คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด    ข )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ข   )


หมายเหตุ
 เสียง ข.- อักษรสูงในภาษาไทยกลาง  ในสำเนียงใต้(สงขลา)จะมีฐานเสียงเป็น
 เสียง ตรี    ดังนั้น  ขน
  ในสำเนียงใต้จึงออกเสียงเป็น  ค้น

 กรุณา เปรียบเทียบจากเสียงพูดของคนสงขลา  หรือ อ่านคำอธิบายเพิ่มเติม
 จาก
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาสงขลา
                

ขนพอง (ก.)  ขนลุก (ภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า ขนพอง ในความหมายแสดง
        อาการหวาดกลัว) 

         
"บ่าวไข เดินหลบบ้านผ่านเปรว   ปากบอกว่า ไม่กลัวผี  แต่ขนพอง"

ขบ    (ออกเสียงเป็น ข็อบ) (ก.)   1. กัด      " หมาขบ =  หมากัด
         2.  การใช้คำพูดหยอกล้อกันอย่างแรง  ในกลุ่มเพื่อนที่สนิมสนม 
             ( ความหมายเดียวกับคำว่า  ทับ )

      "
วันนี้ โถกพี่หลวง ขบเรื่องแม่หม้าย แกแหลงยาวเป็นเรื่องเลย   อิโต้แก สักคำ
        กะทำไม่ได้"
      
 วันนี้ ถูกพี่หลวง แหย่เล่นเรื่องแม่หม้าย แกพูดยาวเป็นเรื่องเลย  จะโต้กลับแก
        สักคำก็ยังทำไม่ได้

ข่มเห็ง  ( ก) แดกดัน ประชด 
          "ตายข่มเห็งเปรว"  =
ตายประชดป่าช้า  ความหมายคือ แดกดันผู้อื่น แต่
        ตัวเองเดือดร้อน

ขวฺน หา แก้ว  (น.) ฝนห่าแก้ว   คำนี้ ภาษาไทยถิ่นใต้ใช้ในความหมาย  ลูกเห็บ :
        นที่ตกลงมาเป็นเม็ดแก็ว   ( ในภาษาไทยถิ่นใต้จะไม่มีเสียง ฟ, ฝ   แต่จะใช้
        เสียง ควฺ,  ขวฺ  แทน
  ตัวอย่างคำไทยถิ่นใต้ที่ออกเสียง ควฺ. และ ขวฺ )

ขวางหวัน  (ว.) ขวางตะวัน 1.ลักษณะการปลูกสร้างอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างที่ยาวไป
        ทางทิศเหนือและทิศใต้   2.  สำนวนภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย
ขัดคอ,
        ขวางโลก หรือ มีความคิดไม่เหมือนคนอื่น

ข้องใจ  (ก.) เป็นห่วง ด้วยความรักและคิดถึง    
        
 
"ข้องใจลูกจัง มืดปานี้แล้วยังไม่หลบบ้าน"  =  เป็นห่วงลูกจัง มืดป่านนี้แล้ว
         ยังไม่กลับบ้าน
เลย       ( ห่วงใยด้วยความรัก เกรงว่าจะเกิดอันตราย ไม่ได้
         หมายถึง สงสัยระแวง เหมือนในภาษาบางกอก )

ข้องเชิง  (ว.)  พันขาตัวเอง
        ( เชิง มาจากภาษาเขมรแปลว่า ตีน,
เท้า )มักใช้กับวัวควายที่เชือกล่ามพันขา
       
 จนต้องยืนอยู่กับที่ ไปไหนไม่ได้ กินหญ้าก็ไม่ได้

ขอม (.)1.เขมรโบราณ(ความหมายเดียวกันกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน)
       2. ลั่นทม(ลีลาวดี) พืชในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หรือ
       แดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม 
       ไทยถิ่นใต้(คลองหอยโข่ง-สงขลา) เรียกลั่นทม ว่า   ขอม,  จําปาขอม 
      
ไทยถิ่นใต้(ฉวาง,พิปูน-นครศรีธรรมราช) เรียก จําปาลาว
       ไทยถิ่นเหนือเรียก จําปาลาว    อีสาน และ ลาว เรียก จําปา

