  ซฺรอก  ในภาษาเขมรโบราณ)
         
" น้ำ สอกล้ว "  =  น้ำลดล้ว
          
" หวากในจอก  สอกลงไปฮีดหนึ่ง " =  น้ำตาลเมาในจอกพร่องไปนิดเดียว

สมุก  (น.) ภาชนะสานก้นเหลี่ยมมีฝาครอบ ใช้สำหรับเก็บของใช้ มีขนาดเล็ก สานด้วย
         ใบเตย , ใบลำเจียก  หรือ ใบตาล
        
        
หมายเหตุ เพิ่มเติม
         นระยอง ภาคตะวันออก ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของอ่าวไทย เรียกภาชนะสาน ชนิดนี้
        
ว่า กะหมุก - ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานวัฒนาธรรมจังหวัดระยอง

สะคี่ , สะกี้ ,  ส่ากี้    (น.) ปุ้งกี๋  อุปกรณที่ใช้ขนดิน  ขนทราย

สะโบ (น.) 1. สบู่ (ที่ใช้ฟอกตัว,ชำระล้างร่างกาย)     2.  ถั่วสะโบ (น.) ชื่อของถั่วชนิด
       หนึ่ง
(Bambarra Groundnut)เป็นพืชตระกูลถั่วที่ฝักถั่ว เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน หรือ
       วางบนผิวดิน โดยแต่ละฝักจะมีเมล็ดในเพียงเมล็ดเดียว 

       ชาวสงขลา(คลองหอยโข่ง)เรียกถั่วชนิดนี้ว่า ถั่วสะโบ, ชาวนครศรีเรียกว่า ถั่วหรัง,
      ชาวกระบี่,พังงา เรียกว่า ถั่วปันหยี


ถั่วสะโบ ของชาวคลองหอยโข่ง(สงขลา )

สะมายัง, สะมาหยัง,  มาหยัง  (.)(น.) การสวดแสดงความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า
        ของชาวมุสลิม   ( คำนี้คนไทยถิ่นใต้ มักใช้สั้นๆว่า มาหยัง )

สังหยา  1. (น.) ขนมสังขยา   เช่น   " ข้าวเหนียวสังหยา "  = ข้าวเหนียวสังขยา
           
2.
(น.)
อาการพุพอง  ติดเชื้อบริเวณหนังศีรษะ(ชันนะตุ) จะเรียกว่า
       
 " หัวเป็นสังหยา "

สับเดะ
(น.) (สฺมฺฤติ - สัน., สติ - .)  สติ, ความรู้สึกตัว การจำได้ หรือถ่ายทอดต่อๆ
        กันมาทางความทรงจำ (คำว่า
สฺมฺฤติ นี้ ภาษาไทยภาคกลาง จะใช้เป็น สมประดี
        และ
มักใช้เข้าคู่กับคำสติ เป็น สติสมประดี  ขณะที่ไทยถิ่นใต้ เลือนไปเป็น สับเดะ)

       
คำว่า "สับเดะ"  นี้ ภาษาไทยถิ่นใต้ มักใช้ในเชิงปฏิเสธ คือ "ไม่สับเดะ"  โดยจะใช้
        ใน
2 ความหมาย คือ 
       
1.
" ไม่สับเดะ "  (ว.) ไม่รู้จักคิด, ไม่รู้จักจำ, ไม่รู้จักพลิกแพลง หรือทำอะไรแบบ
         เถรตรง
ไม่มีไหวพริบ ไม่มีสติ

        
" หลวงไข่ แกเป็นคนที่ไม่สับเดะ  งานที่ยากลำบาก งานที่แปลกๆ  อย่าให้แกทำ
           เด็ดขาด "
พี่
ไข่ แกเป็นคนที่ไม่รู้จักพลิกแพลง  งานที่ยากลำบากหรืองานที่
           แปลกๆ  อย่าให้แกทำเด็ดขาด
       
