คำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้  (กรณีศึกษา ภาษาสงขลา: เรียงตามเสียงอักษร
                                             ม              ห     

 ภาษาไทยถิ่นใต้  :   กรณีศึกษาภาษาสงขลา  ( หมวด  - อ )
 
 

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ภาษาใต้) :
กรณีศึกษา
ภาษาสงขลา ( หมวด - อ     )


 

อวม  (ก.)  ครอบครองไว้ก่อน, ยึดเป็นเจ้าของไว้ก่อน

ออกคราว  (ก.) (ว.)  เป็นคำที่ใช้เรียกแมวตัวผู้ ที่ออกไปเที่ยวหาแมวสาวและมักจะ
        หายไปนานเมื่อหมดฤทธิ์ก็จะกลับบ้านมาหาเจ้าของ ด้วยอาการที่อิดโรยแมวตัวผู้
        ลักษณะนี้เรียกว่าแมวคราว การเที่ยวเตร่ทิ้งบ้านไปจีบแมวสาวเรียกว่า
ออกคราว
     
  คำว่า ออกคราว นี้มักใช้เปรียบเปรย หนุ่มเจ้าชู้ที่ชอบ
หายหน้าหายตา ไม่อยู่บ้าน
        จนเพื่อนฝูงตามหาไม่เจอ

อดสา   (สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น อ็อดซ้า  )(ก.)อุตส่าห์, พยายาม
       ( คำนี้ นสำเนียงไทยถิ่นใต้-งขลา จะแปลงเสียงสระอุ  เป็นเสียงสระเอาะ  )

อ้อร้อ  (ก.)แสดงออกในเรื่องทางเพศมากเกินไป,เจ้าชู้แสดงกิริยาอาการยั่วยวน
        ผู้ชายจนเกินพอดี   ( คำนี้เป็นคำเฉพาะที่ใช้กับผู้หญิงมีความหมายในเชิงลบ และ
        เป็นคำที่ใช้
ด่าว่าผู้หญิง  ไม่ใช่คำชม )

ะโดย, อะโตย   (อ.)  คำแสดงอาการเจ็บปวด
        
"อะโดย ,  อะดุย" คำนี้จะใช้เฉพาะอาการเจ็บนิดๆ เจ็บไม่มากหรือเป็นคำที่ใช้
        ครวญครางแสดงถึงความเจ็บปวด
        "อะโตย,  อัดโตย" เป็นคำอุทานใช้แสดงอาการเจ็บปวดมากหรือเจ็บปวดทันที
        ทันใด
      (
กล่าวกันว่า คำๆ นี้ใช้กันตั้งแต่ปักษ์ใต้ของไทย ลงไปจนถึงเกาะชวา อินโดนีเซีย)

อัง   (ว.)  (พูด) ติดอ่าง    " แหลงอัง   พูดติดอ่าง 
      
(ก.)  นําไปใกล้ ๆ ไฟ เพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาว หรือหมายถึงอาการที่
       คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออังหน้าผาก ดูว่าร้อนหรือไม่

อา โย้  (ว.) เป็นประจำ บ่อยครั้ง  ( มักใช้ในความหมายเชิงลบ  ตัดพ้อต่อว่า )
        
คนจน เสดสา อา โย้ะ - คนจน(ก็ต้อง)ทุกข์ยากลำบากเป็นประจำ(อยู่แล้ว)
        
หลวงไข่ ทำไหร เบล่อๆ
อา โย้  พี่ไข่ทำอะไร บ้าๆอยู่ เป็นประจำ

อาก  (ก.) พูดมากแต่ไม่ทำ,  ดีแต่พูด
       
" บ่าวไข ได้อาก วันๆไม่ทำไหร " พี่(น้อง)ไข่ ได้แต่พูด วันๆไม่ทำอะไรเลย
       
" พี่แดง แหลงอากๆ  ทำเป็นหรอย  แต่พอเมียแกมา พี่แดงกะเงียบกิบ "
         -
พี่แดง พูดเสียงดัง ทำเป็นเก่ง
แต่พอเมียมาถึง  พี่แดงก็เงียบกริบ

อาด   (ก. อยาก,  ต้องการ  ( ถือเป็นคำหยาบ มักใช้ในความหมาย ความต้องการ
         ทางเพศ )

