คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม                   

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  ล ) หน้า 3
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด -  ล  )


หน้า 3

เหลือกหลาก  (ว.)  กิริยา ท่าทางที่กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง

หลบ(ออกเสียงเป็น ลบ, หล็อบ)  (ก.) 1.  กลับ      " หลบบ้าน "  กลับบ้าน
        2. ตลบ  
"หลบหลังคา " ภาษาไทยถิ่นใต้ใช้ในความหมาย ตลบตับจากเพื่อ
        ปิดรูรั่วของหลังคา (ซึงปกติจะมุงด้วยตับจาก ที่ทำด้วยใบจาก หรือ ใบสาคู )

เหล่  (น.) เครื่องมือดักปลาในทางน้ำไหลที่บังคับให้ปลาที่ว่ายตามน้ำไปสู่กับดัก  
     
    
  " เหล่ " ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ตรงกับ  " หลี่ " ในภาษาอีสาน/ภาษาลาว
       ( "น้ำตกหลี่ผี" ในแม่น้ำโขง )

หลาบ (ออกเสียงเป็น ล้าบ) (ก.) เข็ด,  ไม่กล้าทำอีกแล้ว
        
" พี่หลาบแล้ว  พี่ไม่ไปอีกแล้ว " 
      
( ภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า หลาบ แทนคำว่า เข็ด   ในขณะที่ คำว่า เข็ด, แข็ด
       ในภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้ในความหมาย  เคล็ดขัดยอก
)

เหลียด  (ออกเสียงเป็น เลี้ยด )  (ก.) ป้าย,  ทา,  เช็ด
         
 " กินหมากแล้ว อย่า
เหลียด ปูนไว้ที่หัวนอ " - กินหมากแล้ว อย่าป้ายปูน
         (ที่เหลือ)ไว้ที่ปลายตง

หลวง  1.  (ว.)  เกี่ยวกับวัง, สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินหรือทรัพย์สิน
         ของหลวง  
2.  
(ว.) (ผู้ชาย)ที่เคยบวชเรียนมาแล้ว

         คำนี้ใช้นำหน้าชื่อของผู้ที่เคยบวชพระมาแล้ว  เช่น  หลวงแดง,   หลวงคล้อย
         แสดงว่า ทั้งนายแดง นายคล้อย เคยบวชเป็นพระแล้วแต่สึกออกมา
คำว่า
         หลวง นี้จะใช้เรียกผู้ที่อาวุโสกว่าผู้พูดเช่น  น้าหลวง พี่หลวง แต่ถ้าผู้พูดอาวุโส
         กว่า
จะใช้คำว่า เณร แทนเช่น พ่อตาพูดกับลูกเขย พ่อพูดกับลูก พี่พูดกับน้อง
         ตัวอย่าง
เช่น
            
" วันนี้เณรไม่ทำงานหรือ "    ประโยคนี้แสดงว่าผู้พูดอาวุโสกว่า  ในกรณีที่
         ใช้คำว่า เณร นำหน้าชื่อ ก็แสดงว่าผู้พูดอาวุโสกว่า เช่นกัน คือ  เณรไข่  เณร
         หนู   เป็นต้น

        ในกรณีที่ใช้กับพระภิกษุหากกล่าวถึงชื่อพระแต่นำหน้าด้วยคำว่า  " พ่อหลวง "
        เช่น  พ่อหลวงเขียว 
  คำว่า
"พ่อหลวง"  ในที่นี้ จะหมายความว่า พระภิกษุ
        องค์นั้นเป็นพระที่บวชเมื่อ อายุมากแล้ว 

         คำว่า " หลวง " นี้ในประเทศมาเลเซียจะใช้ว่า LUANG  นำหน้าชื่อคนมาเลเซีย
        เชื้อสายไทย  ตัวอย่างเช่น   ถ้าคนมาเลเซีย มีชื่อในบัตรประจำตัวประชาชนว่า
        LUANG DAM  a/l  LUANG KHAO   จะรู้ได้ทันทีว่า เจ้าของบัตรชื่อว่า หลวงดำ
        เป็นลูกชายของ (
a/l ) หลวงขาว     และเจ้าของบัตรเป็นคนมาเลเซียเชื้อสาย
       ไทยเนื่องจากมีคำว่า
"หลวง"  นำหน้า เช่นเดียวกับคนไทยในเขตจังหวัดสงขลา

