ภาษาไทยถิ่นใต้
(ภาษาใต้) :
กรณีศึกษาภาษาสงขลา
(
หมวด - ซ.
)
ซ.
ซิวชัก
(น.) ตะคริว (อาการที่กล้ามเนื้อหดตัว
และค้างอยู่ ทำให้เจ็บ)
ซอ 1.
(น.) เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
; ซอ
2. (ว.)
ลักษณะของทำงานที่ช่วยเหลือกัน
แบบถ้อยที่ถ้อยอาศัย หรือผลัดกัน
ทำงาน
"
เก็บข้าวซอ
" หมายถึง การผลัดเปลี่ยนกัน
เก็บข้าว
ในลักษณะถ้อยที่ถ้อย
อาศัยโดยไม่มีค่าจ้าง
" ทิ่มข้าวซอ "
หมายถึง
การช่วยกันตำข้าวเปลือก สลับกันในครกเดียวโดยมี
คนตำ 2 หรือ
3 คน ( 2 สาก
หรือ 3 สาก )
ซั้ง
(น.)
1.แนวพนังกั้นทางน้ำเพื่อบังคับให้น้ำไหลไปตามช่อง ใช้สำหรับดักไซ ดัก
โพงพาง
" เขี่ยหมาให้พ้นซั้ง, ถีบหมาให้พ้นซั้ง
"
สำนวนถิ่นใต้ใช้ในความหมาย ปัด
สวะ หรือ ผลักภาระให้ผู้อื่น (
เปรียบเหมือนหมาเน่าลอยมาติด "ซั้ง" แทนที่จะ
ช่วยดึงขึ้นมากลบฝัง ก็เขี่ย
ให้ลอยไปติดหน้าบ้านผู้อื่น )
"ส่งหมาให้พ้นซั้ง " สำนวนนี้
ค่อนข้างจะเบากว่า
สำนวนแรก มักใช้ในความ
หมาย การทำงานที่ฉาบฉวย
หรือ ทำให้เสร็จๆ แบบขอไปที
2.
ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวและห่อด้วยใบไผ่
คนไทยถิ่นใต้ดัดแปลง
มาจาก บ่ะจ่าง ของคนจีน เรียกว่า "หนมซั้ง"
หนมซั้ง ของคนไทยถิ่นใต้นี้ จะมี
ขนาดเล็ก มัดติดกันเป็นพวงและจะไม่มีใส้
หากมีขนาดใหญ่ มีใส้ถั่วและเนื้อ ก็
จะเรียกว่า บ่ะจ่าง ตามที่คนจีนเรียก
ซัดท่า
(ก.)1.ตั้งท่าร่ายรำ(ของโนรา)ซึ่งมีท่าทางและขั้นตอนที่เป็นแบบแผนแน่นอน
2. ทำอย่างเชื่องช้า อืดอาด
มีพิธีรีตองมากเกินไป
" พี่ไข่ ทำไหร
ไม่ทันเพื่อน แกซัดท่ามากไปสักหีด "
พี่ไข่ ทำอะไร
ไม่ค่อยทันคนอื่นเขา แกมีพิธีรีตองมากไปนิด
ซ้าว้า,
ซะว้า
( ม.) (น.)
ละมุด ภาษาสงขลาจะเรียก
ละมุด ว่า
"ลูกซ้าว้า"
ขณะที่
ทางนครศรีธรรมราช จะเรียกว่า
ลูกมุดหรัง (ละมุดฝรั่ง)
ทางแถบอันดามันจะ
เรียกว่า
มะตีกู
(
ซ้าว้า
คำนี้มาจาก
buah
sawa ในภาษามลายู)
ซาบ
(ก.) แอบ
" ซาบแล "
- แอบมอง
ซาม
(ส.)
มันน่าจะ
"ขับรถไม่แลไหรพันนี้
ซามตาย"
- ขับรถไม่มองอะไรอย่างนี้มันน่าจะตาย
(ไม่น่ารอดมาได้)
เซ
1. (ว.)
เอียง,
ไม่ตั้งฉาก
2. (ก.)