จําปาหอม ก็เรียก, ,

ขอย    1. (ก.)  (ออกเสียงเป็น ค้อย )  สอย
         
"ขอยโหลกม่วง" 
= สอยมะม่วง
         ไม้ที่ใช้สอย จะเรียกว่า  ไม้ขอย   หรือ  ไม้ฉอย
           2. (น.) (ออกเสียงเป็น ค้อย   ) หมายถึง
   ข่อย (ต้นไม้)

ข้างตีน ,  ประตีน  (น.)   ด้านทิศเหนือ, ทิศเหนือ
         คำๆนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า คางเจิง   เจิง เชิง = ตีน  ในภาษาเขมร
         คางเจิง มีความหมายถึง ทิศเหนือ 

ข้างเริ่น    (ว.) ข้างเรือน   เริ่น  ก็คือ เรือน ความหมายคำนี้ คือ ข้างบ้าน  ใกล้ๆบ้าน

ข้างหัวนอน , ประหัวนอน   (น.)  ทิศใต้
       คำๆ นี้มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า ทะโบง
= หัวนอน, คางทะโบง= ข้างหัว
       นอน
 
หมายถึง ทิศใต้    

    หมายเหตุ  : 
        1. 
คำว่า เวียตนามใต้ ในภาษาเขมรจะใช้ว่า  เวียตนามคางทะโบง ( แปลเป็น
     ภาษาไทยถิ่นใต้ คือ เวียตนามข้างหัวนอน)
และ  เวียตนามเหนือ  เขมรจะใช้ว่า
     เวียตนามคางเชิง ( แปลเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ก็คือ เวียตนามข้างตีน)
คำว่า ข้าง
     ตีน
,ข้างหัวนอน  จึงเป็นคำใต้ที่รับอิทธิพลความหมาย มาจากภาษาเขมร แต่ดัด
     แปลงมาใช้คำไทยแทน
         2. ในภาษาไทยถิ่นใต้ จะมีคำที่รับมาจากภาษาเขมรอีกหลายคำ เช่น
     "
ระโนด "      (ชื่ออำเภอหนึ่งของสงขลา ) มาจาก"เดิมระโนด" ในภาษาเขมร
                         ความหมายคือ
ต้นตาล
     
" สะทิงพระ "
  
คำว่า สะทิง  ในภาษาเขมร  หมายถึง  คลอง
     
" หญ้าขี้เตรย "
 มาจากคำว่า บันเตรย ในภาษาเขมร ความหมายคือ หญ้าเจ้าชู้
    
" ดอ "    มาจากคำว่า
 กะฎอ  ในภาษาเขมร ความหมายคือ อวัยวะเพศชาย
       
   ฯลฯ

ขาดหุ้น (ว.)   มีสติปัญญาไม่ครบสมบูรณ์  ไม่เต็มเต็ง

ข้าวต้ม  (น.) ข้าวต้มมัด    ( คนสงขลาเรียกข้าวต้มมัดว่า  ข้าวต้ม ขณะที่ คน
         นครศรีธรรมราช จะเรียกว่า  เหนียวห่อกล้วย )

ข้าวต้มโจ้ก (น.)  ข้าวต้ม หรือ โจ้ก  (หมู,ไก่)
          ( เพื่อไม่ให้สับสนกับ ข้าวต้ม - ข้าวต้มมัด จึงมักจะใช้คำว่า โจ้ก ต่อท้าย หรือ
          ใช้คำว่าโจ้ก เพียงคำเดียว )

ข้าวนะ  อาหาร หรือสำรับกับข้าวที่เตรียมไว้ใส่บาตรพระ หรือนำไปถวายพระที่วัดใน
           งานบุญ

ข้าวเปียก (น.)   ข้าวที่ต้มให้เละๆ ข้นๆ ใส่น้ำตาลให้หวานหรือไม่ใส่ก็ได้ มักทำให้
            คนไข้ หรือ เด็กทาน

ขาวเหยียก, ขาวเหงียก  (ว.) ขาวโพลน,  ขาวอย่างชัดเจน,  ขาวจนซีด

ขี้กรา, ขี้กลา ( ออกเสียงเป็น  คี้ กร๋า,  คี้กล๋า ) (น.)  น้ำครำใต้ถุนครัว ที่มีตะไคร่
          น้ำขึ้น