หลวน (ก.)  คลอดก่อนกำหนด
        คำนี้จะใช้เฉพาะกับสัตว์ เช่น วัว  ควาย (ในบางโอกาสอาจจะใช้หยอกเอินกับ
        คนที่สนิทสนมกัน ก็ได้  )

หล็อง   (ก.) ผิดพลาด,  หลงลืมไป 
         
" อีสาว นับเบี้ยให้ดี นะ  หล็อง ไปสักใบสองใบ กะไม่คุ้มแล้ว "

หลัก    (ก.)  ดักล้อม, กั้น, ขวาง,  ปิดทางไม่ให้ไป หรือไม่ให้เข้า-ออก
       
" แลน แล่นไปทางนั้นแล้ว  หลักเข้า ๆ "   =  ตะกวดวิ่งไปทางนั้นแล้ว ดักไว้
        ปิดทางไว้
        
 " หลักคอ "  พูดขัดคอ โต้แย้ง
        
 " หลักเจ้าบ่าว " =  การปิดทาง กันเจ้าบ่าวไม่ให้เข้าบ้านเจ้าสาว ในวันแต่งงาน
       เพื่อขอเงินทองหรือเหล้า

      
หมายเหตุ เพิ่มเติมของ
คนโบราณ
      
คนระยอง ภาคตะวันออก ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของอ่าวไทยจะใช้คำว่า กะหลัก
    
  ในความหมาย
  กั้น, ขวาง, ไล่  ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า หลัก ใน
       ภาษาไทยถิ่นใต้
 - ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานวัฒนาธรรมจังหวัดระยอง

หลักตู  (น.)   สลักประตู,  กลอนประตู

หลักหู  (น.)  บ้องหู
        
" เรื่องปัญญาอ่อนพรรค์นี้   กูว่าตบเข้า หลักหู สักที กะหาย"

หลังกลวง, ผีหลังกลวง (น.)  ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของคนไทยถิ่นใต้ มีลักษณะ
        เป็นเหมือนกับคนธรรมดาๆ แต่ไม่ชอบใส่เสื้อ  ผีชนิดนี้จะมีสันหลังที่กลวง มีน้ำ
        หนองไหลออกมาอย่างน่ากลัว     ผีหลังกลวง ชอบอาศัยอยู่ในแถบสถานที่ๆมี
        อากาศเย็นริมป่า ริมเขา  เชื่อกันว่า ผีหลังกลวงจะชอบกินของดิบๆ    วิธีในการ
        หลอกคนก็คือมันจะหันหลังให้คนที่มันจะหลอกดูหลังที่กลวงโบ๋  คนไทยถิ่นใต้
        ในสมัยก่อนในบางพื้นที่  เช่น พัทลุง, สงขลา จะเชื่อว่า หากบ้านไหนตำข้าวใน
        ตอนกลางคืน ผีหลังกลวงจะเดินมาหาแล้วอาสาช่วยตำข้าวให้  เมื่อได้จังหวะที่
        เจ้าของบ้าน หรือหนุ่มสาวที่ตำข้าวในตอนกลางคืนเผลอ มันจะฉวยโอกาสหัก
        คอกับสากตำข้าว (อย่างน้อยๆ ก็จะหลอกให้ดูหลังที่กลวงของตน )  ด้วยเหตุนี้
        ในสมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีใครนิยมตำข้าวตอนเวลากลางคืน     
อีกกระแสหนึ่ง ก็
        สันนิฐานว่า
 ผีหลังกลวงนี้ น่าจะเป็นนิทานที่ผู้เฒ่าผู้แก่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกคน
        หนุ่มคนสาวที่มาเกี้ยวพาราสีกันในตอนกลางคืน  แทนที่จะมาช่วยตำข้าวอย่าง
        จริงจัง  หากหนุ่มสาวกลัวผีหลังกลวง ก็จะรีบตำข้าวในตอนกลางวัน ผลงานก็จะ
        ได้ และผู้เฒ่าผู้แก่ก็สามารถกำกับดูแลไม่ให้หนุ่มสาวทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือ
        ผิดประเพณี ได้
                 (
แหล่งข้อมูล ความเชื่อเกี่ยวกับผีหลังกลวง  - นางเกลื้อม อุทัยหอม)
 

หลั่งที,  ลังที  (ว.) ลางที,  บางที, บางครั้ง
        
" ครูเหิม บ้านม่วงค่อม  แกขี้เรียด อิตาย   แต่ หลั่งที กะใจกว้างเหมือนกัน
         ถ้าแม่หม้าย ขอเบี้ย"
  =   ครูเหิม บ้านม่วงค่อม แกเป็นคนขี้เหนียวจะตาย
         แต่ บางครั้งบางที ก็ใจกว้างเหมือนกัน
 ถ้าแม่หม้าย ขอตังค์"

