คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  - ฮ)
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด - ฮ   )




หมายเหตุ 
ในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) ไม่มีเสียง     แต่จะใช้เสียง แทน

ฮกเเฮ็ก  (ว.) โยก คลอน ไม่แน่น
       
 
" ฟันทั้งปาก ฮกเเฮ็ก หมดแล้วกินไหร่กะไม่ได้" = ฟันทั้งปากโยกคลอนหมด
        แล้ว กินอะไรก็ไม่ได้

 
          "แหล็กโคนที่ตอกข้างฝาไว้แขวนฉาก ฮกแฮ็ก แล้ว ช่วยตอกให้ที่เดี่ยวฉาก
        อิหล่น"
      =  ตะปูที่ตอกข้างฝาไว้แขวนฉาก(รูป) หลวม(จะหลุด)แล้ว   ช่วย
        (เอาค้อน)ตอกให้หน่อย   เดี่ยวฉากจะหล่น

ฮอ   (น.) ความรู้ เล็กๆน้อยๆ ที่พอเป็นพื้นฐาน
        คำนี้จะใช้ในเชิงปฏิเสธว่า 
ไม่รู้เรื่องสักฮอ    หรือ ไม่ได้สักฮอ
       
" บ่าวเคว็ด เรียนหนังสือตั้งนาน แต่ไม่โร่เรื่องสักฮอ อ่านไม่ออกสักตัว "
        บ่าวเคว็ดเรียนหนังสือตั้งนาน แต่ไม่รู้เรื่องสักนิด อ่านหนังสือสักตัวก็ยังไม่ได้

ฮวน  (ก.)   รวน,  กวน :  กวนใจ
          
  
อย่ามา ฮวน    =   อย่ามากวน อย่ามายุ่ง

ฮ่อง   (ว.) (กลิ่นเหม็น)อย่างแรง,   (กลิ่นเหม็น)ที่ฟุ้งไปทั่ว
      
" หมาคาบไก่ตาย มา คลด อยู่ข้างเริ่น   มิ้น ฮ่อง  พันนี้  นั่งอยู่ได้ ผรื่อ ? "
        
หมาคาบไก่ตายมาแทะอยู่ข้างบ้าน  กลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งอย่างนี้ นั่งอยู่ได้อย่างไร ?
         (คำว่า เหม็น  สำเนียงไทยถิ่นใต้-สงขลา  จะออกเสียงเป็น มิ้น )

ฮ็อง  (ว. ลักษณะท่าทาง ที่ซึมเซา ไม่สดชื่น
                 
 
นั่ง ฮ็อง เหมือนไก๋ถูกหมาขบ      -  นั่งซึมเหมือนไก่ถูกหมากัด

ฮะ    (ก.) ถ่างออก, ฉีกออก,   แหกออก , แยกออก
            
 
นั่ง ฮะ ขา    =  นั่งถ่างขา
        
ข้อสังเกต ในภาษาถิ่นหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  จะใช้คำว่า งะ ในความหมาย
         แยกออก, ดันออก (ในภาษาไทยถิ่นใต้ ไม่มีเสียง ง  แต่จะใช้เสียง ฮ  แทน)

ฮัง, นกฮัง   (น.) นกกาฮัง หรือ นกกก     ( จัดเป็นนกเงือกขนาดใหญ่  มีชื่อสามัญ
         great hornbill
   ื่อวิทยาศาสตร์ Buceros bicornis )

ฮั้นเฮอะ (ว.)  อย่างนั้นเหรอ ,ใช่เหรอ

ฮั้นแหละ (ว.)   นั้นแหละ

ฮับ  (น.)  ต้นไมยราบ  (หนามฮับ)
     
(ก.) 1. กัด,  หนีบ     " หมาฮับน่อง " - หมากัดน่อง    2. ปิด  "ก่อนออกจากบ้าน
      น้องอย่าลืม
ฮับตูนะ" -
ก่อนออกจากบ้าน น้องอย่าลืมปิดประตูนะ

ฮาโรย,  อาโรย  (อ.) คำอุทาน  คำบ่น ที่ใช้ในความหมาย  ท้อแท้ ไม่พอใจ
          (คำนี้ มักจะเป็นคำพูดของผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย)

ฮาย  (ว.) ครึ่งวัน
        วันหนึ่งจึงมี 2 ฮาย คือ  
"ฮายเช้า,   ฮายเย็น"   ( เทียบได้กับคำว่า "งาย" ใน
        ภาษากรุงเทพ )

ฮู   (น.)  งู,   สัตว์เลื้อยคลาน ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา
     
  " ฮูบองหลา, ฮูบอง "  - งูจงอาง
       
" ฮูตาหลุน "  - งูสิง
       
" ฮูปะ " - งูกะปะ
      
 " ฮูหน่าม " - งูน้ำ

เฮิ้งคอ   (ก.)  แหงนมอง, ชะเง้อ
       
 " กูว่า หมึง ได้แต่ เฮิ้งคอแล     อิเด็ดดอกฟ้า นะ มันเสดสา.. ไอ้น้อง "
      