ขี้ใก่มวนเทียน  (น.)ขี้ไก่ที่มีลักษณะสีดำเหนียว เหลวและมีกลิ่นเหม็นมาก
            ( ภาษาไทยถิ่นใต้บางแห่ง จะใช้เป็น 
ขี้ใก่มนเทียน
)

ขี้ไก่, ต้นขี้ไก่ดอกขาว  (น.)  ต้นสาบเสือ

ขี้ไก่, ต้นขี้ไก่ดอกแดง  (น.)  ต้นผกากรอง

ขี้ชิด , ขี้เรียด    (ว.) ตระหนี่ ขี้เหนียว

     ( หมายเหตุ
- คำว่า
ขี้ชิด ในภาษาไทยถิ่นใต้-สงขลานี้ ใกล้เคียงกับคำว่า ขี้จิ๊
     ในภาษาไทยถิ่นเหนือ ซึ่งมีความหมาย
ตระหนี่ ขี้เหนียว เช่นเดียวกัน)

ขี้โดก (ว.)(ผลไม้)ที่มีเมล็ดมาก เนื้อน้อย หรือใช้เรียกคนผอมว่า" คนขี้โดก "ก็ได้

ขี้ตัง, ปลาขี้ตัง (น.) ปลาตะกรับ, ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะป้อมสั้น เกล็ดเล็ก
       ครีบหลังยาว   มีจุดสีดำเทากลมกระจายอยู่ทั่วลำตัวคล้ายเสือดาว  รูปร่างแบน
       ข้างรูปสี่เหลี่ยม เป็นปลาที่พบมากในทะเลสาบสงขลา มีรสชาติอร่อย
 คนไทย
       ถิ่นใต้ นิยมนำปลาชนิดนี้มาแกงส้ม  เรียกว่า "
แกงส้มปลาขี้ตัง"

ขี้เตรย  (ข.) (น.) หญ้าเจ้าชู้  ไทยถิ่นใต้เรียกว่า  หญ้าขี้เตรย  (  คำนี้เลือนมาจาก
          บันเตรย
/
ก็อนเตฺรย  นภาษาเขมร )

ขี้แตระ  (น.)พื้นที่บริเวณในป่าพรุที่น้ำท่วมไม่ถึง แต่มีน้ำล้อมรอบในหน้าแล้ง หากมี
       ไฟไหม้ป่าจะคงเหลือแต่ 
"
หัวขี้แตระ"
ที่มองไกลจะเห็นตะปุ่มตะป่ำ ไปทั่วทุ่ง

     
 ข้อสังเกต - คำว่า ขี้แตระ ในภาษาไทยถิ่นใต้-สงขลา คำนี้ จะใกล้เคียงกับคำ
       ว่า  "ก้อนขี้แต้" ของคนลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งใช้ในความหมาย
       ก้อนดินในทุ่งนา
      
ข้อมูลอ้างอิง : เวบไซท์ รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม โดยนายสันติ อภัยราช

ขี้นก  (น.) ชื่อพริกขี้หนูที่งอกขึ้นเองตามไร่ชายป่า ไม่มีใครปลูก เม็ดเล็กและเผ็ด
         มากกว่า  ไทยถิ่นใต้ เรียกว่า
ดีปลีขี้นก

ขี้พร้า  1.(น.) ฟักเขียว (พืช) 
              
 ขี้พร้า = ฟักเขียว,    ขี้พร้าไฟ = ฟักข้าว
         
2.(ว.)
(หมู)ขี้พร้า ใช้เรียกหมูพันธุ์พื้นเมืองของปักษ์ใต้ตัวเล็กสีดำ ลำตัวแอ่น
          จนท้องเกือบติดพื้น

ขี้มิ้น (น.)  ขมิ้น

ขี้เม็งเชา  ( น.) ขี้เทา ( ขี้ที่ค้างอยู่ในลำไส้ของเด็กแรกคลอด )

ขี้รั่ว    (ออกเสียงเป็น ขี้หรั่ว) (ว.) ท้องร่วง

ขี้ร้อง  (ออกเสียงเป็น ขี้หร่อง) (ว.)   ขี้แย

ขี้เมฆ (น.) ก้อนเมฆ (ใช้เรียกก้อนเมฆทั่วไป ไม่ได้เจาะจงว่า จะเป็นเมฆแบบไหน)

ขี้ลม   (น.)  ก้อนเมฆ (ที่มีสีขาว หรือ ก้อนเมฆที่บางเบา สวยงาม)