หลา   (น. ศาลา 

หลาว หลาว     (ว.) ซุ่มซ่าม ทำอะไรไม่ระวัง หรือทำพอผ่านๆ ไม่รอบคอบ
        
" ขับรถ อย่าหลาวๆ เดี๋ยวอิพาคนอื่นตายไปกัน "

หล่าว   (ว. อีก,  ซ้ำๆ
        
 " เบร่อ แล้วหล่าว "   บ้าอีกแล้ว
        
 " หลวงไข เพี้ยนแล้วหล่าว "   พี่ไข่ เพี้ยนอีกแล้ว

หลุ้มหมา,   โหลก หลุ้มหมา  (น.) อินทผาลัม

ลุด (ออกเสียงเป็น "ลุด")  (น.)  ดินโคลน ( มักใช้เรียกเฉพาะ โคลนที่ติดเท้าซึ่งจะ
         ต้องล้างก่อนขึ้นเรือน )
 
     
" หลุด ติดตีน "  ดินโคลนที่เปื้อนเท้า (  คำๆนี้มาจากภาษามลายู ว่า  selut )

หลูด  (ออกเสียงเป็น "ลู่ด")  (น.) ลิปสติก,  สีหรือเครื่องสำอางค์ที่ใช้ทาปากให้สวย
         งาม  ภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิมจะเรียก  ลิปสติก ว่า  หลูด 
( คำนี้มาจาก  rouge
        
- รู่จ
 ในภาษาฝรั่งเศส 
 แต่เพี้ยนเสียงเป็น  ลู่ด)

หลุ-หละ (ว.) เลอะเทอะ, เปรอะเปื้อน
       (คำนี้ ภาษาสงขลา - คลองหอยโข่ง  มักมีสร้อยต่อท้ายเป็น
  หลุหละ ป๊ะจิ )
      
 "
ไอ้บ่าวนุ้ย กินข้าว หลุหละ ป๊ะจิ  หมดแล้ว"

เหลย   (ว.)  อีก  ( เพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว) 
          
" เอา เหลย ม้าย "        เอาอีกมั้ย
          
" เอาข้าว เหลย ม้าย "   เอาข้าวอีกมั้ย
         
 " จำได้ เหลย ม้าย "     จำได้อีกมั้ย

หลิดเทิด  (ออกเสียงเป็น "เลิดเถิด") (ก.)  เดินเหินไม่มองทางเตะโน้นเตะนี่
           (
ทาง นครศรีธรรมราช จะใช้ว่า หลาเหิน )

แหละ  (ว.) 1. คำกริยาวิเศษณ์ใช้ต่อท้ายคำ เพื่อให้ความหมายในเชิงบังคับ
         
     " ขึ้นมาแหละ "  - ขึ้นมาซิ         " ไปแหละ " - ไปซิ 
             
 " แขบๆ หีด แหละ เดี๋ยวไม่ทันรถ "  -  รีบๆหน่อยซิ เดี๋ยวไม่ทันรถ
         
2. คำ
นามวิเศษณ์ใช้ต่อท้ายคำ เพื่อย้ำ ยืนยัน (ไทยถิ่นใต้ใช้คำว่า แหละ ใน
           ความหมายนี้ ตรงกันกับภาษาไทยภาคกลาง ) ตัวอย่างเช่น

               " อันนี้แหละ "   " ตัวนี้แหละ"   ฯลฯ


หล็ด   (ว.) รั่วออกมา, ซึมออกมา(ในปริมาณน้อย) เช่น
         
 " เยี่ยวแหล็ด "

แหล็กขูด (ออกเสียงเป็น "แหล็กคูด") (น. กระต่ายขูดมะพร้าว  
      
(หล็กขูด  เป็นคำไทยถิ่นใต้ ที่สร้างคำจาก วัสดุบวกกับการใช้งาน คือ ทำด้วย
       เหล็ก และไว้สำหรับขูด,     
แหล็ก  ก็คือ เหล็ก ในภาษาไทยมาตรฐาน)