    กูว่า มึง ก็ได้แต่ ชะเง้อมอง   จะเด็ดดอกฟ้า นะ มันยากลำบาก... ไอ้น้อง

เฮินกลำ (น.)เงินกล่ำ หรือ มะกล่ำ,  พันธุ์ไม้ 2 ชนิด คือ มะกล่ำต้น ผลเป็นฝัก มีเมล็ด
          สีแดง   และมะกล่ำเครือ( มะกล่ำตาหนู) ผลเป็นฝัก มีเมล็ดสีดำครึ่งหนึ่ง สีแดง
          ครึ่งหนี่ง    ในภาษาสงขลาจะเรียกพันธุ์ไม้ ทั้งสองชนิดนี้ว่า
เฮินกลำ

แฮ่ง      (ก.) ขู่ให้กลัว ไม่ให้ใครเข้าใกล้ (มักใช้กับสุนัข)
                 
" แม่หมามันแฮ่ง ไม่ให้ใครเข้าไปแลลูกมันได้เลย "

เฮียก, นกเฮียก  (น.) นกเงือก เป็นกลุ่มนกขนาดใหญ่ ผัวเดียวเมียเดียว ที่ทำรังใน
        โ
พรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่   โดยตัวเมียจะเข้าไปอยู่ในโพรง ขังตัวเอง  เพื่อออกไข่
        เลี้ยงลูก
  ขณะที่ตัวผู้จะคอยส่งอาหารให้ ผ่านรูเล็กๆ      นกเงือก จะอาศัยอยู่ใน
        ป่าดิบ มีต้นไม้ใหญ่ 

ฮัว   (น.)  งัว ในภาษาเก่า  ( วัว ในภาษาไทยปัจจุบัน )
           
"ฮัวหลุดหลัก"  วัวหลุด(จาก)หลัก, "ฮัวหลุดหวิง ทั้ง 2 คำนี้เป็นสำนวนใต้
      
หมายถึง  คนที่ถูกบังคับ เมื่อมีโอกาส ก็มักจะเตลิด ออกนอกลู่นอกทาง  ยากต่อ
       การควบคุมให้เหมือนเดิมได้
           
"ลูกฮัวดีดติ้ง"คำนี้คืออาการกระโดดของลูกวัวซ้ายทีขวาที เวลาอยู่กับแม่วัว
       
ซึ่งคงจะเป็นการแสดงความดีใจ  ในสำนวนใต้หมายถึง คนที่แสดงความดีใจออก
       นอกหน้าหรือ
ดีใจเกินกว่าเหตุ    อีกความหมายหนึ่ง ใช้ในความหมาย  คนที่ควบ
       คุมดูแลได้ยากเปรียบเสมือนกับ 
"ลูกฮัวที่ดีดติ้ง" ที่กระโดดไป มา
          
 
"ฮัวตาจก"  ใช้ในความหมาย คนที่ดื้อตาใส คนที่ดันทุรัง(เปรียบเหมือนวัวที่
       ตาเป็นต้อกระจก มองอะไรไม่เห็น จึงกินทุกอย่างที่ขวางหน้า แม้กระทั้งถุงพลาส
       ติก หรือของอย่างอื่น ที่ไม่ใช่อาหารของวัว

โฮงเฮง  (ว.) ลักษณะท่าทางการเดินของคนเมา , คนที่สลึมสลือ
                  
หลวงเขียวเมามาก เดินโฮงเฮง หน้าสามหลังเส แล้วต่อได อิถึงบ้าน
          ความหมายของประโยคนี้คือ  หลวงเขียวเมามาก เดินโซเซไปข้างหน้าสาม
          ก้าว มาข้างหลังสี่ก้าว  แล้วเมื่อไหร่ จะถึงบ้าน

ไฮ   (น.แมงไฮ  แมลงชนิดหนึ่ง  มีหัวแหลมเล็ก ชอบวางไข่บน  "ย่านพาบ้า"
    
 ( เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง ) ตามป่าละเมาะในพื้นที่ราบของปักษ์ใต้ คนไทยถิ่นใต้( โดย
      เฉพาะคนหาดใหญ่, คนคลองหอยโข่ง รอบๆ สนามบินหาดใหญ่) จะใช้  "แมงไฮ"
      ตัวอ้วนๆที่ปีกยังไม่งอกยาว ใส่ในแกงเลียงหน่อไม้,ใบย่านนาง เรียกว่า แกงเลียง
      แมงไฮ
ถือเป็นอาหารรสเลิศ 
     
ปัจจุบันจะหา"แมงไฮ" ได้ยากมาก  เนื่องจากป่าพื้นราบได้แปรสภาพเป็นสวนยาง
      พาราหมดแล้ว

 


" แมงไฮ "



หมายเหตุ
 

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

-    เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ

-    ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียงสงขลา จะไม่มีเสียง ง   ในอักษรนำ แต่จะใช้เสียง
 ฮ แทน
  ดังนั้น หากพูดปักษ์ใต้สำเนียงสงขลา  อักษรนำ เสียง ง.  
ให้แปลงเป็น
เสียง ฮ
.  


      กลับไปหน้าแรก

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549      ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 23/06/2555
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 

 

 

  

Free Web Hosting