ขี้ฝน   (น.)  ก้อนเมฆ (ที่มีสีทึบ ที่ก่อตัวก่อนฝนจะตก)   
         
"ฝนขึ้นขี้"
   จะหมายถึง   เมฆฝนก่อตัว  หรือ ฝนตั้งเค้าจะตก

ขี้หก , ขี้เท็จ  (ออกเสียงเป็น ขี้ฮ็อก,  ขี้แท๊ด) (ว.) โกหก พูดไม่จริง

ขี้หนอน (ออกเสียงเป็น ขี้น้อน) (น.)  1. "นางขี้หนอน" ในภาษาไทยถิ่นใต้ หมาย
       ถึง
 นางกินนร (ครึ่งคนครึ่งสัตว์ในป่าหิมพานต์)  2. "ต้นขี้หนอน" พันธุ์ไม้ชนิด
       หนึ่งใช้เป็นสมุนไพรใบอ่อน
/ยอดอ่อน ใช้เป็น
ผักเหนาะ (ผักเคียง ทานคู่กับ
       น้ำพริก)

ขี้เหล็กขัดหม้อ ( น.)   ฝอยเหล็กขัดหม้อ

เข (ออกเสียงเป็น เค้)   (ก.) ขี่   (สำเนียงสงขลา เสียงสระ อี  จะออกเสียงเป็นสระ
       เอ) ดังนั้น 
"เข หรด"  ก็คือ ขี่รถ ,        "เข ฮัว" ก็คือ ขี่วัว

เขน (ออกเสียงเป็น เค้น) (ข.) (น.) พระจันทร์เสี้ยว (ภาษาเขมร : แข = พระจันทร์)
        คนไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม จะเรียกพระจันทร์ว่า เดือน  เรียกพระจันทร์เสี้ยวว่า เขน
        แต่ถ้า พระจันทร์เต็มดวง จะเรียกว่า เดือนเพ็ง  
       
ในบทกลอนที่ เด็กๆแถวอำเภอคลองหอยโข่ง สงขลา ใช้ขับโต้กันในงานรื่นเริง
        เมื่อประมาณปี พ.. 2510 ปรากฏคำว่า เขน  อยู่ด้วย ดังนี้

              
" เขน .... เหวฺน หวัน  
             ยายทองจัน ทิ่มข้าวปุกๆ

             ยายทองสุก  นั่งคาหัวได
            
เมียของใคร เมียของนายทิด
             มือเป็นหิด ติดช่อนุมแมว............." 
        ( ำไทยถิ่นใต้ ในกลอนบทนี้  :     เขน =
จันทร์เสี้ยว,       เหวฺน = ตระเวน,
         หวัน =  
สวรรค์,          ทิ่มข้าว = ตำข้าว,        หัวได = หัวบันได, หัวกะได,
         ช่อนุมแมว
= ผลของต้นนมแมว ,     
มือเป็นหิดติดช่อนุมแมว = มือเป็นหิด
         อักเสบพุพองเป็นตุ่มๆหมือนช่อของผลนมแมว )


       
ปัจจุบัน ..2554  เราจะหาคนไทยถิ่นใต้ที่เรียกพระจันทร์เสี้ยว
ว่า เขน นี้ ได้
        น้อยมาก
 

ขลุด ( ออกเสียงเป็น  คลุด ) (.)   เล็กๆ  แคระแกร็น
   
" ม่วงช่อนี้  ยัง โหลก ขลุด อยู่  หนวย "
      มะม่วงช่อนี้  มีผลเล็กๆ อยู่  2   ผล

เขลอะ  ( ออกเสียงเป็น  เคลอะ )(ก.)  ซุกซน,  เล่นเกินไป จนผิดกาละเทศะ
          
" มึงอย่าเขลอะ กูเป็นกำนันแล้วนะ " ความหมายประโยคนี้
          คือ มึงอย่าทำเป็นเล่น กูเป็นกำนันแล้วนะ (ให้เกียรติกูหน่อย ในทำนองนี้ )
        
 (เขลอะ   มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า เหลิ่น  สามารถใช้แทนกันได้)

เข้าโหม้ง (.) นิสัยเข้ากันได้ดี, ทำงานร่วมกันได้ดี (เหมือนกับการขับบทกลอนของ
        นายหนังตะลุงที่เสียงขับเข้ากับเสียงโหม่งได้อย่างกลมกลืน เพราะพริ้ง )