อาน   (ว.) เป็นหมัน  มักใช้เรียกกับสัตว์ 
            
ฮัวอาน  
-   วัวตัวเมียที่เป็นหมัน
        ( วัวในภาษากรุงเทพปัจจุบัน คือ งัว ในภาษาเก่าในสำเนียงถิ่นใต้จะใช้เสียง ฮ
        แทนเสียง ง  ดังนั้น 
ฮัว ในสำเนียงใต้  ก็คือ  วัว )

อำอุย  (ว.)  ลางเลือน  มองเห็นไม่ชัด   มักใช้กับแสงจันทร์ที่ขมุกขมัว ตัวอย่างเช๋น
        " เบอะเดือนมันอำอุย  แล้ว อิ เห็นหน้าโจรได้ชัด ผรื่อ เล่า
       
เพราแสงจันทร์มันขมุกขมัว
 แล้วจะเห็นหน้าโจรชัดเจนได้อย่างไรเล่า

อิ,  อี,   อี้      (ว.)   จะ , กำลังจะ   
       
มึ้ง อิ ไส่   มึงจะทำไม    ( ไส่  ก็คือ  ทำไม ในภาษาไทยมาตรฐาน )
       
มึ้ง อิ ไส่ กู นิ    มึงจะทำอะไรกู
        
(ไทยถิ่นใต้-สงขลา โดยทั่วไป จะใช้คำว่า  อิ  ในความหมาย จะ  เฉพาะในเขต
        เทพา สะบ้าย้อย และสามจังหวัดชายแดนจะออกเสียงเป็น  จิ
 ในถิ่นใต้บางท้อง
        ถิ่น จะออกเสียงเป็น  ติ )

อิ หลก ฉกเฉ็ก,  อิ หล็อกฉ้อกแฉ็ก,  หล็อกฉ้อกแฉ็ก (ว.) เรื่องธรรมดา เรื่องเบ็ด
         เตล็ดเรื่องทั่วไป คำนี้มักใช้ขยายความ หรือต่อท้ายเรื่องที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น
           
" หนังสือเรื่อง ไหว้ลายลักษณ์ และ อิ หลก ฉกเฉ็ก "
         
ความหมายคือ 
" หนังสือเรื่อง ไหว้ลายลักษณ์ และ เรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป "

          ความหมายของคำว่า
อิ หลก ฉกเฉ็กจะใกล้เคียงกับคำว่า สกเส็ก ซึ่งหมายถึง
          เรื่องทั่วไปเช่นกัน  แต่คำว่า
สกเส็ก จะเน้นไปในทางเรื่องทั่วไปที่ไร้สาระ เรื่อง
          ที่หยุมหยิม

อีม    (ก.) ยืม   " อีมเบี้ยก่อน สักร้อย เดี๋ยว ต่อเช้า อิเอามาให้ "  ความหมายคือ
         ยืมตังค์ก่อนสักร้อย เดี๋ยว พรุ่งนี้เช้า จะเอามาคืน

อุก    (ก.)  ปล้น   ( เปรียบเทียบกับวลีในภาษากรุงเทพฯ คือ  อุกชิงวิ่งราว )

อุง  (ออกเสียงเป็น อุ๋ง) (น.) ชันนะรง, ชันโรง  - แมลงจำพวกผึ้ง ตัวเล็กๆไม่มี
          เหล็กไน มักอาศัยทำรังในโพรงไม้และมีน้ำหวานเช่นเดียวกับผึ้ง "รังอุง" จะมี
          ชันและขี้อุง   ดังนั้นเวลาจะกินน้ำผึ้งอุง   ถ้ามีขี้อุงผสมอยู่ น้ำผึ้งจะมีรสหวาน
          อมเปรี้ยว  (อีสานเรียกผึ้งชนิดนี้ว่า แมงขี้สูด)

เอม    (ว.)   อิ่ม    
        
 " กินข้าวเอม แล้วม้าย ? "   กินข้าวอิ่ม  หรือยัง ?

เอ็นจม,  เอ็นเชาะ (ว.) ส้นขัด, เส้นพลิก (อาการที่เลือดลมเดินไม่สะดวก จำเป็นต้อง
         หาหมอนวดจับเส้น )

เอาเหลย   (ก.) อยากได้อีก   ขอเพิ่มอีก 
          
     
เอา เหลย ม้าย        เอาอีกมั้ย
          
     
เอาข้าว เหลย ม้าย   -  เอาข้าวอีกมั้ย

เอาะ  (น.)  ต้นคูน(พืชตระกูล บอน)  ก้านใบใช้เป็นผักแกงส้ม หรือเป็นผักเหนาะจิ้มน้ำ
        ชุบ ในปักษ์ใต้บางถิ่น จะเรียกว่า
อ้อดิบ
       