แหล็กโคน  (น.ตะปู, โลหะปลายแหลมหัวมนแบน สำหรับตอกตรึงไม้ให้ติดแน่น
      
       
ปัจจุบัน
คำว่า แหล็กโคน นี้มีคนพูดน้อยมาก เด็กใต้รุ่นหลังมักจะใช้คำว่า ตะปู
        หรือ ตาปู แทน   
คำว่า แหล็กโคน
ในภาษาไทยถิ่นใต้นี้จะตรงกับคำว่า เหล็ก
        โคน
( เหล็กโกน ) ในภาษาไทยล้านนาที่ใช้ในความหมาย ตะปู เหมือนกัน

หล็กไช,  สังหวาน   (น. สว่าน
       (
หล็กไช  เป็นคำไทยถิ่นใต้ ที่สร้างคำจาก วัสดุบวกกับการใช้งาน คือ ทำด้วย
       เหล็ก และไว้สำหรับไช,     
แหล็ก  ก็คือ เหล็ก ในภาษาไทยมาตรฐาน)

แหล็กไฟ  (น.)  ไฟแช็ค  อุปกรณ์ใช้จุดไฟ (ในยุคที่น้ำมันเบนซินเข้ามาแล้ว)

แหล็กไฟตบ, หล็กตบ  (น.) ตะบันไฟ, อุปกรณ์ใช้จุดไฟของคนปักษ์ใต้สมัยก่อน
        ทำด้วยไม้เจาะรู อีกอันทำเป็นเดือย เอาปุยของเต่าร้าง(เรียกว่า หยอย)มาใส่ไว้
        ที่ปากรู แล้วตบและดึงออกเร็วๆ แรงเสียดสีจะทำให้เกิดกระกายไฟติด
"หยอย"
      
ได้ ผู้ใช้แหล็กไฟตบจะต้องรีบเป่าให้ไฟลุกเพื่อใช้จุดบุหรี่ หรือ ตะเกียง

แหล็กไฟราง ,  ม้ขีด   (น.)  ไม้ขีดไฟ  
       
 รางม้ขีด = กล่องไม้ขีดไฟ  
        
หน้าเพลิง  = แถบข้างกล่องไม้ขีดไฟ ที่ใช้ขีดให้ติดไฟ

แหลง (ออกเสียงเป็น "แล้ง")   (ก.)    พูดคุย  (มาจากคำว่า แถลง )
        
แหลงไม่ซ่ะ "  -   พูดไม่ชัด (คำนี้ใช้กับเด็กเล็กที่กำลังหัดพูด)
       
แหลงทองแดง "  - พูดบางกอกไม่ชัดยังมีสำเนียงปักษ์ใต้( ตัวอย่างเช่น
       สส.ไตรรงค์ คนดังของสงขลาบ้านเรา ) 
       
แหลงข้าหลวง, แหลงเจ้าเมือง "- พูดภาษาไทยบางกอก(ภาษาของข้าหลวง
       หรือเจ้าเมือง ที่ส่วนกลางส่งไปปกครองดูแลหัวเมืองปักษ์ใต้ )
        "
แหลงทิ่มเข้าทิ่มออก " -  พูดกลับกลอก

โหลก (น.)  ลูก
      
ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา) เสียง อู  จะแปลงเป็นเสียง โอ และ อักษรกลาง
       เสียงสามัญ  ในสำเนียงใต้จะเป็นเสียง จัตวา   ดังนั้น คำว่า ลูก ในสำเนียงไทย
       ภาคกลาง จึงกลาย โหลก  ในสำเนียงใต้ )

โหลก ครอก  (สำเนียงสงขลา ออกเสียงเป็น - โหลก ขรอก) (น.) ลูกครอก ลูกปลา
    
  ตัวเล็กๆที่อยู่รวมกันเป็นฝูงๆ มักใช้เรียกลูกของปลาช่อน หรือปลาชะโด

โหลก คลัก, ลูกคลัก  (ออกเสียงเป็น - โหลก ขลัก)(น.) ปลาในหน้าแล้งที่น้ำใน
      บ่อในหนองงวดแห้ง จนฝูงปลาทั้งหมด ต้องกระเสือกกระสนไปรวมกันในแอ่งน้ำ
      ที่ลึกที่สุด  แต่ในที่สุดปลาทุกตัว ก็จะแห้งตายเป็นเหยื่อของมด
แมลง  หากไม่มี
      ฝนตก 
 ปลาที่มารวมกัน ในแอ่งน้ำ (แอ่งโคลน)  นี้   เรียกว่า   
โหลก คลัก,
      ลูกคลัก
หรือ ปลาคลัก