เขี่ย   ( ออกเสียงเป็น  เคี้ย ) (ก.)   แคะ        "เขี่ยฟัน"  =  แคะฟัน

เขือช่อ,   เขือตูน,   เขือก้อย  ( เขือ ออกเสียงเป็น  เคื้อ ) (น.)  มะเขือพวง
    
 คนไทยถิ่นใต้ ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง สงขลา จะใช้คำว่า เขือช่อ   แต่เมื่อ
      ข้ามเนินเขาเล็กๆ(บริเวณ
สนามบินหาดใหญ่)เข้าไปในเขตตำบลควนลังหาดใหญ่
      จะใช้คำว่า เขือตูน,      คนพัทลุง ใช้ว่า  เขือก้อย

      (ข้อสังเกต
:  คนไทยล้านนา ภาคเหนือ เรียกมะเขือพวงว่า
"หมากแฅว้ง"
     
คนฉวาง, พิปูน นครศรีธรรมราช เรียกมะเขือพวงว่า "แว้ง"  แต่เรียก แว้ง ที่เป็น
      สมุนไพรว่า  "แว้งขม"
)

เขื่อน    (ออกเสียงเป็น เคื้อน) (น.) 1. คันดินที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำ (ความหมาย
      เดียวกันกับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน )    
2.  สถูป ที่จัดสร้างขึ้น เพื่อ
      เก็บอัฐิ หรือจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระภิกษุสงฆ์ที่มรณะภาพ ในภาษาไทย
      ถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียกว่า เขื่อน เช่น
        
" พ่อท่านในเขื่อน " =  เจ้าอาวาสที่มรณภาพแล้ว (อัฐิอยู่ในสถูป)
        
" เขื่อนหลวงพ่อทวด "  =  คำที่ใช้เรียกสถานที่ จุดพักศพของ หลวงพ่อทวด
      ตามคำเล่าลือที่ชาวบ้านในเขต เปรัค,เคดาห์(มาเลเซีย)สะบ้าย้อยและโคกโพธิ์
      (ประเทศไทย)เชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่หลวงพ่อทวดมรณภาพในเขตเปรัค ได้มีการ
      เคลื่อนย้ายศพของหลวงพ่อทวด กลับมาวัดช้างไห้ ปัตตานี    จุดที่พักศพของ
      หลวงพ่อทวดตลอดเส้นทาง จะมีการสร้างสถูป หรือมีไม้แก่นรูปบัวตูม ปักไว้
      เรียกว่า
" เขื่อนหลวงพ่อทวด "

    
( ดูรายละเอียดเรื่อง"เขื่อนหลวงพ่อทวด" ในเวบสงขลาทูเดย์ดอทคอม )
     
      
หมายเหตุ
:  สถูปหรือที่เก็บอัฐิของพระภิกษุสงฆ์ที่มรณะภาพ เรียกว่า "เขื่อน"
      แต่ถ้าเป็นที่เก็บกระดูกของฆราวาส
ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะเรียกว่า" บัว "

แข็ง (ออกเสียงเป็น แค้ง)  (ว.) 1. แข็ง,  ไม่อ่อน     2. สู้งาน, ขยัน
     
" ลูกสาวบ้านนี้ ทำงานแข็งจัง ทำทั้งวัน ไม่หยุดเลย" =
 ลูกสาวบ้านนี้เป็นคน
       
ขยัน สู้งาน

แข็งหัว (ออกเสียงเป็น แค้ง ฮั้ว) (ก.) เขกหัว

แข็ด (ออกเสียงเป็น แค็ด)  (ก.)  เคล็ดขัดยอก และรู้สึกเจ็บปวด.