กริยาการใช้สากตำสิ่งของให้แหลก
โดย
สากที่ใช้ตำจะต้องทำมุมเอียงๆ เช่น
"เซหยวกกล้วย" เพื่อใช้เป็นอาหารหมู
หรือ "เซเคย"
-
ตำกะปิ
คำวา
เซ ในความหมายนี้ ในถิ่นใต้บางแห่ง
จะออก
เสียงเลือนไปเป็น
เช ดังนั้น เซเคย
หรือ เชเคย
จึงมีความหมายเดียวกันคือ
ตำกะปิให้แหลก
โดยสากที่ใช้ตำจะต้องทำมุมเอียงๆ
ในกรณีที่ใช้สากตำลงในครกตรงๆ
ภาษาไทยถิ่นใต้
จะเรียกว่า
ทิ่ม
เช่น
ทิ่มเม่า (ตำข้าวเม่า), ทิ่มข้าว(ตำข้าว), ทิ่มน้ำชุบ (ตำน้ำพริก)
เซ่
(น.)
ซี่,
ลักษณะนามที่ใช้เรียกของเล็กๆ
ยาวๆ ที่เรียงกันเป็นแถว เป็นแนว
(
ในภาษาสงขลา เสียง อี จะแปลงเป็นเสียงเอ ซี่ ของคนกรุงเทพ
จึงเป็น เซ่
ของคนสงขลา
)
เซก
(ออกเสียงเป็น เสก
)
(น.)
ซีก,
ส่วนหนึ่ง
( เสียง
อี แปลงเป็นเสียง เอ ซีก จึงเป็น เซก
แต่ออกเสียงเป็น เสก
)
"
บ้านของหลวงไข
โถกต้นไม้ล้มทับ โหะไปเซกหนึ่ง
"
บ้านของ
พี่ไข่ ถูกต้นไม้ล้มทับ พังไปซีกหนึ่ง
เซ่กัน, ซี่กัน
(น.)
โรคขาดอาหารของเด็ก จนตาฝ้าฟางมองไม่เห็นโดยเฉพาะใน
ตอนกลางคืน, เรียกว่า
ตาบอดไก่ ก็ได้
คนปักษ์ใต้สมัยก่อนจะรักษาโรคนี้ โดยให้เด็กที่เป็น"
เซ่กัน
"ทานอาหารจำพวก
เนื้อตะกวด(แลน)
แย้ หรือกิ้งก่าทอดกระเทียมพริกไทย
(คนปักษ์ใต้ทั่วไป จะ
ไม่รับประทานเนื้อกิ้งก่าแต่จะใช้เป็นอาหารเสริมเฉพาะเด็กที่เป็น
เซ่กัน
เท่านั้น)
เซิง (น.)
ชั้น
, ที่เก็บของอยู่ใต้หลังคา
เซ่อ
(ว.) ซื่อ, ตรง
"
หนนสายนี้ เซ่อ ผลีด
ไม่คดเลย " -
ถนนสายนี้ตรงแหน็ว
ไม่คดเลย
เซ้อ
(สำเนียงสงขลา
ออกเสียงเป็น เส่อ)
(ก.)
ซื้อ
(
ในภาษาสงขลา เสียง อือ จะแปลงเป็นเสียง เออ ซื้อ
ของคนกรุงเทพ จึง
เป็น เซ้อ
แต่ออกเสียงเป็น เส่อ
ของคนสงขลา
)
"
แม่เซ้อ "(สำเนียงสงขลา
ออกเสียงเป็น แหม่ เส่อ)(น.)
แม่ซื้อ,
เทวดาหรือ
วิญญาณประจำวันเกิดของเด็กที่คนไทยทุกภาคเชื่อว่า จะคอยดูแลปกปักรักษา
เด็กที่เกิดในวันนั้นๆ
ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย
คนไทยภาคกลางเรียกว่า
แม่ซื้อ แต่
คนสงขลาดั้งเดิม จะเรียกว่า
แม่เซ้อ
( แหม่ เส่อ)
โซ้
(ก.) รองน้ำ,รับน้ำ
" เอาถุ้งไปโซ้หน่าม "
-
ถังไปรองน้ำ
โซง
(น.)
คำในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ใช้ในความหมาย กระทงใส่ของกินทำด้วย
ใบตอง
หรือ
กระดาษ นำมาม้วนท้ายให้แหลม
ปากกว้าง พอที่จะใส่ของลงไป
เมื่อใส่แล้วจะพับปากไว้ ไม่ให้ของที่ใส่ไว้
ร่วงหล่น โดยทั่วไป แม่ค้าคนไทย
ถิ่นใต้ในอดีต ทั้งแม่ค้าตลาดนัด,
แม่ค้าหน้าโรงหนังตะลุง หรือหน้าโรงโนราจะ
ใช้ "โซง" ใส่ถั่วคั่ว,
ถั่วต้ม,
ลูกก่อคั่ว หรือของกินเล็กๆน้อยๆ ขายให้เด็กๆ
( ปัจจุบัน
หลังจากที่มีการใช้ถุงก๊อบแก๊บ กันอย่างแพร่หลาย "โซง"จึงได้หมด
ความจำเป็น และเลือนหายไป )
โซ้ย
(ว.)
ซวย (ดวงไม่ดี)
" กะแล้วแต่ โซ้ยคล่อง
" ประโยคนี้ความหมายคือ
ก็แล้วแต่ดวง
( โซ้ย
= ซวย คล่อง=ไม่มีอะไรติดขัด,
ดวงดี )
โซะ (
สำเนียงสงขลา จะออกเสียงเป็น โสะ
)
(ว.)
สุกงอม จนกินไม่ได้
(ใช้กับผลไม้)
"โหลก
ซ้าว้า
โซะหมดแล้ว "
- ผลละมุดสุกงอมหมดแล้ว
( โหลก =
ลูก , ซ้าว้า =
ละมุด )
ไซร่, ไส่
(
คำนี้ในสำเนียงสงขลา จะออกเสียงเป็น ไส่
)
(ว.)
ทำไม
" แล้วไส่
"
- แล้วจะทำไม
" มึ้ง อิ
ไส่
"
-
มึงจะทำไม ( อิ, จิ ก็คือ จะ ในภาษาไทยมาตรฐาน )
" มึ้ง อิ
ไส่
กู นิ "
-
มึงจะทำอะไรกู
หมายเหตุเพิ่มเติม คำว่า
ทำไมนี้ คนไทยถิ่นใต้ จะใช้อยู่หลายคำ หลายสำเนียง
กล่าวคือ คนไทยในเขต 3 จังหวัดชายแดน (ไทยเจ๊ะเห) จะใช้คำว่า จิได๋
คนคลองหอยโข่ง(สงขลา)ดั้งเดิม จะใช้คำว่า ได่
ในบางท้องถิ่นของปักษ์ใต้
คำนี้จะออกเสียงเป็น ไตร่
หรือ ส่อ แต่โดยภาพรวมเมื่อพูดเป็นประโยค
คนใต้
ทั่วไป จะเข้าใจกัน เช่น
ประโยคคำถามว่า แล้วมาทำไม
?
คนตากใบ จะพูดว่า
แล่วมาจีใด๋
คนคลองหอยโข่ง(สงขลา)ดั้งเดิม
จะพูดว่า
แล่ว มาได่
?
คนสงขลา (หรือ คนใต้ทั่วไป) จะพูดว่า
แล่ว มาไส่
?
คนฉวาง/พิปูน
นครศรีฯ จะพูดว่า
แล่วมาส่อ
?
หมายเหตุ
- ก. = กริยา ว. = วิเศษณ์ (คุณศัพท์, กริยาวิเศษณ์)
สัน. = สันธาน บ. = บุรพบท อ. = อุทาน
จ. = ภาษาจีน ม. = ภาษามลายู
เพื่อโปรดทราบ
-
เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
ขออนุญาตยึดภาษาสงขลา
สำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ
โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น
รวมทั้ง
สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ในจังหวัดอื่นๆ
มาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่ง
ขึ้น |
|