   
   2. " ไม่สับเดะ "
 (ว.)   สุขภาพไม่ดี, ไม่เป็นปกติ
 
        
" วันนี้ แลๆแล้ว  พี่ไม่ค่อยสับเดะ เท่าใด  ตากะลาย   ขา กะ ม้ายแรง น้องไปวัด
           คนเดียวนะน้อง   พี่ อิ นอนเอาแรงสักหีด "   
=   
วันนี้ ดูๆแล้ว  พี่ไม่ค่อยปกติ
           เท่าใหร่  ตาก็ลาย  แข้งขา ก็ไม่มีเรี่ยวแรง น้องไปวัดคนเดียวนะน้อง  พี่จะนอน
           เอาแรงสักหน่อย

สัตว์นี้, ไอ้สัตว์นี้  (น.) สัตว์, พืช หรือสิ่งของที่แปลกประหลาด  มักใช้ในประโยคคำถาม
         "
อ้สัตว์นี้ เขาเยียกว่า ผรื่อ ? "
            สิ่งนี้  หรือของอันนี้
แปลกประหลาดมาก เขาเรียกว่าอะไร ?
        
"  ลูกไอ้สัตว์นี้ เห็นเขาเยียกว่า ลูกกีวี  เขากินผรื่อ ?
           
ผลไม้แปลกๆ ประหลาดๆ  เห็นเขาเรียกว่า ลูกกีวี  นี่  เขากินกันอย่างไร ?

         
        (  คำว่า
" ไอ้สัตว์นี้ " คนสงขลาดั้งเดิม, คนชนบทบ้านนอก, หรือคนริมเขาริมควน
        จะใช้เป็นปกติ
ถือเป็นคำที่ไม่ได้หยาบคาย หากใช้ในประโยคคำถามที่ต้องการจะรู้
        ว่าสัตว์, พืช,หรือสิ่งของแปลกประหลาด ที่ผู้ถามไม่รู้จักนั้น เป็นอะไร หรือเรียกว่า
        อะไร แต่ห้ามใช้กับคน เพราะเป็นคำที่หยาบคาย ไม่สุภาพมากๆ)

สา 1. (น.) ความเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักรับผิดชอบ รู้ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ  (หรือ
         เดียงสา ในภาษาไทยมาตรฐาน)  ในภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า   รู้สา  ( ออก
         เสียงสำเนียงสงขลาเป็น 
โร่ สา ) ซึ่งจะมีความหมายตรงข้ามกับคำว่า     ไม่รู้
        
สา  - ไร้เดียงสา
         2.
(ก.) รู้สึก , รับรู้ได้
         
" กูไม่ สา กลัว สักฮีด "
  -  กูไม่รู้สึกกลัวสักหน่อย
         
" ถูกด่าแค่นั้น ไม่สาไหรหรอก "   -  ถูกด่าแค่นั้น ไม่รู้สึกอะไรหรอก
        
 " หลวงชม เป็นคนไม่สาไหร พี่ถูกแทงตาย ยังทำเฉยอยู่ได้ "
             หลวงชม เป็นคนไม่เอาไหน (ไร้ความรู้สึก) พี่ถูกแทงตาย ยังทำเฉยอยู่ได้
        
 " สาว่า
" 
ดูเหมือนว่า , น่าจะเป็น (อย่างนั้น อย่างนี้)

สาเหร่   (ก)  เร่ร่อน, จรจัด,  ไม่มีที่อยู่แน่นอน
          
" คนสาเหร่ "
- คนจรจัด

สาด      (น.)   เสื่อ ( ที่ใช้ปูรอง นั่ง - นอน )

สามส้าง (ศฺมศาน - สันส.)(น.) สถานที่เผาศพของคนปักษ์ใต้สมัยก่อน  เป็นเสาไม้หมาก
      สูง 4 เสา ข้างล่างกว้าง ข้างบนสอบ ข้างบนจะขึงด้วยผ้าขาวไว้กับเสา 4 มุม
 ที่พื้นจะ
      ใช้เป็นที่วางโลงศพ   ปักษ์ใต้โบราณเชื่อกันว่า
สามส้าง เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนเขา
      พระสุเมรุ โดยเสาทั้ง 4 เสา ของ
สามส้าง จะมีความหมายในเชิงปริศนาธรรม กล่าว
      คือ   เสาที่ 1 หมายถึง กิเลสตัณหาอุปาทาน
  เสาที่ 2 หมายถึง กรรม-การกระทำ
      เสาที่
 3  หมายถึง วิบาก-ผลของกรรม   ส่วนเสาที่ 4  เป็นเสาพิเศษ ที่หมายถึง การ
      หลุดพ้นซึ่งก็คือ
 พระนิพพาน ที่หมดสิ้นกิเลสตัณหา สิ้นภพสิ้นชาติ ไม่ต้องเวียนว่าย
      ตายเกิดอีกต่อไป
     