แข็ด หมูน,  แจ็ด หมูน  (ออกเสียงเป็น แค็ด มู้น,  แจ็ด มู้น)(น.)  บอระเพ็ด

แขบ   ( ออกเสียงเป็น  แค่บ ) (ว.)     เร่ง,  รีบ         "อย่าแขบ" =  อย่ารีบ
          แต่คำว่า
"ไฟแขบ" จะหมายถึง  ไฟฉาย 

โขก  ( ออกเสียงเป็น  โค้ก )  (ส.)  ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะใช้คำนี้แทน
        จำนวน 50 สตางค์
          
"ซื้อกะปิ 1 โขก" 
=  ซื้อกะปิราคา  50
 สตางค์
           
"
ซื้อทอง 1 โขก"  = 
ซื้อทองหนัก  50  สตางค์
      ( ปัจจุบันคำว่า
"โขก" นี้  มีคนพูดน้อยมากคงมีอยู่เฉพาะในภาษามลายูปัตตานี
     
แต่ใช้ในความหมาย "เงินบาท" เช่น  ซอโก๊ะ จะหมายถึง 1 บาท   ถ้า ลีมอโก๊ะ
     
จะหมายถึง เงิน  5 บาท เป็นต้น )

โขก เขก ( ออกเสียงเป็น  โค้ก  เค้ก) (ว.) ขรุขระ  ไม่เรียบ 
        คำนี้ มักใช้กับทาง หรือ ถนน   เช่น    
"ทางนี้โขกเขกจัง" =  ทางนี้ขรุขระจัง

ไข  (ออกเสียงเป็น ไค้ )  1.ไข (ก.) หมุน , ทำให้เดิน, ทำให้หลุดออก,  แก้ออก
       เช่น  ไขลาน  ไขกุญแจ  ไขปัญหา  .. 
       2. สิ่งของที่เป็นมัน เช่น  ไขมัน,  เทียนไข
       (ความหมายตรงกัน กับความหมายในภาษาไทยมาตรฐาน)

ไข่  (ออกเสียงเป็น ไค้ ) (น.) 1.  ไข่  หรือสิ่งของที่มีรูปกลม เช่น  ไข่เป็ด,  ไข่ไก่,
      ไข่นก,  ไข่คน(ลูกอัณฑะ)
  (ความหมายทั่วไป)
        
" ไข่อุ้ง "   (ออกเสียงเป็น ไค้อุ้ง) (น.)   โรคใส้เลื่อน  ( ถุงอัณฑะโต )
       
 
" ไข่ขาง "  (ออกเสียงเป็น ไค้ค้าง) (น.)  ไข่ของแมลงวัน

     
2.
อวัยวะเพศชาย  (ความหมายแฝง)
        
" ไข่ตาย " (ออกเสียงเป็น ไค้ต๋าย) (ว.)  (ผู้ชาย) ที่หมดสมรรถภาพทางเพศ
    
    " ไข่แลน " (ออกเสียงเป็นไค้แลน)(น.) อวัยวะเพศชายที่หนังหุ้มปลายไม่มิด
        
"ไข่พอแตกปากจาบ"
(น.) อวัยวะเพศชายที่หนังหุ้มปลายองคชาติ เริ่มขยาย
       เริ่มปริ
  เป็นสำนวนถิ่นใต้ที่ใช้ในความหมาย   เด็กชายที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่
  ขาด
       ประสบการณ์ จึง
ไม่พร้อมที่จะทำการใดๆ....          ตัวอย่างประโยคต่อไปนี้

         
" ไอ้แด็กแรกวาซือ  ไข่พอแตกปากจาบ ทำเป็นด็อน "
           ไอ้เด็กเมื่อวานซืน  ไข่ยัง
.......    ทำเป็นดุ ทำเป็นนักเลง
       
 "อาไข่แยงร่อง" - เอาไข่ (อวัยวะเพศชาย)แหย่ลงไปในร่อง(ไม้, กระดาน)
       หมายถึง รนหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว  เปรียบเทียบกับคนที่อยู่ดีไม่ว่าดี เที่ยวเอา
       อวัยวะเพศของตน่แหย่เข้าไปในร่องไม้  ซึ่งอาจจะพลาดพลั้งเจ็บตัวได้
    


ขวฺ   =  ฝ.

มายเหตุ  :
ในภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียงดั้งเดิม จะไม่มีเสียง ฝ
. แต่จะใช้เสียง ขวฺ.   แทน
คลิกเพื่อดู  ตัวอย่างคำในภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ออกเสียง ขวฺ.  และเสียง  ควฺ 

 



หมายเหตุ
 

   ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม      .    =    ภาษาเขมร
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท          อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ
 


      กลับไปหน้าแรก                                                       หน้าถัดไป    

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 05/10/2556
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 
 

  

Free Web Hosting