(ว.)  คำอุทาน แสดงถึงความแปลกใจ    (เช่นเดียวกับคำว่า   เอ๊ะ  ในภาษาไทย
        ภาคกลาง )

เอิด  (ก.)   เกเร เหลิง  คิดว่าตัวเองแน่ ตัวเองเก่ง  (จึงมองข้ามคนอื่น)
      

เอิน  (ว.) อื่น,  ต่างออกไป นอกออกไป
       
 " ไม่เอา !  นุ้ยไม่เอาเสื้อตัวนี้  นุ้ยเอาตัวเอิน "
       
 " ไม่เอา !  หนูไม่เอาเสื้อตัวนี้  หนูเอาตัวอื่น "

เอิ้น  (ก.)  สะอื้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะๆ เนื่องจากร้องไห้มากหรือเสียใจ ระทมใจ

เอียด    (ว.) ขนาดเล็ก ,  ตัวเล็ก
      "
  ไส่ไม่พาไอ้ตัวเอียดกัน " -  ทำไมไม่พาไอ้ตัวเล็กมาด้วย

เอือด  (ว.) ลักษณะคนที่เหงื่อออกมาก หรือใช้อธิบายความรู้สึกที่เหนียวตัว ก็ได้
       " 
เอือดเหมือนเรือเกลือ "

เอือน (ก.)   เอียน อาการที่เหม็นเบื่อ (กินอาหารไม่ลง)

เอย   (ก.) เรอ,  อาการที่ลมในกระเพาะออกทางปาก

โอง   1. (น.) พะอง, ไม้ไผ่ลำเดียวที่ใช้พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันได  ซึ่งมีแขนงไม้ไผ่ที่ยื่น
        ออกเป็นระยะทั้งสองข้าง สำหรับเท้าเหยียบ
        2. (น.) โอ่งใส่น้ำ

โอ้ รด  คำเปรียบเทียบเชิงตำหนิ  คนที่ลืมตัวคิดว่าตัวเองเหนือคนอื่นและชอบใช้คำ
         พูดที่อวดดี
อวดเก่งเกินจริง

ไอ ยะ ,  ไอ ยา ล่ะ ก๊ะ  (ว.) คำอุทานแสดงความประหลาดใจของคนไทยถิ่นใต้
         ( คำนี้น่าจะมาจากคำอุทานว่า ไอ้หยา ในภาษาจีน )
               
ไอ ยะ  น่ารักจ้าน  
   โอ โห  น่ารักจังเลย
               
ไอ ยา ล่ะ ก๊ะ  สาวรำวงคืนนี้สวยจังหู  - โอ โห สาวรำวงคืนนี้สวยจังเลย

ไอ้คอ,  ไอ้เฒ่า    (น.)  เพื่อนรัก,  เพื่อนเกลอ

ไอไหร,  ไหร   (ว.)  อะไร  
          
 
อไหร หล่าว    -  อะไรอีก
        
   ไอไหรโฉ้        -  อะไรก็ไม่รู้      ( ใครโฉ้   - ใครก็ไม่รู้ )
         ไม่รู้ไอไหรโฉ้อยู่ใต้ต้นแซะ นั่งคุ่มๆตาแดงๆ
  - ไม่รู้อะไร อยู่ใต้ต้นแซะ นั่ง
                                         ตะคุ่มๆ ตาแดงๆ

 



หมายเหตุ
 

     ก.      =    กริยา        ว.    =     วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์)
     น.      =    นาม          ส.    =     สรรพนาม
     สัน.    =    สันธาน      บ.    =     บุรพบท       อ.    =     อุทาน

     เวบขนำริมทุ่งปลักเหม็ด ขออนุญาตยึดภาษาสงขลาสำเนียงคลองหอยโข่ง
เป็นต้นแบบ โดยจะใช้สำเนียงสงขลาในถิ่นอื่น รวม
ทั้งสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ใน
จังหวัดอื่นๆมาเปรียบเทียบ เพิ่มเติมเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพื่อโปรดทราบ


     กลับไปหน้าแรก                                                            หน้าถัดไป   

  

นำเสนอเมื่อ 16/11/2549       ปรับแต่งเวบเพจเมื่อ 10/05/2555 
Copyright © 2001-2012 : The hut of Plugmet,  All rights Reserved.  
Developed by คนโบราณ ,   e-mail plugmet54@gmail.com

 



 

 

 

 

 

  

Free Web Hosting