(ในภาษาไทยถิ่นใต้ คำว่า สามส้าง -
สถานที่เผาศพ  เป็นคำที่เลือนมาจาก ศฺมศาน
      ในภาษาสันสกฤต  ขณะที่
ในภาษาไทยมาตรฐาน จะใช้คำว่า สุสาน ซึ่งเป็นคำที่มา
      จากภาษาบาลี ในความหมาย สถานที่เผาศพ เช่นกัน)
 

สาย  (น.) 1. เส้น, แถว,  แนว, ก้านของบัวต่างๆ ( ความหมายตรงกันกับ ความหมาย
        ในภาษาไทยภาคกลาง)
         
" สายคอ "   -  สร้อยคอ
          "
สายเอว "   -  เข็มขัด

          2. สาหร่าย
; พันธุ์
ไม้น้ำ ที่พบอยู่ใต้น้ำ ตามลำคลอง ท้องทุ่ง  และในทะเ
         ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะเรียกว่า   "สาย"
         " ยำสาย " 
- ยำสาหร่าย ; อาหารที่ขึ้นชื่อของเกาะยอ สงขลา


สายดม, ชายดม (น.) แนวเขตบ้านหรือแนวที่ดินซึ่งมีต้นไม้หลายๆพันธุ์ขึ้นอยู่เป็นแนว
      
( ผักเหนาะ จิ้ม น้ำชุบของคนใต้ จึงมักจะเป็นผักที่เก็บจากแนวสายดมข้างบ้าน )
      
      
หมายเหตุ  คำว่า สายดม, ชายดม ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)มีความหมายใกล้
       เคียงกับคำว่า
ระดม, ชายระดม ในภาษาไทยถิ่นระยอง ภาคตะวันออก ซึ่งอยู่อีก
       ฟากหนึ่งของอ่าวไทย
ที่ใช้ในความหมาย แนวป่าที่เหลือไว้รอบสวน รอบไร่ เป็นทิว
       แถว        
ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานวัฒนาธรรมจังหวัดระยอง

สายหนาม  (น.) รั้วลวดหนาม
     
" แต่แรก คนบ้านเราใช้สายดมเป็นเขตบ้าน  แต่หว่างนี้ ทุกบ้านเปลี่ยนเป็นสาย
       หนามหมดแล้ว  หมา กะ เข้าไม่ได้ "
    
   เมื่อก่อนคนบ้านเราใช้แนวต้นไม้กั้นเป็นเขตบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ทุกบ้านเปลี่ยนเป็นรั้ว
       ลวดหนามกันหมด  หมาก็เข้าไม่ได้

สาว  (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น ซ้าว)   1.  (น.) หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก
       2.
(ก)
ชักหรือดึงสิ่งที่เป็นเส้นยาวๆ ออกจากที่เข้าหาตัวเป็นระยะๆ ต่อเนื่องกันไป,
      เก็บสิ่งของที่พาดเรียงยาวให้มาอยู่ที่เดียวกัน หรือมาเก็บไว้

    
 " ฝนตกแล้ว สาวผ้าที่ราวให้ที "  -
 ฝนตกแล้ว  เก็บผ้าที่ราว(ตากผ้า) ให้ที
     
" พอสาวย่านถึง "  คำสำนวนไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมายว่า พอจะนับญาติกันได้
      เปรียบได้กับญาติพี่น้องที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน   เหมือนกับ
เถาวัลย์ ที่มาจากกอเดียว
      กันหรือจุดกำเนิดร่วมกัน

สีน (ก)  ตัด
      
" ทำงานเผื่อไข้ ตัดไม้เผื่อสีน สำนวนใต้ ใช้ในความหมาย จะต้องรู้จักเตรียม
       การ เผื่อวันข้างหน้า  เช่น
 ต้องรู้จักเก็บเงินเก็บทองไว้ใช้ในยามเจ็บไข้ไม่สบาย
       การตัดไม้จากป่า จะต้องตัดให้ยาวไว้ก่อน เผื่อว่าจะต้องตัดอีก