โหลก คาบ  (ออกเสียงเป็น - โหลก ขาบ)  (น.) ลูกคาบ  ในอดีต เมื่อครั้งที่ปักษ์ใต้
       ยังมีการขุดแร่ หาแร่ขาย คนหาแร่จะเรียก ก้อนหินที่มีแร่ปะปนอยู่ ว่า ลูกคาบ
       (
โหลก ขาบ) ดังนั้นหากต้องการแร่  จะต้องใช้ค้อนทุบ"ลูกคาบ"ให้แตก แล้วนำ
       หินและแร่ที่แตกละเอียด ไปร่อนด้วย " เลียง" เพื่อแยกเอา แร่ ออกมา

โหลก เด  (ออกเสียงเป็น - โหลก เด๋) (น. ลูกปลากระดี่ ในสำเนียงบางกอก
         ( คำนี้ไม่ได้หมายถึงลูกปลา จริงๆ
แต่หมายถึงปลากระดี่ตัวเล็กตัวน้อย )

โหลก ตอ  (ออกเสียงเป็น - โหลก ต๋อ) (น.) ลูกสะตอ
        โดยทั่วไป คนไทยปักษ์ใต้ จะไม่ใช้คำว่า สะตอ แต่จะใช้คำว่า ตอ สั้นๆแทน
                
" ลูกตอ "      -  ลูกสะตอ
                
" ฝักลูกตอ "  -  ฝักสะตอ
                
" ต้นตอ "   -  ต้นสะตอ
        แต่ถ้าเป็นคำว่า
" ตอเบา " ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) หรือ " ตอแต " ของ
        คนฉวาง พิปูน(นครศรีธรรมราช )จะหมายถึง กระถินในภาษาไทยภาคกลาง

โหลก ไฟ (ออกเสียงเป็น โหลก ไฟ, โหลก ไคว ) (น. ลูกไฟ  :   ถ่านไฟฉาย

         คำว่า ลูกไฟ ในภาษาไทยถิ่นใต้ดั้งเดิม จะหมายถึง ถ่านไฟฉาย  แต่เนื่องจาก
         คนไทยถิ่นใต้จะออกเสียง ควฺ   แทน เสียง ฟ   คำว่า ลูกไฟ ในความหมาย
         ถ่านไฟฉาย คนไทยถิ่นใต้รุ่นก่อนๆจึงเรียกว่า
โหลก ไคว ต่อมาเด็กใต้รุ่นใหม่
         สามารถออกเสียง  ฟได้   คำนี้จึงเปลี่ยนมาเป็น โหลก ไฟ
     จนถึงปัจจุบัน
         คำว่า โหลกไฟ นี้จึงค่อยๆเลือนหายไป  คงใช้เฉพาะคำว่า  ถ่านไฟฉาย เช่น
         เดียวกับคนไทยภาคกลาง

โหลก ลม (ออกเสียงเป็น โหลก ล่ม ) (น.)  ลูก ลม  คำไทยถิ่นใต้ ใช้ในความหมาย
          กังหันลม 
    
         ชาวปักษ์ใต้สมัยก่อน ทำประกวดกันโดยจะติดตั้ง
"โหลก ล่ม" ตามต้นไม้สูง
         ปลายปีกของ
"โหลก ล่ม" แต่ละข้างจะติดหลอด(ไม้ไผ่หรือโลหะ)เล็กๆ เมื่อ
         ลมพัด
 "โหลก ล่ม" หมุน หลอดที่ติดไว้จะเสียดสีอากาศเกิดเสียงดั


 



หมายเหตุ
 

   ก.    =    กริยา         ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
     น.    =    นาม           ส.    =     สรรพนาม
     สัน.  =    สันธาน       บ.    =     บุรพบท          อ.    =    อุทาน
     .    =   ภาษาจีน      .    =     ภาษามลายู     .   =    ภาษาเขมร

เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด   ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา สำเนียงคลองหอยโข่ง 
เป็นต้นแบบ
โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น  รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้
ในจังหวัดอื่นๆ  มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ

คำในภาษาสงขลาหลายคำมาจากภาษามลายู ดังนั้นกรุณาเปรียบเทียบกับภาษา
มลายู เพื่อจะได้ทราบที่มาที่ไป  
( เข้าไปที่ ภาษามลายูกับภาษาไทยถิ่นใต้ )


     กลับไปหน้าแรก                                                         หน้าถัดไป    
                                                                                        
นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 24/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 


 

 

 
 

 

 

 

  

Free Web Hosting