เส (ออกเสียงเป็น เซ้ ) (น.)  สี่, จำนวนนับ 4 
      ( ในภาษาสงขลา เสียง อี จะแปลงเป็นเสียงเอ    สี่ ของ คนกรุงเทพ จึงเป็น เส
       ของคนสงขลา )

เสงเครง, ส้มเสงเครง (น.) กระเจี๊ยบ ( Hibiscus sabdariffa Linn. วงศ์  Malvaceae )
      ในเขตคลองหอยโข่ง และหาดใหญ่ สงขลา จะเรียก กระเจี๊ยบ ว่า
"ส้มเสงเครง"
      ใบของ
"ส้มเสงเครง"ทั้งใบอ่อนๆ และใบเพสลาด  ใช้เป็นผักแกงส้มได้ เรียกว่า
       แกงส้มเสงเครง

เสดสา (ว.)  ทุกข์ยาก ลำบาก
        
" หว่างอิพ้นปีนั้นมาได้  มัน เสดสา "  -  กว่าจะพ้นปีนั้นมาได้ มันลำบากมาก
 
      
 " ปี 2554 นี้ สงสารคนญี่ปุ่นนะ   ทั้งแผ่นดินไหว ทั้งคลื่นยักษ์  ทั้งโรงงานไฟฟ้า
       นิวเคลียร์ ระเบิด
   ไส่คนญี่ปุ่น ถึงต้องลำบาก เสดสา พันนั้นหนา "
         
ปี 2554 นี้ สงสารคนญี่ปุ่นนะ   ทั้งแผ่นดินไหว ทั้งคลื่นยักษ์  ทั้งโรงงานไฟฟ้า
       นิวเคลียร์ ระเบิด  ทำไมคนญี่ปุ่น ถึงต้องทุกข์ยากลำบาก ขนาดนั้นนะ

       
" โหยฺ เสดสา (อยู่เสดสา) " - ความหมายตรงๆของคำนี้ คือ อยู่ระหว่างทุกข์ยาก
        ลำบาก  เป็นสำนวนไทยถิ่นใต้ (สงขลา
- คลองหอยโข่ง) หมายถึง อยู่ระหว่างอุ้ม
        ท้อง, อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ของเพศแม่ ที่ทุกข์ยากลำบากนาน
ถึง 9 เดือน

เสน (น.) เนื้อนูนบนผิวหนัง ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ใบหน้า ศีรษะ ตามตัว ฯ เช่น
        เดียวกับปาน ไม่เจ็บปวดหรืออันตราย ถ้าเป็นแต่วัยเด็ก จะโตขี้นตามอายุ จึงดูไม่
        สวยงาม

เสียงว่า  (ว.) ได้ยินข่าวว่า,   ได้ยินเขาพูดกันว่า
    
 
" เสียงว่า หลวงไข ตายแหล่ว, จริงม้าย ไอ้บาว "
       ได้ยินข่าวว่า หลวงไข่ ตายแล้ว,   จริงมั้ย ไอ้หนู

แสก (ออกเสียงเป็น แซ้ก ) (น.)  สาแหรก :  เครื่องหาบสิ่งของ ทำจากหวาย

แส็ง, เส้ง  (น.) ขี้ครอก (Urena lobata L. วงศ์ Malvaceae)  ไม้พุ่มขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
      จัดเป็นวัชพืชในทุ่งนาและที่รกร้าง ต้นสูงประมาณ
1-2 เมตร ลำต้นและใบคาย ใบมน
      เว้า ขอบจัก โคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุก ผลรี มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล

แส็งๆ (ว.) ไม่ปกติ,  ไม่เต็มบาท  ( ความหมายเดียวกับคำว่า ส้มๆ )
       
 
" หลวงขวดเป็นคน แส็ง ทำไหร กะเพี้ยนๆ " 
            หลวงขวดเป็นคนไม่ปกติ ทำอะไรก็เพี้ยนๆ

แส็ด, เส็ด  (น.) ครีบ, อวัยวะที่เป็นแผ่น ติดกันเป็นพืด อยู่ใต้ท้องและสันหลังของปลา
      
" ดุกมันแส็ด  หมอมันเกล็ด  ช่อนมันไข่  ไหลมันหางหรือ
      
"ปลาดุกมันที่แส็ด ปลาหมอมันที่เกล็ด ปลาช่อนมันที่ไข่ ปลาไหลมันที่หาง "
   
 
ปลาดุกอร่อยที่ครีบ ปลาหมออร่อยที่เกล็ด ปลาช่อนอร่อยที่ไข่ ปลาไหลอร่อยที่หาง

เสาะข้าว (ออกเสียงเป็น เซ้าะ ค้าว ) (ก.)  กินข้าวรองท้อง  ก่อนออกไปทำงาน

สุพัน  (น.กำมะถัน ; ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา,  นำไปประสม
     ผงถ่านกับดินประสิว (วัตถุเคมีชนิดหนึ่งมักเกิดจากมูลค้างคาว)
ทําเป็นดินปืน ฯลฯ
     ในภาษาไทยโบราณจะเรียก กำมะถัน อีกชื่อหนึ่ง ว่า  "สุพรรณถัน" ภาษาไทยถิ่นใต้
     เรียกสั้นๆ ว่า  สุพัน (สุพรรณ)

สำหนวน (ออกเสียงเป็น ซ้ำ-น้วน ) 1. (ว.)  สำนวนดี, พูดคุยเก่ง, มีโวหาร
         
" หลวงไขเป็นคนที่ไม่มีใครเกลียด แกจีบหญิงเก่ง  สำหนวนแกดี "
       
พี่ไข่เป็นคนที่ไม่มีใครเกลียด....คารม โวหารแกดี
       2. (ก) หยอกล้อ โดยใช้สำนวนโวหาร
         
" อย่าโกรธหลวงไข ตะ  แกทำสำหนวน หยอกเล่น หรอก "
       
อย่าโกรธพี่ไข่เค้าเลย แกพูดหยอกล้อเล่นเท่านั้น

ไส, ป่าไส  (น.) ป่าไม้ที่เคยถูกโค่นถางเพื่อทำไร่เลื่อนลอยเมื่อนานมาแล้ว  แต่ปัจจุบัน
  
     ได้ฟื้นตัว  กลับกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
   ป่าชนิดนี้ จะไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่
       สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง เนื่องจากได้ถูกโค่นไปหมดแล้ว 
 แต่จะ
       เหลือเฉพาะ ต้นไม้ใหญ่ดังเดิมที่ไม่มีราคา และต้นไม้ที่เติบโตทีหลัง
 ซึ่งมักจะเป็น
       ต้นไม้ประเภทโตเร็วหรือไม้เนื้ออ่อน  
ขึ้นอยู่ทั่วไป

     
 คำว่า ไส นี้ ยังใช้เรียกสถานที่ในภาคใต้หลายแห่งเช่น ไสใหญ่(ควนเนียง สงขลา),
       ไสถั่ว( พัทลุง ) , 
   ไสยูงปัก  (นาบอน นครศรีธรรมราช) ฯลฯ

ไส่    (ว.)  ทำไม
          
" แล้วไส่ "    -  แล้วจะทำไม
          
" มึ้ง อิ ไส่ "  มึงจะทำไม  ( อิ,  จิ  ก็คือ  จะ ในภาษาไทยมาตรฐาน )

เส้า, ก้อนเส้า (น.) ก้อนหิน 3 ก้อนที่ใช้สำหรับเป็นเตาหุงข้าว ต้มแกง

โสด   1. (ว.)  โสด,  ยังไม่แต่งงาน    
         2.
(น.)
 แถว,   แนว
          " โสดยาง "
  แนว หรือแถวของต้นยางพารา

 



หมายเหตุ
 

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม     สัน. =   ภาษาสันสกฤต
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท         อ.     =     อุทาน
     .      =   ภาษาจีน     .    =     ภาษามลายู   .   = ภาษาบาลี

       เพื่อโปรดทราบ   -   เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด    ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่งเป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่นรวมทั้งสำเนียง
ภาษาไทยถิ่นใต้ ในจังหวัดอื่นๆ
   มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


      กลับไปหน้าแรก                                                           หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549        ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 03/05/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 



ภาพจาก
http://www.geocities.com/aroonsangob/

รูปหน้าบท
หนังตะลุง : ศิลปะถิ่นใต้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting